จินตนาการจากความว่างเปล่า
Imagination from the emptiness
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2548
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
1 ตุลาคม 2548
 
All Blogs
 
กฏหมายแพ่งและพาณิชย์ - บรรพ 5 ลักษณะ 1 การสมรส

หมวด 1 การหมั้น

เงื่อนไขการหมั้น

มาตรา 1435*: การหมั้นจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปี บริบูรณ์แล้ว
การหมั้นที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติวรรคหนึ่งเป็นโมฆะ

มาตรา 1436: ผู้เยาว์จะทำการหมั้นได้ต้องได้รับความยินยอมของบุคคล ดังต่อไปนี้
(1) บิดาและมารดา ในกรณีที่มีทั้งบิดามารดา
(2) บิดาหรือมารดา ในกรณีที่มารดาหรือบิดาตายหรือถูกถอนอำนาจ ปกครอง หรือไม่อยู่ในสภาพหรือฐานะที่อาจให้ความยินยอม หรือโดย พฤติการณ์ผู้เยาว์ไม่อาจขอความยินยอมจากมารดาหรือบิดาได้
(3) ผู้รับบุตรบุญธรรม ในกรณีที่ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม
(4) ผู้ปกครอง ในกรณีที่ไม่มีบุคคลซึ่งอาจให้ความยินยอมตาม (1)(2) และ (3) หรือมีแต่บุคคลดังกล่าวถูกถอนอำนาจปกครอง
การหมั้นที่ผู้เยาว์ทำโดยปราศจากความยินยอมดังกล่าวเป็นโมฆียะ

ของหมั้น

มาตรา 1437*: การหมั้นจะสมบูรณ์เมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนทรัพย์ สินอันเป็นของหมั้นให้แก่หญิง เพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น
เมื่อหมั้นแล้วให้ของหมั้นตกเป็นสิทธิแก่หญิง
สินสอด เป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง แล้วแต่กรณี เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิง หรือโดยมีพฤติการณ์ซึ่ง ฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ ทำให้ชายไม่สมควรหรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้น ฝ่ายชายเรียกสินสอดคืนได้
ถ้าจะต้องคืนของหมั้นหรือสินสอดตามหมวดนี้ ให้นำบทบัญญัติ มาตรา 412 ถึง มาตรา 418 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้ บังคับโยอนุโลม

มาตรา 1438: การหมั้นไม่เป็นเหตุที่จะร้องขอให้ศาลบังคับให้สมรสได้ ถ้าได้มีข้อตกลงกันไว้ว่าจะให้เบี้ยปรับในเมื่อผิดสัญญาหมั้นข้อตกลงนั้น เป็นโมฆะ

มาตรา 1439**: เมื่อมีการหมั้นแล้ว ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้นอีกฝ่ายหนึ่ง มีสิทธิเรียกให้รับผิดใช้ค่าทดแทน ในกรณีที่ฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญา หมั้นให้คืนของหมั้นแก่ฝ่ายชายด้วย

มาตรา 1440**: ค่าทดแทนนั้นอาจเรียกได้ ดังต่อไปนี้
(1) ทดแทนความเสียหายต่อกายหรือชื่อเสียงแห่งชายหรือหญิงนั้น
(2) ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้น บิดามารดาหรือบุคคล ผู้กระทำการในฐานะเช่นบิดามารดาได้ใช้จ่ายหรือต้องตกเป็นลูกหนี้ เนื่อง ในการเตรียมการสมรสโดยสุจริตและตามสมควร
(3) ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้นได้จัดการทรัพย์สิน หรือการอื่นอันเกี่ยวแก่อาชีพหรือทางทำมาหาได้ของตนไปโดยสมควร ด้วยการคาดหมายว่าจะได้มีการสมรส
ในกรณีที่หญิงเป็นผู้มีสิทธิได้ค่าทดแทน ศาลอาจชี้ขาดว่าของหมั้นที่ ตกเป็นสิทธิแก่หญิงนั้นเป็นค่าทดแทนทั้งหมด หรือเป็นส่วนหนึ่งของ ค่าทดแทนที่หญิงพึงได้รับ หรือศาลอาจให้ค่าทดแทนโดยไม่คำนึงถึง ของหมั้นที่ตกเป็นสิทธิแก่หญิงนั้นก็ได้

มาตรา 1441: ถ้าคู่หมั้นฝ่ายหนึ่งตายก่อนสมรส อีกฝ่ายหนึ่งจะเรียกร้อง ค่าทดแทนมิได้ ส่วนของหมั้นหรือสินสอดนั้น ไม่ว่าชายหรือหญิงตาย หญิง หรือฝ่ายหญิงไม่ต้องคืนให้แก่ฝ่ายชาย

การบอเลิกสัญญาหมั้น

มาตรา 1442**: ในกรณีมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงคู่หมั้นทำให้ชายไม่สม ควรสมรสกับหญิงนั้น ชายมีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นได้และให้หญิงคืนของ หมั้นแก่ชาย

มาตรา 1443*: ในกรณีมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่ชายคู่หมั้นทำให้หญิงไม่สม ควรสมรสกับชายนั้น หญิงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นได้โดยมิต้องคืนของ หมั้นแก่ชาย

มาตรา 1444**: ถ้าเหตุอันทำให้คู่หมั้นบอกเลิกสัญญาหมั้นเป็นเพราะ การกระทำชั่วอย่างร้ายแรงของคู่หมั้นอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งได้กระทำภายหลัง การหมั้นคู่หมั้นผู้กระทำชั่วอย่างร้ายแรงนั้น ต้องรับผิดใช้ค่าทดแทน แก่คู่หมั้นผู้ใช้สิทธิ บอกเลิกสัญญาหมั้นเสมือนเป็นผู้ผิดสัญญาหมั้น

มาตรา 1445*: ชายคู่หมั้นอาจเรียกค่าทดแทนจากชายอื่นซึ่งได้ร่วม ประเวณีกับหญิงคู่หมั้นโดยรู้หรือควรจะรู้ว่าหญิงได้หมั้นกับชายคู่หมั้นนั้น แล้วได้ เมื่อชายคู่หมั้นได้บอกเลิกสัญญาหมั้นตาม มาตรา 1442 แล้ว

มาตรา 1446*: ชายคู่หมั้นอาจเรียกค่าทดแทนจากชายอื่นซึ่งได้ข่มขืน กระทำชำเราหรือพยายามข่มขืนกระทำชำเราหญิงคู่หมั้นโดยรู้หรือควรจะ รู้ว่าหญิงได้หมั้นแล้วได้โดยไม่จำต้องบอกเลิกสัญญาหมั้น

มาตรา 1447: ค่าทดแทนอันจะพึงชดใช้แก่กันตามหมวดนี้ให้ศาล วินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์
สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนตามหมวดนี้นอกจากค่าทดแทนตาม มาตรา 1440 (2) ไม่อาจโอนกันได้และไม่ตกทอดไปถึงทายาท เว้นแต่สิทธินั้น จะได้รับสภาพกันไว้เป็นหนังสือ หรือผู้เสียหายได้เริ่มฟ้องคดีตามสิทธิ นั้นแล้ว

มาตรา 1447/1 สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนตาม มาตรา 1439 ให้มีอายุ ความหกเดือนนับแต่วันที่ผิดสัญญาหมั้น
สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนตาม มาตรา 1444 ให้มีอายุความหกเดือนนับแต่ วันรู้ หรือควรรู้ถึงการกระทำชั่วอย่างร้ายแรงอันเป็นเหตุให้บอกเลิกสัญญา หมั้น แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันกระทำการดังกล่าว
สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนตาม มาตรา 1445 และ มาตรา 1446 ให้มีอายุ ความหกเดือนนับแต่วันที่ชายคู่หมั้นรู้หรือควรรู้ถึงการกระทำของชายอื่นอันจะ เป็นเหตุให้เรียกค่าทดแทนและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าทดแทนนั้น แต่ต้องไม่เกินห้าปี นับแต่วันที่ชายอื่นได้กระทำการดังกล่าว

มาตรา 1447/2 สิทธิเรียกคืนของหมั้นตาม มาตรา 1439 ให้มีอายุ ความหกเดือนนับแต่วันที่ผิดสัญญาหมั้น
สิทธิเรียกคืนของหมั้นตาม มาตรา 1442 ให้มีอายุความหกเดือนนับแต่วัน ที่ได้บอกเลิกสัญญาหมั้น

หมวด 2 เงื่อนไขแห่งการสมรส

มาตรา 1448**: การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปี บริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรส ก่อนนั้นได้

มาตรา 1449**: การสมรสจะกระทำมิได้ถ้าชายหรือหญิงเป็นบุคคลวิกล จริตหรือเป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ

มาตรา 1450: ชายหญิงซึ่งเป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไปหรือลง มาก็ดี เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดาก็ดี จะทำการ สมรสกันไม่ได้ ความเป็นญาติดังกล่าวมานี้ให้ถือตามสายโลหิตโดยไม่ คำนึงว่าจะเป็นญาติโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

มาตรา 1451**: ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะสมรสกันไม่ได้

