จินตนาการจากความว่างเปล่า
Imagination from the emptiness
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2548
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
22 ตุลาคม 2548
 
All Blogs
 
กฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา 1 - ลักษณะ 5

ลักษณะ5 จับ ขัง จำคุก ค้น ปล่อยชั่วคราว

หมวด1 จับ ขัง จำคุก

มาตรา 77*: หมายจับใช้ได้ทั่วราชอาณาจักร
การจัดการตามหมายจับนั้นจะจัดการตามสำเนาหมายอันรับรอง ว่าถูกต้องแล้ว หรือตามโทรเลขแจ้งว่าได้ออกหมายแล้วก็ได้ แต่ ในกรณีหลังให้ส่งหมายหรือสำเนาอันรับรองแล้วไปยังเจ้าพนักงาน ผู้จัดการตามหมายโดยพลัน

มาตรา 78**: พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจะจับผู้ใดโดยไม่มี หมายจับนั้นไม่ได้ เว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้
(1) เมื่อบุคคลนั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้าดั่งบัญญัติไว้ใน มาตรา 80
(2) เมื่อพบบุคคลนั้นกำลังพยายามกระทำความผิด หรือพบโดย มีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่าผู้นั้นจะกระทำความผิดโดยมีเครื่องมือ อาวุธหรือวัตถุอย่างอื่นอันสามารถอาจใช้ในการกระทำความผิด
(3) เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าผู้นั้นได้กระทำความผิดมาแล้วและ
จะหลบหนี
(4) เมื่อมีผู้ขอให้จับโดยแจ้งว่าบุคคลนั้นได้กระทำความผิด และ แจ้งด้วยว่าได้ร้องทุกข์ไว้ตามระเบียบแล้ว
เมื่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่จับด้วยตนเอง ไม่ต้องมีหมายแต่ต้องเป็นในกรณีที่อาจออกหมายจับได้ หรือจับได้ ตามประมวลกฎหมายนี้

มาตรา 79**: ราษฎรจะจับผู้อื่นไม่ได้เว้นแต่จะเข้าอยู่ในเกณฑ์แห่ง มาตรา 82 หรือเมื่อผู้นั้นกระทำความผิดซึ่งหน้า และความผิดนั้นได้ ระบุไว้ในบัญชีท้ายประมวลกฎหมายนี้ด้วย

มาตรา 80**: ที่เรียกว่าความผิดซึ่งหน้านั้น ได้แก่ความผิดซึ่งเห็น กำลังกระทำ หรือพบในอาการใดซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าเขา ได้กระทำผิดมาแล้วสด ๆ
อย่างไรก็ดี ความผิดอาญาดั่งระบุไว้ในบัญชีท้ายประมวลกฎหมาย นี้ให้ถือว่าความผิดนั้นเป็นความผิดซึ่งหน้าในกรณีดั่งนี้
(1) เมื่อบุคคลหนึ่งถูกไล่จับดั่งผู้กระทำโดยมีเสียงร้องเอะอะ
(2) เมื่อพบบุคคลหนึ่งแทบจะทันทีทันใดหลังจากการกระทำผิด ในถิ่นแถวใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุนั้นและมีสิ่งของที่ได้มาจากการ กระทำผิดหรือมีเครื่องมือ อาวุธหรือวัตถุอย่างอื่นอันสันนิษฐานได้ว่า ได้ใช้ในการกระทำผิด หรือมีร่องรอยพิรุธเป็นประจักษ์ที่เสื้อผ้า หรือเนื้อตัวของผู้นั้น

มาตรา 81*: จะมีหมายจับหรือไม่ก็ตาม ห้ามมิให้จับ
(1*) ในที่รโหฐาน เว้นแต่จะได้ทำตามบทบัญญัติในประมวล กฎหมายนี้อันว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน
(2) ในพระราชวัง หรือในที่ซึ่งพระมหากษัตริย์ พระมเหสี หรือ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ประทับ หรืออยู่ นอกจากจะได้รับอนุญาต จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก่อน

มาตรา 82*: เจ้าพนักงานผู้จัดการตามหมายจับ จะขอความ ช่วยเหลือจากบุคคลใกล้เคียงเพื่อจัดการตามหมายนั้นก็ได้แต่จะ บังคับให้ผู้ใดช่วยโดยอาจเกิดอันตรายแก่เขานั้นไม่ได้

มาตรา 83*: ในการจับนั้น เจ้าพนักงานหรือราษฎรซึ่งทำการจับ ต้องแจ้งแก่ผู้ที่จะถูกจับนั้นว่าเขาต้องถูกจับ แล้วสั่งให้ผู้ถูกจับไปยัง ที่ทำการของ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจพร้อมด้วยผู้จับ แต่ถ้าจำเป็นก็ให้จับตัวไป
ถ้าบุคคลซึ่งจะถูกจับขัดขวางหรือจะขัดขวางการจับ หรือหลบหนี หรือพยายามจะหลบหนี ผู้ทำการจับมีอำนาจใช้วิธีหรือความป้องกัน ทั้งหลายเท่าที่เหมาะแก่พฤติการณ์แห่งเรื่องในการจับผู้นั้น

