จินตนาการจากความว่างเปล่า
Imagination from the emptiness
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2550
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
28 มีนาคม 2550
 
All Blogs
 

พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

หมวด 1 บททั่วไป

มาตรา 8 ให้มีประธานศาลฎีกาประจำศาลฎีกาหนึ่งคน ประธาน ศาลอุทธรณ์ประจำศาลอุทธรณ์หนึ่งคน ประธานศาลอุทธรณ์ภาค ประจำศาลอุทธรณ์ภาค ศาลละหนึ่งคน และให้มีอธิบดีผู้พิพากษา ศาลชั้นต้นประจำศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี และศาลยุติธรรม อื่นที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดให้เป็นศาลชั้นต้น ศาลละ หนึ่งคน กับให้มีรองประธานศาลฎีกาประจำศาลฎีกา รองประธาน ศาลอุทธรณ์ประจำศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาคประจำ ศาลอุทธรณ์ภาค และรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นประจำศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี และศาลยุติธรรมอื่นที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้น กำหนดให้เป็นศาลชั้นต้น ศาลละหนึ่งคน และในกรณีที่มีความ จำเป็นเพื่อประโยชน์ในทางราชการ คณะกรรมการบริหารศาล ยุติธรรม โดยความเห็นชอบของประธานศาลฎีกา จะกำหนดให้มี รองประธานศาลฎีกา หรือรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นมากกว่า หนึ่งคนแต่ไม่เกินสามคนก็ได้
เมื่อตำแหน่งประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ประธาน ศาลอุทธรณ์ภาค หรืออธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นว่างลง หรือเมื่อ ผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองประธาน ศาลฎีกา รองประธานศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค หรือรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น แล้วแต่กรณี เป็นผู้ทำการแทน ถ้ามีรองประธานศาลฎีกา หรือรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หลายคน ให้รองประธานศาลฎีกา หรือรองอธิบดีผู้พิพากษาศาล ชั้นต้นที่มีอาวุโสสูงสุดเป็นผู้ทำการแทน ถ้าผู้ที่มีอาวุโสสูงสุดไม่อาจ ปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้ที่มีอาวุโสถัดลงมาตามลำดับเป็นผู้ทำการแทน
ในกรณีที่ไม่มีผู้ทำการแทนประธานศาลฎีกา ประธานศาล อุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค หรืออธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น ตามวรรคสอง หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้พิพากษาที่มี อาวุโสสูงสุดในศาลนั้นเป็นผู้ทำการแทน ถ้าผู้ที่มีอาวุโสสูงสุดไม่อาจ ปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสถัดลงมาตามลำดับเป็น ผู้ทำการแทน
ในกรณีที่ไม่มีผู้ทำการแทนตามวรรคสาม ประธานศาลฎีกา จะสั่งให้ผู้พิพากษาคนหนึ่งเป็นผู้ทำการแทนก็ได้
ผู้พิพากษาอาวุโสหรือผู้พิพากษาประจำศาลจะเป็นผู้ทำการแทน ในตำแหน่งตามวรรคหนึ่งไม่ได้

มาตรา 9 ในศาลจังหวัดหรือศาลแขวง ให้มีผู้พิพากษาหัวหน้า ศาล ศาลละหนึ่งคน เมื่อตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดหรือผู้พิพากษา หัวหน้าศาลแขวงว่างลง หรือเมื่อผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวไม่อาจ ปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลนั้นเป็นผู้ ทำการแทน ถ้าผู้ที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลนั้นไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสถัดลงมาตามลำดับในศาลนั้นเป็นผู้ทำการแทน
ในกรณีที่ไม่มีผู้ทำการแทนตามวรรคสอง ประธานศาลฏีกาจะ สั่งให้ผู้พิพากษาคนหนึ่งเป็นผู้ทำการแทนก็ได้ ผู้พิพากษาอาวุโสหรือผู้พิพากษาประจำศาลจะเป็นผู้ทำการแทน ในตำแหน่งตามวรรคหนึ่งไม่ได้

