Group Blog
 
 
กรกฏาคม 2552
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
3 กรกฏาคม 2552
 
All Blogs
 
การดูจิต จากสวนสันติธรรม

สวนสันติธรรม วันที่ ๓ เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๒
ช่วงที่ ๑ นาทีที่ ๒๔.๔๕ – ๓๑.๐๔

คำถาม รบกวนหลวงพ่อช่วยสอนวิธีการดูจิตด้วยค่ะ
นี่กฎของการดูจิตนะ
ข้อที่ ๑ อย่าอยากดูนะให้ความรู้สึกเกิดขึ้นก่อนแล้วก็ค่อยรู้ เช่นโกรธขึ้นก่อนแล้วรู้ว่าโกรธ
โลภขึ้นก่อนแล้วรู้ว่าโลภ

กฎข้อที่สองระหว่างดูให้ดูห่าง ๆ อย่ากระโจนลงไปดู ไม่เหมือนดูโทรทัศน์นะ ใจไหลเข้าไปอยู่ในโทรทัศน์ นั่นใช้ไม่ได้ ดูห่าง ๆ

กฎข้อที่สามของการดูจิตก็คือ เมื่อดูแล้วนะไม่เข้าไปแทรกแซงไม่ว่าเราจะเห็นสภาวะอะไรเกิดขึ้นเราจะไม่เข้าไปแทรกแซง
เช่นเราเห็นความโกรธเกิดขึ้น เราไม่ต้องพยายามทำให้หายโกรธ
หน้าที่ของเราคือก็แค่ รู้ไปว่าจิตมันโกรธนะ ทำตัวเป็นแค่คนดูไม่เข้าไปแทรกแซง

จิตโลภขึ้นมาก็แค่รู้ว่าจิตมันโลภนะ ไม่ต้องไปหาทางทำให้หายโลภมันมีความทุกข์ขึ้นมาเราก็รู้ว่าจิตมันมีความทุกข์
ไม่ต้องพยายามทำให้จิตหายทุกข์นะ
มันมีความสุขขึ้นมาก็ไม่ต้องพยายามรักษาความสุขเอาไว้
มันมีจิตที่เป็นกุศลขึ้นมาก็ไม่ต้องพยายามรักษาไว้
ไม่ว่าอะไรเกิดขึ้นนะ เราแค่รู้ลูกเดียว ไม่รักษาไว้ แล้วก็ไม่ปฏิเสธ ไม่ต่อต้านมัน

รู้ด้วยความเป็นกลาง รู้ด้วยความเป็นกลางเพราะฉะนั้นกฎข้อที่สามก็คือ
ให้รู้สภาวะทุกสิ่งทุกอย่างด้วยจิตใจที่เป็นกลาง
จิตใจที่เป็นกลางเนี่ยเกิดจากการรู้ทัน ว่าจิตมันไปหลงยินดี จิตมันไปหลงยินร้าย

อย่าให้มันเป็นกลางเพราะไปบังคับไว้ ไม่ใช่บังคับว่าชั้นจะต้องเป็นกลาง
ถ้าบังคับเมื่อไหร่ เครียด

หลวงพ่อถึงบอกว่าวิปัสสนาไม่มีคำว่าบังคับ ไม่มีคำว่าห้าม ไม่มีคำว่าต้อง
มีแต่ว่ามันเป็นยังไง รู้ว่าเป็นอย่างนั้น
ใจเราเห็น สมมติเราเห็นสาวสวยขึ้นมา ใจเรามีราคะ
ไม่ต้องหาทางทำให้ราคะดับไป

โดยเฉพาะไม่ต้องหาทางทำให้สาวดับไปด้วย
ไม่ต้องหาทางให้ราคะดับไป รู้ลูกเดียวว่าใจมีราคะ
ถ้าใจไม่ชอบราคะ เห็นมั้ยไม่เป็นกลาง ใจเกลียดราคะ อยากให้ราคะหายไป
รู้ทันว่าใจเราเกลียดราคะ ใจเราไม่เป็นกลาง

