จินตนาการจากความว่างเปล่า
Imagination from the emptiness
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2548
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
12 ตุลาคม 2548
 
All Blogs
 
กฏหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2 - ภาค4 ลักษณะ1 วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา

ภาค4 ลักษณะ1 วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา

หมวด 1 หลักทั่วไป

มาตรา 253**: ถ้าโจทก์มิได้มีภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงาน อยู่ในราชอาณาจักรและไม่มีทรัพย์สินที่อาจถูกบังคับคดีได้อยู่ใน ราชอาณาจักรหรือถ้าเป็นที่เชื่อได้ว่า เมื่อโจทก์แพ้คดีแล้วจะ หลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย จำเลยอาจ ยื่นคำร้องต่อศาลไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษาขอให้ศาลมีคำสั่ง ให้โจทก์วางเงินต่อศาลหรือหาประกันมาให้เพื่อการชำระค่า ฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้
ถ้าศาลไต่สวนแล้วเห็นว่า มีเหตุอันสมควรหรือมีเหตุเป็นที่ เชื่อได้ แล้วแต่กรณี ก็ให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินต่อศาลหรือ หาประกันมาให้ตามจำนวนและภายในระยะเวลาที่กำหนด โดย จะกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ตามที่เห็นสมควรก็ได้
ถ้าโจทก์มิได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลตามวรรคสอง ให้ศาลมี คำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ เว้นแต่จำเลยจะขอให้ ดำเนินการพิจารณาต่อไปหรือมีการอุทธรณ์คำสั่งศาลตามวรรคสอง

มาตรา 253ทวิ ในกรณีที่โจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาคัดค้าน คำพิพากษาถ้ามีเหตุใดเหตุหนึ่งตาม มาตรา 253 วรรคหนึ่ง จำเลย อาจยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณีไม่ว่าเวลา ใด ๆ ก่อนพิพากษา ขอให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินต่อศาล หรือ หาประกันมาให้เพื่อชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้
ในระหว่างที่ศาลชั้นต้นยังมิได้ส่งสำนวนความไปยังศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา คำร้องตามวรรคหนึ่งให้ยื่นต่อศาลชั้นต้น และให้ ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนแล้วส่งคำร้องนั้นพร้อมด้วยสำนวนความ ไปให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาสั่ง
ให้นำความใน มาตรา 253 วรรคสองและวรรคสาม มาใช้บังคับ แก่การพิจารณา ในชั้นอุทธรณ์และฎีกาโดยอนุโลม"

มาตรา 254**: ในคดีอื่น ๆ นอกจากคดีมโนสาเร่ โจทก์ชอบที่จะยื่น ต่อศาลพร้อมกับคำฟ้อง หรือในเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษาซึ่งคำขอ ฝ่ายเดียว ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งภายในบังคับแห่งเงื่อนไขซึ่งจะกล่าว ต่อไป เพื่อจัดให้มีวิธีคุ้มครองใด ๆ ดังต่อไปนี้
(1) ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่พิพาท หรือทรัพย์สินของจำเลย ทั้งหมดหรือบางส่วนไว้ก่อนพิพากษา รวมทั้งจำนวนเงินหรือทรัพย์สิน ของบุคคลภายนอกซึ่งถึงกำหนดชำระแก่จำเลย
(2) ให้ศาลมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยกระทำซ้ำหรือกระทำ ต่อไปซึ่ง การละเมิดหรือการผิดสัญญา หรือการกระทำที่ถูกฟ้องร้อง หรือมีคำสั่งอื่นใดในอันที่จะบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายที่โจทก์อาจ ได้รับต่อไปเนื่องจากการกระทำของจำเลย หรือมีคำสั่งห้ามชั่วคราว มิให้จำเลยโอนขายยักย้ายหรือจำหน่ายซึ่งทรัพย์สินที่พิพาทหรือ ทรัพย์สินของจำเลย หรือมีคำสั่งให้หยุดหรือป้องกันการเปลืองไป เปล่าหรือการบุบสลาย ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว ทั้งนี้ จนกว่าคดีจะถึง ที่สุดหรือศาลมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
(3) ให้ศาลมีคำสั่งให้นายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือ บุคคลอื่นผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ระงับการจดทะเบียน การแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนหรือการเพิกถอนการจดทะเบียน ที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่พิพาท หรือทรัพย์สินของจำเลยหรือที่เกี่ยวกับ การกระทำที่ถูกฟ้องร้องไว้ชั่วคราวจนกว่าคดีจะถึงที่สุด หรือศาล มีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติแห่ง กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(4) ให้จับกุมและกักขังจำเลยไว้ชั่วคราว
ในระหว่างระยะเวลานับแต่ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ได้อ่าน คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีหรือชี้ขาดอุทธรณ์ ไปจนถึงเวลา ที่ศาลชั้นต้นได้ส่งสำนวนความที่อุทธรณ์หรือฎีกาไปยังศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกาแล้วแต่กรณี คำขอตาม มาตรานี้ ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะสั่งอนุญาตหรือยกคำขอเช่นว่านี้