มาตรา 13 ให้มีอธิบดีผู้พิพากษาภาค ภาคละหนึ่งคน จำนวน เก้าภาค มีสถานที่ตั้ง และเขตอำนาจตามที่คณะกรรมการบริหาร ศาลยุติธรรมกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เมื่อตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาภาคว่างลงหรือเมื่ออธิบดีผู้ พิพากษาภาคไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ประธานศาลฎีกาสั่งให้ ผู้พิพากษาคนหนึ่งเป็นผู้ทำการแทน
ผู้พิพากษาอาวุโสหรือผู้พิพากษาประจำศาลจะเป็นผู้ทำการ แทนในตำแหน่งตามวรรคหนึ่งไม่ได้

หมวด 2 เขตอำนาจศาล

มาตรา 17 ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอำนาจ ทำการไต่สวน หรือมีคำสั่งใดๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจตาม ที่กำหนดไว้ใน มาตรา 24 และ มาตรา 25 วรรคหนึ่ง

มาตรา 18 ศาลจังหวัดมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและ คดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมอื่น

มาตรา 21 ศาลอุทธรณ์มีเขตตลอดท้องที่ที่มิได้อยู่ในเขตศาล อุทธรณ์ภาค
ในกรณีที่มีการยื่นอุทธรณ์คดีต่อศาลอุทธรณ์ และคดีนั้นอยู่นอก เขตของศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์อาจใช้ดุลพินิจยอมรับไว้พิจารณา พิพากษาหรือมีคำสั่งโอนคดีนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ภาคที่มีเขตอำนาจ

มาตรา 22 ศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาคมีอำนาจพิจารณา พิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้น ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์ และว่าด้วยเขต อำนาจศาล และมีอำนาจดังต่อไปนี้
(1) พิพากษายืนตาม แก้ไข กลับ หรือยกคำพิพากษาของศาล ชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต ในเมื่อ คดีนั้นได้ส่งขึ้นมายังศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาคตามที่บัญญัติ ไว้ในกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
(2) วินิจฉัยชี้ขาดคำร้องคำขอที่ยื่นต่อศาลอุทธรณ์หรือศาล อุทธรณ์ภาคตามกฎหมาย
(3) วินิจฉัยชี้ขาดคดีที่ศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาคมี อำนาจวินิจฉัยได้ตามกฎหมายอื่น

หมวด 3 องค์คณะผู้พิพากษา

มาตรา 24 ให้ผู้พิพากษาคนหนึ่งมีอำนาจดังต่อไปนี้
(1) ออกหมายเรียก หมายอาญา หรือหมายสั่งให้ส่งคนมาจาก หรือไปยังจังหวัดอื่น
(2) ออกคำสั่งใดๆ ซึ่งมิใช่เป็นไปในทางวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาท แห่งคดี

มาตรา 25 ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมี อำนาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลนั้น ดังต่อไปนี้
(1) ไต่สวนและวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องหรือคำขอที่ยื่นต่อศาลใน คดีทั้งปวง
(2) ไต่สวนและมีคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการเพื่อความปลอดภัย
(3) ไต่สวนมูลฟ้องและมีคำสั่งในคดีอาญา
(4) พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือ จำนวนเงินที่ฟ้องไม่เกินสามแสนบาท ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือ จำนวนเงินดังกล่าวอาจขยายได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
(5) พิจารณาพิพากษาคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกำหนดอัตราโทษ อย่างสูงไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ แต่จะลงโทษจำคุกเกินหกเดือน หรือปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งโทษจำคุกหรือปรับอย่างใด อย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้
ผู้พิพากษาประจำศาลไม่มีอำนาจตาม (3) (4) หรือ (5)

มาตรา 26 ภายใต้บังคับตาม มาตรา 25 ในการพิจารณา พิพากษาคดีของศาลชั้นต้น นอกจากศาลแขวงและศาลยุติธรรมอื่น ซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ต้องมีผู้ พิพากษาอย่างน้อยสองคนและต้องไม่เป็นผู้พิพากษาประจำศาล เกินหนึ่งคน จึงเป็นองค์คณะที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง หรือคดีอาญาทั้งปวง