ถ้ามีความสุขเกิดขึ้น ใจเราชอบให้รู้ทันว่าใจเราชอบ
เพราะฉะนั้นเวลาที่เราไปรู้สภาวะรู้อารมณ์ทั้งหลายแล้วเนี่ย
ใจเรายินดีขึ้นมา คือเราชอบขึ้นมาก็ให้รู้ ใจเรายินร้าย
คือเกิดความเกลียดชังสภาวะนั้นขึ้นมาก็ให้รู้
ถ้ารู้ทันนะ ต่อไปใจจะค่อย ๆ เป็นกลาง

เราจะรู้สภาวะทั้งหลายอย่างเป็นกลาง นี่คือกฎข้อที่สาม


กฎข้อที่สี่ ทำบ่อย ๆ ถ้าทำบ่อย ๆ แล้ว กฎข้อที่ห้า วันนึงเราจะบรรลุมรรคผลนิพพาน
เพราะเราทำเหตุที่พอสมควรแล้ว เวลาที่เราบรรลุมรรคผลนิพพานนะ
จิตใจเราจะค่อย ๆ เปลี่ยนไปนะ ถึงจุดหนึ่งมันเปลี่ยนปั๊ปเลย
ตอนที่เกิดมรรคผล ความทุกข์ที่มีอยู่เนี่ยตกหายไปเยอะเลย
เป็นลำดับ ๆ ไป แต่ละขั้นแต่ละภูมิ

เพราะฉะนั้นเวลาเราหัดรู้สภาวะ สรุปแล้วสรุป
การเรียนธรรมะเนี่ยเราเรียนแล้วเพื่อวันหนึ่งเราจะไม่มีทุกข์ทางใจเกิดขึ้น
วิธีปฏิบัติที่จะทำให้เราพ้นจากทุกข์ทางใจนั้น คือหัดรู้ใจของเรา
ความทุกข์มันแอบมาอยู่ในใจของเรา เรารู้ทันนะ
ต่อไปความทุกข์มันจะไปเอง เราไม่ต้องไปไล่มันหรอก
ถ้าเราหัดรู้ใจของเรา ใจของเรามีความรู้สึกอะไรเกิดขึ้น รู้ไปเรื่อย ๆ นะ
มีกฎสามข้อของการรู้ คือก่อนที่จะรู้เนี่ยอย่าไปเที่ยวแสวงหา
อย่าไปดักดูไว้ก่อน ให้ความรู้สึกเกิดขึ้นแล้วค่อยรู้เอา
กฎข้อที่สองระหว่างที่รู้เนี่ยนะ อย่ากระโจนลงไปจ้องมัน
ดูห่าง ๆ ดูแบบคนวงนอกนะ

ไม่ถลำลงไปจ้องมัน ถ้าไปจ้องเมื่อไหร่กลายเป็นสมถะเมื่อนั้น
กฎข้อที่สามคือรู้ด้วยความเป็นกลาง
ถ้าหากเรารู้สภาวะแล้วเกิดความยินดีขึ้นมาเราก็รู้ทัน
เกิดความยินร้ายขึ้นมาเราก็รู้ทัน

รู้ทันความยินดียินร้ายในใจของเราบ่อย ๆ
ต่อไปใจเราจะเป็นกลาง เป็นกลางของมันเอง
ถ้าเมื่อไรเรารู้สภาวะทั้งหลายด้วยจิตใจที่เป็นกลางไปเรื่อย ๆ
เราจะเห็นสภาวะทั้งหลายตรงตามความเป็นจริง
มันเป็นยังไงเรารู้ว่าเป็นอย่างนั้นโดยที่เราไม่เข้าไปแทรกแซง
พระพุทธเจ้าสอนไว้ว่า เพราะรู้ตามความเป็นจริงนะ
เพราะเห็นตามความเป็นจริงจึงเบื่อหน่าย
เพราะเบื่อหน่ายจึงคลายความยึดถือ

