จินตนาการจากความว่างเปล่า
Imagination from the emptiness
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2550
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
20 พฤษภาคม 2550
 
All Blogs
 
ค้ำประกัน จำนอง จำนำ

ค้ำประกัน

มาตรา 680 อันว่าค้ำประกันนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลภายนอก คนหนึ่งเรียกว่าผู้ค้ำประกัน ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่ง เพื่อชำระหนี้ ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น
อนึ่ง สัญญาค้ำประกันนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใด อย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้ บังคับคดีหาได้ไม่
มาตรา 681 อันค้ำประกันนั้นจะมีได้แต่เฉพาะเพื่อหนี้อันสมบูรณ์
หนี้ในอนาคตหรือหนี้มีเงื่อนไข จะประกันไว้เพื่อเหตุการณ์ซึ่งหนี้ นั้นอาจเป็นผลได้จริง ก็ประกันได้
หนี้อันเกิดแต่สัญญาซึ่งไม่ผูกพันลูกหนี้ เพราะทำด้วยความสำคัญผิด หรือเพราะเป็นผู้ไร้ความสามารถนั้น ก็อาจจะมีประกันอย่างสมบูรณ์ได้ ถ้าหากว่าผู้ค้ำประกันรู้เหตุสำคัญผิดหรือไร้ความสามารถนั้นในขณะที่ เข้าทำสัญญาผูกพันตน
มาตรา 682 ท่านว่าบุคคลจะยอมเข้าเป็นผู้รับเรือน คือเป็นประกัน ของผู้ค้ำประกันอีกชั้นหนึ่ง ก็เป็นได้
ถ้าบุคคลหลายคน ยอมตนเข้าเป็นผู้ค้ำประกันในหนี้รายเดียวกัน ไซร้ท่านว่าผู้ค้ำประกันเหล่านั้นมีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกัน แม้ถึงว่ามิได้เข้ารับค้ำประกันรวมกัน
มาตรา 685 ถ้าเมื่อบังคับตามสัญญาค้ำประกันนั้น ผู้ค้ำประกันไม่ ชำระหนี้ทั้งหมดของลูกหนี้ รวมทั้งดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทน และ อุปกรณ์ด้วยไซร้หนี้ยังเหลืออยู่เท่าใด ท่านว่าลูกหนี้ยังคงรับผิดต่อ เจ้าหนี้ในส่วนที่เหลือนั้น
มาตรา 686 ลูกหนี้ผิดนัดลงเมื่อใด ท่านว่าเจ้าหนี้ชอบที่จะเรียก ให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้แต่นั้น
มาตรา 687 ผู้ค้ำประกันไม่จำต้องชำระหนี้ก่อนถึงเวลากำหนดที่ จะชำระ แม้ถึงว่าลูกหนี้ จะไม่อาจถือเอาซึ่งประโยชน์แห่งเงื่อนเวลา เริ่มต้นหรือเวลาสุดสิ้นได้ต่อไปแล้ว
มาตรา 688 เมื่อเจ้าหนี้ทวงให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ ผู้ค้ำประกัน จะขอให้เรียกลูกหนี้ชำระก่อนก็ได้ เว้นแต่ลูกหนี้จะถูกศาลพิพากษา ให้เป็นคนล้มละลายเสียแล้ว หรือไม่ปรากฏว่าลูกหนี้ไปอยู่แห่งใดใน พระราชอาณาเขต
มาตรา 689 ถึงแม้จะได้เรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ดั่งกล่าวมาใน มาตรา ก่อนนั้นแล้วก็ตาม ถ้าผู้ค้ำประกันพิสูจน์ได้ว่าลูกหนี้นั้นมีทาง ที่จะชำระหนี้ได้และการที่จะบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้นั้นจะไม่เป็นการ ยากไซร้ ท่านว่าเจ้าหนี้จะต้องบังคับการชำระหนี้รายนั้นเอาจาก ทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อน
มาตรา 690 ถ้าเจ้าหนี้มีทรัพย์ของลูกหนี้ยึดไว้เป็นประกันไซร้ เมื่อผู้ค้ำประกันร้องขอ ท่านว่าเจ้าหนี้จะต้องให้ชำระหนี้เอาจาก ทรัพย์ซึ่งเป็นประกันนั้นก่อน
มาตรา 691 ถ้าผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ ท่านว่า ผู้ค้ำประกันย่อมไม่มีสิทธิดั่งกล่าวไว้ใน มาตรา 688,689 และ 690
มาตรา 692 อายุความสะดุดหยุดลงเป็นโทษแก่ลูกหนี้นั้น ย่อม เป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันด้วย
มาตรา 693 ผู้ค้ำประกันซึ่งได้ชำระหนี้แล้ว ย่อมมีสิทธิที่จะไล่เบี้ย เอาจากลูกหนี้ เพื่อต้นเงินกับดอกเบี้ยและเพื่อการที่ต้องสูญหาย หรือเสียหายไปอย่างใด ๆ เพราะการค้ำประกันนั้น
อนึ่ง ผู้ค้ำประกันย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้บรรดามีเหนือ ลูกหนี้ด้วย
มาตรา 694 นอกจากข้อต่อสู้ซึ่งผู้ค้ำประกันมีต่อเจ้าหนี้นั้น ท่านว่าผู้ค้ำประกันยังอาจยกข้อต่อสู้ทั้งหลาย ซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ ขึ้นต่อสู้ได้ด้วย
มาตรา 695 ผู้ค้ำประกันซึ่งละเลยไม่ยกข้อต่อสู้ของลูกหนี้ขึ้นต่อสู้ เจ้าหนี้นั้น ท่านว่าย่อมสิ้นสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาแก่ลูกหนี้เพียงเท่าที่ไม่ ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้รู้ว่ามีข้อต่อสู้เช่นนั้น และที่ไม่รู้นั้นมิได้เป็นเพราะความผิดของตนด้วย
มาตรา 696 ผู้ค้ำประกันไม่มีสิทธิจะไล่เบี้ยเอาแก่ลูกหนี้ได้ ถ้าว่า ตนได้ชำระหนี้แทนไปโดยมิได้บอกลูกหนี้ และลูกหนี้ยังมิรู้ความมา ชำระหนี้ซ้ำอีก
ในกรณีเช่นว่านี้ ผู้ค้ำประกันก็ได้แต่เพียงจะฟ้องเจ้าหนี้เพื่อคืน ลาภมิควรได้เท่านั้น
มาตรา 697 ถ้าเพราะการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งของเจ้าหนี้ เองเป็นเหตุให้ผู้ค้ำประกัน ไม่อาจเข้ารับช่วงได้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ในสิทธิก็ดีจำนองก็ดี จำนำก็ดี และบุริมสิทธอันได้ให้ไว้แก่เจ้าหนี้ แต่ก่อนหรือในขณะทำสัญญาค้ำประกันเพื่อชำระหนี้นั้น ท่านว่าผู้ค้ำ ประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดเพียงเท่าที่ตนต้องเสียหาย เพราะการนั้น
มาตรา 698 อันผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดในขณะเมื่อ หนี้ของลูกหนี้ระงับสิ้นไปไม่ว่าเพราะเหตุใด ๆ
มาตรา 699 การค้ำประกันเพื่อกิจการเนื่องกันไปหลายคราวไม่มี จำกัดเวลาเป็นคุณแก่เจ้าหนี้นั้น ท่านว่าผู้ค้ำประกันอาจเลิกเสียเพื่อ คราวอันเป็นอนาคตได้ โดยบอกกล่าวความประสงค์นั้นแก่เจ้าหนี้
ในกรณีเช่นนี้ ท่านว่าผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดในกิจการที่ลูกหนี้ กระทำลงภายหลังคำบอกกล่าวนั้นได้ไปถึงเจ้าหนี้
มาตรา 700 ถ้าค้ำประกันหนี้อันจะต้องชำระ ณ เวลามีกำหนด แน่นอน และเจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ไซร้ ท่านว่าผู้ค้ำประกัน ย่อมหลุดพ้นจากความรับผิด
แต่ถ้าผู้ค้ำประกันได้ตกลงด้วยในการผ่อนเวลา ท่านว่าผู้ค้ำประกัน หาหลุดพ้นจากความรับผิดไม่
มาตรา 701 ผู้ค้ำประกันจะขอชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตั้งแต่เมื่อถึง กำหนดชำระก็ได้
ถ้าเจ้าหนี้ไม่ยอมรับชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันก็เป็นอันหลุดพ้นจาก ความรับผิด