มาตรา 27 ในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาคหรือศาลฎีกา ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสามคน จึงเป็นองค์คณะที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้
ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค และผู้ พิพากษาศาลฎีกา ที่เข้าประชุมใหญ่ในศาลนั้นหรือในแผนกคดีของ ศาลดังกล่าว เมื่อได้ตรวจสำนวนคดีที่ประชุมใหญ่หรือที่ประชุม แผนกคดีแล้วมีอำนาจพิพากษาหรือทำคำสั่งคดีนั้นได้ และเฉพาะ ในศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคมีอำนาจทำความเห็นแย้งได้ด้วย

มาตรา 28 ในระหว่างการพิจารณาคดีใด หากมีเหตุสุดวิสัย หรือมีเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่างได้ ทำให้ผูพิพากษาซึ่งเป็น องค์คณะในการพิจารณาคดีนั้น ไม่อาจจะนั่งพิจารณาคดีต่อไป ให้ผู้พิพากษาดังต่อไปนี้นั่งพิจารณาคดีนั้นแทนต่อไปได้
(1) ในศาลฎีกา ได้แก่ ประธานศาลฎีกา หรือรองประธาน ศาลฎีกา หรือผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งประธานศาลฎีกามอบหมาย
(2) ในศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาค ได้แก่ ประธาน ศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค หรือรองประธานศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค หรือผู้พิพากษาในศาลอุทธรณ์หรือ ศาลอุทธรณ์ภาคซึ่งประธานศาลอุทธรณ์หรือประธานศาลอุทธรณ์ภาค แล้วแต่กรณี มอบหมาย
(3) ในศาลชั้นต้น ได้แก่ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดี ผู้พิพากษาภาค ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล หรือรองอธิบดีผู้พิพากษา ศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นของศาลนั้นซึ่งอธิบดีผู้ พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค หรือผู้พิพากษาหัวหน้า ศาล แล้วแต่กรณี มอบหมาย
ให้ผู้ทำการแทนในตำแหน่งต่างๆ ตาม มาตรา 8 มาตรา 9 และ มาตรา 13 มีอำนาจตาม (1) (2) และ (3) ด้วย

มาตรา 29 ในระหว่างการทำคำพิพากษาคดีใด หากมีเหตุ สุดวิสัยหรือเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ ทำให้ผู้พิพากษาซึ่ง เป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีนั้นไม่อาจจะทำคำพิพากษาในคดี นั้นต่อไปได้ ให้ผู้พิพากษาดังต่อไปนี้มีอำนาจลงลายมือชื่อทำคำ พิพากษา และเฉพาะในศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค และศาลชั้นต้น มีอำนาจทำความเห็นแย้งได้ด้วย ทั้งนี้ หลังจากได้ตรวจสำนวน คดีนั้นแล้ว
(1) ในศาลฎีกา ได้แก่ ประธานศาลฎีกาหรือรองประธาน ศาลฎีกา
(2) ในศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรนณ์ภาค ได้แก่ ประธาน ศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค รองประธานศาลอุทธรณ์ หรือรองประธานศาลอุทธรณ์ภาค แล้วแต่กรณี
(3) ในศาลชั้นต้น ได้แก่ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดี ผู้พิพากษาภาค รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษา หัวหน้าศาล แล้วแต่กรณี
ให้ผู้ทำการแทนในตำแหน่งต่างๆ ตาม มาตรา 8 มาตรา 9 และ มาตรา 13 มีอำนาจตาม (1) (2) และ (3) ด้วย

มาตรา 30 เหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตาม มาตรา 28 และ มาตรา 29 หมายถึงกรณีที่ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะนั่ง พิจารณาคดีนั้นพ้นจากตำแหน่งที่ดำรงอยู่หรือถูกคัดค้านและถอนตัว ไปหรือไม่อาจปฏิบัติราชการจนไม่สามารถนั่งพิจารณาหรือทำคำ พิพากษาในคดีนั้นได้

