"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2558
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
13 ตุลาคม 2558
 
All Blogs
 
"พระราชสาส์นทองคำ" พระเจ้าอลองพญา ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก








ถูกเก็บไว้ในเยอรมนีเป็นเวลา 259 ปี เก่าแก่และล้ำค่ามากมายในทางประวัติศาสตร์ การทูตและการเมืองระหว่างประเทศ พระราชสาส์นจากมหากษัตริย์แห่งกรุงเก่าอังวะพระองค์หนึ่ง ที่ทรงขับเคี่ยวกับอาณาในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามาตลอดรัชสมัย ที่ทรงถึงพระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งกรุงอังกฤษ แต่ไม่ได้รับความสนใจและไม่มีการตอบกลับ ได้เป็นมรดกโลกอย่างสมบูรณ์ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
ภาพ: Global New Light of Myanmar






ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก ได้ขึ้นทะเบียนพระราชสาส์นของกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรพม่าพระองค์หนึ่ง เป็นมรดกโลกเมื่อไม่กี่วันมานี้

เป็นพระราชสาสน์ข้อความภาษาพม่าโบราณ สลักลงบนแผ่นทองคำแท้ 99.99% อายุเกือบ 260 ปี และ ความหมายอย่างใหญ่หลวงในทางประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างเอเชียกับยุโรป

พระราชสาส์นทองคำ ที่พระเจ้าอลองพญา ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์โคนบอน (Kon Baung) หรือ "ราชวงศ์อลองพญา" ทรงมีถึงพระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งราชอาณาจักรเกรตบริเทน เมื่อเดือน พ.ค.2299

ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในฐานะเอกสารสำคัญของโลก โดยการเสนอร่วมกันสามฝ่าย คือ รัฐบาลเยอรมนี อังกฤษและพม่าซึ่งเกี่ยวพันโดยตรง หนังสือพิมพ์โกลบอลนิวไล้ท์ออฟเมียนมาร์รายงาน

ทั้งสามฝ่ายได้เสนอเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการมรดกโลกเมื่อปีที่แล้ว ในขณะที่พม่าเองได้เสนอศิลาจารึกอีกชิ้นหนึ่ง ที่มีชื่อเรียกว่า "จารึกเมียเจดีย์" (Myazedi) ไปพร้อมกัน

และ ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในประเภทเดียวกัน ในการประชุมของคณะกรรมการมรดกโลกวันที่ 4-6 ต.ค.ที่ผ่านมา ที่กรุงอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

เว็บไซต์คณะกรรมการมรดกโลกระบุว่า ปีนี้มีการเสนอสิ่งสำคัญประเภทต่างๆ จากทั่วโลก เข้าจดทะเบียนจำนวน 88 กรณี และ ได้ขึ้นทะเบียนรวม 47 กรณี รวมทั้งพระราชสาส์นทองคำ กับจารึกเมียเจดีย์ด้วย

ศิลาจารึกดังกล่าว ไปจากวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งในเขตกรุงเก่าพุกาม คาดว่าจะจัดทำขึ้นในปี พ.ศ.1656 เป็นเสาหิน 4 ด้าน จารึกแต่ละด้านเป็น 1 ภาษา คือ ภาษาพะยู ภาษาพม่า ภาษามอญ กับ ภาษบาลี มีเนื้อหาเกี่ยวกับการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา

เชื่อกันว่าเป็นจารึกเก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์พม่า ที่ค้นพบในขณะนี้่ หนังสือพิมพ์กึ่งทางการระบุ

ส่วนพระราชสาส์นทองคำ ทำขึ้นจากแผ่นทองคำแท้เกือบ 100% ยาว 55 ซม. หนา 12 ซม. ประดับด้วยทับทิมล้ำค่าอีก 24 เม็ด พับม้วนบรรจุลงในภาชนะทรงกระบอกมีฝาปิด ที่ทำจากงาช้าง

ใช้เวลาเดินทางถึง 2 ปี กว่าจะถึงพระหัตถ์ของพระเจ้าจอร์จที่ 2 ในเดือน มี.ค.2301 แต่กษัตริย์แห่งเกรตบริเทน ไม่ได้ให้ความสำคัญใดๆ และ โปรดเกล้าฯ ส่งต่อไปยังเมืองฮาโนเวอร์ ในแค้วนแซ็กโซนี เยอรมนี ซึ่งเป็นถิ่นพระราชสมภพ

ตั้งแต่นั้นมาก็ไม่มีกษัตริย์ กับพระราชินีแห่งเกรตบิเทนพระองค์ใด ในรัชสมัยต่อๆ มา ที่ทรงสนพระทัย พระราชสาส์นของพระเจ้าอลองพญา

นักวิชาการประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ ที่เชี่ยวชาญด้านพม่าคนหนึ่ง ได้ศึกษาเรื่องนี้เมื่อประมาณ 4 ปีที่แล้ว และ ลงความเห็นว่า พระเจ้าจอร์จที่ 2 ทรงมีพระราชวินิจฉัย พระราชสาส์นจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ฉบับนี้ "ไม่มีค่าพอที่จะตอบกลับ" แต่ก็ไม่ได้อธิบายอะไรอีก