จำนอง

มาตรา 702 อันว่าจำนองนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้จำนองเอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับจำนอง เป็นประกันการชำระหนี้ โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง
ผู้รับจำนองชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อน เจ้าหนี้สามัญมิพักต้องพิเคราะห์ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะได้โอน ไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือหาไม่
มาตรา 704 สัญญาจำนองต้องระบุทรัพย์สินซึ่งจำนอง
มาตรา 705 การจำนองทรัพย์สินนั้น นอกจากผู้เป็นเจ้าของใน ขณะนั้นแล้ว ท่านว่าใครอื่นจะจำนองหาได้ไม่
มาตรา 706 บุคคลมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินแต่ภายในบังคับ เงื่อนไขเช่นใด จะจำนองทรัพย์สินนั้นได้แต่ภายในบังคับเงื่อนไข เช่นนั้น
มาตรา 709 บุคคลคนหนึ่งจะจำนองทรัพย์สินของตนไว้เพื่อ ประกันหนี้อันบุคคลอื่นจะต้องชำระ ก็ให้ทำได้
มาตรา 710 ทรัพย์สินหลายสิ่งมีเจ้าของคนเดียวหรือหลายคนจะ จำนองเพื่อประกันการชำระหนี้แต่รายหนึ่งรายเดียว ท่านก็ให้ทำได้
และในการนี้คู่สัญญาจะตกลงกันดั่งต่อไปนี้ก็ได้ คือว่า
(1) ให้ผู้รับจำนองใช้สิทธิบังคับเอาแก่ทรัพย์สิน ซึ่งจำนองตาม ลำดับอันระบุไว้
(2) ให้ถือเอาทรัพย์สินแต่ละสิ่งเป็นประกันหนี้ เฉพาะแต่ส่วนหนึ่ง ส่วนใดที่ระบุไว้
มาตรา 711 การที่จะตกลงกันไว้เสียแต่ก่อนเวลาหนี้ถึงกำหนด ชำระเป็นข้อความอย่างใดอย่างหนึ่งว่า ถ้าไม่ชำระหนี้ ให้ผู้รับจำนอง เข้าเป็นเจ้าของทรัพย์สินซึ่งจำนอง หรือว่าให้จัดการแก่ทรัพย์สินนั้น เป็นประการอื่นอย่างใดนอกจากตามบทบัญญัติทั้งหลายว่าด้วยการ บังคับจำนองนั้นไซร้ ข้อตกลงเช่นนั้นท่านว่าไม่สมบูรณ์
มาตรา 716 จำนองย่อมครอบไปถึงบรรดาทรัพย์สินซึ่งจำนองหมด ทุกสิ่งแม้จะได้ชำระหนี้แล้วบางส่วน
มาตรา 719 จำนองที่ดินไม่ครอบไปถึงเรือนโรงอันผู้จำนอง ปลูกสร้างลงในที่ดินภายหลังวันจำนอง เว้นแต่จะมีข้อความกล่าวไว้ โดยเฉพาะในสัญญาว่าให้ครอบไปถึง
แต่กระนั้นก็ดี ผู้รับจำนองจะให้ขายเรือนโรงนั้นรวมไปกับที่ดิน ด้วยก็ได้แต่ผู้รับจำนองอาจใช้บุริมสิทธิของตนได้เพียงแก่ราคาที่ดิน เท่านั้น
มาตรา 720 จำนองเรือนโรงหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นซึ่งได้ทำ ขึ้นไว้บนดินหรือใต้ดิน ในที่ดินอันเป็นของคนอื่นเขานั้นย่อมไม่ครอบ ไปถึงที่ดินนั้นด้วยฉันใดกลับกันก็ฉันนั้น
มาตรา 721 จำนองไม่ครอบไปถึงดอกผลแห่งทรัพย์สินซึ่งจำนอง เว้นแต่ในเมื่อผู้รับจำนองได้บอกกล่าวแก่ผู้จำนองหรือผู้รับโอนแล้วว่าตนจำนงจะบังคับจำนอง
มาตรา 722 ถ้าทรัพย์สินได้จำนองแล้ว และภายหลังที่จดทะเบียน จำนองมีจดทะเบียนภารจำยอมหรือทรัพยสิทธิอย่างอื่น โดยผู้รับจำนอง มิได้ยินยอมด้วยไซร้ ท่านว่าสิทธิจำนองย่อมเป็นใหญ่กว่าภารจำยอม หรือทรัพยสิทธิอย่างอื่นนั้น หากว่าเป็นที่เสื่อมเสียแก่สิทธิของผู้รับ จำนองในเวลาบังคับจำนองก็ให้ลบสิทธิที่กล่าวหลังนี้เสียจากทะเบียน
มาตรา 723 ถ้าทรัพย์สินซึ่งจำนองบุบสลาย หรือถ้าทรัพย์สินซึ่ง จำนองแต่สิ่งใดหนึ่งสูญหายหรือบุบสลาย เป็นเหตุให้ไม่เพียงพอแก่ การประกันไซร้ ท่านว่าผู้รับจำนองจะบังคับจำนองเสียในทันทีก็ได้ เว้นแต่เมื่อนั้นมิได้เป็นเพราะความผิดของผู้จำนอง และผู้จำนองก็ เสนอจะจำนองทรัพย์สินอื่นแทนให้มีราคาเพียงพอ หรือเสนอจะรับ ซ่อมแซมแก้ไขความบุบสลายนั้นภายในเวลาอันสมควรแก่เหตุ