มาตรา 1452**: ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ ไม่ได้

มาตรา 1453: หญิงที่สามีตายหรือที่การสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่น จะทำการสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อการสิ้นสุดแห่งการสมรสได้ผ่านพ้นไปแล้วไม่น้อย กว่าสามร้อยสิบวัน เว้นแต่
(1) คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น
(2) สมรสกับคู่สมรสเดิม
(3) มีใบรับรองแพทย์ประกาศนียบัตรหรือปริญญาซึ่งเป็นผู้ประกอบการ รักษาโรคในสาขาเวชกรรมได้ตามกฎหมายว่ามิได้มีครรภ์หรือ
(4) มีคำสั่งของศาลให้สมรสได้

มาตรา 1454*: ผู้เยาว์จะทำการสมรสให้นำความใน มาตรา 1436 มา ใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา 1455: การให้ความยินยอมให้ทำการสมรสจะกระทำได้แต่โดย
(1) ลงลายมือชื่อในทะเบียนขณะจดทะเบียนสมรส
(2) ทำเป็นหนังสือแสดงความยินยอมโดยระบุชื่อผู้จะสมรสทั้งสองฝ่าย และลงลายมือชื่อของผู้ให้ความยินยอม
(3) ถ้ามีเหตุจำเป็น จะให้ความยินยอมด้วยวาจาต่อหน้าพยานอย่าง น้อยสองคนก็ได้
ความยินยอมนั้น เมื่อให้แล้วถอนไม่ได้

มาตรา 1456: ถ้าไม่มีผู้ที่มีอำนาจให้ความยินยอมตาม มาตรา 1454 หรือมีแต่ไม่ให้ความยินยอมหรือไม่อยู่ในสภาพที่อาจให้ความ ยินยอม หรือโดยพฤติการณ์ผู้เยาว์ไม่อาจขอความยินยอมได้ ผู้เยาว์ อาจร้องขอต่อศาลเพื่ออนุญาตให้ทำการสมรส

มาตรา 1457: การสมรสตามประมวลกฎหมายนี้จะมีได้เฉพาะเมื่อได้ จดทะเบียนแล้วเท่านั้น

มาตรา 1458: การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายหญิงยินยอมเป็นสามี ภริยากัน และต้องแสดงการยินยอมนั้นให้ปรากฏโดยเปิดเผยต่อหน้า นายทะเบียนและให้นายทะเบียนบันทึกความยินยอมนั้นไว้ด้วย

มาตรา 1459: การสมรสในต่างประเทศระหว่างคนที่มีสัญชาติไทยด้วย กัน หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทย จะทำตามแบบที่กำหนดไว้ตาม กฎหมายไทยหรือกฎหมายแห่งประเทศนั้นก็ได้
ในกรณีที่คู่สมรสประสงค์จะจดทะเบียนตามกฎหมายไทย ให้พนักงาน ทูตหรือกงสุลไทยเป็นผู้รับจดทะเบียน

มาตรา 1460: เมื่อมีพฤติการณ์พิเศษซึ่งไม่อาจทำการจดทะเบียนสมรส ต่อนายทะเบียนได้ เพราะชายหรือหญิงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่าย ตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตาย หรืออยู่ในภาวะการรบหรือสงครามถ้า ชายและหญิงนั้นได้แสดงเจตนาจะสมรสกันต่อหน้าบุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะ ที่อยู่ ณ ที่นั้นแล้วให้บุคคลดังกล่าวจดแจ้งการแสดงเจตนาขอทำการสมรส ของชายและหญิงนั้นไว้เป็นหลักฐาน และต่อมาชายหญิงได้จดทะเบียน สมรสกันภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่อาจทำการจดทะเบียนต่อนายทะเบียน ได้ โดยแสดงหลักฐานต่อนายทะเบียนและให้นายทะเบียนจดแจ้งวัน เดือน ปี สถานที่ที่แสดงเจตนาขอทำการสมรสและพฤติการณ์พิเศษนั้นไว้ในทะเบียน สมรส ให้ถือว่าวันแสดงเจตนาขอทำการสมรสต่อบุคคลดังกล่าวเป็นวัน จดทะเบียนสมรสต่อนายทะเบียนแล้ว
ความใน มาตรานี้ มิให้ใช้บังคับถ้าหากจะมีการสมรสในวันแสดงเจตนา ขอทำการสมรส การสมรสนั้นจะตกเป็นโมฆะ

หมวด 3 ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา

มาตรา 1461: สามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา สามีภริยาต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและ ฐานะของตน

มาตรา 1462: ถ้าการอยู่ร่วมกันจะเป็นอันตรายแก่กายหรือจิตใจ หรือทำลายความผาสุกอย่างมากของสามีหรือภริยา ฝ่ายที่จะต้องรับ อันตรายหรือความเสียหายอาจร้องต่อศาลขอให้สั่งอนุญาตให้ตนอยู่ ต่างหากในระหว่างที่เหตุนั้น ๆ ยังมีอยู่ก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ศาลจะ กำหนดจำนวนค่าอุปการะเลี้ยงดูให้ฝ่ายหนึ่งเสียให้อีกฝ่ายหนึ่งตาม ควรแก่พฤติการณ์ก็ได้

มาตรา 1463: ในกรณีที่ศาลสั่งให้สามีหรือภริยาเป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ ภริยาหรือสามีย่อมเป็นผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ แต่เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรืออัยการร้องขอ และถ้ามีเหตุสำคัญศาลจะตั้งผู้อื่น เป็นผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ก็ได้

มาตรา 1464: ในกรณีที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นคนวิกลจริตไม่ว่าศาล จะได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือไม่ ถ้าคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งไม่อุปการะ เลี้ยงดูฝ่ายที่วิกลจริตตาม มาตรา 1461 วรรคสอง หรือกระทำการหรือไม่ กระทำการอย่างใด อันเป็นเหตุให้ฝ่ายที่วิกลจริตตกอยู่ในภาวะอันน่าจะเกิด อันตรายแก่กายหรือจิตใจ หรือตกอยู่ในภาวะอันน่าจะเกิดความเสียหายทาง ทรัพย์สินถึงขนาด บุคคลตามที่ระบุไว้ใน มาตรา 29 หรือผู้อนุบาลอาจฟ้องคู่ สมรสอีกฝ่ายหนึ่งเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูให้แก่ฝ่ายที่วิกลจริต หรือขอให้ศาลมี คำสั่งใด ๆ เพื่อคุ้มครองฝ่ายที่วิกลจริตนั้นได้
ในกรณีฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูตามวรรคหนึ่ง ถ้ายังมิได้มีคำสั่งของ ศาลว่าคู่สมรสซึ่งวิกลจริตเป็นคนไร้ความสามารถ ก็ให้ขอต่อศาลในคดีเดียว กันให้ศาลมีคำสั่งว่าคู่สมรสซึ่งวิกลจริตนั้นเป็นคนไร้ความสามารถ โดยขอให้ ตั้งตนเองหรือผู้อื่นที่ศาลเห็นสมควรเป็นผู้อนุบาล หรือถ้าได้มีคำสั่งของศาล แสดงว่าคู่สมรสซึ่งวิกลจริตเป็นคนไร้ความสามารถอยู่แล้ว จะขอให้ถอดถอน ผู้อนุบาลคนเดิมและแต่งตั้งผู้อนุบาลคนใหม่ก็ได้
ในการขอให้ศาลมีคำสั่งใด ๆ เพื่อคุ้มครองคู่สมรสฝ่ายที่วิกลจริตโดยมิ ได้เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูด้วยนั้น จะไม่ขอให้ศาลมีคำสั่งให้คู่สมรสฝ่ายที่ วิกลจริตนั้นเป็นคนไร้ความสามารถ หรือจะไม่ขอเปลี่ยนผู้อนุบาลก็ได้ แต่ถ้า ศาลเห็นว่าวิธีการคุ้มครองที่ขอนั้นจำต้องมีผู้อนุบาลหรือเปลี่ยนผู้อนุบาล ให้ ศาลมีคำสั่งให้จัดการทำนองเดียวกับที่บัญญัติไว้ในวรรคสอง แล้วจึงมีคำสั่งคุ้ม ครองตามที่เห็นสมควร
มาตรา 1464/1 ในระหว่างการพิจารณาคดีตาม มาตรา 1464 ถ้ามีคำ ขอศาลอาจกำหนดวิธีการชั่วคราวเกี่ยวกับการอุปการะเลี้ยงดูหรือการคุ้มครอง คู่สมรสฝ่ายที่วิกลจริตได้ตามที่เห็นสมควร และหากเป็นกรณีฉุกเฉินให้นำบท บัญญัติ เรื่องคำขอในเหตุฉุกเฉินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับ

หมวด 4 ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา

มาตรา 1465: ถ้าสามีภริยามิได้ทำสัญญากันไว้ในเรื่องทรัพย์สินเป็น พิเศษก่อนสมรส ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาในเรื่องทรัพย์สินนั้น ให้บังคับ ตามบทบัญญัติในหมวดนี้
ถ้าข้อความใดในสัญญาก่อนสมรสขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม อันดีของประชาชน หรือระบุให้ใช้กฎหมายประเทศอื่นบังคับเรื่องทรัพย์สิน นั้น ข้อความนั้น ๆ เป็นโมฆะ