มาตรา 255**: ในการพิจารณาอนุญาตตามคำขอที่ยื่นไว้ตาม มาตรา 254 ต้องให้เป็นที่พอใจของศาลว่า คำฟ้องมีมูลและมีเหตุเพียงพอที่ จะนำวิธีคุ้มครองตามที่ขอนั้นมาใช้ได้ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่ยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งตาม มาตรา 254 (1) ต้อง ให้เป็นที่พอใจของศาลว่า
(ก) จำเลยตั้งใจจะยักย้ายทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของตน ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนไปให้พ้นจากอำนาจศาล หรือจะโอน ขายหรือ จำหน่ายทรัพย์สินดังกล่าวเพื่อประวิงหรือขัดขวางต่อการบังคับคาม คำบังคับใด ๆ ซึ่งอาจจะออกบังคับเอาแก่จำเลยหรือเพื่อจะทำให้ โจทก์เสียเปรียบ หรือ
(ข) มีเหตุจำเป็นอื่นใด ตามที่ศาลจะพิเคราะห์เห็นเป็นการ ยุติธรรมและสมควร
(2) ในกรณีที่ยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งตาม มาตรา 254 (2) ต้อง ให้เป็นที่พอใจของศาลว่า
(ก) จำเลยตั้งใจจะกระทำซ้ำหรือกระทำต่อไปซึ่งการละเมิด การผิดสัญญา หรือการกระทำที่ถูกฟ้องร้อง
(ข) โจทก์จะได้รับความเดือดร้อนเสียหายต่อไปเนื่องจากการ กระทำของจำเลย
(ค) ทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจำเลยนั้นมีพฤติการณ์ ว่าจะมีการกระทำให้เปลืองไปเปล่าหรือบุบสลายหรือโอนไปยังผู้อื่น หรือ
(ง) มีเหตุตาม (1) (ก) หรือ (ข)
(3) ในกรณีที่ยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งตาม มาตรา 254 (3) ต้อง ให้เป็นที่พอใจของศาลว่า
(ก) เป็นที่เกรงว่าจำเลยจะดำเนินการให้มีการจดทะเบียน แก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน หรือเพิกถอนทางทะเบียนการ จดทะเบียนเกี่ยวกับทรัพย์สินที่พิพาท หรือทรัพย์สินของจำเลย หรือที่เกี่ยวกับการกระทำที่ถูกฟ้องร้อง ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ หรือ
(ข) มีเหตุตาม (1) (ข)
(4) ในกรณีที่ยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งตาม มาตรา 254 (4) ต้อง ให้เป็นที่พอใจของศาลว่าเพื่อที่จะประวิงหรือขัดขวางต่อการพิจารณา คดีหรือการบังคับตามคำบังคับใด ๆ ซึ่งอาจจะออกบังคับเอาแก่จำเลย หรือเพื่อจะทำให้โจทก์เสียเปรียบ
(ก) จำเลยซ่อนตัวเพื่อจะไม่รับหมายเรียกหรือคำสั่งของศาล
(ข) จำเลยได้ยักย้ายไปให้พ้นอำนาจศาลหรือซุกซ่อนเอกสาร ใด ๆ ซึ่งพอจะเห็นได้ว่า จะใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลยในคดี ที่อยู่ในระหว่างพิจารณาหรือทรัพย์สินที่พิพาท หรือทรัพย์สินของ จำเลยทั้งหมดหรือแต่บางส่วนหรือเป็นที่เกรงว่าจำเลยจะจำหน่าย หรือทำลายเอกสารหรือทรัพย์สินเช่นว่านั้น หรือ
(ค) ปรากฏตามกิริยาหรือตามวิธีที่จำเลยประกอบการงานหรือ การค้าของตนว่าจำเลยจะหลีกหนี หรือพอเห็นได้ว่าจะหลีกหนีไปให้ พ้นอำนาจศาล

วิธีการไต่สวน

มาตรา 256: ในกรณีที่ยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งตาม มาตรา 254 (2)หรือ (3) ถ้าศาลเห็นว่าหากให้โอกาสจำเลยคัดค้านก่อนจะ ไม่เสียหายแก่โจทก์ ก็ให้ศาลแจ้งกำหนดวันนั่งพิจารณาพร้อมทั้ง ส่งสำเนาคำขอให้แก่จำเลยโดยทางเจ้าพนักงานศาล จำเลย จะเสนอข้อคัดค้านของตนในการที่ศาลนั่งพิจารณาคำขอนั้นก็ได้