มาตรา 724 ผู้จำนองใดได้จำนองทรัพย์สินของตนไว้เพื่อประกัน หนี้อันบุคคลอื่นจะต้องชำระแล้ว และเข้าชำระหนี้เสียเองแทนลูกหนี้ เพื่อจะปัดป้องมิให้ต้องบังคับจำนอง ท่านว่าผู้จำนองนั้นชอบที่จะได้รับ เงินใช้คืนจากลูกหนี้ตามจำนวนที่ตนได้ชำระไป
ถ้าว่าต้องบังคับจำนอง ท่านว่าผู้จำนองชอบที่จะได้รับเงินใช้คืน จากลูกหนี้ตามจำนวนซึ่งผู้รับจำนองจะได้รับใช้หนี้จากการบังคับ จำนองนั้น
มาตรา 727 ถ้าบุคคลคนเดียวจำนองทรัพย์สินแห่งตนเพื่อ ประกันหนี้อันบุคคลอื่นจะต้องชำระ ท่านให้ใช้บทบัญญัติ มาตรา 697 , 700 และ 701 ว่าด้วยค้ำประกันนั้นบังคับอนุโลมตามควร
มาตรา 728 เมื่อจะบังคับจำนองนั้น ผู้รับจำนองต้องมีจดหมาย บอกกล่าวไปยังลูกหนี้ก่อนว่าให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควร ซึ่ง กำหนดให้ในคำบอกกล่าวนั้น ถ้าและลูกหนี้ละเลยเสียไม่ปฏิบัติตาม คำบอกกล่าวผู้รับจำนองจะฟ้องคดีต่อศาล เพื่อให้พิพากษาสั่งให้ ยึดทรัพย์สินซึ่งจำนองและให้ขายทอดตลาดก็ได้
มาตรา 729 นอกจากทางแก้ดั่งบัญญัติไว้ใน มาตรา ก่อนนั้น ผู้รับ จำนองยังชอบที่จะเรียกเอาทรัพย์จำนองหลุดได้ภายในบังคับแห่ง เงื่อนไข ดั่งจะกล่าวต่อไปนี้
(1) ลูกหนี้ได้ขาดส่งดอกเบี้ยมาแล้วเป็นเวลาถึงห้าปี
(2) ผู้จำนองมิได้แสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาล ว่าราคาทรัพย์สิน นั้นท่วมจำนวนเงินอันค้างชำระ และ
(3) ไม่มีการจำนองรายอื่น หรือบุริมสิทธิอื่นได้จดทะเบียนไว้ เหนือทรัพย์สินอันเดียวกันนี้เอง
มาตรา 730 เมื่อทรัพย์สินอันหนึ่งอันเดียวได้จำนองแก่ผู้รับจำนอง หลายคนด้วยกัน ท่านให้ถือลำดับผู้รับจำนองเรียงตามวันและเวลา จดทะเบียน และผู้รับจำนองคนก่อนจักได้รับใช้หนี้ก่อนผู้รับจำนองคนหลัง
มาตรา 731 อันผู้รับจำนองคนหลังจะบังคับตามสิทธิของตนให้ เสียหายแก่ผู้รับจำนองคนก่อนนั้น ท่านว่าหาอาจทำไม่ได้
มาตรา 732 ทรัพย์สินซึ่งจำนองขายทอดตลาดได้เงินเป็นจำนวน สุทธิเท่าใด ท่านให้จัดใช้แก่ผู้รับจำนองเรียงตามลำดับ และถ้ายังมี เงินเหลืออยู่อีก ก็ให้ส่งมอบแก่ผู้จำนอง
มาตรา 734 ถ้าจำนองทรัพย์สินหลายสิ่งเพื่อประกันหนี้แต่ รายหนึ่งรายเดียวและมิได้ระบุลำดับไว้ไซร้ ท่านว่าผู้รับจำนองจะ ใช้สิทธิของตนบังคับแก่ทรัพย์สินนั้นๆทั้งหมด หรือแต่เพียงบางสิ่ง ก็ได้ แต่ท่านห้ามมิให้ทำเช่นนั้นแก่ทรัพย์สินมากสิ่งกว่าที่จำเป็น เพื่อใช้หนี้ตามสิทธิแห่งตน
ถ้าผู้รับจำนองใช้สิทธิของตนบังคับแก่ทรัพย์สินทั้งหมดพร้อมกัน ท่านให้แบ่งภาระแห่งหนี้นั้นกระจายไปตามส่วนราคาแห่งทรัพย์สิน นั้นๆ เว้นแต่ในกรณีที่ได้ระบุจำนวนเงินจำนองไว้ เฉพาะทรัพย์สิน แต่ละสิ่ง ๆ เป็นจำนวนเท่าใด ท่านให้แบ่งกระจายไปตามจำนวนเงิน จำนองที่ระบุไว้เฉพาะทรัพย์สิ่งนั้นๆ
แต่ถ้าผู้รับจำนองใช้สิทธิของตน บังคับแก่ทรัพย์สินอันใดอันหนึ่ง แต่เพียงสิ่งเดียวไซร้ ผู้รับจำนองจะให้ชำระหนี้อันเป็นส่วนของตน ทั้งหมดจากทรัพย์สินอันนั้นก็ได้ ในกรณีเช่นนั้น ท่านให้ถือว่าผู้รับ จำนองคนถัดไปโดยลำดับย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้รับจำนองคนก่อน และจะเข้าบังคับจำนองแทนที่คนก่อนก็ได้แต่เพียงเท่าจำนวน ซึ่งผู้รับ จำนองคนก่อนจะพึงได้รับจากทรัพย์สินอื่น ๆ ตามบทบัญญัติดั่งกล่าว มาในวรรคก่อนนั้น
มาตรา 746 การชำระหนี้ไม่ว่าครั้งใด ๆ สิ้นเชิงหรือแต่บางส่วน ก็ดี การระงับหนี้อย่างใด ๆ ก็ดี การตกลงกันแก้ไขเปลี่ยนแปลงจำนอง หรือหนี้อันจำนองเป็นประกันนั้นเป็นประการใดก็ดี ท่านว่าต้องนำ ความไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ในเมื่อมีคำขอร้องของ ผู้มีส่วนได้เสีย มิฉะนั้นท่านห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอก

จำนำ

มาตรา 747 อันว่าจำนำนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้จำนำส่งมอบสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้รับจำนำ เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้
มาตรา 749 คู่สัญญาจำนำจะตกลงกันให้บุคคลภายนอกเป็นผู้ เก็บรักษาทรัพย์สินจำนำไว้ก็ได้
มาตรา 750 ถ้าทรัพย์สินที่จำนำเป็นสิทธิซึ่งมีตราสาร และมิได้ ส่งมอบตราสารนั้นให้แก่ผู้รับจำนำ ทั้งมิได้บอกกล่าวเป็นหนังสือแจ้ง การจำนำแก่ลูกหนี้แห่งสิทธินั้นด้วยไซร้ ท่านว่าการจำนำย่อมเป็นโมฆะ
มาตรา 758 ผู้รับจำนำชอบที่จะยึดของจำนำไว้ได้ทั้งหมดจนกว่า จะได้รับชำระหนี้และค่าอุปกรณ์ครบถ้วน
มาตรา 761 ถ้ามิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญา หากมีดอกผล นิตินัยงอกจากทรัพย์สินนั้นอย่างไร ท่านให้ผู้รับจำนำจัดสรรใช้เป็นค่า ดอกเบี้ยอันค้างชำระแก่ตน และถ้าไม่มีดอกเบี้ยค้างชำระ ท่านให้จัด สรรใช้ต้นเงินแห่งหนี้อันได้จำนำทรัพย์สินเป็นประกันนั้น


Create Date : 20 พฤษภาคม 2550
Last Update : 20 พฤษภาคม 2550 18:55:16 น. 16 comments
Counter : 5585 Pageviews.

 
อ่านแล้ว ...สลบเลย

มาตรา ต่าง ๆ เนี้ย เขาจำกันยังไงคะคุณไร้นาม


โดย: nuinuinaka (nuinuinaka ) วันที่: 20 พฤษภาคม 2550 เวลา:19:08:42 น.  

 
เดี๋ยวเทอมหน้าก็ได้เรียนแล้วค่ะ


โดย: i am tabo วันที่: 20 พฤษภาคม 2550 เวลา:19:21:57 น.  

 
อยากอ่านปุ๊บจำได้ปั๊บทุกมาตราจังเลยอ่ะค่ะ


โดย: fonrin วันที่: 20 พฤษภาคม 2550 เวลา:22:16:44 น.  

 
โอ่ววววว...
ทำเยี่ยงไร ถึงจะจำได้หมดในเร็วพลัน
หละค่ะเนี๊ยะ



โดย: naragorn (naragorn ) วันที่: 21 พฤษภาคม 2550 เวลา:2:50:11 น.  

 
--- คุณ nuinuinaka ---

สลบเหมือนกันค่ะ อิอิ


--- คุณ i am tabo ---

เย้ๆ มีเพื่อนร่วมชะตากรรมแล้ว


--- คุณ fonrin ---

ทำไม่ได้เหมือนกันค่ะ (อ่านปุ๊บจำได้ปั๊บ)


--- คุณ naragon ---

อยากรู้เคล็ดลับ วิธีจำได้หมดเหมือนกันค่ะ



โดย: ไร้นาม วันที่: 21 พฤษภาคม 2550 เวลา:8:54:28 น.  

 
ม่ายยยยยยยยยยยยยย


โดย: ชาบุ วันที่: 21 พฤษภาคม 2550 เวลา:22:45:04 น.  