มาตรา 1466: สัญญาก่อนสมรสเป็นโมฆะ ถ้ามิได้จดแจ้งข้อตกลงกันเป็น สัญญาก่อนสมรสนั้นไว้ในทะเบียนสมรสพร้อมกับการจดทะเบียนสมรส หรือ มิได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อคู่สมรสและพยานอย่างน้อยสองคนแนบไว้ ท้ายทะเบียนสมรส และได้จดไว้ในทะเบียนสมรสพร้อมกับการจดทะเบียน สมรสว่าได้มีสัญญานั้นแนบไว้

มาตรา 1467: เมื่อสมรสแล้วจะเปลี่ยนแปลงเพิกถอนสัญญาก่อนสมรสนั้น ไม่ได้ นอกจากจะได้รับอนุญาตจากศาล
เมื่อได้มีคำสั่งของศาลถึงที่สุดให้เปลี่ยนแปลงเพิกถอนสัญญาก่อนสมรสแล้ว ให้ศาลแจ้งไปยังนายทะเบียนสมรสเพื่อจดแจ้งไว้ในทะเบียนสมรส

มาตรา 1468: ข้อความในสัญญาก่อนสมรสไม่มีผลกระทบกระเทือนถึง สิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตไม่ว่าจะได้เปลี่ยนแปลงเพิกถอน โดยคำสั่งของศาลหรือไม่ก็ตาม

มาตรา 1469**: สัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินใดที่สามีภริยาได้ทำไว้ต่อกัน ในระหว่างเป็นสามีภริยากันนั้น ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเสียในเวลาใด ที่เป็นสามีภริยากันอยู่ หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการ เป็นสามีภริยากันก็ได้ แต่ไม่กระบทกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอก ผู้ทำการโดยสุจริต

มาตรา 1470: ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา นอกจากที่ได้แยกไว้เป็นสิน ส่วนตัว ย่อมเป็นสินสมรส

มาตรา 1471**: สินส่วนตัวได้แก่ทรัพย์สิน
(1) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส
(2) ที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับ กายตามควรแก่ฐานะ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
(3) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดก หรือโดย การให้โดยเสน่หา
(4) ที่เป็นของหมั้น

มาตรา 1472*: สินส่วนตัวนั้น ถ้าได้แลกเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินอื่นก็ดี ซื้อ ทรัพย์สินอื่นมาก็ดี หรือขายได้เป็นเงินมาก็ดี ทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มา นั้นเป็นสินส่วนตัว
สินส่วนตัวที่ถูกทำลายไปทั้งหมดหรือแต่บางส่วน แต่ได้ทรัพย์สินอื่นหรือ เงินมาทดแทน ทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มานั้นเป็นสินส่วนตัว

มาตรา 1473*: สินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายใดให้ฝ่ายนั้นเป็นผู้จัดการ

มาตรา 1474**: สินสมรสได้แก่ทรัพย์สิน
(1) ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส
(2) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดย การให้เป็นหนังสือเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส
(3) ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว
ถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส

มาตรา 1475: ถ้าสินสมรสใดเป็นจำพวกที่ระบุไว้ใน มาตรา 456 แห่งประมวลกฎหมายนี้ หรือที่มีเอกสารเป็นสำคัญ สามีหรือภริยา จะร้องขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของรวมกันในเอกสารนั้นก็ได้

มาตรา 1476**: สามีและภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความ ยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือ โอนสิทธิจำนองซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้
(2) ก่อตั้งหรือกระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน หรือภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
(3) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี
(4) ให้กู้ยืมเงิน
(5) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัว เพื่อการกุศล เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา
(6*) ประนีประนอมยอมความ
(7) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย
(8) นำทรัพย์สินไปเป็นประกัน หรือหลักประกันต่อเจ้าพนักงานหรือศาล
การจัดการสินสมรสนอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง สามีหรือภริยา จัดการได้มิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง

มาตรา 1476/1 สามีและภริยาจะจัดการสินสมรสให้แตกต่างไปจากที่ บัญญัติไว้ใน มาตรา 1476 ทั้งหมดหรือบางส่วนได้ก็ต่อเมื่อได้ทำสัญญาก่อน สมรสไว้ตามที่บัญญัติใน มาตรา 1465 และ มาตรา 1466 ในกรณีดังกล่าวนี้ การจัดการสินสมรสให้เป็นไปตามที่ระบุไว้ในสัญญาก่อนสมรส
ในกรณีที่สัญญาก่อนสมรสระบุการจัดการสินสมรสไว้แต่เพียงบางส่วนของ มาตรา 1476 การจัดการสินสมรสนอกจากที่ระบุไว้ในสัญญาก่อนสมรสให้ เป็นไปตาม มาตรา 1476

มาตรา 1477: สามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิฟ้อง ต่อสู้ หรือดำเนินคดี เกี่ยวกับการสงวนบำรุงรักษาสินสมรส หรือเพื่อประโยชน์แก่สินสมรส หนี้อัน เกิดแต่การฟ้อง ต่อสู้ หรือดำเนินคดีดังกล่าว ให้ถือว่าเป็นหนี้ที่สามีภริยาเป็น ลูกหนี้ร่วมกัน

มาตรา 1478: เมื่อฝ่ายใดต้องให้ความยินยอมหรือลงชื่อกับอีกฝ่ายหนึ่ง ในเรื่องจัดการทรัพย์สินแต่ไม่ให้ความยินยอมหรือไม่ยอมลงชื่อ โดยปราศจาก เหตุผล หรือไม่อยู่ในสภาพที่อาจให้ความยินยอมได้ อีกฝ่ายหนึ่งอาจร้องขอต่อ ศาลให้สั่งอนุญาตแทนได้

มาตรา 1479: การใดที่สามีหรือภริยากระทำ ซึ่งต้องรับความยินยอม ร่วมกัน และถ้าการนั้นมีกฎหมายบัญญัติให้ทำเป็นหนังสือหรือให้จด ทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ความยินยอมนั้นต้องทำเป็นหนังสือ

มาตรา 1480**: การจัดการสินสมรสซึ่งต้องจัดการร่วมกัน หรือต้องได้รับ ความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งตาม มาตรา 1476 ถ้าคู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ ทำนิติกรรมไปแต่เพียงฝ่ายเดียว หรือโดยปราศจากความยินยอมของคู่ สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งอาจฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรม นั้นได้ เว้นแต่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบันแก่นิติกรรมนั้นแล้ว หรือ ในขณะที่ทำนิติกรรมนั้นบุคคลภายนอกได้กระทำโดยสุจริตและเสียค่า ตอบแทน
การฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมตามวรรคหนึ่ง ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้น หนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนหรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่ วันที่ได้ทำนิติกรรมนั้น

มาตรา 1481: สามีหรือภริยาไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกสินสมรส ที่เกินกว่าส่วนของตนให้แก่บุคคลใดได้

มาตรา 1482*: ในกรณีที่สามีหรือภริยามีอำนาจจัดการสินสมรสแต่ฝ่าย เดียว คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งก็ยังมีอำนาจจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็น สำหรับครอบครัวตามสมควรแก่อัตภาพได้ ค่าใช้จ่ายในการนี้ย่อมผูกพัน สินสมรสและสินส่วนตัวของทั้งสองฝ่าย
ถ้าสามีหรือภริยาจัดการบ้านเรือนหรือจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว เป็นที่เสียหายถึงขนาด อีกฝ่ายหนึ่งอาจร้องขอให้ศาลสั่งห้ามหรือจำกัด อำนาจนี้เสียได้

มาตรา 1483*: ในกรณีที่สามีหรือภริยามีอำนาจจัดการสินสมรสแต่ฝ่าย เดียว ถ้าสามีหรือภริยาจะกระทำหรือกำลังกระทำการอย่างไรอย่างหนึ่งใน การจัดการสินสมรส อันพึงเห็นได้ว่าจะเกิดความเสียหายถึงขนาด อีกฝ่าย หนึ่งอาจร้องขอให้ศาลสั่งห้ามมิให้กระทำการนั้นได้

มาตรา 1484*: ถ้าสามีหรือภริยาฝ่ายซึ่งมีอำนาจจัดการสินสมรส
(1) จัดการสินสมรสเป็นที่เสียหายถึงขนาด
(2) ไม่อุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่ง
(3) มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือทำหนี้เกินกึ่งหนึ่งของสินสมรส
(4) ขัดขวางการจัดการสินสมรสของอีกฝ่ายหนึ่งโดยไม่มีเหตุผลอัน สมควร
(5) มีพฤติการณ์ปรากฏว่าจะทำความหายนะให้แก่สินสมรส
อีกฝ่ายหนึ่งอาจร้องขอให้ศาลสั่งอนุญาตให้ตนเป็นผู้จัดการสินสมรส แต่ผู้เดียว หรือสั่งให้แยกสินสมรสได้
ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้ามีคำขอ ศาลอาจกำหนดวิธีคุ้มครอง ชั่วคราวเพื่อจัดการสินสมรสได้ตามที่เห็นสมควร และหากเป็นกรณี ฉุกเฉินให้นำบทบัญญัติเรื่องคำขอในเหตุฉุกเฉินตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับ

มาตรา 1484/1 ในกรณีที่ศาลได้มีคำสั่งห้ามหรือจำกัดอำนาจในการ จัดการสินสมรสของสามีหรือภริยาตาม มาตรา 1482 มาตรา 1483 หรือ มาตรา 1484 ถ้าต่อมาเหตุแห่งการนั้นหรือพฤติการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป สามีหรือภริยาอาจร้องขอต่อศาลให้ยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งที่ห้าม หรือจำกัดอำนาจจัดการสินสมรสนั้นได้ ในการนี้ศาลจะมีคำสั่งใดๆ ตามที่เห็นสมควรก็ได้

มาตรา 1485 สามีหรือภริยาอาจร้องขอต่อศาลให้ตนเป็นผู้จัดการ สินสมรสโดยเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเข้าร่วมจัดการในการนั้นได้ ถ้าการที่จะทำเช่นนั้นจะเป็นประโยชน์ยิ่งกว่า

มาตรา 1486 เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดตามความใน มาตรา 1482 วรรคสอง มาตรา 1483 มาตรา 1484 มาตรา 1484/1 หรือ มาตรา 1485 อันเป็นคุณแก่ผู้ร้องขอ หรือตาม มาตรา 1491 มาตรา 1492/1 หรือ มาตรา 1598/17 หรือเมื่อสามีหรือภริยาพ้นจากการเป็นบุคคล ล้มละลาย ให้ศาลแจ้งไปยังนายทะเบียนเพื่อจดแจ้งไว้ในทะเบียนสมรส

มาตรา 1487: ในระหว่างที่เป็นสามีภริยากัน ฝ่ายใดจะยึดหรืออายัด ทรัพย์สินของอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้ เว้นแต่เป็นการยึดหรืออายัดทรัพย์สินใน คดีที่ฟ้องร้องเพื่อการปฏิบัติหน้าที่หรือรักษาสิทธิระหว่างสามีภริยาตามที่ บัญญัติไว้โดยเฉพาะในประมวลกฎหมายนี้ หรือที่ประมวลกฎหมายนี้ บัญญัติไว้โดยเฉพาะให้สามีภริยาฟ้องร้องกันเองได้ หรือเป็นการยึดหรือ อายัดทรัพย์สินสำหรับค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าฤชาธรรมเนียมที่ยังมิได้ ชำระตามคำพิพากษาของศาล

มาตรา 1488*: ถ้าสามีหรือภริยาต้องรับผิดเป็นส่วนตัวเพื่อชำระหนี้ก่อไว้ ก่อนหรือระหว่างสมรส ให้ชำระหนี้นั้นด้วยสินส่วนตัวของฝ่ายนั้นก่อน เมื่อไม่ พอจึงให้ชำระด้วยสินสมรสที่เป็นส่วนของฝ่ายนั้น

มาตรา 1489**: ถ้าสามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ให้ชำระหนี้นั้นจาก สินสมรสและสินส่วนตัวของทั้งสองฝ่าย

มาตรา 1490**: หนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันนั้นให้รวมถึงหนี้ที่สามี หรือภริยาก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรสดังต่อไปนี้
(1) หนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือน และจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบ ครัว การอุปการะเลี้ยงดูตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและ การศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ
(2) หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส
(3) หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน
(4) หนี้ที่สามีหรือภริยาก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว แต่อีกฝ่ายหนึ่ง ได้ให้สัตยาบัน

มาตรา 1491: ถ้าสามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาให้ล้มละลาย สินสมรส ย่อมแยกจากกันโดยอำนาจกฎหมายนับแต่วันที่ศาลพิพากษาให้ล้มละลายนั้น

มาตรา 1492**: เมื่อได้แยกสินสมรสตาม มาตรา 1484 วรรคสอง มาตรา 1491 หรือ มาตรา 1598/17 วรรคสองแล้ว ให้ส่วนที่แยกออก ตกเป็นสินส่วนตัวของสามีหรือภริยา และบรรดาทรัพย์สินที่ฝ่ายใดได้ มาในภายหลังไม่ให้ถือเป็นสินสมรส แต่ให้เป็นสินส่วนตัวของฝ่ายนั้น และสินสมรสที่คู่สมรสได้มาโดยพินัยกรรม หรือโดยการให้เป็นหนังสือ ตาม มาตรา 1474 (2) ในภายหลัง ให้ตกเป็นสินส่วนตัวของสามีและ ภริยาฝ่ายละครึ่ง
ดอกผลของสินส่วนตัวที่ได้มาหลังจากที่ได้แยกสินสมรสแล้วให้เป็นสิน ส่วนตัว

มาตรา 1492/1 ในกรณีที่มีการแยกสินสมรสโดยคำสั่งศาลการยกเลิก การแยกสินสมรสให้กระทำได้เมื่อสามีหรือภริยาร้องขอต่อศาลและศาลได้มีคำ สั่งให้ยกเลิก แต่ถ้าภริยาหรือสามีคัดค้านศาลจะสั่งยกเลิกการแยกสินสมรสได้ ต่อเมื่อเหตุแห่งการแยกสินสมรสได้สิ้นสุดลงแล้ว
เมื่อมีการยกเลิกการแยกสินสมรสตามวรรคหนึ่ง หรือการแยกสินสมรส สิ้นสุดลงเพราะสามีหรือภริยาพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลายให้ทรัพย์สินที่เป็น สินส่วนตัวอยู่ในวันที่ศาลมีคำสั่ง หรือในวันที่พ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลาย ยังคงเป็นสินส่วนตัวต่อไปตามเดิม

มาตรา 1493: ในกรณีที่ไม่มีสินสมรสแล้ว สามีและภริยาต้องช่วยกันออก ค่าใช้สอยสำหรับการบ้านเรือนตามส่วนมากและน้อยแห่งสินส่วนตัวของตน

หมวด 5 ความเป็นโมฆะของการสมรส

มาตรา 1494: การสมรสจะเป็นโมฆะก็แต่เฉพาะที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้

มาตรา 1495*: การสมรสที่ฝ่าฝืน มาตรา 1449 มาตรา 1450 มาตรา 1452 และ มาตรา 1458 เป็นโมฆะ

มาตรา 1496*: คำพิพากษาของศาลเท่านั้นที่จะแสดงว่า การสมรสที่ ฝ่าฝืน มาตรา 1449 มาตรา 1450 และ มาตรา 1458 เป็นโมฆะ
คู่สมรส บิดามารดา หรือผู้สืบสันดานของคู่สมรส อาจร้องขอให้ ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะได้ ถ้าไม่มีบุคคลดังกล่าว ผู้มี ส่วนได้เสียจะร้องขอให้อัยการเป็นผู้ร้องขอต่อศาลก็ได้

มาตรา 1497*: การสมรสที่เป็นโมฆะเพราะฝ่าฝืน มาตรา 1452 บุคคล ผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งจะกล่าวอ้างขึ้น หรือจะร้องขอให้ศาลพิพากษา ว่าการสมรสเป็นโมฆะก็ได้

มาตรา 1497/1 ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าการสมรสใด เป็นโมฆะ ให้ศาลแจ้งไปยังนายทะเบียนเพื่อบันทึกความเป็นโมฆะ ไว้ในทะเบียนสมรส

มาตรา 1498**: การสมรสที่เป็นโมฆะ ไม่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทาง ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา
ในกรณีที่การสมรสเป็นโมฆะ ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดมีหรือได้มาไม่ว่าก่อน หรือหลังการสมรสรวมทั้งดอกผลคงเป็นของฝ่ายนั้น ส่วนบรรดาทรัพย์สิน ที่ทำมาหาได้ร่วมกันให้แบ่งคนละครึ่ง เว้นแต่ศาลจะเห็นสมควรสั่งเป็น ประการอื่น เมื่อได้พิเคราะห์ถึงภาระในครอบครัว ภาระในการหาเลี้ยงชีพ และฐานะของคู่กรณีทั้งสองฝ่าย ตลอดจนพฤติการณ์อื่นทั้งปวงแล้ว