พระราชสาส์นทองคำ ถูกย้ายจากพิพิธภัณฑ์หลวงในฮาโนเวอร์ ไปเก็บในพิพิธภัณฑ์ของหอสมุดก็อดฟรีด วิลเฮม ไลบ์นิซ (Gottfried Wilhelm Leibniz) ในเมืองเดียวกัน มาเป็นเวลากว่า 50 ปีตั้งแต่ก่อตั้ง

แต่ช่วงเวลา 250 ปี ไม่ได้มีผู้ใดให้ความสำคัญ เนื่องจากไม่มีใครอ่านภาษาพม่าโบราณออก

นอกจากนั้นเมื่อกษัตริย์คริสเตียนที่ 2 แห่งเดนมาร์ก เสด็จฯ ทอดพระเนตรในปี พ.ศ.2311 ทรงทำพระราชสาส์นจากพระเจ้ากรุงอังวะชำรุด ทำให้อ่านยากยิ่งขึ้น นักประวัติศาสตร์ในอังกฤษกล่าว






ส่วนขอบปลายด้านหน้าของพระราชสาส์นทองคำ ฝังทับทิมล้ำค่าหายากจำนวน 24 เม็ด ไม่ได้รับการเหลียวแลจากพระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่ง
เกรตบริเตน และ ทรงส่งต่อไปยังเมืองฮาโนเวอร์ ถิ่นพระราชสมภพ
ในทันที ในเดือน มี.ค.2301 หลังใช้่เวลาเดินทางจากกรุงอังวะเป็นเวลา 2 ปี
Gottfried Wilhelm Leibniz Bibliothek Hannover.






พระราชสาส์นทองคำฉบับดิจิตอล 3 มิติ ที่ทำออกมาเมื่อปี 2556
วางแสดงในหอสมุดแห่งฮาโนเวอร์ 1 ฉบับ ในกรุงลอนดอน 1 และ
ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกรุงเนฟีดอ อีก 1 ฉบับ ปัจจุบันทราบ
เนื้อหาอย่างชัดเจน ไม่ได้พาดพิงใดๆ เกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยา
ตามที่นักศึกษาพงศาวดารกรุงเก่าบางคน เคยตีความ
เจตนาของพระเจ้าอลองพญาเอาไว้




อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญชาวฝรั่งเศส เยอรมนี และชาวอังกฤษ ใช้เวลาหลายปี ช่วยกันถอดความออกมาเป็นภาษาอังกฤษ จนกระทั่งทำได้เสร็จสมบูรณ์เมื่อปี 2553

ภัณฑารักษ์ที่หอสมุดก็อดฟรีด วิลเฮม ไลบ์นิซ กล่าวว่า ตั้งแต่นั้นมาข่าวพระราชสาส์นทองคำ ก็แพร่กระจายออกไป และ ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง ที่ผ่านมาบางวันมีผู้เข้าชมกว่า 15,000 คน ทำให้ต้องค้นคิดหาวิธีการนำเสนอ แทนการนำฉบับจริงออกตั้งแสดง

กระทรวงการต่างประเทศเยอรมนี ได้ให้การสนุบสนุนเงินทุน ให้พิพิธภัณฑ์ฯ จัดทำพระราชสาส์นทองคำฉบับดิจิตอลสามมิติขึ้นมาเมื่อปี 2556 และ ทำออกมาเป็นหลายภาษา

เก็บไว้ในเยอรมนี 1 ฉบับ อังกฤษ 1 ฉบับ และ ส่งไปยังพม่าเพื่อตั้งแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงเนปีดออีก 1 ฉบับ

นักวิชาการชาวฝรั่งเศสที่ศึกษาเรื่องนี้เมื่อปี 2552 ได้พบคำตอบว่า พระราชสาส์นของพระเจ้าอลองพญา นำไปยังกรุงลอนดอนโดยบริษัทอีสต์อินเดียของอังกฤษ

เนื้อหาเป็นการเสนอเปิดสัมพันธไมตรีอย่างเป็นทางการ และ ทรงเสนอให้บริษัทของอังกฤษ ใช้ท่าเรือที่สร้างขึ้นที่เมืองพะสิม (เมืองปะเต็ง/Pathein ในปัจจุบัน) ริมฝั่งแม่น้ำอิรวดี

พระองค์ยังมีพระราชดำริ พระราชทานที่ดินจำนวนหนึ่ง สำหรับให้บริษัทนี้ ตั้งสถานีการค้าขึ้นในพม่า ขึ้นที่นั่นอีกด้วย

นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษที่ศึกษาเรื่องนี้ กล่าวว่าพระเจ้าอลองพญา ทรงเสนอเปิดการค้าขายกับอีสต์อินเดีย ด้วยหวังจะได้ปืนใหญ่กับกระสุนจากฝ่ายอังกฤษ

