"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2558
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
5 พฤศจิกายน 2558
 
All Blogs
 
ชุบชีวิต “บ้านพระยารัษฎาฯ” บิดายางพาราไทย

 

ชุบชีวิต “บ้านพระยารัษฎาฯ” บิดายางพาราไทย
ตัวบ้านพระยารัษฎาฯ สร้างจากไม้

         
       เรื่อง : จำนง ศรีนคร
       ภาพ : ปกรณ์กานต์ ทยานศิลป์
        
       หากจะเอ่ยว่า “เมืองตรัง” คือ “เมืองยางพารา” ก็คงไม่แปลก เพราะถือเป็นสถานที่ที่มีการปลูกยางพาราเป็นแห่งแรกของประเทศไทย ด้วยคุณูปการของ “พระยารัษฎานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี (คอซิมบี๊) ณ ระนอง” อดีตเจ้าเมืองตรังผู้นำยางพาราจากแถบมลายูเข้ามา ทำให้ “ยางพารา” เจริญเติบโตแพร่ขยายไปทั่วประเทศ กลายเป็นอาชีพทำกินของคนไทยมาหลายชั่วอายุคน โดยเฉพาะชาวใต้
        
       พระคุณของ “พระยารัษฎาฯ” เพียงในมิติดังกล่าวก็ล้นเหลือ ไม่นับรวมความสามารถในงานด้านการพัฒนาต่างๆ ที่ได้มอบไว้แก่ “เมืองตรัง” เมื่อกล่าวถึงจังหวัดตรัง ในแง่ตัวบุคคล ทุกคนย่อมรู้จัก “พระยารัษฎาฯ”

ซึ่งนอกจากจะมีอนุสาวรีย์เพื่อเชิดชูคุณงามความดี ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอเมืองตรังแล้ว ที่อำเภอกันตัง ยังเป็นที่ตั้งของบ้านที่ “พระยารัษฎาฯ” เคยดำรงชีวิตอยู่เมื่อครั้งเมืองตรังยังตั้งอยู่ที่กันตัง
        

ชุบชีวิต “บ้านพระยารัษฎาฯ” บิดายางพาราไทย
อาจารย์ตรีชาติ เลาแก้วหนู
         
       บ้านหลังดังกล่าวปัจจุบันได้ดำเนินการเป็น “พิพิธภัณฑ์พระยารัษฎาฯ” สำหรับให้คนรุ่นหลังได้เยี่ยมชม และศึกษาอย่างภาคภูมิ
        
       เพจ “เล่าเรื่องเมืองตรัง Suntaree Sungayut” โดย “อาจารย์สุนทรี สังข์อยุทธ์” อดีตหัวหน้าหอจดหมายเหตุแห่งชาติฯ ตรัง เล่าไว้เรื่องหนึ่งน่าคิด คือ ความชำรุดทรุดโทรมต่อมกรดกล้ำค่าของคนตรังแห่งนี้
        

ชุบชีวิต “บ้านพระยารัษฎาฯ” บิดายางพาราไทย
อาจารย์วรวุฒิ มัธยันต์

         
       ย้อนกลับไป “โครงการพิพิธภัณฑ์พระยารัษฎาฯ” ก่อตั้งเมื่อวันที่ 28 ก.ค.2535 ระยะเริ่มต้นได้งบประมาณจำนวน 240,000 บาท จากธนาคารกรุงไทย จำกัด จากนั้นคณะทำงานฝ่ายต่างๆ ก็เริ่มงาน โดยกรรมการวิชาการรวบรวมข้อมูลเพื่อการจัดแสดง

ส่วนอาคารสถานที่เทศบาลตำบลกันตัง ช่วยดูแลเรื่องบริเวณภายนอก มีนักเรียนกันตังพิทยากรสมทบแรงงาน ภายในบ้านจัดวางสิ่งของ เสริมข้อมูลความรู้ โดยยึดตามแนวคิดหลักในการจัดพิพิธภัณฑ์นี้ ซึ่งกำหนดกันไว้ให้เสมือนเจ้าของบ้านยังคงอยู่ โดยมี “หุ่นจำลองพระยารัษฎาฯ” ในท่านั่งเสมือนยังคงมีชีวิต
        
