"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2559
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
23 มีนาคม 2559
 
All Blogs
 
สงกรานต์ ไทย ไม่ได้มาจากโหลี (Holi) เทศกาลสาดสีในอินเดีย

สุจิตต์ วงษ์เทศ

ประเพณี 12 เดือน

สงกรานต์ ไทยไม่ได้มาจากโหลี (Holi) เทศกาลสาดสีในอินเดีย

มติชนสุดสัปดาห์ ลงฉบับประจำวันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559

มีผู้พยายามโยงประเพณีสงกรานต์สาดน้ำของไทย ว่ารับจากโหลี (Holi) เทศกาลสาดสีของอินเดีย

แต่แท้จริงแล้ว สงกรานต์ไม่ได้มาจากโหลี (Holi) เทศกาลสาดสีในอินเดีย อ. คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง [คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (ทับแก้ว)] อธิบายไว้ จะขอสรุปย่อคัดมาแบ่งปันไว้ ดังต่อไปนี้

โหลี-สงกรานต์ ไม่เหมือนกัน

เทศกาลโหลี ประกอบด้วยสองวันสำคัญ คือวันโหลิกาทหนะ และวันโหลี

[คำว่าโหลีเป็นภาษาฮินดี มาจากคำว่าโหลาหรือโหลิกาในคำสันสกฤต (หรือคำอื่นๆที่บ่งถึงเทศกาลเดียวกัน เช่น โหลากา)]

อ. คมกฤช อธิบายว่าโหลี-สงกรานต์ ไม่เหมือนกัน ดังนี้

          หนึ่ง โหลีกำหนดวันตามจันทรคติ ซึ่งต่างจากสงกรานต์ที่กำหนดตามสุริยคติ

เทศกาลโหลีจะเริ่มต้นในวันเพ็ญ 15 ค่ำ เดือนผาลคุน (คือเดือนตามปฏิทินจันทรคติฮินดู ราวกุมภาพันธ์-ต้นมีนาคม) เรียกวันนี้ว่าวัน

“โหลิกาทหนะ” (Holika Dahana) แปลว่าวันเผาหรือฆ่านางโหลิกา

วันรุ่งขึ้นเล่นสาดสีและกิจกรรมสันทนาการต่างๆ เรียกว่า วันโหลี หรือ “วสันโตสวะ” หมายถึงเทศกาลแห่งฤดูวสันต์ ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือนไจตระ (ราวต้นมีนาคม-ต้นเดือนเมษายน)

[เทศกาลโหลี กำหนดโดยจันทรคติกาล จึงมีวันไม่ตรงกันในแต่ละปี บางปีอาจไปตกอยู่ในปลายเดือนมีนาคมหรือต้นเดือนเมษายนก็ได้]

          สอง สงกรานต์ถือเป็น “ปีใหม่” หรือเปลี่ยนศักราชตามโหราศาสตร์ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากอินเดียภาคใต้ เพราะยังถือตรงกันทั้งไทย (เก่า)

          โหลีไม่เกี่ยวกับการเปลี่ยนศักราชปีใหม่ แต่เป็นการฉลองการเข้าสู่ฤดูวสันต์ ซึ่งเป็นฤดูกาลที่จะเริ่มต้นเพาะปลูก จึงเป็นคนละคติความเชื่อกับสงกรานต์

ชาวทมิฬว่าสงกรานต์อันหมายถึงการที่พระอาทิตย์ ย้ายเข้าสู่ราศีเมษ เป็นปีใหม่ ในอินเดียใต้เรียกว่าเทศกาลปุฑัณทุ หรือวิษณุกณิ (ปกติพระอาทิตย์ย้ายราศีเดือนละหนึ่งครั้ง สงกรานต์จึงมีทุกเดือน)

ถ้าจะนับเอาการเปลี่ยนศักราชเป็นปีใหม่แล้ว ปีใหม่ในอินเดียมีมากมายหลายเทศกาล และมีช่วงเวลาไม่ตรงกันเลย เนื่องด้วยความกว้างใหญ่ไพศาลของพื้นที่ ทำให้ฤดูกาลของแต่ละภูมิภาคแตกต่างกันมาก และในแต่ละพื้นที่ยังมีระบบของปฏิทินของตนเองอีกด้วย