มาตรา 1499**: การสมรสที่เป็นโมฆะเพราะฝ่าฝืน มาตรา 1449 มาตรา 1450 หรือ มาตรา 1458 ไม่ทำให้ชายหรือหญิงผู้สมรสโดยสุจริตเสื่อม สิทธิที่ได้มาเพราะการสมรสก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เป็นโมฆะ
การสมรสที่เป็นโมฆะเพราะฝ่าฝืน มาตรา 1452 ไม่ทำให้ชายหรือ หญิงผู้สมรสโดยสุจริตเสื่อมสิทธิที่ได้มาเพราะการสมรสก่อนที่ชายหรือ หญิงนั้น รู้ถึงเหตุที่ทำให้การสมรสเป็นโมฆะ แต่การสมรสที่เป็นโมฆะ ดังกล่าวไม่ทำให้คู่สมรสเกิดสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมของ คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง
การสมรสที่เป็นโมฆะเพราะฝ่าฝืน มาตรา 1449 มาตรา 1450 หรือ มาตรา 1458 หรือฝ่าฝืน มาตรา 1452 ถ้าคู่สมรสฝ่ายใดได้ สมรสโดยสุจริตฝ่ายนั้นมีสิทธิเรียกค่าทดแทนได้ และถ้าการสมรสที่ เป็นโมฆะนั้นทำให้ฝ่ายที่ได้สมรสโดยสุจริตต้องยากจนลง เพราะ ไม่มีรายได้พอจากทรัพย์สิน หรือจากการงานที่เคยทำอยู่ก่อนมี คำพิพากษาถึงที่สุด หรือก่อนที่จะได้รู้ว่าการสมรสของเป็นโมฆะ แล้วแต่กรณี ฝ่ายนั้นมีสิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพได้ด้วยสิทธิเรียกค่า เลี้ยงชีพในกรณีนี้ให้นำ มาตรา 1526 วรรคหนึ่ง และ มาตรา 1528 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
สิทธิเรียกร้องค่าทดแทน หรือค่าเลี้ยงชีพตามวรรคสาม มี กำหนดอายุความสองปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด สำหรับ กรณีการสมรสเป็นโมฆะเพราะฝ่าฝืน มาตรา 1449 มาตรา 1450 หรือ มาตรา 1458 หรือนับแต่วันที่รู้ถึงเหตุที่ทำให้การสมรสเป็นโมฆะ สำหรับกรณีการสมรสเป็นโมฆะเพราะฝ่า ฝืน มาตรา 1452

มาตรา 1499/1 ในกรณีที่การสมรสเป็นโมฆะ ข้อตกลงระหว่าง คู่สมรสว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุคคลใด หรือฝ่ายใดหรือ ทั้งสองฝ่ายจะเป็นผู้ออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเงิน เท่าใด ให้ทำเป็นหนังสือ หากตกลงกันไม่ได้ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด ในการพิจารณาชี้ขาดถ้าศาลเห็นว่ามีเหตุที่จะถอนอำนาจปกครองของ คู่สมรสนั้นได้ตาม มาตรา 1582 ศาลจะถอนอำนาจปกครองของคู่สมรส และสั่งให้บุคคลภายนอกเป็นผู้ปกครองก็ได้ ทั้งนี้ ให้ศาลคำนึงถึง ความผาสุกและประโยชน์ของบุตรนั้นเป็นสำคัญ และให้นำความใน มาตรา 1521 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา 1500: การสมรสที่เป็นโมฆะไม่กระทบถึงสิทธิของบุคคลภายนอก ผู้กระทำการโดยสุจริตซึ่งได้มาก่อนมีการบันทึกความเป็นโมฆะไว้ในทะเบียน สมรสตาม มาตรา 1497/1

หมวด 6 การสิ้นสุดแห่งการสมรส

มาตรา 1501: การสมรสย่อมสิ้นสุดลงด้วยความตาย การหย่า หรือศาลพิพากษาให้เพิกถอน

มาตรา 1502: การสมรสที่เป็นโมฆียะสิ้นสุดลงเมื่อศาลพิพากษา ให้เพิกถอน

มาตรา 1503: เหตุที่จะขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนการสมรสเพราะเหตุ ว่าเป็นโมฆียะ มีเฉพาะในกรณีที่คู่สมรสทำการฝ่าฝืน มาตรา 1448 มาตรา 1505 มาตรา 1506 มาตรา 1507 และ มาตรา 1509

มาตรา 1504*: การสมรสที่เป็นโมฆียะเพราะฝ่าฝืน มาตรา 1448 ผู้มี ส่วนได้เสียขอให้เพิกถอนการสมรสได้ แต่บิดามารดาหรือผู้ปกครองที่ให้ความ ยินยอมแล้วจะขอให้เพิกถอนการสมรสไม่ได้
ถ้าศาลมิได้สั่งให้เพิกถอนการสมรสจนชายหญิงมีอายุครบตาม มาตรา 1448 หรือเมื่อหญิงมีครรภ์ก่อนอายุครบตาม มาตรา 1448 ให้ถือว่าการสมรส สมบูรณ์มาตั้งแต่เวลาสมรส

มาตรา 1505*: การสมรสที่ได้กระทำไปโดยคู่สมรสฝ่ายหนึ่งสำคัญผิดตัวคู่ สมรส การสมรสนั้นเป็นโมฆียะ
สิทธิขอเพิกถอนการสมรสเพราะสำคัญผิดตัวคู่สมรสเป็นอันระงับ เมื่อ เวลาได้ผ่านพ้นไปแล้วเก้าสิบวันนับแต่วันสมรส

มาตรา 1506: ถ้าคู่สมรสได้ทำการสมรสโดยถูกกลฉ้อฉลอันถึงขนาดซึ่ง ถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลนั้นจะไม่ทำการสมรส การสมรสนั้นเป็นโมฆียะ
ความในวรรคหนึ่ง ไม่ใช้บังคับในกรณีที่กลฉ้อฉลนั้นเกิดขึ้นโดยบุคคลที่ สามโดยคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งมิได้รู้เห็นด้วย
สิทธิขอเพิกถอนการสมรสเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นอันระงับ เมื่อเวลาได้ ผ่านพ้นไปแล้วเก้าสิบวันนับแต่วันที่รู้หรือควรได้รู้ถึงกลฉ้อฉลหรือเมื่อเวลาได้ ผ่านพ้นไปแล้วหนึ่งปีนับแต่วันสมรส

มาตรา 1507: ถ้าคู่สมรสได้ทำการสมรสโดยถูกข่มขู่อันถึงขนาดซึ่งถ้า มิได้มีการข่มขู่นั้นจะไม่ทำการสมรส การสมรสนั้นเป็นโมฆียะ
สิทธิขอเพิกถอนการสมรสเพราะถูกข่มขู่เป็นอันระงับ เมื่อเวลาได้ผ่าน พ้นไปแล้วหนึ่งปีนับแต่วันที่พ้นจากการข่มขู่

มาตรา 1508*: การสมรสที่เป็นโมฆียะเพราะคู่สมรสสำคัญผิดตัวหรือถูก กลฉ้อฉล หรือถูกข่มขู่ เฉพาะแต่คู่สมรสที่สำคัญผิดตัวหรือถูกกลฉ้อฉลหรือ ถูกข่มขู่เท่านั้นขอเพิกถอนการสมรสได้
ในกรณีที่ผู้มีสิทธิขอเพิกถอนการสมรสเป็นบุคคลที่ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ ความสามารถ ให้บุคคลซึ่งอาจร้องขอต่อศาลให้สั่งให้บุคคลวิกลจริตเป็นคนไร้ ความสามารถตาม มาตรา 29 ขอเพิกถอนการสมรสได้ด้วย แต่ถ้าผู้มีสิทธิขอ เพิกถอนการสมรสเป็นคนวิกลจริตที่ศาลยังไม่ได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ บุคคลดังกล่าวจะร้องขอเพิกถอนการสมรสก็ได้ แต่ต้องขอให้ศาลสั่งให้คนวิกล จริตเป็นคนไร้ความสามารถพร้อมกันด้วย ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ยกคำขอให้ ศาลสั่งเป็นคนไร้ความสามารถก็ให้ศาลมีคำสั่งยกคำขอการเพิกถอนการสมรส ของบุคคลดังกล่าวนั้นเสียด้วย
คำสั่งศาลให้ยกคำขอเพิกถอนการสมรสของบุคคลตามวรรคสอง ไม่กระ ทบกระเทือนสิทธิการขอเพิกถอนการสมรสของคู่สมรส แต่คู่สมรสจะต้องใช้ สิทธินั้นภายในกำหนดระยะเวลาที่คู่สมรสมีอยู่ ถ้าระยะเวลาดังกล่าวเหลืออยู่ ไม่ถึงหกเดือนนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งให้ยกคำขอเพิกถอนการสมรสของบุคคลดัง กล่าว หรือไม่มีเหลืออยู่เลยก็ให้ขยายระยะเวลานั้นออกไปได้ให้ครบหกเดือน หรืออีกหกเดือน นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งให้ยกคำขอเพิกถอนการสมรสของ บุคคลดังกล่าวแล้วแต่กรณี

มาตรา 1509*: การสมรสที่มิได้รับความยินยอมของบุคคลดังกล่าวใน มาตรา 1454 การสมรสนั้นเป็นโมฆียะ

มาตรา 1510*: การสมรสที่เป็นโมฆียะเพราะมิได้รับความยินยอมของ บุคคลดังกล่าวใน มาตรา 1454 เฉพาะบุคคลที่อาจให้ความยินยอมตาม มาตรา 1454 เท่านั้น ขอให้เพิกถอนการสมรสได้
สิทธิขอเพิกถอนการสมรสตาม มาตรานี้ เป็นอันระงับ เมื่อคู่สมรสนั้นมีอายุ ครบยี่สิบปีบริบูรณ์หรือเมื่อหญิงมีครรภ์
การฟ้องขอเพิกถอนการสมรสตาม มาตรานี้ ให้มีอายุความหนึ่งปี นับแต่วัน ทราบการสมรส

มาตรา 1511: การสมรสที่ได้มีคำพิพากษาให้เพิกถอนนั้น ให้ถือว่าสิ้นสุด ลงในวันที่คำพิพากษาถึงที่สุด แต่จะอ้างเป็นเหตุเสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอก ผู้ทำการโดยสุจริตไม่ได้ เว้นแต่จะได้จดทะเบียนการเพิกถอนการสมรสนั้นแล้ว

