จินตนาการจากความว่างเปล่า
Imagination from the emptiness
Group Blog
 
<<
กันยายน 2549
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
8 กันยายน 2549
 
All Blogs
 
กฏหมายมรดก

การตกทอดแห่งทรัพย์มรดก
มาตรา 1599* เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท
ทายาทอาจเสียไปซึ่งสิทธิในมรดกได้แต่โดยบทบัญญัติแห่งประมวล กฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น
มาตรา 1600* ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ กองมรดกของผู้ตายได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้
มาตรา 1601 ทายาทไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอด ได้แก่ตน
มาตรา 1602 เมื่อบุคคลใดต้องถือว่าถึงแก่ความตายตามความใน มาตรา 62 แห่งประมวลกฎหมายนี้ มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ ทายาท
ถ้าพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้นยังคงมีชีวิตอยู่ หรือตายในเวลาอื่นผิดไป จากเวลาดั่งระบุไว้ในคำสั่งที่สั่งให้เป็นคนสาบสูญ ให้ใช้บทบัญญัติ มาตรา 63 แห่งประมวลกฎหมายนี้บังคับแก่ทายาทของบุคคลนั้น
มาตรา 1603 กองมรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยสิทธิตาม กฎหมายหรือโดยพินัยกรรม
ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมาย เรียกว่า "ทายาทโดยธรรม"
ทายาทที่มีสิทธิตามพินัยกรรม เรียกว่า "ผู้รับพินัยกรรม"

การเป็นทายาท
มาตรา 1604* บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคล หรือสามารถมีสิทธิได้ตาม มาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายนี้ในเวลาที่ เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย
เพื่อประโยชน์แห่ง มาตรานี้ ให้ถือว่าเด็กที่เกิดมารอดอยู่ภายใน สามร้อยสิบวันนับแต่เวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายนั้น เป็นทารก ในครรภ์มารดาอยู่ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย
มาตรา 1605* ทายาทคนใดยักย้าย หรือปิดบังทรัพย์มรดกเท่า ส่วนที่ตนจะได้หรือมากกว่านั้นโดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่าตนทำให้เสื่อม ประโยชน์ของทายาทคนอื่น ทายาทคนนั้นต้องถูกกำจัดมิให้ได้มรดกเลยแต่ถ้าได้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกน้อยกว่าส่วนที่ตน จะได้ ทายาทคนนั้นต้องถูกกำจัดมิให้ได้มรดกเฉพาะส่วนที่ได้ยักย้าย หรือปิดบังไว้นั้น
มาตรานี้ มิให้ใช้บังคับแก่ผู้รับพินัยกรรม ซึ่งผู้ตายได้ทำพินัยกรรม ยกทรัพย์สินให้เฉพาะสิ่งเฉพาะอย่าง ในอันที่จะได้รับทรัพย์สินนั้น
มาตรา 1606* บุคคลดั่งต่อไปนี้ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็น ผู้ไม่สมควร คือ
(1) ผู้ที่ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้เจตนากระทำ หรือพยายาม กระทำให้เจ้ามรดกหรือผู้มีสิทธิได้รับมรดกก่อนตนถึงแก่ความตายโดย มิชอบด้วยกฎหมาย
(2) ผู้ที่ได้ฟ้องเจ้ามรดกหาว่าทำความผิดโทษประหารชีวิตและตนเอง กลับต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ามีความผิดฐานฟ้องเท็จหรือทำพยานเท็จ
(3) ผู้ที่รู้แล้วว่า เจ้ามรดกถูกฆ่าโดยเจตนา แต่มิได้นำข้อความนั้น ขึ้นร้องเรียนเพื่อเป็นทางที่จะเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ แต่ข้อนี้มิให้ ใช้บังคับถ้าบุคคลนั้นมีอายุยังไม่ครบสิบหกปีบริบูรณ์ หรือเป็นคนวิกลจริ ไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือถ้าผู้ที่ฆ่านั้นเป็นสามีภริยาหรือผู้บุพการีหรือผู้ สืบสันดานของตนโดยตรง
(4) ผู้ที่ฉ้อฉลหรือข่มขู่ให้เจ้ามรดกทำ หรือเพิกถอน หรือเปลี่ยนแปลง พินัยกรรมแต่บางส่วนหรือทั้งหมดซึ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดกหรือไม่ให้กระทำ การดั่งกล่าวนั้น
(5) ผู้ที่ปลอม ทำลาย หรือปิดบังพินัยกรรมแต่บางส่วนหรือทั้งหมด
เจ้ามรดกอาจถอนข้อกำจัดฐานเป็นผู้ไม่สมควรเสียก็ได้ โดยให้อภัย ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
มาตรา 1607 การถูกกำจัดมิให้รับมรดกนั้นเป็นการเฉพาะตัวผู้สืบ สันดานของทายาทที่ถูกกำจัดสืบมรดกต่อไปเหมือนหนึ่งว่าทายาทนั้นตาย แล้ว แต่ในส่วนทรัพย์สินซึ่งผู้สืบสันดานได้รับมรดกมาเช่นนี้ทายาทที่ว่า นั้นไม่มีสิทธิที่จะจัดการและใช้ดั่งที่ระบุไว้ในบรรพ 5 ลักษณะ 2 หมวด 3 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ในกรณีเช่นนั้นให้ใช้ มาตรา 1548 บังคับ โดยอนุโลม