       ในวันนี้ นาฬิกาของกาลเวลาได้นำพาความชำรุดทรุดโทรมมาสู่ตัวบ้านซึ่งทำจากไม้เป็นอย่างมาก เพราะการดูแล และบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ฯ ยังมีข้อติดขัด เนื่องจากที่ดิน

และตัวบ้านถือเป็นทรัพย์สินของเอกชนลูกหลานพระยารัษฎาฯ ทำให้หน่วยงานรัฐไม่สามารถตั้งงบประมาณเข้าไปบูรณะดูแลได้ ฝ่ายเอกชนเองก็ไม่ได้ละเลย เพียงแต่กำลังในการซ่อมแซมมีข้อจำกัด
        

ชุบชีวิต “บ้านพระยารัษฎาฯ” บิดายางพาราไทย
อาจารย์วรวุฒิ มัธยันต์ กับผลงาน

         
       ผู้เกี่ยวข้องแต่เดิมมีฝ่ายเจ้าของบ้าน ได้แก่ 

1.ทายาทของพระยารัษฎาฯ ที่ปีนัง ซึ่งหลังจาก “ดาโต๊ะเบียนเจง”ลงนามในข้อตกลงการใช้สถานที่ได้ ปี ก็ถึงแก่กรรม แต่ทายาทก็ยังยอมรับในข้อตกลงนั้นต่อไปทุกๆ ปี และทางทายาทจะส่งผู้แทนมาร่วมงานรำลึกพระยารัษฎาฯ ที่อนุสาวรีย์ และมอบทุนการศึกษาให้นักเรียน 

2.ที่กันตัง มีบริษัทชื่อ “เบียนเจง ณ ระนอง กับภรรยาและญาติมิตร จำกัด” จัดการทรัพย์สินมรดกพระยารัษฎาฯ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่ดินและอาคารให้เช่า สำนักงานอยู่ที่ห้องหน้าของบ้านพิพิธภัณฑ์ฯ มีผู้จัดการเป็นคนกันตัง การติดต่อเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ทุกครั้งจะผ่านผู้จัดการ นอกจากนี้ ทางบริษัทยังจ่ายค่าใช้ไฟฟ้าเป็นประจำทุกเดือนตลอดมา
        
       น่ายินดีที่เมื่อเร็วๆ นี้ ทาง “คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง” ได้ดำเนิน “โครงการรังวัดอาคารพิพิธภัณฑ์พระยารัษฎาฯ” โดยมีนักศึกษาทุกชั้นปีร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 35 คน

เพื่อเก็บข้อมูลด้านสถาปัตยกรรม แบบก่อสร้าง ภาพสามมิติ และแบบจำลอง (Model) ของอาคารเพื่อเป็นฐานข้อมูลในการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารในอนาคต โดยมี “อาจารย์วรวุฒิ มัธยันต์” และ “อาจารย์สมพงษ์ กฤตธรรมากุล” อาจารย์ประจำคณะสถาปัตย์ เป็นผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน
        

ชุบชีวิต “บ้านพระยารัษฎาฯ” บิดายางพาราไทย
การทำงานของนักศึกษาคณะสถาปัตย์ฯ

         
       “อาจารย์วรวุฒิ” ผู้ควบคุมโครงการ เล่าว่า หลังจากที่ “อาจารย์สุนทรี” แสดงความเป็นห่วงเรื่องความทรุดโทรม และช่วยติดต่อประสานงานด้านต่างๆ ต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง คณะสถาปัตย์ก็เข้าไปดำเนินการ

โดยการทำงานได้ตั้งโจทย์เพื่อรังวัดถอดแบบจัดทำพิมพ์เขียว หรือแบบแปลนที่ถูกต้องเสมือนบ้านจริงตามหลักวิชาการ เพื่อการซ่อมแซมในภายหน้าอย่างถูกต้องตามแบบแผน ซึ่งบ้านหลังดังกล่าวถือว่าเก่าแก่มาก สร้างราวสมัยรัชกาลที่ 5
        
       “อาจารย์วรวุฒิ” บอกอีกว่า ทั้งอาจารย์ และนักศึกษาที่เข้าไปทำงานรู้สึกภาคภูมิใจ เพราะสิ่งที่ไปพบคือ มรดกอันล้ำค่า และความเฉียบคมในแง่การก่อสร้างแต่ครั้งโบราณ