มาตรา 1512: ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยผลของการหย่าโดยคำพิพากษา มาใช้บังคับแก่ผลของการเพิกถอนการสมรสโดยอนุโลม

มาตรา 1513: ถ้าปรากฏว่าคู่สมรสที่ถูกฟ้องเพิกถอนการสมรส ได้รู้เห็นเป็นใจในเหตุแห่งโมฆียะกรรม คู่สมรสนั้นจะต้องรับผิดใช้ ค่าทดแทนความเสียหายซึ่งคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้รับต่อกาย ชื่อเสียง หรือทรัพย์สิน เนื่องจากการสมรสนั้นและให้นำ มาตรา 1525 มาใช้ บังคับโดยอนุโลม
ถ้าหากการเพิกถอนการสมรสตามวรรคหนึ่งทำให้อีกฝ่ายหนึ่ง ยากจนลงและไม่มีรายได้พอจากทรัพย์สินหรือจากการงานตามที่ เคยทำอยู่ระหว่างสมรสคู่สมรสที่ถูกฟ้องนั้นจะต้องรับผิดในค่าเลี้ยง ชีพดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 1526 ด้วย

มาตรา 1514**: การหย่านั้นจะทำได้แต่โดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย หรือโดยคำพิพากษาของศาล
การหย่าโดยความยินยอมต้องทำเป็นหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่ออย่าง น้อยสองคน

มาตรา 1515: เมื่อได้จดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายนี้การหย่า โดยความยินยอมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อสามีและภริยาได้จดทะเบียนการหย่านั้นแล้ว

มาตรา 1516**: เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้
(1) สามีอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหญิงอื่นฉันภริยาหรือภริยามีชู้อีกฝ่าย หนึ่งฟ้องหย่าได้
(2) สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความ ผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง
(ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง
(ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่าย ที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ
(ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพฐานะ และความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ
อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(3) สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่น ประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่ง นั้นฟ้องหย่าได้
(4/1) สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุก เกินหนึ่งปีในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิด หรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามี ภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกิน ควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4/2) สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของ ศาลเป็นเวลาเกินสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(5) สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกินสามปี โดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่าง ไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(6) สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตาม สมควร หรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอา สภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่าย หนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(7) สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมี ลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(8) สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความ ประพฤติอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(9) สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่าย หนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรัง ไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(10) สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกายทำให้สามีหรือภริยานั้น ไม่อาจร่วม ประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

มาตรา 1517**: เหตุฟ้องหย่าตาม มาตรา 1516 (1) และ (2) ถ้าสามี หรือภริยา แล้วแต่กรณี ได้ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำที่เป็นเหตุ หย่านั้น ฝ่ายที่ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจนั้นจะยกเป็นเหตุฟ้องหย่านั้นไม่ได้
เหตุฟ้องหย่าตาม มาตรา 1516 (10) ถ้าเกิดเพราะการกระทำของอีก ฝ่ายหนึ่ง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นจะยกเป็นเหตุฟ้องหย่าไม่ได้
ในกรณีฟ้องหย่าโดยอาศัยเหตุแห่งการผิดทัณฑ์บนตาม มาตรา 1516 (8) นั้น ถ้าศาลเห็นว่าความประพฤติของสามีหรือภริยาอันเป็นเหตุให้ทำทัณฑ์บน เป็นเหตุเล็กน้อยหรือไม่สำคัญเกี่ยวแก่การอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาโดยปกติสุข ศาลจะไม่พิพากษาให้หย่าก็ได้

มาตรา 1518**: สิทธิฟ้องหย่าย่อมหมดไปในเมื่อฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่าได้ กระทำการอันแสดงให้เห็นว่าได้ให้อภัยในการกระทำของอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็น เหตุให้เกิดสิทธิฟ้องหย่านั้นแล้ว

มาตรา 1519: ในกรณีที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นคนวิกลจริตและมีเหตุ หย่าเกิดขึ้น ไม่ว่าเหตุนั้นจะได้เกิดขึ้นก่อนหรือภายหลังการเป็นคนวิกลจริต ให้บุคคลซึ่งอาจร้องขอต่อศาลให้สั่งให้บุคคลวิกลจริตเป็นคนไร้ความสามาร ตาม มาตรา 28 มีอำนาจฟ้องคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งขอให้ศาลพิพากษาให้หย่า ขาดจากกันและแบ่งทรัพย์สินได้ ในกรณีเช่นว่านี้ ถ้ายังมิได้มีคำสั่งของศาล แสดงว่าคู่สมรสซึ่งวิกลจริตเป็นคนไร้ความสามารถ ก็ให้บุคคลดังกล่าวร้องขอ ต่อศาลในคดีเดียวกันนั้นให้ศาลมีคำสั่งว่าคู่สมรสซึ่งวิกลจริตนั้นเป็นคนไร้ ความสามารถ
เมื่อบุคคลดังกล่าวเห็นสมควร จะร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งตาม มาตรา 1526 หรือ มาตรา 1530 ด้วยก็ได้
ในกรณีที่คู่สมรสซึ่งถูกอ้างว่าเป็นคนวิกลจริต ยังไม่ได้ถูกสั่งให้เป็นคนไร้ ความสามารถ หากศาลเห็นว่าคู่สมรสนั้นยังไม่เป็นคนที่ควรสั่งให้เป็นคนไร้ ความสามารถก็ให้ยกฟ้องคดีนั้นเสีย ถ้าเห็นว่าเป็นบุคคลที่ควรสั่งให้เป็นคนไร้ ความสามารถ แต่ยังไม่สมควรจะให้มีการหย่า ก็ให้ศาลสั่งให้คู่สมรสนั้นเป็น คนไร้ความสามารถโดยจะไม่สั่งเรื่องผู้อนุบาลหรือจะตั้งผู้อื่นเป็นผู้อนุบาลตาม มาตรา 1463 ก็ได้ คงพิพากษายกแต่เฉพาะข้อหย่า ในกรณีเช่นนี้ศาลจะสั่ง กำหนดค่าเลี้ยงชีพด้วยก็ได้ ในกรณีที่ศาลเห็นว่าคู่สมรสนั้นวิกลจริตอันควร สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ และทั้งมีเหตุควรให้หย่าด้วย ก็ให้ศาลสั่งในคำ พิพากษาให้คู่สมรสนั้นเป็นคนไร้ความสามารถ ตั้งผู้อนุบาลและให้หย่า
ในกรณีนี้ ถ้าศาลเห็นว่าเหตุหย่าที่ยกขึ้นอ้างในการฟ้องร้องนั้นไม่เหมาะ สมแก่สภาพของคู่สมรส ซึ่งเป็นคนไร้ความสามารถที่จะหย่าจากคู่สมรสอีกฝ่าย หนึ่งก็ดี ตามพฤติการณ์ไม่สมควรที่จะให้มีการหย่าขาดจากกันก็ดี ศาลจะ พิพากษาไม่ให้หย่าก็ได้

มาตรา 1520: ในกรณีหย่าโดยความยินยอม ให้สามีภริยาทำความตกลง เป็นหนังสือว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรคนใด ถ้ามิได้ตกลงกัน หรือตกลงกันไม่ได้ ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด
ในกรณีหย่าโดยคำพิพากษาของศาล ให้ศาลซึ่งพิจารณาคดีฟ้องหย่านั้นชี้ ขาดด้วยว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรคนใด ในการพิจารณาชี้ขาด ถ้าศาลเห็นว่ามีเหตุที่จะถอนอำนาจปกครองของคู่สมรสนั้นได้ตาม มาตรา 1582 ศาลจะถอนอำนาจปกครองของคู่สมรสและสั่งให้บุคคลภายนอกเป็นผู้ ปกครองก็ได้ ทั้งนี้ ให้ศาลคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของบุตรนั้นเป็น สำคัญ

มาตรา 1521: ถ้าปรากฏว่าผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองตาม มาตรา 1520 ประพฤติตนไม่สมควรหรือภายหลังพฤติการณ์ได้เปลี่ยนแปลง ไป ศาลมีอำนาจสั่งเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองโดยคำนึงถึง ความผาสุกและประโยชน์ของบุตรเป็นสำคัญ

มาตรา 1522: ถ้าสามีภริยาหย่าโดยความยินยอม ให้ทำความตกลงกัน ไว้ในสัญญาหย่าว่าสามีภริยาทั้งสองฝ่ายหรือสามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะ ออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเงินเท่าใด
ถ้าหย่าโดยคำพิพากษาของศาลหรือในกรณีที่สัญญาหย่ามิได้กำหนดเรื่อง ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไว้ ให้ศาลเป็นผู้กำหนด

มาตรา 1523*: เมื่อศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุตาม มาตรา 1516 (1) ภริยาหรือสามีมีสิทธิได้รับค่าทดแทน จากสามีหรือภริยาและจากหญิงอื่น หรือชู้ แล้วแต่กรณี
สามีจะเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งล่วงเกินภริยาไปในทำนองชู้สาวก็ได้และ ภริยาจะเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผย เพื่อแสดงว่าตน มีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวก็ได้
ถ้าสามีหรือภริยายินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจให้อีกฝ่ายหนึ่งกระทำการตาม มาตรา 1516(1) หรือให้ผู้อื่นกระทำการตามวรรคสอง สามีหรือภริยานั้นจะ เรียกค่าทดแทนไม่ได้