มาตรา 84: เจ้าพนักงานหรือราษฎรผู้ทำการจับต้องเอาตัวผู้ถูกจับ ไปยังที่ทำการของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจโดยทันทีและ เมื่อถึงที่นั้นแล้ว ถ้ามีหมายจับก็ให้เอาออกอ่านให้ผู้ถูกจับฟังทั้งให้ แจ้งเหตุที่จับนั้นด้วย
พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจซึ่งมีผู้นำผู้ถูกจับมาส่งนั้นจะ ควบคุมผู้ถูกจับไว้หรือปล่อยชั่วคราวก็ได้ เมื่อจับโดยมีหมายให้ รายงานต่อไปยังเจ้าหน้าที่ซึ่งออกหมายนั้น ถ้าเจ้าหน้าที่ออกหมาย ต้องการตัว ก็ให้จัดการส่งผู้ถูกจับไปให้
ถ้าราษฎรเป็นผู้จับ ให้บันทึกชื่อ อาชีพ ที่อยู่ของผู้จับ อีกทั้งข้อ ความและพฤติการณ์แห่งการจับนั้นไว้ แล้วให้ผู้จับลงลายมือชื่อ กำกับไว้เป็นสำคัญ
ในกรณีที่จำเป็น เจ้าพนักงานหรือราษฎรที่ทำการจับจะจัดการ พยาบาลผู้ถูกจับเสียก่อนนำตัวไปส่งตาม มาตรานี้ ก็ได้

มาตรา 85: เจ้าพนักงานผู้จับหรือรับตัวผู้ถูกจับไว้ มีอำนาจค้นตัว ผู้ต้องหา และยึดสิ่งของต่าง ๆ ที่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้
การค้นนั้นจักต้องทำโดยสุภาพ ถ้าค้นผู้หญิงต้องให้หญิงอื่นเป็น ผู้ค้น
สิ่งของใดที่ยึดไว้ เจ้าพนักงานมีอำนาจยึดไว้จนกว่าคดีถึงที่สุด เมื่อเสร็จคดีแล้วก็ให้คืนแก่ผู้ต้องหาหรือแก่ผู้อื่น ซึ่งมีสิทธิเรียกร้อง ขอคืนสิ่งของนั้น เว้นแต่ศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น

มาตรา 86: ห้ามมิให้ใช้วิธีควบคุมผู้ถูกจับเกินกว่าที่จำเป็นเพื่อ ป้องกันมิให้เขาหนีเท่านั้น