การตัดมิให้รับมรดก
มาตรา 1608* เจ้ามรดกจะตัดทายาทโดยธรรมของตนคนใดมิให้รับ มรดกก็ได้แต่ด้วยแสดงเจตนาชัดแจ้ง
(1) โดยพินัยกรรม
(2) โดยทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
ตัวทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกนั้นต้องระบุไว้ให้ชัดเจน
แต่เมื่อบุคคลใดได้ทำพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์มรดกเสียทั้งหมดแล้ว ให้ถือว่าบรรดาทายาทโดยธรรมผู้ที่มิได้รับประโยชน์จากพินัยกรรมเป็น ผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก
มาตรา 1609* การแสดงเจตนาตัดมิให้รับมรดกนั้น จะถอนเสียก็ได้
ถ้าการตัดมิให้รับมรดกนั้นได้ทำโดยพินัยกรรม จะถอนเสียได้ก็แต่ โดยพินัยกรรมเท่านั้น แต่ถ้าการตัดมิให้รับมรดกได้ทำเป็นหนังสือมอบ ไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ การถอนจะทำตามแบบใดแบบหนึ่งดั่งบัญญัติ ไว้ใน มาตรา 1608 (1) หรือ (2) ก็ได้

การสละมรดกและอื่นๆ
มาตรา 1610 ถ้ามรดกตกทอดแก่ผู้เยาว์ หรือบุคคลวิกลจริตหรือ บุคคลผู้ไม่สามารถจะจัดทำการงานของตนเองได้ตามความหมายแห่ง มาตรา 32 แห่งประมวลกฎหมายนี้ และบุคคลนั้นยังไม่มีผู้แทนโดย ชอบธรรม หรือผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงาน อัยการร้องขอ ก็ให้ศาลตั้งผู้ปกครอง ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ แล้วแต่กรณี
มาตรา 1611 ทายาทซึ่งเป็นผู้เยาว์ บุคคลวิกลจริต หรือบุคคลผู้ไม่ สามารถจะจัดทำการงานของตนเองได้ตามความหมายแห่ง มาตรา 32 แห่งประมวลกฎหมายนี้ จะทำการดั่งต่อไปนี้ไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับ ความยินยอมของบิดามารดา ผู้ปกครอง ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ แล้วแต่กรณีและได้รับอนุมัติจากศาลแล้ว คือ
(1) สละมรดก
(2) รับมรดกอันมีค่าภาระติดพันหรือเงื่อนไข
มาตรา 1612* การสละมรดกนั้น ต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือ มอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
มาตรา 1613 การสละมรดกนั้น จะทำแต่เพียงบางส่วน หรือทำโดยมี เงื่อนไข หรือเงื่อนเวลาไม่ได้
การสละมรดกนั้น จะถอนเสียมิได้
มาตรา 1614 ถ้าทายาทสละมรดกด้วยวิธีใดโดยที่รู้อยู่ว่าการที่ทำเช่น นั้นจะทำให้เจ้าหนี้ของตนเสียเปรียบ เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะร้องขอให้เพิกถอน การสละมรดกนั้นเสียได้ แต่ความข้อนี้มิให้ใช้บังคับ ถ้าปรากฏว่าในขณะ ที่สละมรดกนั้น บุคคลซึ่งเป็นผู้ได้ลาภงอกแต่การนั้นมิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบนั้นด้วยแต่หากกรณีเป็นการสละ มรดกโดยเสน่หาเพียงแต่ทายาทผู้สละมรดกเป็นผู้รู้ฝ่ายเดียวเท่านั้นก็พอ แล้วที่จะขอเพิกถอนได้
เมื่อได้เพิกถอนการสละมรดกแล้ว เจ้าหนี้จะร้องขอให้ศาลสั่งเพื่อให้ตน รับมรดกแทนที่ทายาทและในสิทธิของทายาทนั้นก็ได้
ในกรณีเช่นนี้ เมื่อได้ชำระหนี้ของทายาทนั้นให้แก่เจ้าหนี้แล้ว ถ้าส่วน ของทายาทนั้นยังมีเหลืออยู่อีก ก็ให้ได้แก่ผู้สืบสันดานของทายาทนั้นหรือ ทายาทอื่นของเจ้ามรดกแล้วแต่กรณี
มาตรา 1615* การที่ทายาทสละมรดกนั้น มีผลย้อนหลังไปถึงเวลาที่เจ้า มรดกตาย
เมื่อทายาทโดยธรรมคนใดสละมรดก ผู้สืบสันดานของทายาทคนนั้นสืบ มรดกได้ตามสิทธิของตน และชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากับส่วนแบ่งที่ผู้สละ มรดกนั้นจะได้รับ แต่ผู้สืบสันดานนั้นต้องไม่ใช่ผู้ที่บิดามารดา ผู้ปกครอง หรือ ผู้อนุบาลแล้วแต่กรณี ได้บอกสละมรดกโดยสมบูรณ์ในนามของผู้สืบสันดานนั้น
มาตรา 1616 ถ้าผู้สืบสันดานของผู้สละมรดกได้มรดกมาดั่งกล่าว ไว้ใน มาตรา 1615 แล้ว ผู้ที่ได้สละมรดกนั้นไม่มีสิทธิในส่วนทรัพย์สิน อันผู้สืบสันดานของตนได้รับมรดกมาในอันที่จะจัดการและใช้ดั่งที่ระบุ ไว้ในบรรพ 5 ลักษณะ 2 หมวด 3 แห่งประมวลกฎหมายนี้และให้ใช้ มาตรา 1548 บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 1617 ผู้รับพินัยกรรมคนใดสละมรดก ผู้นั้นรวมตลอดทั้ง ผู้สืบสันดานไม่มีสิทธิจะรับมรดกที่ได้สละแล้วนั้น
มาตรา 1618 ถ้าทายาทโดยธรรมผู้ที่ได้สละมรดกไม่มีผู้สืบสันดาน ที่จะรับมรดกได้ หรือผู้รับพินัยกรรมได้สละมรดก ให้ปันส่วนแบ่งของผู้ที่ ได้สละมรดกนั้น ๆ แก่ทายาทอื่นของเจ้ามรดกต่อไป
มาตรา 1619 ผู้ใดจะสละหรือจำหน่ายจ่ายโอนโดยประการใดซึ่งสิทธิ อันหากจะมีในภายหน้าในการสืบมรดกผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นไม่ได้

บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
มาตรา 1620* ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ หรือทำพินัยกรรม ไว้แต่ไม่มีผลบังคับได้ ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของ ผู้ตายนั้นตามกฎหมาย
ถ้าผู้ใดตายโดยได้ทำพินัยกรรมไว้ แต่พินัยกรรมนั้นจำหน่ายทรัพย์หรือ มีผลบังคับได้แต่เพียงบางส่วนแห่งทรัพย์มรดก ให้ปันส่วนที่มิได้จำหน่าย โดยพินัยกรรม หรือส่วนที่พินัยกรรมไม่มีผลบังคับให้แก่ทายาทโดยธรรม ตามกฎหมาย
มาตรา 1621 เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรมจะได้แสดงเจตนากำหนดไว้ในพินัย กรรมเป็นอย่างอื่น แม้ทายาทโดยธรรมคนใดจะได้รับทรัพย์สินอย่างหนึ่ง อย่างใดตามพินัยกรรม ทายาทคนนั้นก็ยังมีสิทธิที่จะเรียกเอาส่วนโดย ธรรมของตนจากทรัพย์มรดกส่วนที่ยังไม่ได้จำหน่ายโดยพินัยกรรมจน เต็มอีกก็ได้
มาตรา 1622* พระภิกษุนั้น จะเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกในฐานะที่ เป็นทายาทโดยธรรมไม่ได้ เว้นแต่จะได้สึกจากสมณเพศมาเรียกร้อง ภายในกำหนดอายุความตาม มาตรา 1754
แต่พระภิกษุนั้น อาจเป็นผู้รับพินัยกรรมได้
มาตรา 1623* ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ ในสมณเพศนั้น เมื่อพระภิกษุนั้นถึงแก่มรณภาพ ให้ตกเป็นสมบัติของ วัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุนั้น เว้นไว้แต่พระภิกษุนั้นจะได้จำหน่าย ไปในระหว่างชีวิตหรือโดยพินัยกรรม
มาตรา 1624* ทรัพย์สินใดเป็นของบุคคลก่อนอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ทรัพย์สินนั้นหาตกเป็นสมบัติของวัดไม่ และให้เป็นมรดกตกทอดแก่ ทายาทโดยธรรมของบุคคลนั้น หรือบุคคลนั้นจะจำหน่ายโดยประการใด ตามกฎหมายก็ได้
มาตรา 1625 ถ้าผู้ตายเป็นผู้สมรสแล้วการคิดส่วนแบ่งและการปัน ทรัพย์สินระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น ให้เป็นไปดั่งนี้
(1) ในเรื่องส่วนแบ่งในทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ให้อยู่ในบังคับ ของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยการหย่าโดยยินยอม ทั้งสองฝ่ายอันมีบทบัญญัติเพิ่มเติมให้บริบูรณ์ใน มาตรา 1637 และ 1638 และโดยเฉพาะต้องอยู่ในบังคับแห่ง มาตรา 1513 ถึง 1517 แห่งประมวลกฎหมายนี้แต่การคิดส่วนแบ่งนั้นมีผลตั้งแต่วันที่การ สมรสได้สิ้นไปด้วยเหตุความตายนั้น
(2) ในเรื่องส่วนแบ่งในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ให้อยู่ในบังคับของ บทบัญญัติแห่งบรรพนี้ นอกจาก มาตรา 1637 และ 1638
มาตรา 1626 เมื่อได้ปฏิบัติตาม มาตรา 1625 (1) แล้ว ให้คิดส่วน แบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาทโดยธรรมดั่งต่อไปนี้
(1) ทรัพย์มรดกนั้นให้แบ่งแก่ทายาทตามลำดับและชั้นต่าง ๆ ดั่งที่ บัญญัติไว้ในหมวด 2 แห่งลักษณะนี้
(2) ส่วนแบ่งอันจะได้แก่ทายาทในลำดับและชั้นต่าง ๆ นั้นให้แบ่ง ในระหว่างบรรดาทายาทในลำดับและชั้นนั้น ๆ ดั่งที่บัญญัติไว้ในหมวด 3 แห่งลักษณะนี้
มาตรา 1627* บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรม นั้นให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความ หมายแห่งประมวลกฎหมายนี้
มาตรา 1628* สามีภริยาที่ร้างกันหรือแยกกันอยู่โดยยังมิได้หย่าขาด จากกันตามกฎหมาย มิได้สิ้นไปซึ่งสิทธิโดยธรรมในการสืบมรดกซึ่งกัน และกัน

การแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาท โดยธรรมในลำดับและชั้นต่าง ๆ
มาตรา 1629* ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับ แห่ง มาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่ง ต่อไปนี้ คือ
(1) ผู้สืบสันดาน
(2) บิดามารดา
(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
(5) ปู่ ย่า ตา ยาย
(6) ลุง ป้า น้า อา
คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของ บทบัญญัติพิเศษแห่ง มาตรา 1635
มาตรา 1630* ตราบใดที่มีทายาทซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทน ที่ยังไม่ขาดสายแล้วแต่กรณีในลำดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ใน มาตรา 1629 ทายาทผู้ที่อยู่ในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลย
แต่ความในวรรคก่อนนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีเฉพาะที่มีผู้สืบสันดานคนใด ยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่กันแล้วแต่กรณีและมีบิดามารดายังมีชีวิต อยู่ในกรณีเช่นนั้นให้บิดามารดาได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร
มาตรา 1631 ในระหว่างผู้สืบสันดานต่างชั้นกันนั้น บุตรของเจ้า มรดกอันอยู่ในชั้นสนิทที่สุดเท่านั้นมีสิทธิรับมรดก ผู้สืบสันดานที่อยู่ใน ชั้นถัดลงไปจะรับมรดกได้ก็แต่โดยอาศัยสิทธิในการรับมรดกแทน

การแบ่งทรัพย์มรดกของทายาทโดยธรรม ในลำดับและชั้นต่าง ๆ

ญาติ
มาตรา 1632 ภายใต้บังคับแห่ง มาตรา 1629 วรรคสุดท้ายการแบ่ง ส่วนมรดกของทายาทโดยธรรมในลำดับญาติให้เป็นไปตามบทบัญญัติใน ส่วนที่ 1 แห่งหมวดนี้
มาตรา 1633* ทายาทโดยธรรมในลำดับเดียวกันในลำดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ใน มาตรา 1629 นั้นชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าใน ลำดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิ ได้รับส่วนแบ่งทั้งหมด
มาตรา 1634 ระหว่างผู้สืบสันดานที่รับมรดกแทนที่กันในส่วนแบ่ง ของสายหนึ่ง ๆ ตามบทบัญญัติในลักษณะ 2 หมวด 4 นั้นให้ได้รับ ส่วนแบ่งมรดกดั่งนี้
(1) ถ้ามีผู้สืบสันดานต่างชั้นกัน บุตรของผู้ตายซึ่งอยู่ในชั้นสนิทที่สุด เท่านั้นมีสิทธิรับมรดก ผู้สืบสันดานในชั้นถัดลงไปจะรับมรดกได้ก็แต่ โดยอาศัยสิทธิในการรับมรดกแทนที่
(2) ผู้สืบสันดานในชั้นเดียวกันได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน
(3) ถ้าในชั้นหนึ่งมีผู้สืบสันดานคนเดียว ผู้สืบสันดานคนนั้นมีสิทธิ ได้รับส่วนแบ่งทั้งหมด

คู่สมรส
มาตรา 1635* ลำดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการ รับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดั่งต่อไปนี้
(1) ถ้ามีทายาทตาม มาตรา 1629 (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับ มรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้ส่วนแบ่ง เสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร
(2) ถ้ามีทายาทตาม มาตรา 1629 (3) และทายาทนั้นยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ หรือถ้าไม่มีทายาทตาม มาตรา 1629 (1) แต่มี ทายาทตาม มาตรา 1629 (2) แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น มีสิทธิได้รับมรดกกึ่งหนึ่ง
(3) ถ้ามีทายาทตาม มาตรา 1629 (4) หรือ (6) และทายาทนั้น ยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ หรือมีทายาทตาม มาตรา 1629 (5) แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ มีสิทธิได้มรดกสองส่วนในสาม
(4) ถ้าไม่มีทายาทดั่งที่ระบุไว้ใน มาตรา 1629 คู่สมรสที่ยังมี ชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้รับมรดกทั้งหมด
มาตรา 1636 ถ้าเจ้ามรดกมีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายก่อนใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 หลายคนยังมีชีวิตอยู่ ภริยาเหล่านั้นทั้งหมดรวมกันมีสิทธิได้รับมรดกตามลำดับชั้นและส่วน แบ่งดั่งระบุไว้ใน มาตรา 1635 แต่ในระหว่างกันเองให้ภริยาน้อย แต่ละคนมีสิทธิได้รับมรดกกึ่งส่วนที่ภริยาหลวงจะพึงได้รับ
มาตรา 1637 ถ้าคู่สมรสฝ่ายใดที่ยังมีชีวิตอยู่เป็นผู้รับประโยชน์ ตามสัญญาประกันชีวิต คู่สมรสฝ่ายนั้นมีสิทธิรับจำนวนเงินทั้งหมดที่ ได้ตกลงไว้กับผู้รับประกันภัย แต่จำต้องเอาจำนวนเบี้ยประกันภัยเพียงเท่าที่พิสูจน์ได้ว่าสูงกว่าจำนวนเงินที่ผู้ตายจะพึงส่งใช้เป็นเบี้ย ประกันภัยได้ตามรายได้หรือฐานะของตนโดยปกติไปชดใช้สินเดิมของ คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งหรือสินสมรสแล้วแต่กรณี
ถึงอย่างไรก็ดี จำนวนเงินเบี้ยประกันภัยซึ่งจะพึงส่งคืนตามบท บัญญัติข้างต้นนั้น รวมทั้งสิ้นต้องไม่เกินจำนวนเงินที่ผู้รับประกันภัย ได้ชำระให้
มาตรา 1638 เมื่อคู่สมรสทั้งสองฝ่ายได้ลงทุนออกเงินในการทำสัญญา และตามสัญญานั้นทั้งสองฝ่ายจะต้องได้รับเงินปีในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ร่วม กันและเมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดตาย ฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่ยังจะต้องได้รับเงินปี ต่อไปตลอดอายุ ฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่จำต้องชดใช้สินเดิมของอีกฝ่ายหนึ่ง หรือสินสมรสแล้วแต่กรณี สุดแต่ว่าได้เอาเงินสินเดิมหรือสินสมรสไปใช้ใน การลงทุนนั้น เงินที่จะต้องชดใช้สินเดิมหรือสินสมรสดั่งว่านี้ ให้ชดใช้เท่า จำนวนเงินซึ่งผู้จ่ายเงินรายปีจะเรียกให้ใช้เพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อผู้จ่าย จะได้เงินรายปีให้แก่คู่สมรสฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นต่อไป