มาตรา 31 เหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตาม มาตรา 28 และ มาตรา 29 นอกจากที่กำหนดไว้ใน มาตรา 30 แล้ว ให้หมาย ความรวมถึงกรณีดังต่อไปนี้ด้วย
(1) กรณีที่ผู้พิพากษาคนเดียวไต่สวนมูลฟ้องคดีอาญาแล้ว เห็นว่าควรพิพากษายกฟ้อง แต่คดีนั้นมีอัตราโทษตามที่กฎหมาย กำหนดเกินกว่าอัตราโทษตาม มาตรา 25 (5)
(2) กรณีที่ผู้พิพากษาคนเดียวพิจารณาคดีอาญาตาม มาตรา 25 (5) แล้วเห็นว่าควรพิพากษาลงโทษจำคุกเกินกว่าหกเดือน หรือ ปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งโทษจำคุกหรือปรับนั้น อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างเกินอัตราดังกล่าว
(3) กรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งคดีแพ่งเรื่องใดของศาลนั้น จะต้องกระทำโดยองค์คณะ ซึ่งประกอบด้วยผู้พิพากษาหลายคน และผู้พิพากษาในองค์คณะนั้นมีความเห็นแย้งกันจนหาเสียงข้างมาก มิได้
(4) กรณีที่ผู้พิพากษาคนเดียวพิจารณาคดีแพ่งตาม มาตรา 25 (4) ไปแล้ว ต่อมาปรากฏว่าราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจำนวนเงิน ที่ฟ้องเกินกว่าอำนาจพิจารณาพิพากษาของผู้พิพากษาคนเดียว

หมวด 4 การจ่าย การโอน และการเรียกคืนสำนวนคดี

มาตรา 32 ให้ประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ประธาน ศาลอุทธรณ์ภาค อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาหัวหน้า ศาล หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแผนกคดีในแต่ละศาลแล้วแต่กรณี รับผิดชอบในการจ่ายสำนวนคดีให้แก่กองคณะผู้พิพากษาในศาล หรือในแผนกคดีนั้น โดยให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กำหนดโดยระเบียบราชการฝ่ายตุลาการของศาลยุติธรรม
การออกระเบียบราชการฝ่ายตุลาการของศาลยุติธรรมตาม วรรคหนึ่ง ให้คำนึงถึงความเชี่ยวชาญและความเหมาะสมของ องค์คณะผู้พิพากษาที่จะรับผิดชอบสำนวนคดีนั้น รวมทั้งปริมาณ คดีที่องค์คณะผู้พิพากษาแต่ละองค์คณะต้องรับผิดชอบ