มาตรา 87*: ห้ามมิให้ควบคุมผู้ถูกจับไว้เกินกว่าจำเป็นตาม พฤติการณ์แห่งคดี
ในกรณีซึ่งเป็นความผิดลหุโทษ หรือความผิดที่มีอัตราโทษไม่ สูงกว่าความผิดลหุโทษ จะควบคุมผู้ถูกจับไว้ได้เท่าเวลาที่จะถาม คำให้การ และที่จะรู้ตัวว่าเป็นใครและที่อยู่ของเขาอยู่ที่ไหนเท่านั้น
ห้ามมิให้ควบคุมผู้ถูกจับไว้เกินกว่าสี่สิบแปดชั่วโมง นับแต่เวลา ที่ผู้ถูกจับมาถึงที่ทำการของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ แต่มิให้นับเวลาเดินทางตามปกติที่นำตัวผู้ถูกจับมาศาล รวมเข้าใน กำหนดเวลาสี่สิบสิบแปดชั่วโมงนั้นด้วย ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นเพื่อ ทำการสอบสวน หรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่น จะยืดเวลาเกินกว่าสี่สิบแปด ชั่วโมงก็ได้ เท่าเหตุจำเป็น ทั้งนี้รวมกันแล้วมิให้เกินสามวัน
ถ้าเกิดความจำเป็นที่จะควบคุมผู้ถูกจับไว้เกินกว่ากำหนดเวลา ในวรรคก่อนเพื่อให้การสอบสวนเสร็จสิ้น ให้ส่งผู้ต้องหามาศาล ให้พนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนยื่นคำร้องต่อศาล ขอหมาย ขังผู้ต้องหานั้นไว้ให้ศาลสอบถามผู้ต้องหาว่า จะมีข้อคัดค้านประการใด หรือไม่ และศาลอาจเรียกพนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนมาชี้ แจงเหตุจำเป็น หรืออาจเรียกพยานหลักฐานมาเพื่อประกอบการ พิจารณาก็ได้
ในกรณีความผิดอาญาที่ได้กระทำลงมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูง ไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลมีอำนาจสั่งขังได้ครั้งเดียว มีกำหนดได้ไม่เกินเจ็ดวัน
ในกรณีความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินกว่าหกเดือน แต่ไม่ถึงสิบปีหรือปรับเกินกว่าห้าร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาล มีอำนาจสั่งขังหลายครั้งติดๆ กันได้ แต่ครั้งหนึ่งต้องไม่เกินสิบสองวัน และรวมกันทั้งหมดต้องไม่เกินสี่สิบแปดวัน
ในกรณีความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่สิบปี ขึ้นไปจะมีโทษปรับด้วยหรือไม่ก็ตามศาลมีอำนาจสั่งขังหลายครั้ง ติด ๆ กันได้ แต่ครั้งหนึ่งต้องไม่เกินสิบสองวัน และรวมกันทั้งหมด ต้องไม่เกินแปดสิบสี่วัน
ในกรณีที่ศาลสั่งขังครบสี่สิบแปดวันแล้ว หากพนักงานอัยการหรือ พนักงานสอบสวนยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอขังต่อไปโดยอ้างเหตุจำเป็น ศาลจะสั่งขังต่อไปได้ ก็ต่อเมื่อพนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวน ได้แสดงถึงเหตุจำเป็นและนำพยานหลักฐานมาให้ศาลไต่สวนจนเป็น ที่พอใจแก่ศาล การไต่สวนชั้นนี้ผู้ต้องหาจะแต่งทนายเพื่อแถลงข้อ คัดค้าน และซักถามพยานก็ได้
ถ้าพนักงานสอบสวน ต้องไปทำการสอบสวน ในท้องที่อื่นนอก เขตของศาลซึ่งได้สั่งขังผู้ต้องหาไว้ พนักงานสอบสวนจะยื่นคำร้องขอ ให้โอนการขังไปยังศาลในท้องที่ที่จะต้องไปทำการสอบสวนนั้นก็ได้ เมื่อศาลที่สั่งขังไว้เห็นเป็นการสมควรก็ให้สั่งโอนไป
หมายเหตุ แก้ไขโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 19) พ.ศ.2539

มาตรา 88: นับแต่เวลาที่ยื่นฟ้องจำเลยที่ต้องขังตามหมายศาล ๆ จะขังจำเลยต่อไปหรือปล่อยชั่วคราวก็ได้

มาตรา 89: หมายขังหรือหมายจำคุกต้องจัดการให้เป็นไปตามนั้น ในเขตของศาลซึ่งออกหมาย
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็น เมื่อพนักงานสอบสวนร้องขอและศาลไต่สวน แล้วศาลอาจสั่งขังผู้ต้องหาไว้ ณ สถานที่ที่พนักงานสอบสวนร้องขอ โดยให้อยู่ในความควบคุมของพนักงานสอบสวนตามกำหนดเวลาที่ ศาลเห็นสมควร
หมายเหตุ แก้ไขโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 19) พ.ศ.2539

มาตรา 90*: เมื่อมีการอ้างว่าบุคคลใดต้องถูกควบคุมหรือขังโดย ผิดกฎหมาย หรือถูกจำคุกผิดจากคำพิพากษาของศาล บุคคลเหล่านี้ มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ปล่อย คือ
(1) บุคคลที่ถูกเข้าเช่นนั้น
(2) สามีภริยาหรือญาติของผู้นั้น หรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้อง
(3) พนักงานอัยการ
(4) ผู้บัญชาการเรือนจำหรือพัศดี
เมื่อได้รับคำร้องดั่งนั้น ให้ศาลหมายเรียกเจ้าพนักงานหรือบุคคลอื่น ซึ่งก่อให้เกิดการควบคุม ขัง หรือจำคุก และผู้ที่ถูกควบคุม ขัง หรือ จำคุกมาพร้อมกัน ถ้าเป็นที่พอใจศาลว่าการควบคุมหรือการขังนั้น ผิดกฎหมายหรือการจำคุกนั้นผิดจากคำพิพากษา ก็ให้ศาลสั่งปล่อย ตัวผู้นั้นไป