 
ค้ำประกัน จำนอง จำนำ

ค้ำประกัน

มาตรา 680 อันว่าค้ำประกันนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลภายนอก คนหนึ่งเรียกว่าผู้ค้ำประกัน ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่ง เพื่อชำระหนี้ ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น
อนึ่ง สัญญาค้ำประกันนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใด อย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้ บังคับคดีหาได้ไม่
มาตรา 681 อันค้ำประกันนั้นจะมีได้แต่เฉพาะเพื่อหนี้อันสมบูรณ์
หนี้ในอนาคตหรือหนี้มีเงื่อนไข จะประกันไว้เพื่อเหตุการณ์ซึ่งหนี้ นั้นอาจเป็นผลได้จริง ก็ประกันได้
หนี้อันเกิดแต่สัญญาซึ่งไม่ผูกพันลูกหนี้ เพราะทำด้วยความสำคัญผิด หรือเพราะเป็นผู้ไร้ความสามารถนั้น ก็อาจจะมีประกันอย่างสมบูรณ์ได้ ถ้าหากว่าผู้ค้ำประกันรู้เหตุสำคัญผิดหรือไร้ความสามารถนั้นในขณะที่ เข้าทำสัญญาผูกพันตน
มาตรา 682 ท่านว่าบุคคลจะยอมเข้าเป็นผู้รับเรือน คือเป็นประกัน ของผู้ค้ำประกันอีกชั้นหนึ่ง ก็เป็นได้
ถ้าบุคคลหลายคน ยอมตนเข้าเป็นผู้ค้ำประกันในหนี้รายเดียวกัน ไซร้ท่านว่าผู้ค้ำประกันเหล่านั้นมีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกัน แม้ถึงว่ามิได้เข้ารับค้ำประกันรวมกัน
มาตรา 685 ถ้าเมื่อบังคับตามสัญญาค้ำประกันนั้น ผู้ค้ำประกันไม่ ชำระหนี้ทั้งหมดของลูกหนี้ รวมทั้งดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทน และ อุปกรณ์ด้วยไซร้หนี้ยังเหลืออยู่เท่าใด ท่านว่าลูกหนี้ยังคงรับผิดต่อ เจ้าหนี้ในส่วนที่เหลือนั้น
มาตรา 686 ลูกหนี้ผิดนัดลงเมื่อใด ท่านว่าเจ้าหนี้ชอบที่จะเรียก ให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้แต่นั้น
มาตรา 687 ผู้ค้ำประกันไม่จำต้องชำระหนี้ก่อนถึงเวลากำหนดที่ จะชำระ แม้ถึงว่าลูกหนี้ จะไม่อาจถือเอาซึ่งประโยชน์แห่งเงื่อนเวลา เริ่มต้นหรือเวลาสุดสิ้นได้ต่อไปแล้ว
มาตรา 688 เมื่อเจ้าหนี้ทวงให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ ผู้ค้ำประกัน จะขอให้เรียกลูกหนี้ชำระก่อนก็ได้ เว้นแต่ลูกหนี้จะถูกศาลพิพากษา ให้เป็นคนล้มละลายเสียแล้ว หรือไม่ปรากฏว่าลูกหนี้ไปอยู่แห่งใดใน พระราชอาณาเขต
มาตรา 689 ถึงแม้จะได้เรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ดั่งกล่าวมาใน มาตรา ก่อนนั้นแล้วก็ตาม ถ้าผู้ค้ำประกันพิสูจน์ได้ว่าลูกหนี้นั้นมีทาง ที่จะชำระหนี้ได้และการที่จะบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้นั้นจะไม่เป็นการ ยากไซร้ ท่านว่าเจ้าหนี้จะต้องบังคับการชำระหนี้รายนั้นเอาจาก ทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อน
มาตรา 690 ถ้าเจ้าหนี้มีทรัพย์ของลูกหนี้ยึดไว้เป็นประกันไซร้ เมื่อผู้ค้ำประกันร้องขอ ท่านว่าเจ้าหนี้จะต้องให้ชำระหนี้เอาจาก ทรัพย์ซึ่งเป็นประกันนั้นก่อน
มาตรา 691 ถ้าผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ ท่านว่า ผู้ค้ำประกันย่อมไม่มีสิทธิดั่งกล่าวไว้ใน มาตรา 688,689 และ 690
มาตรา 692 อายุความสะดุดหยุดลงเป็นโทษแก่ลูกหนี้นั้น ย่อม เป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันด้วย
มาตรา 693 ผู้ค้ำประกันซึ่งได้ชำระหนี้แล้ว ย่อมมีสิทธิที่จะไล่เบี้ย เอาจากลูกหนี้ เพื่อต้นเงินกับดอกเบี้ยและเพื่อการที่ต้องสูญหาย หรือเสียหายไปอย่างใด ๆ เพราะการค้ำประกันนั้น
อนึ่ง ผู้ค้ำประกันย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้บรรดามีเหนือ ลูกหนี้ด้วย
มาตรา 694 นอกจากข้อต่อสู้ซึ่งผู้ค้ำประกันมีต่อเจ้าหนี้นั้น ท่านว่าผู้ค้ำประกันยังอาจยกข้อต่อสู้ทั้งหลาย ซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ ขึ้นต่อสู้ได้ด้วย
มาตรา 695 ผู้ค้ำประกันซึ่งละเลยไม่ยกข้อต่อสู้ของลูกหนี้ขึ้นต่อสู้ เจ้าหนี้นั้น ท่านว่าย่อมสิ้นสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาแก่ลูกหนี้เพียงเท่าที่ไม่ ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้รู้ว่ามีข้อต่อสู้เช่นนั้น และที่ไม่รู้นั้นมิได้เป็นเพราะความผิดของตนด้วย
มาตรา 696 ผู้ค้ำประกันไม่มีสิทธิจะไล่เบี้ยเอาแก่ลูกหนี้ได้ ถ้าว่า ตนได้ชำระหนี้แทนไปโดยมิได้บอกลูกหนี้ และลูกหนี้ยังมิรู้ความมา ชำระหนี้ซ้ำอีก
ในกรณีเช่นว่านี้ ผู้ค้ำประกันก็ได้แต่เพียงจะฟ้องเจ้าหนี้เพื่อคืน ลาภมิควรได้เท่านั้น
มาตรา 697 ถ้าเพราะการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งของเจ้าหนี้ เองเป็นเหตุให้ผู้ค้ำประกัน ไม่อาจเข้ารับช่วงได้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ในสิทธิก็ดีจำนองก็ดี จำนำก็ดี และบุริมสิทธอันได้ให้ไว้แก่เจ้าหนี้ แต่ก่อนหรือในขณะทำสัญญาค้ำประกันเพื่อชำระหนี้นั้น ท่านว่าผู้ค้ำ ประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดเพียงเท่าที่ตนต้องเสียหาย เพราะการนั้น
มาตรา 698 อันผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดในขณะเมื่อ หนี้ของลูกหนี้ระงับสิ้นไปไม่ว่าเพราะเหตุใด ๆ
มาตรา 699 การค้ำประกันเพื่อกิจการเนื่องกันไปหลายคราวไม่มี จำกัดเวลาเป็นคุณแก่เจ้าหนี้นั้น ท่านว่าผู้ค้ำประกันอาจเลิกเสียเพื่อ คราวอันเป็นอนาคตได้ โดยบอกกล่าวความประสงค์นั้นแก่เจ้าหนี้
ในกรณีเช่นนี้ ท่านว่าผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดในกิจการที่ลูกหนี้ กระทำลงภายหลังคำบอกกล่าวนั้นได้ไปถึงเจ้าหนี้
มาตรา 700 ถ้าค้ำประกันหนี้อันจะต้องชำระ ณ เวลามีกำหนด แน่นอน และเจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ไซร้ ท่านว่าผู้ค้ำประกัน ย่อมหลุดพ้นจากความรับผิด
แต่ถ้าผู้ค้ำประกันได้ตกลงด้วยในการผ่อนเวลา ท่านว่าผู้ค้ำประกัน หาหลุดพ้นจากความรับผิดไม่
มาตรา 701 ผู้ค้ำประกันจะขอชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตั้งแต่เมื่อถึง กำหนดชำระก็ได้
ถ้าเจ้าหนี้ไม่ยอมรับชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันก็เป็นอันหลุดพ้นจาก ความรับผิด