การรับมรดกแทนที่กัน
มาตรา 1639* ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามn มาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ความตายหรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกก่อน เจ้ามรดกตายถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทน ที่ ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกำจัด มิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานนั้นรับ มรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคล เป็นราย ๆ สืบต่อกันเช่นนี้ไปจนหมดสาย
มาตรา 1640 เมื่อบุคคลใดต้องถือว่าถึงแก่ความตายตามความใน มาตรา 65 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ให้มีการรับมรดกแทนที่กันได้
มาตรา 1641 ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตาม มาตรา 1629 (2) หรือ(5) ถึงแก่ความตาย หรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้ามีทายาทในลำดับเดียวกันยังมีชีวิตอยู่ ก็ให้ส่วนแบ่งทั้งหมดตกได้ แก่ทายาทนั้นเท่านั้นห้ามมิให้มีการรับมรดกแทนที่กันต่อไป
มาตรา 1642* การรับมรดกแทนที่กันนั้น ให้ใช้บังคับแต่ในระหว่าง ทายาทโดยธรรม
มาตรา 1643 สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบ สันดานโดยตรง ผู้บุพการีหามีสิทธิดั่งนั้นไม่
มาตรา 1644 ผู้สืบสันดานจะรับมรดกแทนที่ได้ต่อเมื่อมีสิทธิ บริบูรณ์ในการรับมรดก
มาตรา 1645* การที่บุคคลใดสละมรดกของบุคคลอีกคนหนึ่งนั้น ไม่ตัดสิทธิของผู้สละที่จะรับมรดกแทนที่บุคคลอีกคนหนึ่งนั้นในการสืบ มรดกบุคคลอื่น

การเพิกถอนและการตกไปแห่งพินัยกรรมหรือข้อกำหนดพินัยกรรม
มาตรา 1693 ผู้ทำพินัยกรรมจะเพิกถอนพินัยกรรมของตนเสียทั้งหมด หรือแต่บางส่วนในเวลาใดก็ได้
มาตรา 1694 ถ้าจะเพิกถอนพินัยกรรมฉบับก่อนเสียทั้งหมดหรือ แต่บางส่วนด้วยพินัยกรรมฉบับหลัง การเพิกถอนจะสมบูรณ์ต่อเมื่อ พินัยกรรมฉบับหลังนั้นได้ทำตามแบบใดแบบหนึ่งที่กฎหมายบัญญัติไว้
มาตรา 1695 ถ้าพินัยกรรมได้ทำเป็นต้นฉบับแต่ฉบับเดียวผู้ทำ พินัยกรรมอาจเพิกถอนพินัยกรรมนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนได้ โดย ทำลายหรือขีดฆ่าเสียด้วยความตั้งใจ
ถ้าพินัยกรรมได้ทำเป็นต้นฉบับหลายฉบับ การเพิกถอนนั้นไม่ บริบูรณ์เว้นแต่จะได้กระทำแก่ต้นฉบับเหล่านั้นทุกฉบับ
มาตรา 1696 ถ้าผู้ทำพินัยกรรมได้โอนไปโดยสมบูรณ์ซึ่งทรัพย์สิน อันเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดพินัยกรรมใดด้วยความตั้งใจ ข้อกำหนด พินัยกรรมนั้นเป็นอันเพิกถอนไป
วิธีเดียวกันนี้ให้ใช้บังคับ เมื่อผู้ทำพินัยกรรมได้ทำลายทรัพย์สิน นั้นด้วยความตั้งใจ
มาตรา 1697 ถ้าผู้รับพินัยกรรมมิได้แสดงเจตนาไว้ในพินัยกรรม เป็นอย่างอื่นและปรากฏว่าพินัยกรรมฉบับก่อนกับฉบับหลังขัดกัน ให้ ถือว่าพินัยกรรมฉบับก่อนเป็นอันเพิกถอนโดยพินัยกรรมฉบับหลัง เฉพาะในส่วนที่ข้อความขัดกันนั้นเท่านั้น
มาตรา 1698* ข้อกำหนดพินัยกรรมนั้น ย่อมตกไป
(1) เมื่อผู้รับพินัยกรรมตายก่อนผู้ทำพินัยกรรม
(2)เ มื่อข้อกำหนดพินัยกรรมเป็นผลใช้ได้ก็ต่อเมื่อเงื่อนไขอย่างใด อย่างหนึ่งเสร็จสิ้นลง และผู้รับพินัยกรรมตายเสียก่อนเงื่อนไขสำเร็จหรือ ปรากฏเป็นที่แน่นอนอยู่แล้วว่าเงื่อนไขนั้นไม่อาจสำเร็จได้
(3) เมื่อผู้รับพินัยกรรมบอกสละพินัยกรรม
(4) เมื่อทรัพย์สินทั้งหมดที่ยกให้สูญหาย หรือถูกทำลายโดยผู้ทำพินัย กรรมมิได้ตั้งใจในระหว่างที่ผู้ทำพินัยกรรมยังมีชีวิตอยู่ และผู้ทำพินัยกรรม มิได้ได้มาซึ่งของแทน หรือซึ่งสิทธิที่จะเรียกค่าทดแทนในการที่ทรัพย์สินนั้น สูญหายไป
มาตรา 1699* ถ้าพินัยกรรม หรือข้อกำหนดในพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์ สินรายใดเป็นอันไร้ผลด้วยประการใด ๆ ทรัพย์สินรายนั้นตกทอดแก่ทายาท โดยธรรม หรือได้แก่แผ่นดินแล้วแต่กรณี