มาตรา 33 การเรียกคืนสำนวนคดีหรือการโอนสำนวนคดีซึ่ง อยู่ในความรับผิดชอบขององค์คณะผู้พิพากษาใด ประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค อธิบดีผู้พิพากษา ศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาล จะกระทำได้ต่อเมื่อเป็น กรณีที่จะกระทบกระเทือนต่อความยุติธรรมในการพิจารณาหรือ พิพากษาอรรถคดีของศาลนั้น และรองประธานศาลฎีกา รองประธานศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค รองอธิบดี ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลจังหวัด หรือผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลแขวง แล้วแต่กรณี ที่มิได้เป็น องค์คณะในสำนวนคดีดังกล่าวได้เสนอความเห็นให้กระทำได้ ในกรณีที่รองประธานศาลฎีกา รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลจังหวัด หรือผู้พิพากษาที่มี อาวุโสสูงสุดในศาลแขวง แล้วแต่กรณี ไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือ ได้เข้าเป็นองค์คณะในสำนวนคดีที่เรียกคืนหรือโอนนั้น ให้รอง ประธานศาลฎีกา รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษา ที่มีอาวุโสถัดลงมาตามลำดับในศาลนั้น เป็นผู้มีอำนาจในการเสนอ ความเห็นแทน ในกรณีที่รองประธานศาลฎีกา รองอธิบดีผู้พิพากษา ศาลชั้นต้น มีหนึ่งคนและในกรณีที่รองประธานศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค ไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือได้เข้า เป็นองค์คณะในสำนวนคดีที่เรียกคืนหรือโอนนั้น ให้ผู้พิพากษาที่มี อาวุโสสูงสุดของศาลนั้นเป็นผู้มีอำนาจในการเสนอความเห็น
ผู้พิพากษาอาวุโสหรือผู้พิพากษาประจำศาลไม่มีอำนาจในการ เสนอความเห็นตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง
ในกรณีที่ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนหรือองค์คณะผู้พิพากษา คดีค้างการพิจารณาอยู่เป็นจำนวนมากซึ่งจะทำให้การพิจารณา พิพากษาคดีของศาลนั้นล่าช้า และผู้พิพากษาของสำนวนหรือองค์ คณะผู้พิพากษานั้นขอคืนสำนวนคดีที่ตนรับผิดชอบอยู่ ให้ประธาน ศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค อธิบดี ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาล แล้วแต่กรณี มีอำนาจรับคืนสำนวนคดีดังกล่าว และโอนให้ผู้พิพากษาหรือองค์ คณะผู้พิพากษาอื่นในศาลนั้นรับผิดชอบแทนได้




 

Create Date : 28 มีนาคม 2550
29 comments
Last Update : 28 มีนาคม 2550 22:35:32 น.
Counter : 4637 Pageviews.

 

คุณไร้นามลืมลงชื่อ

สงสัยง่วงจัด

 

โดย: คนหน้าเดิม IP: 203.146.189.99 29 มีนาคม 2550 8:24:05 น.  

 

--- คุณคนหน้าเดิม ---

ง่วงจัดจริงๆ ค่ะ

 

โดย: ไร้นาม 29 มีนาคม 2550 22:48:52 น.  

 

แวะมาทักทายครับ ผมกับกฎหมายไม่ค่อยถูกกันเท่าไหร่นัก ขอผ่านดีกว่า..
ไม่ได้คุยกันนาน หวังว่าคงสบายดีนะครับ

 

โดย: Mint@da{-"-} 30 มีนาคม 2550 21:57:13 น.  

 

เยอะมากเลยอ่ะค่ะ...กว่าจะอ่านหมด
อ่านบ่อยๆ คงเข้าหัว ...nara-gorn.... บ้างอ่ะค่ะ
เป็นสิ่งใกล้ตัว แต่ไม่ค่อยถนัดเลยค่ะ นับถือคนเรียนกฎหมายจริงๆๆ..

 

โดย: naragorn 31 มีนาคม 2550 5:35:28 น.  

 

มีคนชื่นชมและแนะนำคุณมา
แวะเข้ามาทักทายครับ
เดี๋ยวจะตามอ่านงานเขียนของคุณดู

 

โดย: กะว่าก๋า (กะว่าก๋า ) 31 มีนาคม 2550 7:55:48 น.  

 

ขอเก็บคำคมไว้อ่านหน่อยนะครับ
ขอบคุณครับ

 

โดย: กะว่าก๋า (กะว่าก๋า ) 31 มีนาคม 2550 8:12:25 น.  

 

เนียะ ลงนิติรามเหมียนกัลลส์
สามปีได้ 10 วิชาเอง...กลัวมหาลัยเจ้ง
เรียนมากเขาจะไม่มีคะแนนจะให้
คะแนนเกลี้ยงแคมปัสเลย

 

โดย: หนูนุ้ย IP: 58.9.91.127 31 มีนาคม 2550 13:03:09 น.  