หมวด2 ค้น

มาตรา 91: ให้นำบทบัญญัติแห่ง มาตรา 81 (2) มาบังคับในเรื่องค้นโดยอนุโลม

มาตรา 92**: ห้ามมิให้ค้นในที่รโหฐานโดยไม่มีหมายค้นเว้นแต่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป็นผู้ค้น และในกรณีต่อไปนี้
(1) เมื่อมีเสียงร้องให้ช่วยมาจากข้างในที่รโหฐาน
(2) เมื่อปรากฏความผิดซึ่งหน้า กำลังกระทำลงในที่รโหฐาน
(3) เมื่อบุคคลที่ได้กระทำความผิดซึ่งหน้า ขณะที่ถูกไล่จับหนีเข้าไป หรือมีเหตุอันแน่นแฟ้นควรสงสัยว่าได้เข้าไปซุกซ่อนตัวอยู่ในรโหฐานนั้น
(4) เมื่อมีความสงสัยตามสมควรว่าสิ่งของที่ได้มาโดยการกระทำผิด ได้ซ่อนหรืออยู่ในนั้น ประกอบทั้งต้องมีเหตุอันควรเชื่อว่าเนื่องจากการ เนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้ สิ่งของนั้นจะถูกโยกย้ายเสียก่อน
(5) เมื่อที่รโหฐานนั้นผู้จะต้องถูกจับเป็นเจ้าบ้าน และการจับนั้น มีหมายจับหรือจับตาม มาตรา 78
เมื่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ค้นด้วยตนเองไม่ ต้องมีหมายค้นก็ได้ แต่ต้องเป็นในกรณีที่อาจออกหมายค้นหรือค้น ได้ตามประมวลกฎหมายนี้

มาตรา 93*: ห้ามมิให้ทำการค้นบุคคลใดในที่สาธารณสถาน เว้นแต่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป็นผู้ค้นในเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่า บุคคลนั้นมีสิ่งของในความครอบครองเพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรือซึ่งได้มาโดยการกระทำความผิดหรือซึ่งมีไว้เป็นความผิด

มาตรา 94: ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจที่ทำการค้นในที่ รโหฐานสั่งเจ้าของหรือคนอยู่ในนั้นหรือผู้รักษาสถานที่ซึ่งจะค้น ให้ ยอมให้เข้าไปโดยมิหวงห้าม อีกทั้งให้ความสะดวกตามสมควรทุก ประการในอันที่จะจัดการตามหมาย ทั้งนี้ให้พนักงานผู้นั้นแสดงหมาย หรือถ้าค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายก็ให้แสดงนามและตำแหน่ง
ถ้าบุคคลดั่งกล่าวในวรรคต้นมิยอมให้เข้าไป เจ้าพนักงานมีอำนาจ ใช้กำลังเพื่อเข้าไปในกรณีจำเป็นจะเปิดหรือทำลายประตูบ้าน ประตู เรือนหน้าต่าง รั้วหรือสิ่งกีดขวางอย่างอื่นทำนองเดียวกันก็ได้

มาตรา 95: ในกรณีค้นหาสิ่งของที่หาย ถ้าพอทำได้ จะให้เจ้าของ หรือผู้ครอบครองสิ่งของนั้นหรือผู้แทนของเขาไปกับเจ้าพนักงานใน การค้นนั้นด้วยก็ได้

มาตรา 96*: การค้นในที่รโหฐานต้องกระทำระหว่างพระอาทิตย์ขึ้น และตก มีข้อยกเว้นดั่งนี้
(1) เมื่อลงมือค้นแต่ในเวลากลางวัน ถ้ายังไม่เสร็จจะค้นต่อไปใน เวลากลางคืนก็ได้
(2) ในกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง หรือซึ่งมีกฎหมายอื่นบัญญัติให้ค้น ได้เป็นพิเศษ จะทำการค้นในเวลากลางคืนก็ได้
(3) การค้นเพื่อจับผู้ดุร้ายหรือผู้ร้ายสำคัญจะทำในเวลากลางคืน ก็ได้แต่ต้องมีอนุญาตพิเศษจากอธิบดีกรมตำรวจหรือข้าหลวงประจำ จังหวัดเพื่อการค้นในจังหวัดนั้น ส่วนหัวหน้าในการค้นนั้น ต้องเป็น นายอำเภอหรือนายตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป

มาตรา 97: ในกรณีที่ค้นโดยมีหมาย เจ้าพนักงานผู้มีชื่อในหมายค้น หรือผู้รักษาการแทนเท่านั้น มีอำนาจเป็นหัวหน้าไปจัดการให้เป็นไป ตามหมายนั้น

มาตรา 98: การค้นในที่รโหฐานนั้น จะค้นได้แต่เฉพาะเพื่อหาตัวคน หรือสิ่งของที่ต้องการค้นเท่านั้น แต่มีข้อยกเว้นดั่งนี้
(1) ในกรณีที่ค้นหาสิ่งของโดยไม่จำกัดสิ่ง เจ้าพนักงานผู้ค้นมี อำนาจยึดสิ่งของใด ๆ ซึ่งน่าจะใช้เป็นพยานหลักฐานเพื่อเป็นประโยชน์ หรือยันผู้ต้องหาหรือจำเลย
(2) เจ้าพนักงานซึ่งทำการค้นมีอำนาจจับบุคคลหรือสิ่งของอื่นใน ที่ค้นนั้นได้ เมื่อมีหมายอีกต่างหาก หรือในกรณีความผิดซึ่งหน้า