มรดกที่ไม่มีผู้รับ
มาตรา 1753* ภายใต้บังคับแห่งสิทธิของเจ้าหนี้กองมรดกเมื่อ บุคคลใดถึงแก่ความตายโดยไม่มีทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม หรือการตั้งมูลนิธิตามพินัยกรรม มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่แผ่นดิน


Create Date : 08 กันยายน 2549
Last Update : 8 กันยายน 2549 0:58:29 น. 23 comments
Counter : 2143 Pageviews.

 
^ข้างบนจะเขียนเพิ่มเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นอย่าแปลกใจถ้าเห็นเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา



โดย: ไร้นาม วันที่: 8 กันยายน 2549 เวลา:0:45:33 น.  

 
เป็นไงบ้างอุ๊ เมื่อวา่นไปทานข้าวที่ไหนจ๊ะ เราก็ติ๊กไปสยา่มต่อ ติ๊กแวะไปช๊อปปิ้งต่อด้วย อิ อิ

คราวหน้าเจอกันใหม่เนอะ


โดย: เป่าจิน วันที่: 15 กันยายน 2549 เวลา:17:42:26 น.  

 
--- เป่าจิน ---

เมื่อวานไปแกะสายไฟ (ช่วงงานคุณอั๋น) ต่อที่แถวๆ สุทธิสารชุดกระโปรงนั่นแหล่ะ
ประมาณชั่วโมงนึง แล้วค่อยเลยไปทานอะไรร้านอาหารชื่อเพลินริมถนนวิภาฯ

กลับบ้านดึกเหมือนกัน แหะ แหะ


โดย: ไร้นาม วันที่: 15 กันยายน 2549 เวลา:23:13:39 น.  

 

เราคุยด้วยได้ป่าว


โดย: งง IP: 125.24.151.158 วันที่: 16 มกราคม 2550 เวลา:15:00:24 น.  

 
อยากหาความมั่นใจจากผู้ที่ไม่เคยรู้จัก กับเรื่องราวที่ถูกโกงสิทธิ์ มีใครคุยด้วยได้ไหมครับผม


โดย: ริชช์ IP: 124.120.10.66 วันที่: 2 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:20:13:14 น.  

 
ได้ความรู้มากเลย


โดย: กุ้ง IP: 203.156.37.8 วันที่: 18 มิถุนายน 2550 เวลา:19:19:40 น.  

 
ขอบคุณที่ชี้แนะ


โดย: pakpao IP: 203.209.91.84 วันที่: 20 กรกฎาคม 2550 เวลา:20:26:26 น.  

 
น่าจะเพิ่มฏีกาเกี่ยวกับมรดกด้วยนะค่ะ
ถ้ามีจะดีมากเลย
หรือถ้าใครมีส่งมาให้หน่อยนะ
iam_tanjang@hotmail.com
ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ


โดย: ตาลค่ะ IP: 203.113.50.139 วันที่: 16 สิงหาคม 2550 เวลา:21:57:19 น.  

 
+++ คุณงง +++

ได้ค่ะ


+++ คุณริชช์ +++

แนะนำห้องศาลาประชาคม pantip เลยค่ะ ผู้รู้เพียบ


+++ คุณกุ้ง +++

ยินดีค่ะ


+++ คุณ pakpao +++




+++ คุณตาลค่ะ +++

ยังไม่ได้อ่านฏีกาเลยค่ะ


โดย: ไร้นาม วันที่: 26 สิงหาคม 2550 เวลา:11:37:23 น.  

 
ตาผมตายไปแล้วแล้วมีลูกอยู่6คน ตายไป2 คนหนึ่งมีลูกและอีกคนหนึ่งไม่มีลูกและหลือลูกอีก5คนต้องแบ่งที่นาบ้านกี่ส่วน แล้วผู้ตายจะได้เปล่า


โดย: อำนาจ IP: 125.25.37.68 วันที่: 28 กันยายน 2550 เวลา:21:48:37 น.  

 
อยากทราบว่าบุตรโดยชอบด้วยกฏหมายกับบุตรนอกกฏหมายที่บิดารับรองแล้วมีสิทธิและหน้าที่แตกต่างกันอย่างไร ใครรุบ้างช่วยตอบหน่อยนะค่ะ


โดย: หนูงง IP: 125.24.25.167 วันที่: 19 พฤศจิกายน 2550 เวลา:7:49:48 น.  

 
ใกล้จะสอบแล้วเครียดมากๆๆ เลยอยากได้สาระสำคัญของเรื่องสัญชาติน่ะ ใครมีช่วยบอกทีนะ เอาแบบจำง่ายๆ สั้นๆ ได้ใจความ


โดย: gim-ji IP: 58.147.4.78 วันที่: 14 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:14:50:10 น.  