เผาหุ่นนางโหลิกา

อ. คมกฤชเห็นว่าโหลี น่าจะเป็นประเพณีที่มีความเก่าแก่ของอินเดีย และเป็นของชาวบ้านในสังคมกสิกรรม

อาจกล่าวได้ว่า โหลีเป็นประเพณี “ก่อนฮินดู” (pre-Hinduism)

โหลีแต่เดิมเป็นเทศกาลที่แพร่หลายในอินเดียภาคเหนือและตะวันออก ซึ่งมีความแตกต่างของภูมิอากาศในแต่ละฤดูกาลมาก การมาถึงของฤดูวสันต์หรือใบไม้ผลิ จึงหมายถึงการเริ่มต้นใหม่ของชีวิต และเป็นสัญญาณของการเริ่มเพาะปลูก

ในคืนวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนผาลคุน หรือวันโหลิกาทหนะ ชาวบ้านจะสร้างกองเศษไม้ใบไม้ และทำเป็นหุ่นอย่างง่ายๆ สมมุติเป็น

นางโหลิกา

เมื่อได้กระทำบูชาแล้วก็จะจุดไฟขึ้น ร้องเพลงและเล่นสนุกรอบกองไฟ และเอาเถ้าจากกองไฟนั้นเจิมหน้าผาก จากนั้นจึงเริ่มต้นการเล่นสาดสีกันต่อไปในวันรุ่งขึ้น

ในปัจจุบันมีคำอธิบายต่างๆ ตามตำนานของแต่ละท้องที่

สาดสี เป็นพิธีเจริญพืชพันธุ์

การสาดสีกันในเทศกาลโหลี จึงเป็นพิธีการเจริญพืชพันธุ์เพื่อความอุดมสมบูรณ์

หากปราศจากเลือด ไม่ว่าจะประจำเดือนหรือเลือดจากการบูชายัญ ปราศจากต้นไม้ใบหญ้าและเชื้อชีวิต แผ่นดินและการเพาะปลูกก็ย่อมจะสมบูรณ์ไม่ได้

นอกจากนี้ในบางท้องถิ่นยังมีการเปิดโอกาสให้ผู้หญิงเล่นไล่ตีผู้ชาย ซึ่งในเวลาปกติกระทำไม่ได้ เพื่อขับเน้นความสำคัญของ “เพศหญิง” ในบทบาทของศาสนาดั้งเดิม

หรือมีการละเล่นร้องเพลงเกี้ยวพาราสีซึ่งล้วนมีนัยถึงการเจริญพืชพันธุ์ทั้งสิ้น

การสาดสีในเทศกาลโหลี ใช้ผงสีทำจากวัสดุธรรมชาติเช่นแร่ธาตุและพืช (ผงคุลาล ผงอพีระ ผงขมิ้น ฯลฯ) สีหลักที่ใช้มาแต่เดิมมีสามสี คือ แดง เขียว และเหลือง

โหลีในสายตาผู้คนปัจจุบันจึงหมายถึงความสนุกสนาน สีสันของชีวิตและความรักเป็นหลัก แต่หากตีความในอีกชั้นหนึ่ง สีเหล่านี้มักถูกใช้ในสัญลักษณ์ต่างๆ และพิธีกรรมในศาสนาฮินดูอยู่แล้ว

          สีแดงสะท้อนการกำเนิดเจ้าแม่และชีวิต สีแดงจึงแทนโลหิต

          สีเขียวคือความบริบูรณ์ของต้นไม้พืชพันธุ์ และ

          สีเหลืองคือเชื้อชีวิต และแร่ธาตุต่างๆ ซึ่งแทนอสุจิหรือปัสสาวะ (เทวดาฮินดู เจ้าแม่จึงมักทรงพัสตราภรณ์แดง หรือเขียว ในขณะที่เจ้าพ่อมักทรงเหลือง หรือขาว)

สงกรานต์ดั้งเดิมในไทยไม่มีเล่นสาดน้ำ มีแต่รดน้ำดำหัวพ่อแก่แม่เฒ่าในชุมชน เพิ่งมีสาดน้ำเมื่อไม่นานมานี้

โหลี กับพระราชพิธีธานยเทาะห์?