เพราะคลายความยึดถือจึงหลุดพ้น เพราะหลุดพ้นจึงรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว
หลุดพ้นจากอะไร หลุดพ้นจากความยึดถือในกายในใจนี้
ก็จะหลุดพ้นจากความทุกข์ไปด้วย เพราะความทุกข์นี้อาศัยอยู่ในกายในใจ
พวกเรารู้สึกมั้ย ความทุกข์ถ้าไม่อยู่ที่กายก็อยู่ที่ใจ
ถ้าจิตของเราหลุดพ้นจากกายจากใจแล้วนะ
ความทุกข์จะเข้ามาไม่ถึงจิตใจของเราอีกต่อไปแล้ว
มีแต่จะร่วงหายไปเลย หลังจากนั้นเราจะมีชีวิตที่ รู้ ตื่น เบิกบาน ตลอดเวลา
โดยที่ไม่ต้องประคอง ไม่ต้องรักษา

เคยได้ยินใช่มั้ยว่า
การศึกษานี่ต้องทำตลอดชีวิตใช่มั้ย
การศึกษาต้องทำตลอดชีวิตเพราะวิทยาการทางโลกเนี่ยไม่มีที่สิ้นสุด
แต่การศึกษาทางธรรมะนะ
เมื่อไรที่เราพ้นจากความยึดถือกายยึดถือใจแล้วเนี่ย
งานศึกษาของเราสำเร็จแล้ว
ผู้ที่เรียนสำเร็จแล้วเนี่ยคือพระอรหันต์ พระอรหันต์ถึงชื่อว่าพระอเสขะ
อเสขะแปลว่าผู้ไม่ต้องศึกษาอีกต่อไปแล้ว

เพราะฉะนั้นงานในทางศาสนาพุทธนะ
ถ้าเราเรียนรู้จนแจ่มแจ้งว่ากายนี้ใจนี้เป็นตัวทุกข์
ใจมันจะปล่อยวางความยึดถือกายยึดถือใจ แล้วไม่ต้องเรียนอีกแล้ว
ความทุกข์จะเข้ามาสู่ใจไม่ได้อีกแล้ว
ไม่เหมือนการศึกษาทางโลกนะต้องศึกษาตลอดชีวิต
นี่เป็นปรัชญาการศึกษาทางโลก ซึ่งมันก็จำเป็นสำหรับชาวโลกนะ
เพราะโลกนี้ปรุงแต่งไปเรื่อย ๆ เราก็ต้องตามเรียนรู้ให้ทันความปรุงแต่งไปเรื่อย ๆ

ส่วนธรรมะเนี่ยเราเรียนจนเราพ้นจากความปรุงแต่ง
เพราะฉะนั้นเนี่ย ไม่ต้องไปเรียนอีกแล้ว เห็นมั้ยมันคนละชั้นกันนะ
อย่าไปบอกอาจารย์นะเดี๋ยวอาจารย์จะเสียใจ
การศึกษาทางโลกไม่มีที่สิ้นสุด การศึกษาทางธรรมะมีจุดที่สิ้นสุดนะ
สิ้นสุดตรงที่ใจเราพ้นจากความทุกข์โดยสิ้นเชิง




Create Date : 03 กรกฎาคม 2552
Last Update : 19 ธันวาคม 2552 18:24:46 น. 3 comments
Counter : 611 Pageviews.

 
MP3 ภัยร้ายต่อพระพุทธศาสนา
ช่วยกันส่งlinkต่อ หรือไรท์ CD แจก

//www.mediafire.com/download.php?cokz4h0zmdq


โดย: ชาวพุทธ IP: 125.27.189.121 วันที่: 2 มกราคม 2553 เวลา:22:00:43 น.  