เพื่อเตรียมการต่อสู้กับนักล่าอาณานิคมฝรั่งเศส ที่กำลังคืบคลานเข้าสู่ย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และดินแดนพม่าในเวลานั้น






ศิลาจารึกเมียเจดีย์ (Myazedi) เสาหินที่มี 4 ด้าน ที่ทำขึ้นในปี
พ.ศ.1656 จารึกเรื่องราวเกี่ยวกับการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
ด้านละภาษา คือ ภาษาพะยู ภาษาพม่า ภาษามอญ และ ภาษาบาลี เป็นมรดกโลกใหม่ๆ หมาดๆ อีกชิ้นหนึ่งจากกรุงเก่าพุกามของพม่า
Global New Light of Myanmar





แต่นายฌาก ไลเดอร์ (Jacques Leider) นักวิชาการและนักประวัติศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ที่ศึกษาฉบับจริงในพิพิธภัณฑ์ฮาโนเวอร์ ให้สัมภาษณ์นิตยสารข่าวเมียนมาร์ไทม์ส เมื่อปี 2554 ว่า

พระราชสาส์นมีเนิ้่อหาเกี่ยวกับการทูต และการสงครามในรัชสมัยของพระองค์ ซึ่งในขณะนั้นอาณาจักรอังวะที่อยู่ทางตอนเหนือ กำลังเผชิญกับการคุกคามทั้งจากจีน และ จากอาณาจักรมอญทางทิศใต้ ที่พยายามฟื้นคืนกลับมาอีก

พระเจ้าอลองพญาทรงเห็นว่า อาวุธประสิทธิภาพสูงเช่นปืนใหญ่อังกฤษ อาจจำเป็นในการครอบครองดินแดนทางตอนใต้

เป็นสิ่งที่ "ล้ำคุณค่าในทางประวัติศาสตร์ ... มีความไพเราะเพราะพริ้งอย่างแท้จริงและ (มีความ) สำคัญทางการเมือง" ดร.ไลเดอร์กล่าว

นักวิชาการผู้นี้ให้รายละเอียดอีกว่า พระราชสาส์นส่งผ่านเมืองมัทราส (Madras หรือเมือง เจนไน/Chennai ปัจจุบัน) แต่กว่าจะไปถึงกรุงลอนดอน ก็ในปี พ.ศ.2301 ใช้เวลาเดินทางสองปี

นอกจากเมื่อไปถึงเมืองมัทราส ได้มีการจ่าหน้าซองใหม่ ผิดเพี้ยนกลายเป็น "จดหมายจากเจ้าชายอินเดียคนหนึ่ง" ทรงถึงพระเจ้าจอร์จที่ 2 จึงทำให้ไม่ได้รับความสนใจ และ ถูกส่งต่อไปยังฮาโนเวอร์ในทันที

หลังจากทรงมีพระราชสาส์นทองคำถึงพระเจ้าจอร์จที่ 2 ในอีกสามปีถัดมา พระเจ้าอลองพญากับเจ้าชายมังระ พระราชบุตร ได้ทรงนำทัพเข้าตีกรุงศรีอยุธยาเป็นครั้งแรก

ซึ่งเรื่องนี้ทำให้ผู้ที่ศึกษาพงศาวดารสมัยกรุงศรีอยุธยาบางคน ตีความหมายว่าพระเจ้าอลองพญามีพระราชสาส์นถึงกษัตริย์อังกฤษ ที่กำลังคืบคลานเข้าสู่ชมพูทวีปในช่วงนั้น ก็เพื่อประกาศให้ฝ่ายนั้นทราบว่า ดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยานั้นอยู่ใต้อาณัติของอาณาจักรพม่า

แต่ในรายละเอียด ที่นักวิชาการชาวฝรั่งเศสตีพิมพ์เผยแพร่ ไม่ได้มีเนื่้อหาส่วนใดในพระราชสาส์นทองคำพูดถึงเรื่องนี้

พระเจ้าอลองพญาทรงตีกรุงศรีอยุธยาไม่สำเร็จ ในรัชสมัยของพระองค์ และ สิ้นพระชนม์ในเดือน เม.ย. พ.ศ. 2303 แต่พระราชบุตรคือ พระเจ้ามังระ (ชิ่นพะยูซิน/Sin Byu Shin) ที่ทรงขึ้นครองราชย์สืบมา ทรงเข้าตีกรุงศรีอยุธยาอีกหลายครั้งจึงสำเร็จ

และ ทรงเผาอาณาจักร ที่รุ่งเรืองที่สุดในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาจนวายวอด ในปี พ.ศ.2310

ชาวไทยรู้จักเหตุการณ์นี้ดี ในชื่อ "การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2".




ขอบคุณ ผู้จัดการออนไลน์

ภุมวารสิริสวัสดิ์ค่ะ




Create Date : 13 ตุลาคม 2558
Last Update : 13 ตุลาคม 2558 9:30:11 น. 0 comments
Counter : 1823 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.