พระราชพิธีธานยเทาะห์ หรือธัญเทาะห์ หรือพิธีเผาข้าว เป็นพระราชพิธีที่ปฏิบัติในกรุงศรีอยุธยา แต่ไม่มีในกรุงรัตนโกสินทร์

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเล่าไว้ในพระราชพิธีสิบสองเดือน ว่าเป็นพระราชพิธีในเดือนสาม ตั้งโรงพิธีที่ทุ่งนา เอารวงข้าวมาทำเป็นฉัตรปักไว้ แล้วเอาไฟจุดรวงข้าวนั้น

มีคนแต่งตัวแดงพวกหนึ่ง เขียวพวกหนึ่งสวมเทริด เข้าไปยื้อแย้งรวงข้าวนั้น แล้วมีคำพยากรณ์ ต่อจากพระราชพิธีนี้จึงเป็นพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

อ. คมกฤช อธิบายว่าที่น่าสนใจคือพระราชพิธีธานยเทาะห์จัดขึ้นในเดือนสาม ซึ่งมีช่วงเวลาใกล้เคียงกับเทศกาลโหลี หรือปลายเดือนผาลคุนของอินเดีย

และมีการ “เผา” รวงข้าวที่ทำเป็นพุ่มฉัตรไว้ที่ทุ่งนา และมีการ “เล่น” ยื้อแย้งข้าวนั้น มีการแต่งตัว “สีสัน” เข้าในพระราชพิธี

ส่วนคำพยากรณ์หรือมูลเหตุที่กระทำคงมุ่งหมายถึงความสวัสดิมงคลและความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหารเป็นสำคัญ

พระราชพิธีธานยเทาะห์ต่างหากที่น่าจะได้รับอิทธิพลจากเทศกาลโหลิกาทหนะ หรือโหลีที่ปฏิบัติกันในอินเดียบางภูมิภาค?

ประเพณีเล่นสาดสี ในเทศกาลโหลี (Holi) ของอินเดีย เริ่มเล่นในเช้าหลังจากวันโหลิกาทหนะ (Holika Dahana) ในวันแรม 1 ค่ำ เดือนไจตระ ซึ่งมีทั้งสาดด้วยผงสี และน้ำผสมสี ประเพณีนี้แต่เดิมแพร่หลายอยู่เฉพาะในอินเดียภาคเหนือและบางส่วนของภาคตะวันออก ปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป (ภาพจากเว็บไซต์ //www.theguardian.com)

ประเพณีเล่นสาดสี ในเทศกาลโหลี (Holi) ของอินเดีย เริ่มเล่นในเช้าหลังจากวันโหลิกาทหนะ (Holika Dahana) ในวันแรม 1 ค่ำ เดือนไจตระ ซึ่งมีทั้งสาดด้วยผงสี และน้ำผสมสี ประเพณีนี้แต่เดิมแพร่หลายอยู่เฉพาะในอินเดียภาคเหนือและบางส่วนของภาคตะวันออก ปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป (ภาพจากเว็บไซต์ //www.theguardian.com)

พิธี “โหลิกาทหนะ” หรือเผากองเศษไม้ (สมมุติว่าเป็นนางโหลิกา) ซึ่งอ้างอิงจากตำนานเรื่อง ประหลาทะในคัมภีร์ปุราณะ หลังเสร็จพิธีทุกคนก็จะนำเถ้าจากกองไฟนี้มาแต้มที่ศีรษะ พิธีนี้เป็นหัวใจสำคัญของเทศกาลโหลี และน่าจะเป็นพิธีโบราณที่มีมาก่อนคำอธิบายยุคหลัง

พิธี “โหลิกาทหนะ” หรือเผากองเศษไม้ (สมมุติว่าเป็นนางโหลิกา) ซึ่งอ้างอิงจากตำนานเรื่อง ประหลาทะในคัมภีร์ปุราณะ หลังเสร็จพิธีทุกคนก็จะนำเถ้าจากกองไฟนี้มาแต้มที่ศีรษะ พิธีนี้เป็นหัวใจสำคัญของเทศกาลโหลี และน่าจะเป็นพิธีโบราณที่มีมาก่อนคำอธิบายยุคหลัง

 

ขอบคุณ มติชนออนไลน์

มติชนสุดฯ - คุณสุจิตต์ วงษ์เทศ

สิริสวัสดิ์วุธวารค่ะ




Create Date : 23 มีนาคม 2559
Last Update : 23 มีนาคม 2559 18:24:43 น. 0 comments
Counter : 803 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.