 
เป็นแนวทางปฏิบัติดีที่สุดที่เคยอ่านมา


โดย: น IP: 124.120.56.25 วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:15:02:08 น.  

 
การดูจิตที่ครูบาอาจารย์สอนนั้นคือให้หมั่นดูความเป็นสังขตธรรมจนเห็นความปรุงแต่งว่ามันเป็นไตรลักษณ์อย่างไร ไม่ใช่การคิดว่าจิตเป็นอสังขตธรรมตามตำราจึงอ้างว่าไม่มีเรา ไม่มีตัวตน คน สัตว์ จึงมุ่งดูจิตให้เห็นความว่างเปล่า ไปเอาคำสอนเว่ยหล่าง ฮวงโป มาปรุงแต่ง ยึดคำบรรยายอสังขตธรรมมาเป็นจุดโฟกัสของการดูจิต ไม่ใส่ใจดูความเป็นสังขตธรรม คิดเรื่องไตรลักษณ์เพื่อหลอกตัวเองให้ปล่อยวาง นี่คือการปรุงแต่งความไม่ปรุงแต่ง ทำเป็นสักแต่ว่ารู้และเห็นอย่างปลอมๆ ไม่เห็นตัวตนที่เรียกว่า "อเนญชาภิสังขาร" ตีความการดูจิตผิดพลาดไปอีกอย่าง คนละทางกับที่ครูบาอาจารย์ท่านสอน ดูจิตเพื่อให้เราเห็นทุกข์ของความเป็นสังขตธรรมอันไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงบีบคั้นของตัวตน เห็นจริงๆว่าตัวตนทั้งรูปธรรม นามธรรม ไม่ใช่เราอย่างไร ด้วยมีจิตแยกออกมาเป็นผู้รู้ ผู้เห็น การยึดมั่นคำว่าไม่มีเรา ปฏิเสธตัวตนคือปฏิเสธผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เลยเอาแค่รู้ ตื่น เบิกบาน โดยมีผู้คิดแอบเป็นเราในขณะที่ปากพูดว่าไม่มีเรา นี่คือพวกติดกับดักความรู้ในหัว พวกอ่านหรือฟังท่านพุทธทาส พวกที่เรียนธรรมะแบบเรียนหนังสือ การภาวนาจึงมุ่งทำจิตให้ว่าง ซื่อบื้อได้แล้วดี ไม่ได้เข้าใจจิตตสิกขา จึงนึกว่ามิจฉาสมาธิเป็นทางของปัญญา นึกว่าความรู้จากการถอดความตัวหนังสือเป็นปัญญาสิกขา ได้เจโตวิมุตติก็นึกว่าได้ปัญญาวิมุตติ มันผิดฝาผิดตัวไปหมด คนสอนถูกจึงว่าผิด ตัวเองสอนผิดกลับไม่รู้ตัว ตายไปแล้วจะเป็นตราบาปไปชั่วลูกชั่วหลาน หากไม่แก้ไขตอนมีชีวิตให้ถูก วันหนึ่งความจริงจะปรากฏ ในวันนี้มีคนรู้ไม่กี่คนก็จริง แต่สิ่งที่ปรากฏบนอินเตอร์เน็ตมันไม่หายไปไหน คนรุ่นต่อไปจะได้เปรียบเทียบของจริงกับของปลอม แล้วพบว่าใครคือคนทำลายศาสนา เป็นสัทธรรมปฏิรูป สิ่งที่ทำมาทั้งชีวิตเป็นกองขยะมลพิษในโลกออนไลน์แค่นั้น!!!

by ตงฟางปุ๊ป้าย บูรพาไม่แพ้ 2013


โดย: ลูกศิษย์หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช (สมาชิกหมายเลข 7336128 ) วันที่: 9 ธันวาคม 2565 เวลา:17:04:43 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Toad
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




Friends' blogs
[Add Toad's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.