 

--- คุณ Mint@da{-"-} ---

ฮะ ฮะ เพื่อนไร้นามหลายๆ คนก็หายไปตอนเจอกฏหมายนี่แหล่ะค่ะ เดี๋ยวกลับเป็น blog ปกติแล้วค่ะ สอบเสร็จแล้ว @^_^@


--- คุณ naragorn ---

เป็นเรื่องที่ไร้นามไม่ค่อยถนัดเหมือนกันค่ะ แต่ชอบทำเรื่องไม่ถนัดเวลาทำได้ก็จะแอบดีใจกว่าเวลาทำเรื่องถนัดได้


--- คุณกะว่าก๋า ---

ยินดีต้อนรับค่ะ เชิญเดินเล่นตามสบายเลยนะคะ


--- คุณหนูนุ้ย ---

ดีค่ะเรียนเป็นเพื่อนกัน

 

โดย: ไร้นาม 1 เมษายน 2550 21:56:58 น.  

 



เป็นเรื่องที่ไร้นามไม่ค่อยถนัดเหมือนกันค่ะ แต่ชอบทำเรื่องไม่ถนัดเวลาทำได้ก็จะแอบดีใจกว่าเวลาทำเรื่องถนัดได้

โดย: ไร้นาม
-----------------------


อืมมมม..... คิดเยี่ยงนี้ ก็เข้าท่าดีแฮ๊ะ.... คุณ ไร้นาม หนิน่ารักจริง ๆ นิ..

 

โดย: naragorn 2 เมษายน 2550 1:19:16 น.  

 

สอบเสร็จ
ไปเดินหาหนังสือกับข้อสอบ
เตรียมไว้ซัมเมอร์
เฮ้อ สอบอาทิตย์ที่สามของพฤษภานี้แหละ
เร็วจัง


คุณไร้นามเรียนเทอมนี้ไหม

 

โดย: คนหน้าเดิม IP: 203.146.189.99 5 เมษายน 2550 11:14:22 น.  

 

--- คุณ naragorn ---

อิอิ ได้แต่คิดค่ะ เวลาทำก็ไม่ค่อยได้เรื่องเท่าไหร่


--- คุณคนหน้าเดิม ---

เรียนค่ะ ยังไม่ได้เตรียมตัวเลยค่ะ (เขินๆ)
ช่วงนี้งานยุ่งเชียว ฮือๆ

 

โดย: ไร้นาม 9 เมษายน 2550 0:20:56 น.  

 

พี่ไร้นาม ชื่อ พี่อุ๊ รึเปล่าครับ ผมชื่อนิว นะครับ เป็นคนหนึ่งที่ผ่านมาเจอBlogของพี่ บอกตรงๆว่าชื่นชมในความสามารถของพี่นะครับ ขอสมัครเป็นสมาชิกBlogของพี่ด้วยแล้วกันครับ ผมก็เป็นคนหนึ่งที่สนใจในวิชากฏหมายครับ เริ่มเรียนกฏหมายของรามฯมาตั้งแต่อยู่ปี3 ป.ตรีที่จุฬาฯ จนตอนนี้จบแล้ว ยังไปไม่ถึงไหนเลย อีกอย่างก็ต้องทำงานไปด้วย ถ้าพี่ไม่รังเกียจผมจะขอข้อแนะนำในการเรียนกฏหมายจากพี่บ้างจะได้มั้ยครับ แล้วผมจะกลับมาทักทายพี่อีกนะครับ

 

โดย: new IP: 202.28.180.201 11 เมษายน 2550 13:42:08 น.  

 

--- คุณ new ---

ยินดีต้อนรับค่ะ

 

โดย: ไร้นาม 22 เมษายน 2550 19:32:18 น.  

 

เดือนเดียว
จะสอบไล่อีกแล้ว
เร่งดูหนังสือด้วย
พี่น้องทั้งหลาย

 

โดย: คนหน้าเดิม IP: 202.44.219.99 25 เมษายน 2550 8:00:12 น.  

 

ตารางสอบ 3/49 ออกแล้วพี่น้อง

เจอบางนาอีกแล้ว

อือ

 

โดย: คนหน้าเดิม IP: 203.185.68.99 1 พฤษภาคม 2550 14:26:59 น.  