มาตรา 99: ในการค้นนั้น เจ้าพนักงานต้องพยายามมิให้มีการ เสียหายและกระจัดกระจายเท่าที่จะทำได้

มาตรา 100: ถ้ามีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลซึ่งอยู่ในที่ซึ่งค้นหรือ จะถูกค้นจะขัดขวางถึงกับทำให้การค้นไร้ผล เจ้าพนักงานผู้ค้นมี อำนาจเอาตัวผู้นั้นควบคุมไว้ หรือให้อยู่ในความดูแลของเจ้าพนักงาน ในขณะที่ทำการค้นเท่าที่จำเป็นเพื่อมิให้การขัดขวางถึงกับทำให้ การค้นนั้นไร้ผล
ถ้ามีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้นได้เอาสิ่งของที่ต้องการพบซุกซ่อน ในร่างกาย เจ้าพนักงานผู้ค้นมีอำนาจค้นตัวผู้นั้นได้ดั่งบัญญัติไว้ตาม มาตรา 85

มาตรา 101: สิ่งของซึ่งยึดได้ในการค้น ให้ห่อหรือบรรจุหีบห่อตีตราไว้หรือให้ทำเครื่องหมายไว้เป็นสำคัญ

มาตรา 102: การค้นในที่รโหฐานนั้น ก่อนลงมือค้นให้เจ้าพนักงาน ผู้ค้นแสดงความบริสุทธิ์เสียก่อน และเท่าที่สามารถจะทำได้ให้ค้นต่อ หน้าผู้ครอบครองสถานที่หรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้น หรือถ้าหา บุคคลเช่นกล่าวนั้นไม่ได้ ก็ให้ค้นต่อหน้าบุคคลอื่นอย่างน้อยสองคน ซึ่งเจ้าพนักงานได้ขอร้องมาเป็นพยาน
การค้นที่อยู่หรือสำนักงานของผู้ต้องหาหรือจำเลยซึ่งถูกควบคุม หรือขังอยู่ให้ทำต่อหน้าผู้นั้น ถ้าผู้นั้นไม่สามารถหรือไม่ติดใจมากำกับ จะตั้งผู้แทนหรือให้พยานมากำกับก็ได้ ถ้าผู้แทนหรือพยานไม่มี ให้ ค้นต่อหน้าบุคคลในครอบครัวหรือต่อหน้าพยานดั่งกล่าวในวรรคก่อน
สิ่งของใดที่ยึดได้ต้องให้ผู้ครอบครองสถานที่ บุคคลในครอบครัว ผู้ต้องหา จำเลย ผู้แทนหรือพยานดูเพื่อให้รับรองว่าถูกต้อง ถ้าบุคคล เช่นกล่าวนั้น รับรองหรือไม่ยอมรับรองก็ให้บันทึกไว้

มาตรา 103: ให้เจ้าพนักงานผู้ค้นบันทึกรายละเอียดแห่งการค้น และสิ่งของที่ค้นได้นั้นต้องมีบัญชีรายละเอียดไว้
บันทึกการค้นและบัญชีสิ่งของนั้นให้อ่านให้ผู้ครอบครองสถานที่ บุคคลในครอบครัว ผู้ต้องหา จำเลย ผู้แทนหรือพยานฟังแล้วแต่กรณี แล้วให้ผู้นั้นลงลายมือชื่อรับรองไว้

มาตรา 104: เจ้าพนักงานที่ค้นโดยมีหมาย ต้องรีบส่งบันทึกและ บัญชีดั่งกล่าวใน มาตรา ก่อนพร้อมด้วยสิ่งของที่ยึดมาถ้าพอจะส่งได้ ไปยังผู้ออกหมายหรือเจ้าพนักงานอื่นตามที่กำหนดไว้ในหมาย
ในกรณีที่ค้นโดยไม่มีหมายโดยเจ้าพนักงานอื่น ซึ่งไม่ใช่พนักงาน สอบสวนให้ส่งบันทึก บัญชีและสิ่งของไปยังพนักงานสอบสวนหรือ เจ้าหน้าที่ใดซึ่งต้องการสิ่งเหล่านั้น