บ้านพระยารัษฎาฯ เป็นเรือนไม้ทั้งหลัง มีโครงสร้างคอนกรีตเฉพาะโครงฐานเล็กน้อย และครัวที่แยกออกจากตัวบ้าน เป็นภูมิปัญญาการก่อสร้างที่ใช้คอนกรีตเฉพาะส่วนที่เป็นโครงฐาน และส่วนที่แยกจากตัวบ้าน

ซึ่งมีโอกาสสัมผัสแดด และฝนมาก การออกแบบคล้ายกับเรือนไทย คือ การแยกครัวออกจากเรือนหลัก เพื่อไม่ได้กลิ่นควันรบกวนตัวบ้าน อีกทั้งเพื่อความปลอดภัยในเรื่องอัคคีภัยที่จะไม่ลามถึงตัวบ้าน
        

ชุบชีวิต “บ้านพระยารัษฎาฯ” บิดายางพาราไทย
การทำงานของนักศึกษาคณะสถาปัตย์ฯ

         
       เป็นการออกแบบที่ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมดีมาก สะท้อนจากที่พบช่องระบายอาการเกือบทุกจุดของบ้าน ทำเป็นไม้ระแนงขัดสานกันแทนช่องลมโดยรอบ ชายหลังคาที่กันฝนสาดเข้าอาคารได้ดี

ที่สำคัญมีเอกลักษณ์ที่พบน้อยมากคือ เพดานค่อนข้างสูงกว่าอาคารทั่วไป เพื่อช่วยให้อากาศร้อนลอยสู่ด้านบนได้ดี ขณะที่ด้านหลังอาคารมีบันไดอีกชุดหลบไว้ ทางวิชาการเรียกบันไดเซอร์วิสสำหรับคนรับใช้

และมีประตูปิดล็อกได้จากชั้นบนเพื่อความปลอดภัย มีการจัดสัดส่วนพื้นที่ใช้งานค่อนข้างดีมาก มีห้อง และสัดส่วนพื้นที่เยอะมาก เข้าใจว่าตามวัตถุประสงค์ของการใช้ทำงานของพระยารัษฎาฯ ทั้งห้องทำงาน ห้องพักผ่อน ห้องรับแขก ฯลฯ

หน้าต่างมีกลไกที่เป็นบานเกล็ดเปิด-ปิดได้ โดยใช้กลไกที่เป็นไม้ทั้งหมด ซึ่งความรู้ด้านนี้ในยุคนั้นส่วนใหญ่เป็นบ้านที่สร้างในต่างประเทศ
        
       จากการสำรวจ “อาจารย์วรวุฒิ” แสดงความเป็นห่วงถึงจุดชำรุดทางกายภาพของบ้านที่ ได้แก่ 

1.โครงสร้างของเสารับน้ำหนักมุขด้านหน้าทั้ง 2 ข้างของบ้านที่เริ่มโยก ซึ่งอันตรายมากหากมีคนขึ้นไปยืนจำนวนมากๆ บนเฉลียงมุขชั้นสอง 

2.พื้นกระดานไม้ชั้นบนที่ผุ ซึ่งถือว่าอันตรายหากต้องรับน้ำหนักจำนวนมาก 

3.บันไดหลักทางขึ้นชั้นสองจากด้านหน้า ถูกทำลายโดยปลวก 

4.ราวกันตกด้านหลังบ้านซึ่งหลุด และผุพัง และ 

5.เชิงชายหลังคาไม้ที่หลุดล่อน
        

ชุบชีวิต “บ้านพระยารัษฎาฯ” บิดายางพาราไทย
การทำงานของนักศึกษาคณะสถาปัตย์ฯ

         
       “ทั้งหมดเป็นวัสดุไม้ จึงอ่อนไหวต่อแดด และฝน ซึ่งจากการดูร่องรอยบ้านเคยได้รับการซ่อมแซมเฉพาะหน้ามาบ้าง แต่การซ่อมใหญ่เชิงโครงสร้างยังไม่ได้รับการดำเนินการ งานรังวัดสำรวจถอดแบบที่ดำเนินการ เราจัดทำออก ดังนี้