 

(มาดี ไม่หลอกลวง)ใครเรียน นิติ ม.รามบ้างคะ เราเรียนนิติ ม.รามอุทัยปี1 เรามีชื่อเล่นว่าวันใหม่ อายุ 18 ปี คะ อยากมีเพื่อนเรียนราม จังเลย

 

โดย: วันใหม่ IP: 203.113.45.196 2 พฤษภาคม 2550 22:32:19 น.  

 

อยากให้คุณไร้นาม นำสรุปย่อของคุณไร้นาม มาลงให้พี่ๆอ่านบ้าง

 

โดย: พี่จ๋า IP: 203.147.4.69 9 พฤษภาคม 2550 15:46:15 น.  

 

+++ คุณคนหน้าเดิม +++

ฮะ ฮะ เข้าใจอารมณ์


+++ คุณวันใหม่ +++

ยินดีเป็นเพื่อนค่ะ (แอบลดอายุ อิอิ)


+++ คุณพี่จ๋า +++

อ่านแบบนั้นเลยค่ะ (จำมาตราหลักๆ แหลก)

 

โดย: ไร้นาม 26 สิงหาคม 2550 11:20:04 น.  

 

 

โดย: อัพเดทใหม่รึป่าวค่ะ ขอบคุณมากๆเลยค่ะ IP: 125.26.83.59 15 กุมภาพันธ์ 2551 20:56:02 น.  

 

มาตราไม่มีวรรคให้บ้างเลย
เราไม่ค่สอยมีตังก็เลยจะก๊อปไปเรียนสักหน่อย

 

โดย: นิติราช IP: 118.172.201.199 21 กุมภาพันธ์ 2551 19:02:40 น.  

 

มาตรา 8 เปลี่ยนจากรอง 3 คนเป็ฯ 6 คนแล้วน๊ะครับ

 

โดย: เต้ นิติ IP: 158.108.2.6 1 มีนาคม 2551 16:26:09 น.  

 

จบรามแล้วเป็นกำลังใจให้น้องๆนะคะ

 

โดย: รักเรียน IP: 203.113.17.148 25 มีนาคม 2551 13:57:00 น.  

 

ขอบคุณทุกท่านที่มาเยือนนะคะ

ไม่ได้ update เลยค่ะ แนะนำ //www.kodmhai.com นะคะ

 

โดย: ไร้นาม 5 พฤษภาคม 2551 1:45:04 น.  

 

แวปนี้ดีจัง ชอบมีเนื้อหาสาระดี เหมาะสำหรับผู้ศึศีกษา

 

โดย: มีนาม IP: 125.25.151.213 7 พฤษภาคม 2551 14:34:43 น.  

 

แวปนี้ดีจัง ชอบมีเนื้อหาสาระดี เหมาะสำหรับผู้ศึศีกษา

 

โดย: มีนาม IP: 125.25.151.213 7 พฤษภาคม 2551 14:34:46 น.  

 

ขอบคุณนะคะ

พวกพี่ๆ ช่วยเหลือ ได้เยอะเลยเวลาใกล้สอบ

 

โดย: ปุ้ย นิติ ปีสอง IP: 114.128.84.77 12 มีนาคม 2552 1:14:18 น.  

 

บล็อกมีประโยชน์มากครับ อย่าลบนะครับ เสียดาย

 

โดย: ART IP: 124.157.155.31 5 พฤษภาคม 2553 14:09:37 น.  

 

สวัสดี ใกลจะถึงปีใหม่แล้วพี่น้อง แค่นี้ก่อน เวะมา ส ว ดจ้า

 

โดย: สมคิด แช่ยอ่ง IP: 110.168.96.202 1 พฤศจิกายน 2553 10:49:45 น.  

 

ขอบคุณครับ พอดีเลยครับ เสาร์-อาทิตย์ นี้

มาตรา25 29 30 31 อนุ1

ต้องใช้พอดี

 

โดย: darkpipo IP: 118.173.100.63 9 มีนาคม 2554 10:32:30 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ไร้นาม
Location :
ปทุมธานี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]





"อ่านคนอ่านที่ความคิด
หาใช่ชื่อเสียงเรียงนาม"
Friends' blogs
[Add ไร้นาม's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friends


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.