มาตรา 105: จดหมาย ไปรษณียบัตร โทรเลข สิ่งพิมพ์หรือเอกสาร อื่นซึ่งส่งทางไปรษณีย์และโทรเลข จากหรือถึงผู้ต้องหาหรือจำเลยและ ยังมิได้ส่ง ถ้าเจ้าหน้าที่ต้องการเพื่อประโยชน์แห่งการสอบสวนไต่สวน มูลฟ้อง พิจารณา หรือการกระทำอย่างอื่นตามประมวลกฎหมายนี้ ให้ขอคำสั่งจากศาลถึงเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์โทรเลขให้ส่งเอกสารนั้นมา
ถ้าอธิบดีกรมตำรวจ หรือข้าหลวงประจำจังหวัดเห็นว่าเอกสาร นั้นต้องการใช้เพื่อการดั่งกล่าวแล้ว ระหว่างที่ขอคำสั่งต่อศาลมีอำนาจ ขอให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายไปรษณีย์โทรเลขเก็บเอกสารนั้นไว้ก่อน
บทบัญญัติแห่ง มาตรานี้ ไม่ใช้ถึงเอกสารโต้ตอบระหว่างผู้ต้องหา หรือจำเลยกับทนายความของผู้นั้น

หมวด3 ปล่อยชั่วคราว

มาตรา 106: คำร้องขอให้ปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราวโดย ไม่ต้องมีประกันหรือมีประกัน หรือมีประกันและหลักประกัน ไม่ว่าผู้นั้น ต้องควบคุมหรือขังตามหมายศาลย่อมยื่นได้โดยผู้ต้องหา จำเลย หรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องดังนี้
(1) เมื่อผู้ต้องหาถูกควบคุมอยู่ และยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาลให้ยื่น ต่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ แล้วแต่กรณี
(2) เมื่อผู้ต้องหาต้องขังตามหมายศาล และยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล
ให้ยื่นต่อศาลนั้น
(3) เมื่อผู้ต้องหาถูกฟ้องแล้ว ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้นที่ชำระคดีนั้น
(4) เมื่อศาลอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์แล้ว แม้ยังไม่มีการยื่นอุทธรณ์หรือฎีกา หรือมีการยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาแล้ว แต่ยังไม่ได้ส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา ให้ยื่นต่อศาล ชั้นต้นที่ชำระคดีนั้น
ในกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรให้ปล่อยชั่วคราว ให้ศาลชั้นต้นสั่ง อนุญาตมิฉะนั้นให้รีบส่งคำร้องพร้อมสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์หรือ ศาลฎีกาเพื่อสั่ง แล้วแต่กรณี
(5) เมื่อศาลส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาแล้ว จะยื่น ต่อศาลชั้นต้นที่ชำระคดีนั้น หรือจะยื่นต่อศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณีก็ได้
ในกรณีที่ยื่นต่อศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นรีบส่งคำร้องไปยังศาล อุทธรณ์หรือศาลฎีกาเพื่อสั่ง แล้วแต่กรณี
หมายเหตุ แก้ไขโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา (ฉ.10 พ.ศ.2522) ,(ฉ.13 พ.ศ.2525)

มาตรา 107: เมื่อได้รับคำร้องให้ปล่อยชั่วคราว ให้เจ้าพนักงาน หรือศาลรีบสั่งโดยอาศัยหลักเกณฑ์ในหก มาตรา ต่อไปนี้ มาตรา 108 ในการวินิจฉัยคำร้องให้ปล่อยชั่วคราว ให้พึงพิจารณา ข้อเหล่านี้ประกอบ
(1) ความหนักเบาแห่งข้อหา
(2) พยานหลักฐานที่นำมาสืบแล้วมีเพียงใด
(3) พฤติการณ์ต่าง ๆ แห่งคดีเป็นอย่างไร
(4) เชื่อถือผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันได้เพียงใด
(5) ผู้ต้องหาหรือจำเลยน่าจะหลบหนีหรือไม่
(6) ภัยอันตรายหรือความเสียหายที่จะเกิดจากการปล่อยชั่วคราว มีเพียงใดหรือไม่
(7) ในกรณีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องขังตามหมายศาล ถ้ามีคำ คัดค้านของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการหรือโจทก์แล้วแต่กรณี ศาลพึงรับประกอบการวินิจฉัยได้

มาตรา 108: ในการวินิจฉัยคำร้องให้ปล่อยชั่วคราว ให้พึงพิจารณา
ข้อเหล่านี้ประกอบ
(1) ความหนักเบาแห่งข้อหา
(2) พยานหลักฐานที่นำมาสืบแล้วมีเพียงใด
(3) พฤติการณ์ต่าง ๆ แห่งคดีเป็นอย่างไร
(4) เชื่อถือผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันได้เพียงใด
(5) ผู้ต้องหาหรือจำเลยน่าจะหลบหนีหรือไม่
(6) ภัยอันตรายหรือความเสียหายที่จะเกิดจากการปล่อยชั่วคราว มีเพียงใดหรือไม่
(7) ในกรณีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องขังตามหมายศาล ถ้ามีคำ คัดค้านของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการหรือโจทก์แล้วแต่กรณี ศาลพึงรับประกอบการวินิจฉัยได้