จำนอง

มาตรา 702 อันว่าจำนองนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้จำนองเอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับจำนอง เป็นประกันการชำระหนี้ โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง
ผู้รับจำนองชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อน เจ้าหนี้สามัญมิพักต้องพิเคราะห์ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะได้โอน ไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือหาไม่
มาตรา 704 สัญญาจำนองต้องระบุทรัพย์สินซึ่งจำนอง
มาตรา 705 การจำนองทรัพย์สินนั้น นอกจากผู้เป็นเจ้าของใน ขณะนั้นแล้ว ท่านว่าใครอื่นจะจำนองหาได้ไม่
มาตรา 706 บุคคลมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินแต่ภายในบังคับ เงื่อนไขเช่นใด จะจำนองทรัพย์สินนั้นได้แต่ภายในบังคับเงื่อนไข เช่นนั้น
มาตรา 709 บุคคลคนหนึ่งจะจำนองทรัพย์สินของตนไว้เพื่อ ประกันหนี้อันบุคคลอื่นจะต้องชำระ ก็ให้ทำได้
มาตรา 710 ทรัพย์สินหลายสิ่งมีเจ้าของคนเดียวหรือหลายคนจะ จำนองเพื่อประกันการชำระหนี้แต่รายหนึ่งรายเดียว ท่านก็ให้ทำได้
และในการนี้คู่สัญญาจะตกลงกันดั่งต่อไปนี้ก็ได้ คือว่า
(1) ให้ผู้รับจำนองใช้สิทธิบังคับเอาแก่ทรัพย์สิน ซึ่งจำนองตาม ลำดับอันระบุไว้
(2) ให้ถือเอาทรัพย์สินแต่ละสิ่งเป็นประกันหนี้ เฉพาะแต่ส่วนหนึ่ง ส่วนใดที่ระบุไว้
มาตรา 711 การที่จะตกลงกันไว้เสียแต่ก่อนเวลาหนี้ถึงกำหนด ชำระเป็นข้อความอย่างใดอย่างหนึ่งว่า ถ้าไม่ชำระหนี้ ให้ผู้รับจำนอง เข้าเป็นเจ้าของทรัพย์สินซึ่งจำนอง หรือว่าให้จัดการแก่ทรัพย์สินนั้น เป็นประการอื่นอย่างใดนอกจากตามบทบัญญัติทั้งหลายว่าด้วยการ บังคับจำนองนั้นไซร้ ข้อตกลงเช่นนั้นท่านว่าไม่สมบูรณ์
มาตรา 716 จำนองย่อมครอบไปถึงบรรดาทรัพย์สินซึ่งจำนองหมด ทุกสิ่งแม้จะได้ชำระหนี้แล้วบางส่วน
มาตรา 719 จำนองที่ดินไม่ครอบไปถึงเรือนโรงอันผู้จำนอง ปลูกสร้างลงในที่ดินภายหลังวันจำนอง เว้นแต่จะมีข้อความกล่าวไว้ โดยเฉพาะในสัญญาว่าให้ครอบไปถึง
แต่กระนั้นก็ดี ผู้รับจำนองจะให้ขายเรือนโรงนั้นรวมไปกับที่ดิน ด้วยก็ได้แต่ผู้รับจำนองอาจใช้บุริมสิทธิของตนได้เพียงแก่ราคาที่ดิน เท่านั้น
มาตรา 720 จำนองเรือนโรงหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นซึ่งได้ทำ ขึ้นไว้บนดินหรือใต้ดิน ในที่ดินอันเป็นของคนอื่นเขานั้นย่อมไม่ครอบ ไปถึงที่ดินนั้นด้วยฉันใดกลับกันก็ฉันนั้น
มาตรา 721 จำนองไม่ครอบไปถึงดอกผลแห่งทรัพย์สินซึ่งจำนอง เว้นแต่ในเมื่อผู้รับจำนองได้บอกกล่าวแก่ผู้จำนองหรือผู้รับโอนแล้วว่าตนจำนงจะบังคับจำนอง
มาตรา 722 ถ้าทรัพย์สินได้จำนองแล้ว และภายหลังที่จดทะเบียน จำนองมีจดทะเบียนภารจำยอมหรือทรัพยสิทธิอย่างอื่น โดยผู้รับจำนอง มิได้ยินยอมด้วยไซร้ ท่านว่าสิทธิจำนองย่อมเป็นใหญ่กว่าภารจำยอม หรือทรัพยสิทธิอย่างอื่นนั้น หากว่าเป็นที่เสื่อมเสียแก่สิทธิของผู้รับ จำนองในเวลาบังคับจำนองก็ให้ลบสิทธิที่กล่าวหลังนี้เสียจากทะเบียน
มาตรา 723 ถ้าทรัพย์สินซึ่งจำนองบุบสลาย หรือถ้าทรัพย์สินซึ่ง จำนองแต่สิ่งใดหนึ่งสูญหายหรือบุบสลาย เป็นเหตุให้ไม่เพียงพอแก่ การประกันไซร้ ท่านว่าผู้รับจำนองจะบังคับจำนองเสียในทันทีก็ได้ เว้นแต่เมื่อนั้นมิได้เป็นเพราะความผิดของผู้จำนอง และผู้จำนองก็ เสนอจะจำนองทรัพย์สินอื่นแทนให้มีราคาเพียงพอ หรือเสนอจะรับ ซ่อมแซมแก้ไขความบุบสลายนั้นภายในเวลาอันสมควรแก่เหตุ