 
เรียนสอบถามท่านผู้รู้ค่ะ คื่อเรื่องมีอยู่ว่า ยายเป็นเจ้าของมรดก(ที่นา) แต่ยายเสียชีวิตแล้ว ผู้ที่จะได้รับมรดกเป็นใครคะซึ่งยายมีลูกสาวอยู่ สองคนคือแม่กับน้า อ่ะค่ะ

เรื่องที่สองครับ พ่อหนูมีมรดกที่ดิน นส3 อยู่น่ะค่ะแต่เสียชีวิตไปแล้ว แต่แม่งมีชีวิตอยู่ และแม่ก็ได้จดทะเบียนสมรสใหม่แล้ว และดิฉันมีพี่ชายอยู่คนนึง ในส่วนนี้อยากทราบว่ามรดกทั้งหมดจะแบ่งสรรคปันส่วนกันอย่างรัยคะ และต้องดำเนินการอย่างรัยบ้างคะ จักขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับคำแนะนำค่ะ


โดย: บัวบาน IP: 202.149.25.225 วันที่: 26 มีนาคม 2551 เวลา:23:38:14 น.  

 
ลืมบอกไปว่า พี่ชายดิฉันไม่กลับบ้านนานแล้วค่ะ และติดต่อก็ไม่ได้ลย ล่าสุดที่เจอกันก็เมื่อ สงกรานต์ ปี 2548 ดิฉันควรจะทำอย่างรัยบ้างคะ


โดย: บัวบาน IP: 202.149.24.129 วันที่: 26 มีนาคม 2551 เวลา:23:54:36 น.  

 
ขอบคุณทุกท่านที่มาเยือนนะคะ ตอบเรียงนะคะ
1. ต้องดูว่าลูกที่เสียไปมีทายาทโดยธรรมหรือไม่
2. คล้ายกันค่ะ
3. ไม่ได้อยู่ในเรื่องมรดกค่ะ
4. เรียงตามมาตรา 1629 เลยค่ะ เรื่องพี่ชายถือว่ายังไม่สาบสูญค่ะ


โดย: ไร้นาม วันที่: 5 พฤษภาคม 2551 เวลา:1:59:11 น.  

 
พี่ครับผมมีเรื่องจะปรึกษารับ
คือปู่ผมมีลูก 6 คน พ่อของผมเป็นคนที่ 2 ต่อมาพ่อผมตายเมื่อปี30
แล้วปู่ของผมตายเมื่อปี 42 แล้วเรื่องก้อเงียบหายไป ต่อมาผมได้
ทราบว่ามรดกได้แบ่งไปหมดแล้วผมก้อเลยถามป้าว่าที่ดินของพ่อผมอยู่ที่ไหน ป้าผมบอกว่าไม่สิปู่เค้าแบ่งให้อย่างนี้
ผมไม่เชื่อผมเลยไปสืบที่ศาล ก้อได้รู้ว่าที่ดินนี้ย่าของผมป็นคนร้องขอต่อศาลเป็นผู้จัดการมรดกเมื่อปี43แล้วศาลก้อให้เป็นผู้จัดการมรดก แต่ย่าผมเค้าแบ่งให้ลูกแค่ 5 คนเองเค้าตัดชื่อพ่อผมออกไป
ผมอยากทราบว่าอย่างนี้แล้วผมมีสิทที่จะได้รับมรดกส่วนนี้จากปู่ผม
ไหมครับ


โดย: อาทิตย์ IP: 124.120.183.72 วันที่: 25 มิถุนายน 2551 เวลา:9:15:00 น.  

 
สามารถยกมรดกให้เมียน้อยได้หรือไม่คะ แล้วถ้าทายาทโดยธรรมจะคัดค้านได้หรือไม่คะ


โดย: รรรรรร IP: 124.120.24.224 วันที่: 25 มิถุนายน 2551 เวลา:11:25:00 น.  

 
ขอถามกฏหมายนิดหนึ่งครับ
คือ คนตายไปแล้ว ได้ทิ้งมรดกเป็นที่ดิน 5 ไร่ โดยที่คนตายไม่มีบุตรและภริยา เนื่องจากภริยาเสียก่อนหน้านี้นานแล้ว และมิได้ทำพินัยกรรมอะไรไว้ แต่ท่านก็มีพี่น้องที่ยังมีชีวิตเหลืออยู่สองคน อยากทราบว่าที่นาห้าไร่นี้จะตกเป็นของผูใด ได้บ้าง และจะมีวิธีในการดำเนินการอย่างไรเพื่อดำเนินการในเรื่องนี้


โดย: คนที่อยากทราบกฏหมาย IP: 118.175.175.31 วันที่: 18 ตุลาคม 2551 เวลา:10:40:30 น.  

 
อยากทราบว่า ถ้าเจ้าขอมรดกมีคดีทางอาญาอยู่ แล้วเค้ามีบุตรอยู่ 2คน ซึ่งถูกต้องตามกฏหมาย จะได้รับมรดกได้ไหม บุตรยังไม่รู้นิติภาวะ ภรรยาไม่ได้จดทะเบียนสมรส


โดย: ขาวดำครองจักวาล IP: 58.9.76.170 วันที่: 12 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:13:34:35 น.  

 
ทายาทจะได้รับมรดกเมื่อเจ้ามรดกตายไปโดยมรดกที่ตกทอดถ้าเจ้ามรดกไม่ได้ทำพินัยกรรมยกให้ใครมรดกก็จะตกแก่ทายาทโดยธรรม ตาม ม.1629 ซึ่งบุตรจะเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ 1 แต่ต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย หมายความว่า บิดามารดาต้องจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายหรือถ้าไม่จดทะเบียนสมรส บิดาต้องจดทะเบียนรับรองบุตรก่อนจึงจะมีสิทธิ์ ดังนั้น ในกรณีนี้บิดาต้องจดทะเบีบนรับรองบุตรก่อน หรือไม่ก็จดทะเบียนสมรสให้ถูกต้องจึงจะมีสิทธิ์ได้รับมรดกถึงแม้เจ้ามรดกจะมีคดีอาญาก็ตาม ( อย่าลืมว่าหนี้เจ้ามรดก ก็ถือว่าเป็นมรดกเหมือนกัน )


โดย: ตอบคนดี IP: 61.7.138.241 วันที่: 17 กรกฎาคม 2552 เวลา:10:39:48 น.  