มาตรา 109: ในกรณีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องหาหรือถูกฟ้องใน ความผิดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสิบปี ถ้ามีคำร้องขอให้ปล่อย ชั่วคราวในระหว่างสอบสวนหรือระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ศาลจะต้องถามพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือโจทก์ว่า จะคัดค้านประการใดหรือไม่ ถ้าไม่อาจถามได้โดยมีเหตุอันควร ศาล จะงดการถามเสียก็ได้แต่ต้องบันทึกเหตุนั้นไว้
หมายเหตุ แก้ไขโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา (ฉ.10 พ.ศ.2522)

มาตรา 110: ในคดีมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปีขึ้นไป ผู้ที่ ถูกปล่อยชั่วคราวต้องมีประกัน และจะมีหลักประกันด้วยหรือไม่ก็ได้
ในคดีอย่างอื่นจะปล่อยชั่วคราวโดยไม่มีประกันเลย หรือมีประกัน และหลักประกันด้วยก็ได้
หมายเหตุ แก้ไขโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา (ฉ.13 พ.ศ.2525)

มาตรา 111: เมื่อจะปล่อยชั่วคราวโดยไม่มีประกันเลย ก่อนที่จะ ปล่อยไป ให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยสาบานหรือปฏิญาณตนว่าจะมาตาม นัดหรือหมายเรียก

มาตรา 112: เมื่อจะปล่อยชั่วคราวโดยมีประกัน หรือมีประกันและ หลักประกัน ก่อนปล่อยไปให้ผู้ประกันหรือผู้เป็นหลักประกันลงลาย มือชื่อในสัญญาประกันนั้น
ในสัญญาประกันนอกจากข้อความอย่างอื่นอันพึงมี ต้องมีข้อความ
ดั่งนี้ด้วย
(1) ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวหรือผู้ประกัน แล้วแต่กรณี จะปฏิบัติ ตามนัดหรือหมายเรียกของเจ้าพนักงานหรือศาล ซึ่งให้ปล่อยชั่วคราว
(2) เมื่อผิดสัญญาจะใช้เงินจำนวนที่ระบุไว้

มาตรา 113: เมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการสั่งปล่อย ชั่วคราวไม่ว่าจะมีประกันหรีอมีประกันและหลักประกันหรือไม่ การ ปล่อยชั่วคราวนั้นให้ใช้ได้ระหว่างการสอบสวนหรือจนกว่าผู้ต้องหา ถูกศาลสั่งขังระหว่างสอบสวนหรือจนถึงศาลประทับฟ้อง แต่มิให้เกิน สามเดือนนับแต่วันแรกที่มีการปล่อยชั่วคราว ไม่ว่าเป็นการปล่อย ชั่วคราวโดยพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ ในกรณีที่มีเหตุ จำเป็นทำให้ไม่อาจทำการสอบสวนได้เสร็จภายในกำหนดสามเดือน จะยืดเวลาการปล่อยชั่วคราวให้เกินสามเดือนก็ได้ แต่มิให้เกินหกเดือน
เมื่อการปล่อยชั่วคราวสิ้นสุดลงตามวรรคหนึ่งแล้ว ถ้ายังมีความ จำเป็นที่จะต้องควบคุมผู้ต้องหาไว้ต่อไป ให้ส่งผู้ต้องหามาศาล และให้ นำบทบัญญัติ มาตรา 7 วรรคสี่ ถึงวรรคเก้ามาใช้บังคับ
หมายเหตุ แก้ไขโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความอาญา (ฉ.17 พ.ศ.2532)

มาตรา 114: เมื่อจะปล่อยชั่วคราวโดยให้มีประกันและหลักประกัน ด้วยก่อนปล่อยตัวไป ให้ผู้ร้องขอประกันจัดหาหลักประกันมาดั่งต้องการ
หลักประกันมี 3 ชนิด คือ
(1) มีเงินสดมาวาง
(2) มีหลักทรัพย์อื่นมาวาง
(3) มีบุคคลมาเป็นหลักประกัน โดยแสดงหลักทรัพย์
มาตรา 115 โดยความปรากฏต่อมา หรือเนื่องจากกลฉ้อฉลหรือ ผิดหลงปรากฏว่าสัญญาประกันต่ำไปหรือหลักประกันไม่เพียงพอ เจ้าพนักงานหรือศาลมีอำนาจเรียกผู้ที่เกี่ยวข้องกับสัญญาประกันมา พร้อมกัน ในกรณีแรกให้เปลี่ยนสัญญาประกันให้จำนวนเงินสูงขึ้น ในกรณีหลังให้เรียกหลักประกันเพิ่มหรือดีกว่าเดิม
ในกรณีที่ศาลปล่อยชั่วคราว และคดีขึ้นไปสู่ศาลสูง ๆ มีอำนาจแก้ คำสั่งล่างให้จำเลยทำหรือหาประกันเป็นจำนวนสูงขึ้น หรือถ้าเห็นว่า หลักประกันไม่เพียงพอจะสั่งให้หาหลักประกันเพิ่มหรือดีกว่าเดิมก็ได้