มาตรา 724 ผู้จำนองใดได้จำนองทรัพย์สินของตนไว้เพื่อประกัน หนี้อันบุคคลอื่นจะต้องชำระแล้ว และเข้าชำระหนี้เสียเองแทนลูกหนี้ เพื่อจะปัดป้องมิให้ต้องบังคับจำนอง ท่านว่าผู้จำนองนั้นชอบที่จะได้รับ เงินใช้คืนจากลูกหนี้ตามจำนวนที่ตนได้ชำระไป
ถ้าว่าต้องบังคับจำนอง ท่านว่าผู้จำนองชอบที่จะได้รับเงินใช้คืน จากลูกหนี้ตามจำนวนซึ่งผู้รับจำนองจะได้รับใช้หนี้จากการบังคับ จำนองนั้น
มาตรา 727 ถ้าบุคคลคนเดียวจำนองทรัพย์สินแห่งตนเพื่อ ประกันหนี้อันบุคคลอื่นจะต้องชำระ ท่านให้ใช้บทบัญญัติ มาตรา 697 , 700 และ 701 ว่าด้วยค้ำประกันนั้นบังคับอนุโลมตามควร
มาตรา 728 เมื่อจะบังคับจำนองนั้น ผู้รับจำนองต้องมีจดหมาย บอกกล่าวไปยังลูกหนี้ก่อนว่าให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควร ซึ่ง กำหนดให้ในคำบอกกล่าวนั้น ถ้าและลูกหนี้ละเลยเสียไม่ปฏิบัติตาม คำบอกกล่าวผู้รับจำนองจะฟ้องคดีต่อศาล เพื่อให้พิพากษาสั่งให้ ยึดทรัพย์สินซึ่งจำนองและให้ขายทอดตลาดก็ได้
มาตรา 729 นอกจากทางแก้ดั่งบัญญัติไว้ใน มาตรา ก่อนนั้น ผู้รับ จำนองยังชอบที่จะเรียกเอาทรัพย์จำนองหลุดได้ภายในบังคับแห่ง เงื่อนไข ดั่งจะกล่าวต่อไปนี้
(1) ลูกหนี้ได้ขาดส่งดอกเบี้ยมาแล้วเป็นเวลาถึงห้าปี
(2) ผู้จำนองมิได้แสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาล ว่าราคาทรัพย์สิน นั้นท่วมจำนวนเงินอันค้างชำระ และ
(3) ไม่มีการจำนองรายอื่น หรือบุริมสิทธิอื่นได้จดทะเบียนไว้ เหนือทรัพย์สินอันเดียวกันนี้เอง
มาตรา 730 เมื่อทรัพย์สินอันหนึ่งอันเดียวได้จำนองแก่ผู้รับจำนอง หลายคนด้วยกัน ท่านให้ถือลำดับผู้รับจำนองเรียงตามวันและเวลา จดทะเบียน และผู้รับจำนองคนก่อนจักได้รับใช้หนี้ก่อนผู้รับจำนองคนหลัง
มาตรา 731 อันผู้รับจำนองคนหลังจะบังคับตามสิทธิของตนให้ เสียหายแก่ผู้รับจำนองคนก่อนนั้น ท่านว่าหาอาจทำไม่ได้
มาตรา 732 ทรัพย์สินซึ่งจำนองขายทอดตลาดได้เงินเป็นจำนวน สุทธิเท่าใด ท่านให้จัดใช้แก่ผู้รับจำนองเรียงตามลำดับ และถ้ายังมี เงินเหลืออยู่อีก ก็ให้ส่งมอบแก่ผู้จำนอง
มาตรา 734 ถ้าจำนองทรัพย์สินหลายสิ่งเพื่อประกันหนี้แต่ รายหนึ่งรายเดียวและมิได้ระบุลำดับไว้ไซร้ ท่านว่าผู้รับจำนองจะ ใช้สิทธิของตนบังคับแก่ทรัพย์สินนั้นๆทั้งหมด หรือแต่เพียงบางสิ่ง ก็ได้ แต่ท่านห้ามมิให้ทำเช่นนั้นแก่ทรัพย์สินมากสิ่งกว่าที่จำเป็น เพื่อใช้หนี้ตามสิทธิแห่งตน
ถ้าผู้รับจำนองใช้สิทธิของตนบังคับแก่ทรัพย์สินทั้งหมดพร้อมกัน ท่านให้แบ่งภาระแห่งหนี้นั้นกระจายไปตามส่วนราคาแห่งทรัพย์สิน นั้นๆ เว้นแต่ในกรณีที่ได้ระบุจำนวนเงินจำนองไว้ เฉพาะทรัพย์สิน แต่ละสิ่ง ๆ เป็นจำนวนเท่าใด ท่านให้แบ่งกระจายไปตามจำนวนเงิน จำนองที่ระบุไว้เฉพาะทรัพย์สิ่งนั้นๆ
แต่ถ้าผู้รับจำนองใช้สิทธิของตน บังคับแก่ทรัพย์สินอันใดอันหนึ่ง แต่เพียงสิ่งเดียวไซร้ ผู้รับจำนองจะให้ชำระหนี้อันเป็นส่วนของตน ทั้งหมดจากทรัพย์สินอันนั้นก็ได้ ในกรณีเช่นนั้น ท่านให้ถือว่าผู้รับ จำนองคนถัดไปโดยลำดับย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้รับจำนองคนก่อน และจะเข้าบังคับจำนองแทนที่คนก่อนก็ได้แต่เพียงเท่าจำนวน ซึ่งผู้รับ จำนองคนก่อนจะพึงได้รับจากทรัพย์สินอื่น ๆ ตามบทบัญญัติดั่งกล่าว มาในวรรคก่อนนั้น
มาตรา 746 การชำระหนี้ไม่ว่าครั้งใด ๆ สิ้นเชิงหรือแต่บางส่วน ก็ดี การระงับหนี้อย่างใด ๆ ก็ดี การตกลงกันแก้ไขเปลี่ยนแปลงจำนอง หรือหนี้อันจำนองเป็นประกันนั้นเป็นประการใดก็ดี ท่านว่าต้องนำ ความไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ในเมื่อมีคำขอร้องของ ผู้มีส่วนได้เสีย มิฉะนั้นท่านห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอก

จำนำ

มาตรา 747 อันว่าจำนำนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้จำนำส่งมอบสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้รับจำนำ เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้
มาตรา 749 คู่สัญญาจำนำจะตกลงกันให้บุคคลภายนอกเป็นผู้ เก็บรักษาทรัพย์สินจำนำไว้ก็ได้
มาตรา 750 ถ้าทรัพย์สินที่จำนำเป็นสิทธิซึ่งมีตราสาร และมิได้ ส่งมอบตราสารนั้นให้แก่ผู้รับจำนำ ทั้งมิได้บอกกล่าวเป็นหนังสือแจ้ง การจำนำแก่ลูกหนี้แห่งสิทธินั้นด้วยไซร้ ท่านว่าการจำนำย่อมเป็นโมฆะ
มาตรา 758 ผู้รับจำนำชอบที่จะยึดของจำนำไว้ได้ทั้งหมดจนกว่า จะได้รับชำระหนี้และค่าอุปกรณ์ครบถ้วน
มาตรา 761 ถ้ามิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญา หากมีดอกผล นิตินัยงอกจากทรัพย์สินนั้นอย่างไร ท่านให้ผู้รับจำนำจัดสรรใช้เป็นค่า ดอกเบี้ยอันค้างชำระแก่ตน และถ้าไม่มีดอกเบี้ยค้างชำระ ท่านให้จัด สรรใช้ต้นเงินแห่งหนี้อันได้จำนำทรัพย์สินเป็นประกันนั้น





โดย: เรียว IP: 125.26.165.176 วันที่: 8 กรกฎาคม 2550 เวลา:13:49:38 น.  

 
+++ ชาบุ +++

อ้าวคุณนิติกร เห็นกฏหมายแล้วร้องม่ายยยย ได้ไง (อิอิ)


+++ คุณเรียว +++

ขอบคุณค่ะ


โดย: ไร้นาม วันที่: 26 สิงหาคม 2550 เวลา:11:16:12 น.  

 
ถ้าเราเอาของไปจำนำแล้วไม่ไปไถ่คืน เค้าจะมีจดหมายมาเตือนเราว่าจาเอาของออกประมูลหรือป่าวคะ หรือว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลยคือเค้าเอาของออกไปได้เลยโดยไม่ต้องแจ้งอะไร ช่วยตอบด้วยนะคะ


โดย: ตุ๊กแก IP: 161.246.1.32 วันที่: 8 ตุลาคม 2550 เวลา:18:59:47 น.  

 
--- คุณตุ๊กแก ---

แหะ แหะ เรื่องนี้ไม่ทราบเหมือนกันค่ะ ^^'


โดย: ไร้นาม วันที่: 8 ตุลาคม 2550 เวลา:22:46:04 น.  

 
***คุณตุ๊กแก*** ดูประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 764 เมื่อจะบังคับจำนำ ผู้รับจำนำต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังลูกหนี้ก่อนว่า ให้ชำระหนี้ภายในกำหนดเวลา

วรรคสอง ถ้าลูกหนี้ละเลยไม่ปฏิบัติตามคำบอกกล่าว ผู้รับจำนำมีสิทธิเอาทรัพย์จำนำออกขายทอดตลาดได้

วรรคสาม ในการขายทอดตลาด ผู้รับจำนำต้องมีจดหมายบอกเวลาและสถานที่ทำการขายทอดตลาดด้วย


โดย: หนองสมบูรณ์ IP: 125.24.66.0 วันที่: 9 ตุลาคม 2550 เวลา:14:35:47 น.  

 
ขอบคุณค่ะ


โดย: ตุ๊กแก IP: 161.246.1.34 วันที่: 9 ตุลาคม 2550 เวลา:20:55:58 น.  

 
ทำยังไงจะเข้าใจ กม.ค้ำประกัน จำนำ จำนอง ครับ เอาเเบบวิธีลัดน่ะ อีก5 วันจะสอบเเล้ว ช่วยบอกที มาตราอะไรที่มักจะออกบ่อยครับ
โทรบอกหน่อย 086-5738029 ศรัญ
ยิงมาก็ได้ เดี่ยวโทรกลับ


โดย: ศรัญ IP: 58.8.155.168 วันที่: 23 ตุลาคม 2550 เวลา:12:19:01 น.  

 
เป็ความคิดที่ผิดครับ คุณศรัญ


โดย: เด็กน้อย IP: 202.41.187.247 วันที่: 3 พฤศจิกายน 2550 เวลา:14:50:09 น.  

 

อยากได้เนื้อหาเรื่องการจำนำเยอะๆ


โดย: กวาง IP: 61.7.225.58 วันที่: 14 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:10:57:06 น.  

 
ขอบคุณทุกท่านที่มาเยือนนะคะ


โดย: ไร้นาม วันที่: 5 พฤษภาคม 2551 เวลา:1:44:16 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ไร้นาม
Location :
ปทุมธานี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]





"อ่านคนอ่านที่ความคิด
หาใช่ชื่อเสียงเรียงนาม"
Friends' blogs
[Add ไร้นาม's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friends


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.