มาตรา 1524: ถ้าเหตุแห่งการหย่าตาม มาตรา 1516(3) (4) หรือ (6) เกิดขึ้นเพราะฝ่ายผู้ต้องรับผิดชอบก่อให้เกิดขึ้นโดยมุ่งประสงค์ให้อีก ฝ่ายหนึ่งไม่อาจทนได้ จึงต้องฟ้องหย่า อีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิได้รับค่าทดแทน จากฝ่ายที่ต้องรับผิด

มาตรา 1525: ค่าทดแทนตาม มาตรา 1523 และ มาตรา 1524 นั้น ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์ โดยศาลจะสั่งให้ชำระครั้งเดียวหรือแบ่ง ชำระเป็นงวด ๆ มีกำหนดเวลาตามที่ศาลจะเห็นสมควรก็ได้
ในกรณีที่ผู้จะต้องชำระค่าทดแทนเป็นคู่สมรสของอีกฝ่ายหนึ่ง ให้ศาล คำนึงถึงจำนวนทรัพย์สินที่คู่สมรสนั้นได้รับไปจากการแบ่งสินสมรส เพราะ การหย่านั้นด้วย

มาตรา 1526: ในคดีหย่า ถ้าเหตุแห่งการหย่าเป็นความผิดของคู่สมรส ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่ฝ่ายเดียว และการหย่านั้นจะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนล เพราะไม่มีรายได้พอจากทรัพย์สิน หรือจากการงานตามที่เคยทำอยู่ระหว่าง สมรส อีกฝ่ายหนึ่งนั้นจะขอให้ฝ่ายที่ต้องรับผิดจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้ได้ ค่า เลี้ยงชีพนี้ศาลอาจให้เพียงใดหรือไม่ให้ก็ได้ โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้ ให้และฐานะของผู้รับและให้นำบทบัญญัติ มาตรา 1598/39 มาตรา 1598/40 และ มาตรา 1598/41 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
สิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพเป็นอันสิ้นสุด ถ้ามิได้ฟ้องหรือฟ้องแย้งในคดี หย่านั้น

มาตรา 1527*: ถ้าหย่าขาดจากกันเพราะเหตุวิกลจริตตาม มาตรา 1516 (7) หรือเพราะเหตุเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงตาม มาตรา 1516 (9) คู่ สมรสอีกฝ่ายหนึ่งต้องออกค่าเลี้ยงชีพให้แก่ฝ่ายที่วิกลจริตหรือฝ่ายที่เป็น โรคติดต่อนั้นโดยคำนวณค่าเลี้ยงชีพอนุโลมตาม มาตรา 1526

มาตรา 1528: ถ้าฝ่ายที่รับค่าเลี้ยงชีพสมรสใหม่ สิทธิรับค่าเลี้ยงชีพย่อม หมดไป

มาตรา 1529: สิทธิฟ้องร้องโดยอาศัยเหตุใน มาตรา 1516 (1) (2) (3) หรือ (6) หรือ มาตรา 1523 ย่อมระงับไปเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วัน ผู้กล่าวอ้างรู้หรือควรรู้ความจริงซึ่งตนอาจยกขึ้นกล่าวอ้าง
เหตุอันจะยกขึ้นฟ้องหย่าไม่ได้แล้วนั้น อาจนำสืบสนับสนุนคดีฟ้องหย่าซึ่ง อาศัยเหตุอย่างอื่น

มาตรา 1530: ขณะคดีฟ้องหย่าอยู่ในระหว่างพิจารณา ถ้าฝ่ายใดร้อง ขอ ศาลอาจสั่งชั่วคราวให้จัดการตามที่เห็นสมควร เช่นในเรื่องสินสมรส ที่ พักอาศัย การอุปการะเลี้ยงดูสามีภริยาและการพิทักษ์อุปการะเลี้ยงดูบุตร

มาตรา 1531: การสมรสที่จดทะเบียนตามกฎหมายนั้น การหย่าโดย ความยินยอมของคู่สมรสทั้งสองฝ่ายมีผลนับแต่เวลาจดทะเบียนการหย่าเป็นต้น ไป
การหย่าโดยคำพิพากษามีผลแต่เวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุด แต่จะอ้างเป็น เหตุเสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตไม่ได้ เว้นแต่จะได้จด ทะเบียนการหย่านั้นแล้ว

มาตรา 1532: เมื่อหย่ากันแล้วให้จัดการแบ่งทรัพย์สินของสามีภริยา
แต่ในระหว่างสามีภริยา
(ก) ถ้าเป็นการหย่ากันโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย ให้จัดการแบ่ง ทรัพย์สินของสามีภริยาตามที่มีอยู่ในเวลาจดทะเบียนการหย่า
(ข) ถ้าเป็นการหย่าโดยคำพิพากษาของศาล คำพิพากษาส่วนที่บังคับ ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยานั้น มีผลย้อนหลังไปถึงวันฟ้องหย่า

มาตรา 1533*: เมื่อหย่ากันให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้ส่วนเท่ากัน

มาตรา 1534: สินสมรสที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจำหน่ายไปเพื่อประ โยชน์ตนฝ่ายเดียวก็ดี จำหน่ายไปโดยเจตนาทำให้คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งเสียหาย ก็ดี จำหน่ายไปโดยมิได้รับความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งในกรณีที่ กฎหมายบังคับว่าการจำหน่ายนั้นจะต้องได้รับความยินยอมของอีกฝ่ายหนึ่ง ด้วยก็ดี จงใจทำลายให้สูญหายไปก็ดี ให้ถือเสมือนว่าทรัพย์สินนั้นยังคงมีอยู่ เพื่อจัดแบ่งสินสมรสตาม มาตรา 1533 และถ้าคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้รับส่วน แบ่งสินสมรสไม่ครบตามจำนวนที่ควรจะได้ ให้คู่สมรสฝ่ายที่ได้จำหน่าย หรือจงใจทำลายสินสมรสนั้นชดใช้จากสินสมรสส่วนของตนหรือสินส่วนตัว

มาตรา 1535: เมื่อการสมรสสิ้นสุดลง ให้แบ่งความรับผิดในหนี้ที่จะต้อง รับผิดด้วยกันตามส่วนเท่ากัน



Create Date : 01 ตุลาคม 2548
Last Update : 1 ตุลาคม 2548 17:09:06 น. 24 comments
Counter : 1374 Pageviews.

 
^ข้างบนจะเขียนเพิ่มเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นอย่าแปลกใจถ้ามาแล้วเห็นเปลี่ยนไปเปลี่ยนมานะคะ


โดย: ไร้นาม วันที่: 1 ตุลาคม 2548 เวลา:16:18:07 น.  

 
กลายเป็นเอกลักษณ์ไปแล้วเน้อ จะมีต่อเรื่อยๆ

ขยันพิมพ์ตั้งแต่บ่ายเลยนะครับ คุณอุ๊ อากาศอบอ้าวดีจัง


โดย: noom_no1 วันที่: 1 ตุลาคม 2548 เวลา:16:42:33 น.  

 
--- คุณ noom_no1 ---

มีต่อเรื่อยๆ ค่ะ =^_^=

ที่บ้านฝนตกเม็ดใหญ่ๆ อยู่เลยค่ะ ต้นไม้คงชอบ


โดย: ไร้นาม วันที่: 1 ตุลาคม 2548 เวลา:16:59:39 น.  

 
กรุงเทพฟ้าเดียวกัน แต่บ้านผมไม่ยักตกแหะ


โดย: noom_no1 IP: 61.91.218.244 วันที่: 1 ตุลาคม 2548 เวลา:21:10:59 น.  

 
--- คุณ noom_no1 ---

ไร้นามอยู่ปทุมฯ ค่ะ มิใช่คนกรุงแต่อย่างใด (อิอิ)


โดย: ไร้นาม วันที่: 1 ตุลาคม 2548 เวลา:23:37:00 น.  

 

มนดกอยากรู้


โดย: มอมแมม IP: 203.144.175.137 วันที่: 28 สิงหาคม 2549 เวลา:19:14:27 น.  

 
--- คุณมอมแมม ---

สวัสดีค่ะ เพิ่งเห็นค่ะ


โดย: ไร้นาม วันที่: 16 ตุลาคม 2549 เวลา:23:51:14 น.  

 
ได้รู้ว่าการสมรสเป็นยังไง มีอะไรบ้าง ยุ่งยากไหมรึเปล่า


โดย: เอมมี่ IP: 222.123.56.163 วันที่: 19 ธันวาคม 2549 เวลา:18:07:09 น.  

 
อ่านจนตาลาย แค่กระดาษแผ่นเดียว จดเดี๋ยวก็หย่า


โดย: น้องเนย IP: 125.27.243.194 วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:9:29:04 น.  

 
นิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม นิติศาสตร์ สารคามร้อนมากครับ


โดย: นิก IP: 202.28.35.1 วันที่: 11 มิถุนายน 2550 เวลา:22:39:19 น.  