1.แบบสองมิติสำหรับทำพิมพ์เขียวในเรื่องของรูปแบบ รวมไปถึงวัสดุที่ใช้ สี และรายละเอียดปลีกย่อยทั้งหมด ไม่ว่า ช่องลม ประตู หน้าต่าง กระเบื้องหลังคา ไม้ปูพื้น ฯลฯ นำไปสู่การซ่อมแซมและศึกษา 

2.แบบสามมิติโดยใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกเพื่อประกอบการซ่อมแซม 

3.แบบโมเดล หรือแบบจำลองตัวอาคาร ทำให้เห็นภาพรวมได้ชัดเจนที่สุด เนื่องจากสามารถจับต้องได้”
        
       “อาจารย์วรวุฒิ” ย้ำว่า หลักการซ่อมแซมในเชิงอนุรักษ์นอกจากซ่อมความเสียหายแล้ว จะต้องซ่อมให้เหมือนเดิมมากที่สุด ใช้ช่างฝีมือที่มีความเข้าใจ และพิถีพิถัน ซึ่งคณะสถาปัตย์พร้อมให้ความร่วมมือ ทั้งแบบแปลน รวมถึงคำปรึกษาตลอดจนกำกับดูแลตรวจสอบ การซ่อมแซมให้ถูกต้องแม่นยำมากที่สุด
        

ชุบชีวิต “บ้านพระยารัษฎาฯ” บิดายางพาราไทย
การทำงานของนักศึกษาคณะสถาปัตย์ฯ

         
       “แง่ของสถาปัตยกรรมบอกได้เลยว่า ทรงคุณค่ามาก แต่อยากเสนอให้เพิ่มชีวิต ประวัติความเป็นมาให้แก่พิพิธภัณฑ์ ผ่าน Information รูปแบบต่างๆ เช่น เครื่องมือเครื่องใช้เคยใช้ทำงานอะไรมาบ้าง

อย่างเครื่องพิมพ์ดีดเก่า ตลับเมตร ตู้ เตียง เก้าอี้ ถ้าสามารถสื่อสารข้อมูลเหล่านี้ได้มากขึ้น คนตรัง รวมถึงนักท่องเที่ยวจะเข้าใจ และตระหนักในคุณค่า ภูมิใจ และหวงแหนยิ่งขึ้น”
        
       อย่างไรก็ดี ปัญหาเรื่องงบประมาณดำเนินการ “อาจารย์สุนทรี” ชี้ทางออกไว้น่าสนใจ ว่า มีตัวอย่างมาแล้วเมื่อแรกก่อตั้ง จังหวัดหาเงินให้ มีการทอดผ้าป่ายางพารา และเงินรายได้จากการจัดงาน ต่อมาอีกครั้ง ราชการ และเอกชนช่วยกันหาเงินมอบให้เทศบาลเมืองกันตัง ประมาณ 200,000 บาท

ได้ต้นไม้ประดับที่ป้าย และหน้าบ้านกับห้องน้ำ สำหรับต้นทุนเดิมที่มีคือ กรรมการมูลนิธิพระยารัษฎาฯ กับเงินในบัญชีอีกประมาณ 800,000 บาท อีกหนึ่งคือ ฝ่ายเจ้าของสถานที่ ซึ่งยินดีสนับสนุนเรื่องการซ่อมแซมบางส่วนด้วย
        

ชุบชีวิต “บ้านพระยารัษฎาฯ” บิดายางพาราไทย
การทำงานของนักศึกษาคณะสถาปัตย์ฯ

         
       ทางออกคือ การระดมทุนการกุศลนั่นเอง แต่สิ่งที่ยังขาดอยู่คือ “เจ้าภาพใหญ่” ที่มีความน่าเชื่อถือ มีบารมี เป็นที่เคารพของคนตรัง ที่สามารถรวมทุกฝ่ายมาพูดคุยกันให้ชัดเจนว่า ใครจะรับผิดชอบจัดการอะไรกันบ้าง แล้วจะเริ่มต้นกันอย่างไร
        
       “ผมว่าถ้าเราไม่ช่วยกัน บ้านหลักนี้คืออดีต คือความเป็นมา ถ้าต้องผุพังลง เราจะสูญเสียรากเหง้า เพราะบ้านพระยารัษฎาฯ ที่กันตัง ถือเป็นจุดกำเนิดการพัฒนาเมืองตรัง ทั้งเรื่องยางพารา การคมนาคม ฯลฯ