มาตรา 257: ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งอนุญาตตามคำขอที่ได้ยื่นตาม มาตรา 254 ได้ภายในขอบเขตหรือโดยมีเงื่อนไขอย่างใดก็ได้ แล้ว แต่จะเห็นสมควร
ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอที่ได้ยื่นตาม มาตรา 254 (2) ให้ศาลแจ้งคำสั่งนั้นให้จำเลยทราบ ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยโอน ขาย ยักย้าย หรือจำหน่ายซึ่งทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจำเลย ศาล จะกำหนดวิธีการโฆษณาตามที่เห็นสมควรเพื่อป้องกันการฉ้อฉลก็ได้
ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยโอน ขาย ยักย้าย หรือจำหน่ายซึ่งทรัพย์สินที่พิพาท หรือทรัพย์สินของจำเลยที่กฎหมาย กำหนดไว้ให้จดทะเบียน หรือมีคำสั่งให้นายทะเบียน พนักงานเจ้า หน้าที่หรือบุคคลผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ระงับการจดทะเบียน การแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน หรือการเพิกถอนการจดทะเบียน ที่เกี่ยวกับทรัพย์สินดังกล่าว หรือที่เกี่ยวข้องกับการกระทำที่ถูกฟ้อง ร้องให้ศาลแจ้งคำสั่งนั้นให้นายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือ บุคคลอื่นผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายทราบ และให้บุคคลดังกล่าว บันทึกคำสั่งของศาลไว้ในทะเบียน
ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ก่อนที่จะศาลจะออกหมายยึด หมายอายัด หมายห้ามชั่วคราว หมายจับหรือคำสั่งใดๆ ศาลจะสั่งให้ผู้ขอนำ เงินหรือหาประกันตามจำนวนที่เห็นสมควรมาวางศาลเพื่อการชำระ ค่าสินไหมทดแทน ซึ่งจำเลยอาจได้รับตาม มาตรา 263 ก็ได้

มาตรา 258: คำสั่งศาลซึ่งอนุญาตตามคำขอที่ได้ยื่นตาม มาตรา 254 (1) นั้น ให้บังคับจำเลยได้ทันทีแล้วแจ้งคำสั่งนั้นให้จำเลยทราบ โดยไม่ชักช้าแต่จะใช้บังคับบุคคลภายนอก ซึ่งพิสูจน์ได้ว่าได้รับโอน โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก่อนการแจ้งคำสั่งให้จำเลยทราบมิได้
คำสั่งศาลซึ่งอนุญาตตามคำขอที่ได้ยื่นตาม มาตรา 254 (2) นั้น ให้บังคับจำเลยได้ทันทีถึงแม้ว่าจำเลยจะยังมิได้รับแจ้งคำสั่งเช่นว่านั้น ก็ตาม เว้นแต่ศาลจะได้พิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีแล้วเห็นสมควร ให้คำสั่งมีผลบังคับเมื่อจำเลยได้รับแจ้งคำสั่งเช่นว่านั้นแล้ว
คำสั่งศาลซึ่งอนุญาตตามคำขอที่ได้ยื่นตาม มาตรา 254 (3) ที่ เกี่ยวกับทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจำเลยนั้น มีผลใช้บังคับ ได้ทันที ถึงแม้ว่านายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่หรือบุคคลอื่นผู้มี อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายจะยังมิได้รับแจ้งคำสั่งเช่นว่านั้นก็ตาม เว้นแต่ศาลจะได้พิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีแล้วเห็นสมควร ให้คำสั่ง มีผลบังคับเมื่อบุคคลดังกล่าวได้รับแจ้งคำสั่งเช่นว่านั้นแล้ว
คำสั่งศาลซึ่งอนุญาตตามคำขอที่ได้ยื่นตาม มาตรา 254 (3) ที่ เกี่ยวกับการกระทำที่ถูกฟ้องร้องให้มีผลใช้บังคับแก่นายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่หรือบุคคลอื่นผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ต่อเมื่อบุคคลดังกล่าวได้รับแจ้งคำสั่งเช่นว่านั้นแล้ว
หมายจับจำเลยที่ศาลออกตามคำขอที่ได้ยื่นตาม มาตรา 254 (4) ให้บังคับได้ทั่วราชอาณาจักร การกักขังตามหมายจับเช่นว่านี้ ห้ามมิให้กระทำเกินหกเดือนนับแต่วันจับ หมายเหตุ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 15) พ.ศ.2538