 
+++ คุณเอมมี่ +++

นั่นสิคะ


+++ คุณน้องเนย +++

ฮะฮะ ถ้าไม่หย่าก็ไม่มีปัญหานะคะ (หย่าแล้วยุ่งเชียว)


+++ คุณนิก +++

ยังไม่เคยไปมหาสารคามเลยค่ะ


โดย: ไร้นาม วันที่: 26 สิงหาคม 2550 เวลา:12:03:27 น.  

 
อยากรู้เรื่องการหย่าแต่บุตรอยู่กับอีกฝ่าย ระบุด้านหลังว่า บุตรอยู่ในความปกครองของบิดา ภริยาสามารถเอาลูกคืนได้ไหม


โดย: เอ๋ IP: 203.154.202.50 วันที่: 6 ธันวาคม 2550 เวลา:13:52:34 น.  

 
สวัสดีค่ะ
ถึงคนที่รู้เรื่องกฎหมายนะค่ะ อยากทราบว่าเมื่อหย่าร้างไปแล้ว
แต่ระบุหลังใบหย่าไปว่า "บุตรอยู่ในความปกครองของบิดา"
เราสามารถเอาบุตรคืนมาอยู่ในความปกครองของเราได้รึป่าวค่ะ แล้วที่สำคัญหย่ามาแล้ว 3 ปีค่ะ


โดย: aa IP: 203.154.202.50 วันที่: 6 ธันวาคม 2550 เวลา:13:56:41 น.  

 
ขอบคุณมากๆๆๆเลย คุงพี่ทามให้เด็กกะโปโลคนหนึ่งในเเทบชานบ้านนอกมีการสึกษา


โดย: หนูดาว IP: 118.174.50.65 วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:13:04:20 น.  

 
เรียนกฏหมายยากนะค่ะ กว่าจะจำมาตราต่างๆได้คงใช้เวลานานน่าดู เอาใจช่วยนะค่ะสำหรับคนที่รักวิชากฏหมาย สู้ๆๆค่ะ


โดย: นิลาพรรณ IP: 124.157.186.242 วันที่: 2 มีนาคม 2551 เวลา:12:34:49 น.  

 
ขอบคุณทุกท่านที่มาเยือนนะคะ

เรื่องกฏหมาย แนะนำให้ค้นเพิ่มที่ //www.kodmhai.com


โดย: ไร้นาม วันที่: 5 พฤษภาคม 2551 เวลา:2:05:38 น.  

 
สวัสดีค่ะ ดิฉันขอความกรุณาช่วยแนะนำดิฉันด้วยค่ะ
คือ ดิฉันแยกกันอยู่กับสามี(อังกฤษ) ได้ประมาณ 19 เดือน ตลอดเวลาที่แยกกันอยู่เราก็ไม่มีการติดต่อกันและสามีก็ไม่ได้ส่งเสียเลี้ยงดูดิฉันเลย ตอนนี้ดิฉันต้องการอย่า สามีก็ตกลงแต่สามีไม่อยากม่เมืองไทย (เราไม่ได้แต่งในอังกฤษ ไม่ได้จดทะเบียนอะไรในอังกฤษเลยค่ะ) แต่ดิฉันอยากเป็นอิสระ ดิฉันจะทำอย่างไรดีคะ
กรุณาแนะนำให้แก่ผู้รู้น้อยด้วยเถอะค่ะ ขอขอบพระคุณล่วงหน้าเป็นอย่างสูงค่ะ
e-mail ของดิฉัน คือ jan_jasmine@hotmail.com


โดย: มาริสา IP: 61.7.182.57 วันที่: 7 กันยายน 2551 เวลา:16:17:43 น.  

 
เนƒเธ™เธเธฃเธ“เธตเธ—เธตเนˆเธ‚เน‰เธฒเธžเน€เธˆเน‰เธฒเน„เธ”เน‰เธ•เธเธฅเธ‡เธเธฑเธšเธเนˆเธฒเธขเธซเธเธดเธ‡เน„เธ›เนเธฅเน‰เธงเธงเนˆเธฒเธˆเธฐเธชเนˆเธ‡เธ„เนˆเธฒเธญเธธเธ›เธเธฒเธฃเธฐเน€เธฅเธตเน‰เธขเธ‡เธ”เธนเธšเธธเธ•เธฃเน„เธ›เน€เธ”เธทเธญเธ™เธฅเธฐ 1000 เธšเธฒเธ— เนเธ•เนˆเธ‚เน‰เธฒเธžเน€เธˆเน‰เธฒเธ‚เธฒเธ”เธชเนˆเธ‡ เนเธฅเธฐเธ•เธญเธ™เธ™เธตเน‰เธซเธกเธฒเธขเธจเธฒเธฅเธเน‡เธกเธฒเธซเธฒเธ‚เน‰เธฒเธžเน€เธˆเน‰เธฒเธงเนˆเธฒเธˆเธฐเธญเธฒเธขเธฑเธ”เน€เธ‡เธดเธ™ เธ‚เน‰เธฒเธžเน€เธˆเน‰เธฒเธˆเธฐเธ—เธณเธญเธขเนˆเธฒเธ‡เน„เธฃเธ”เธตเธ„เธฃเธฑเธšเธƒเนˆเธงเธขเนเธ™เธฐเธ™เธณ เธ”เนˆเธงเธ™เน€เธฅเธขเธ™เนˆเธฐเธ„เธฃเธฑเธš (เธœเธนเน‰เธซเธเธดเธ‡เธ„เธ™เธ™เธฑเน‰เธ™เน„เธกเนˆเน„เธ”เน‰เธˆเธ”เธ—เธฐเน€เธšเธตเธขเธ™ เนเธ•เนˆเธœเธกเน„เธ”เน‰เธกเธตเธฅเธนเธเธเธฑเธšเธœเธนเน‰เธซเธเธดเธ‡เธ„เธ™เธ™เธฑเน‰เธ™) เธ•เธญเธ™เธ™เธตเน‰เธœเธกเธกเธตเธ เธฃเธฃเธขเธฒเธˆเธ”เธ—เธฐเน€เธšเธตเธขเธ™เธ–เธนเธเธ•เน‰เธญเธ‡เธ•เธฒเธกเธเธŽเธซเธกเธฒเธขเนเธฅเธฐเธกเธตเธšเธธเธ•เธฃเธ˜เธดเธ”เธฒเนเธฅเน‰เธง 2 เธ„เธ™ เธ„เธฃเธฑเธš //www.Prasong_song3000@hotmail.com


โดย: Prasong_song IP: 118.175.199.119 วันที่: 17 พฤศจิกายน 2551 เวลา:14:57:22 น.  

 
เยี่ยม


โดย: นัท IP: 124.122.194.162 วันที่: 30 พฤศจิกายน 2551 เวลา:21:12:08 น.  

 
อยากทราบว่าถ้าไปจดทะเบียนสมรสแล้วเราจะใช้นามสุลเดิมของเราได้หรือเปล่า และใช้คำนำหน้าเดิมได้หรือไม่ค่ะช่วยตอบด้วยนะค่ะ


โดย: แนน IP: 119.42.79.80 วันที่: 24 กรกฎาคม 2552 เวลา:14:26:12 น.  

 
สนุกมากครับ


โดย: ขวัญ IP: 114.128.155.113 วันที่: 25 กรกฎาคม 2552 เวลา:23:08:23 น.  

 
อยากทราบว่าถ้าตกลงที่จะสมรสกันแล้วต่อมาฝ่ายชายไม่ยอมสมรส โดยที่ฝ่ายหญิงจักเตรียม สถานที่ เตรียมงานต่าง ๆ ที่จะทำการสมรส แล้วฝ่ายหญิงมีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายอะไรได้บ้างครับ ขอบคุณครับ


โดย: ขวัญ IP: 114.128.155.113 วันที่: 25 กรกฎาคม 2552 เวลา:23:13:22 น.  

 
ตรงกะที่จาทำรายงานแป๊ะ -/\\-ขอบคุงคัฟ


โดย: —๏“NoNam€”๏— IP: 118.172.103.119 วันที่: 27 สิงหาคม 2552 เวลา:18:17:54 น.  

 
ถูกบัตรเครดิตฟ้อง ไดัรับหมายศาลให้ไปไกล่เกลี่ยแต่ไม่ได้ไป ไม่ได้ติดต่อกลับ(ไม่ได้ชำระหนี้ 1ปีแล้ว) ไปทำงานต่างประเทศ 6 เดือนกลับที ตอนนี้ได้รับคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลให้ชำระหนี้ จะทำยังไงดี ไม่อยากชำระหนี้และถูกดำเนินคดี เราอยู่เฉยๆได้ไหม(ต่างประเทศ) จะรอดไหม และเขาจะมีวิธีการยังไงต่อไปครับ กรุณาตอบด้วยครับ ขอบคุณมากครับ


โดย: สรจักร IP: 124.121.167.39 วันที่: 31 สิงหาคม 2552 เวลา:18:43:06 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ไร้นาม
Location :
ปทุมธานี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]





"อ่านคนอ่านที่ความคิด
หาใช่ชื่อเสียงเรียงนาม"
Friends' blogs
[Add ไร้นาม's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friends


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.