แล้วคนรุ่นหลัง เด็กที่เกิดใหม่จะไม่รับรู้ เหลือแต่ข้อมูลประวัติศาสตร์ในเอกสาร สัญลักษณ์ และสถานที่ก็จะไม่หลงเหลืออยู่เลย” “อาจารย์วรวุฒิ” ทิ้งท้าย
        

ชุบชีวิต “บ้านพระยารัษฎาฯ” บิดายางพาราไทย
ที่ทำการบริษัทเบียนเจง ณ ระนอง กับภรรยาและญาติมิตร จำกัด

         
       ด้าน “อาจารย์ตรีชาติ เลาแก้วหนู” รองคณะบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง บอกว่า เป้าหมายในการังวัดครั้งนี้นอกจากเพื่อเก็บข้อมูลมรดกทางสถาปัตยกรรมแล้ว

ที่สำคัญคือ เพื่อประกอบการซ่อมแซม และน่ายินดีที่ทางเจ้าของบ้านได้ให้งบประมาณเพื่อนำร่องซ่อมแซม จำนวน 100,000 บาท เพื่อซ่อมตัวบันไดก่อน ความคาดหวังของเราในการทำงานนี้

นอกจากการซ่อมแซมแล้ว ยังส่งผลไปถึงการจัดรูปแบบพิพิธภัณฑ์ใหม่อีกครั้ง โดยผลงานโดยเฉพาะโมเดล ที่จัดทำขึ้นจะถูกนำเข้าจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ด้วย
        
       อาจารย์ตรีชาติ เสริมอีกว่า บ้านหลังนี้พระยารัษฎาฯ พักอยู่นานที่สุด ก่อนจะย้ายไปเป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต และท่านได้สร้างเมืองตรังจากเดิมที่ไม่มีอะไรเลย จนมีโครงสร้างที่แข็งแกร่งมาจนทุกวันนี้

บ้านของท่านที่กันตัง จึงถือได้ว่าสะท้อนแนวคิดและตัวตนของท่านมากที่สุด บ้านหลังนี้จึงมีความหมายที่ลึกซึ้งกว่าวัตถุที่เราเห็น 
        
       “บ้านของพระยารัษฎาฯ มีคุณค่าอย่างไรต้องตอบว่า มีคุณค่ามากสำหรับชาวตรัง หรืออาจรวมคนไทยทั้งประเทศ เพราะท่านถือเป็นบิดาของยางพารา

ถ้าไม่นับพื้นเพที่เมืองปีนัง บ้านที่กันตังนี้ น่าจะถือเป็นบ้านหลังสุดท้ายที่ท่านได้สร้างขึ้น และเหลืออยู่ ต่างจากที่ภูเก็ต ซึ่งเป็นบ้านที่ทางราชการมีให้สำหรับเจ้าเมืองหลายท่านหมุนเวียนสับเปลี่ยนกันมาอยู่ ดังนั้น จึงทรงคุณค่าอย่างมากในเรื่องของสัญลักษณ์ และศูนย์รวมจิตใจ”
        

ชุบชีวิต “บ้านพระยารัษฎาฯ” บิดายางพาราไทย
บันไดหลักด้านหน้าที่ชำรุด
       

ชุบชีวิต “บ้านพระยารัษฎาฯ” บิดายางพาราไทย
ห้องนอนบนชั้นสอง
       

ชุบชีวิต “บ้านพระยารัษฎาฯ” บิดายางพาราไทย
การทำงานของนักศึกษาคณะสถาปัตย์ฯ
       

ชุบชีวิต “บ้านพระยารัษฎาฯ” บิดายางพาราไทย
การทำงานของนักศึกษาคณะสถาปัตย์ฯ
       

ชุบชีวิต “บ้านพระยารัษฎาฯ” บิดายางพาราไทย
การทำงานของนักศึกษาคณะสถาปัตย์ฯ
       

ขอบคุณ ผู้จัดการออนไลน์

สวัสดิ์สิริชีววารค่ะ




Create Date : 05 พฤศจิกายน 2558
Last Update : 5 พฤศจิกายน 2558 9:40:58 น. 0 comments
Counter : 1258 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.