มาตรา 116: การขอถอนสัญญาประกันหรือขอถอนหลักประกัน ย่อมทำได้เมื่อผู้ทำสัญญามอบตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยคืนต่อเจ้าพนักงาน หรือศาล

มาตรา 117*: เมื่อผู้ต้องหาหรือจำเลยหนีหรือจะหลบหนี บุคคลซึ่ง ทำสัญญาประกันหรือเป็นหลักประกันอาจขอให้พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจที่ใกล้ที่สุดจับผู้ต้องหาหรือจำเลยนั้น ถ้ามิสามารถจะขอ ความช่วยเหลือจากเจ้าพนักงานเช่นนั้นได้ทันท่วงทีก็ให้มีอำนาจจับ ผู้ต้องหาหรือจำเลยนั้นได้เอง แล้วส่งไปยังพนักงานฝ่ายปกครองหรือ ตำรวจที่ใกล้ที่สุดและให้พนักงานนั้นรีบจัดส่งผู้ต้องหาหรือจำเลยนั้น ไปยังเจ้าพนักงานหรือศาล โดยคิดค่าพาหนะจากบุคคลนั้น

มาตรา 118: เมื่อคดีถึงที่สุด หรือความรับผิดตามสัญญาประกัน หมดไปตาม มาตรา 116 หรือโดยเหตุอื่น ให้คืนหลักประกันแก่ผู้ที่ ควรรับไป

มาตรา 119: ในกรณีผิดสัญญาประกันต่อศาล ศาลมีอำนาจสั่ง บังคับตามสัญญาประกันหรือตามที่ศาลเห็นสมควรโดยมิต้องฟ้อง เมื่อศาลสั่งประการใดแล้ว ฝ่ายผู้ถูกบังคับตามสัญญาประกันหรือ พนักงานอัยการมีอำนาจอุทธรณ์ได้ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ให้ เป็นที่สุด
หมายเหตุ แก้ไขโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา (ฉ.17 พ.ศ.2532)

มาตรา 119ทวิ ในกรณีที่ศาลสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวผู้ร้อง ขอมีสิทธิยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ ดังต่อไปนี้
(1) คำสั่งของศาลชั้นต้น ให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์
(2) คำสั่งของศาลอุทธรณ์ ให้อุทธรณ์ไปยังศาลฎีกา
ให้ศาลชั้นต้นที่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งรีบส่งคำร้องดังกล่าว พร้อมด้วย สำนวนความหรือสำเนาสำนวนความเท่าที่จำเป็น ไปยังศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกาแล้วแต่กรณี เพื่อพิจารณาและมีคำสั่งโดยเร็ว
คำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่ไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ยืนตามศาล ชั้นต้นให้เป็นที่สุด แต่ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิที่จะยื่นคำร้องให้ปล่อยชั่วคราวใหม่
หมายเหตุ แก้ไขโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา (ฉ.15 พ.ศ.2527)


Create Date : 22 ตุลาคม 2548
Last Update : 22 ตุลาคม 2548 16:03:45 น. 4 comments
Counter : 1204 Pageviews.

 
^ข้างบนจะเขียนเพิ่มเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นอย่าแปลกใจถ้ามาแล้วเห็นเปลี่ยนไปเปลี่ยนมานะคะ


โดย: ไร้นาม วันที่: 22 ตุลาคม 2548 เวลา:15:52:21 น.  

 
อันนี้มีประโยชน์ครับ

พวกตำรวจมั่วเยอะ


โดย: noom_no1 วันที่: 22 ตุลาคม 2548 เวลา:19:30:12 น.  

 
--- คุณ noom_no1 ---

มีประโยชน์จริงๆ ค่ะ
แต่วิชานี้แหล่ะค่ะที่ตก
ต้อง "สู้ๆ" ใหม่


โดย: ไร้นาม วันที่: 31 มกราคม 2549 เวลา:21:51:24 น.  

 
ชอบเรื่องกฏหมายเช่นกันค่ะ และตอนนี้ก็กำลังเรียนด้วย ได้รู้อะไรมากมาย ตอนนี้ก็ได้รับมอบหมายให้ทำรายงานด้วย


โดย: Aae IP: 58.147.39.140 วันที่: 7 กรกฎาคม 2551 เวลา:11:57:40 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ไร้นาม
Location :
ปทุมธานี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]





"อ่านคนอ่านที่ความคิด
หาใช่ชื่อเสียงเรียงนาม"
Friends' blogs
[Add ไร้นาม's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friends


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.