 
ได้ซื้อที่ดินกองมรดกที่ศาลพิพากษาให้ผู้จัดการมรดกชำระหนี้ แล้วผู้จัดการฯ ก็ขายเพื่อชำระหนี้มกดก เวลาผ่านไป 3 ปี แล้วทายาทฟ้องผู้จัดการมรดก ว่าฉ้อโกงได้ไหม,,,,,,,,,,,,


โดย: สิริญา แสงสิริมล IP: 125.27.196.72 วันที่: 19 กันยายน 2553 เวลา:11:59:07 น.  

 

หลานชื่อกฤษดา งามประเสริฐ พ่อ-แม่เสียชีวิตตอนกฤดาได้3ขวบและพ่อของกฤษดา
มีบ้านแต่ที่ดินที่ปลูกบ้านชื่อเป็นของปู่-ย่ากฤษดา พ่อของกฤษดามีพี่น้องทั้งหมด6คนพ่อของกฤษดาเป็นคนที่5ต่อมาที่ดินที่ปลูกบ้านได้แบ่งเป็นโฉนดใครโฉนดมันแต่บ้านพ่อกฤษดาได้ลงชื่อพี่น้องที่มีชีวิตอยู่5คน เมื่อเดือน ก.ย.53ได้ขายบ้านพ่อของกฤษดาประมาณ3ล้านบาท มีคนโทรมาบอกกฤษดาว่าขายบ้านแล้วลุงถามหาเพื่อจะให้ไปรับเงินส่วนแบ่ง 2 แสนบาท วันที่18-19ตุลาคม53กฤษดาก็ลงไปที่จันทบุรีซึ่งเป็นบ้านที่ขายและไปหาลุงปรากฏว่าพี่น้องลุงไม่ยอมเซ็นต์ชื่อเพื่อจะเบิกเงินให้กฤษดา ลุงบอกว่าชื่อในบัญชีเซ็นต์ได้2คนก็เบิกได้แล้วแต่ลุงคนโตจะเซ็นต์ให้คนเดียวนอกนั้นไม่ยอมเซ็นต์ อยากจะถามว่ากฤษดาจะฟ้องร้องอะไรได้หรือไม่ตอนนี้กฤษดาอยู่ในความดูแลของป้าพี่สาวแม่ สงสารหลานมากจะเรียนก็ไม่มีเงิน ขอความช่วยเหลือผู้ใจบุญช่วยกฤษดาด้วยขอบคุณค่ะ
ป้ากฤษดา 083-8483073 59 ม.3ต.หนองกะขะ อ.พานทอง จ.ชลบุรี 20160


โดย: พัชมน ขวัญแจ่ม IP: 118.174.54.139 วันที่: 21 ตุลาคม 2553 เวลา:13:11:06 น.  

 

หลานชื่อกฤษดา งามประเสริฐ พ่อ-แม่เสียชีวิตตอนกฤดาได้3ขวบและพ่อของกฤษดา
มีบ้านแต่ที่ดินที่ปลูกบ้านชื่อเป็นของปู่-ย่ากฤษดา พ่อของกฤษดามีพี่น้องทั้งหมด6คนพ่อของกฤษดาเป็นคนที่5ต่อมาที่ดินที่ปลูกบ้านได้แบ่งเป็นโฉนดใครโฉนดมันแต่บ้านพ่อกฤษดาได้ลงชื่อพี่น้องที่มีชีวิตอยู่5คน เมื่อเดือน ก.ย.53ได้ขายบ้านพ่อของกฤษดาประมาณ3ล้านบาท มีคนโทรมาบอกกฤษดาว่าขายบ้านแล้วลุงถามหาเพื่อจะให้ไปรับเงินส่วนแบ่ง 2 แสนบาท วันที่18-19ตุลาคม53กฤษดาก็ลงไปที่จันทบุรีซึ่งเป็นบ้านที่ขายและไปหาลุงปรากฏว่าพี่น้องลุงไม่ยอมเซ็นต์ชื่อเพื่อจะเบิกเงินให้กฤษดา ลุงบอกว่าชื่อในบัญชีเซ็นต์ได้2คนก็เบิกได้แล้วแต่ลุงคนโตจะเซ็นต์ให้คนเดียวนอกนั้นไม่ยอมเซ็นต์ อยากจะถามว่ากฤษดาจะฟ้องร้องอะไรได้หรือไม่ตอนนี้กฤษดาอยู่ในความดูแลของป้าพี่สาวแม่ สงสารหลานมากจะเรียนก็ไม่มีเงิน ขอความช่วยเหลือผู้ใจบุญช่วยกฤษดาด้วยขอบคุณค่ะ
ป้ากฤษดา 083-8483073 59 ม.3ต.หนองกะขะ อ.พานทอง จ.ชลบุรี 20160


โดย: พัชมน ขวัญแจ่ม IP: 125.24.45.203 วันที่: 21 ตุลาคม 2553 เวลา:13:45:17 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ไร้นาม
Location :
ปทุมธานี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]





"อ่านคนอ่านที่ความคิด
หาใช่ชื่อเสียงเรียงนาม"
Friends' blogs
[Add ไร้นาม's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friends


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.