มาตรา 258ทวิ การที่จำเลยได้ก่อให้เกิด โอน หรือเปลี่ยนแปลง ซึ่งสิทธิในทรัพย์สินที่พิพาท หรือทรัพย์สินของจำเลยภายหลังที่คำสั่ง ของศาลที่ห้ามโอน ขาย ยักย้ายหรือจำหน่าย ซึ่งออกตามคำขอที่ ได้ยื่นตาม มาตรา 254 (2) มีผลใช้บังคับแล้วนั้น หาอาจใช้ยันแก่ โจทก์หรือเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ไม่ถึงแม้ว่าราคาแห่งทรัพย์สินนั้น เกินกว่าจำนวนหนี้และค่าฤชาธรรมเนียมในการฟ้องร้องและการ บังคับคดี และจำเลยได้จำหน่ายทรัพย์สินเพียงส่วนที่เกินจำนวนนั้น ก็ตาม
การที่นายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือบุคคลผู้มีอำนาจ หน้าที่ตามกฎหมายรับจดทะเบียนหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน หรือเพิกถอนการจดทะเบียนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่พิพาทหรือ ทรัพย์สินของจำเลยภายหลังที่คำสั่งของศาลซึ่งออกตามคำขอที่ ได้ยื่นตาม มาตรา 254 (3) มีผลใช้บังคับแล้วนั้นหาใช้ยันแก่โจทก์ หรือเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ไม่ เว้นแต่ผู้รับโอนจะพิสูจน์ได้ว่าได้รับ โอนโดยสุจริต และเสียค่าตอบแทนก่อนที่นายทะเบียน พนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือบุคคลอื่นผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายจะได้รับแจ้ง คำสั่ง
การที่นายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือบุคคลอื่นผู้มีอำนาจ หน้าที่ตามกฎหมายรับจดทะเบียนหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน หรือเพิกถอนการจดทะเบียนที่เกี่ยวกับการกระทำที่ถูกฟ้องร้อง ภายหลังที่บุคคลดังกล่าว ได้รับแจ้งคำสั่งของศาลซึ่งออกตามคำขอ ที่ได้ยื่นตาม มาตรา 254 (3) แล้วนั้นยังไม่มีผลใช้บังคับตามกฎหมาย ในระหว่างใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา

มาตรา 259: ให้นำบทบัญญัติลักษณะ 2 แห่งภาคนี้ว่าด้วยการ บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาใช้บังคับแก่วิธีการชั่วคราวก่อน พิพากษาด้วย โดยอนุโลม

มาตรา 260: ในกรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีมิได้ กล่าวถึงวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาที่ศาลได้สั่งไว้ในระหว่างการ พิจารณา
(1) ถ้าคดีนั้นศาลตัดสินให้จำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีเต็มตามข้อหา หรือบางส่วนคำสั่งของศาลเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวในส่วนที่จำเลย ชนะคดีนั้น ให้ถือว่าเป็นอันยกเลิกเมื่อพ้นกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่ ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง เว้นแต่โจทก์จะได้ยื่นคำขอฝ่ายเดียว ต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดเวลาดังกล่าวแสดงว่าตนประสงค์จะยื่น อุทธรณ์หรือฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น และมีเหตุอันสมควร ที่ศาลจะมีคำสั่งให้วิธีการชั่วคราวเช่นว่านั้นยังคงมีผลใช้บังคับต่อไป ในกรณีเช่นว่านี้ ถ้าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำขอของโจทก์ คำสั่ง ของศาลให้เป็นที่สุด ถ้าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ศาลให้วิธีการชั่วคราว ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไป คำสั่งของศาลชั้นต้นมีผลใช้บังคับต่อไป จนกว่าจะครบกำหนดยื่นอุทธรณ์หรือฎีกา หรือศาลมีคำสั่งถึงที่สุด ไม่รับอุทธรณ์หรือฎีกา แล้วแต่กรณี เมื่อมีการอุทธรณ์หรือฎีกาแล้ว คำสั่งของศาลชั้นต้นให้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าศาลอุทธรณ์หรือ ศาลฎีกาจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
(2) ถ้าศาลนั้นศาลตัดสินให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี คำสั่งของศาล เกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวยังคงมีผลต่อไปเท่าที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตาม คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล

มาตรา 261: จำเลยหรือบุคคลภายนอกซึ่งได้รับหมายยึดหมาย อายัดหรือ คำสั่งตาม มาตรา 254 (1) (2) หรือ (3)หรือจะต้อง เสียหายเพราะหมาย ยึด หมายอายัด หรือคำสั่งดังกล่าว อาจมีคำขอ ต่อศาลให้ถอนหมาย เพิกถอนคำสั่ง หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่ง หมายยึดหรือหมายอายัดซึ่งออกตามคำสั่งดังกล่าวได้ แต่ถ้า บุคคลภายนอกเช่นว่านั้นขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่ยึดหรือคัดค้าน คำสั่งอายัดให้นำ มาตรา 288 หรือ มาตรา 312 แล้วแต่กรณีมา ใช้บังคับโดยอนุโลม
จำเลยซึ่งถูกศาลออกคำสั่งจับกุมตาม มาตรา 254 (4) อาจมี คำขอต่อศาลให้เพิกถอนคำสั่งถอนหมายหรือปล่อยตัวไปโดยไม่มี เงื่อนไขหรือให้ปล่อยตัวไปชั่วคราวโดยมีหลักประกันตามจำนวน ที่ศาลเห็นสมควรหรือไม่ก็ได้
ถ้าปรากฏว่าวิธีการที่กำหนดไว้ใน มาตรา 254 นั้น ไม่มีเหตุผล เพียงพอหรือมีเหตุอันสมควรประการอื่น ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตตาม คำขอหรือมีคำสั่งอื่นใดตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความ ยุติธรรมก็ได้ ทั้งนี้ศาลจะกำหนดให้ผู้ขอวางเงินต่อศาล หรือหา ประกันมาให้ตามจำนวนและภายในระยะเวลาที่เห็นสมควรหรือจะ กำหนดเงื่อนไขใดๆ ตามที่เห็นสมควรก็ได้ แต่ในกรณีที่เป็นการ ฟ้องเรียกเงิน ห้ามไม่ให้ศาลเรียกประกันเกินกว่าจำนวนเงินที่ฟ้อง รวมทั้งค่าฤชาธรรมเนียม

มาตรา 262: ถ้าข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่ศาลอาศัยเป็นหลัก ในการมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอในวิธีการชั่วคราวอย่างใดอย่างหนึ่ง นั้นเปลี่ยนแปลงไป เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อจำเลยหรือบุคคล ภายนอกตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 261 มีคำขอศาลที่คดีนั้นอยู่ใน ระหว่างพิจารณา จะมีคำสั่งแก้ไขหรือยกเลิกวิธีการเช่นว่านั้นเสีย ก็ได้
ในระหว่างระยะเวลานับแต่ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ได้อ่าน คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีหรือชี้ขาดอุทธรณ์ไปจนถึงเวลาที่ ศาลชั้นต้นได้ส่งสำนวนความที่อุทธรณ์หรือฎีกาไปยังศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี คำขอตาม มาตรานี้ ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้น และให้เป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะมีคำสั่งคำขอเช่นว่านั้น

มาตรา 263: ในกรณีที่ศาลได้มีคำสั่งอนุญาตตามคำขอในวิธีการ ชั่วคราวตามลักษณะนี้ จำเลยซึ่งต้องถูกบังคับโดยวิธีการนั้น อาจยื่น คำขอต่อศาลชั้นต้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาของศาล ที่มีคำสั่งตามวิธีการชั่วคราวนั้นขอให้มีคำสั่งให้โจทก์ชดใช้ค่าสินไหม ทดแทนแก่ตนได้ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) คดีนั้นศาลตัดสินให้โจทก์เป็นฝ่ายแพ้ และปรากฏว่าศาลมี คำสั่งโดยมีความเห็นหลงไปว่าสิทธิเรียกร้องของผู้ขอมีมูล โดยความ ผิดหรือเลินเล่อของผู้ขอ
(2) ไม่ว่าคดีนั้นศาลจะชี้ขาดตัดสินให้โจทก์ชนะหรือแพ้คดี ถ้า ปรากฏว่าศาลมีคำสั่งโดยมีความเห็นหลงไปว่าวิธีการเช่นว่านี้มี เหตุผลเพียงพอโดยความผิดหรือเลินเล่อของผู้ขอ
เมื่อได้รับคำขอตามวรรคหนึ่ง ศาลมีอำนาจสั่งให้แยกการพิจารณา เป็นสำนวนต่างหากจากคดีเดิม และเมื่อศาลทำการไต่สวนแล้ว เห็นว่าคำขอนั้นรับฟังได้ก็ให้มีคำสั่งให้โจทก์ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ให้แก่จำเลยได้ตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควร ถ้าศาลที่มีคำสั่งตาม วิธีการชั่วคราวเป็นศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา เมื่อศาลชั้นต้นทำการ ไต่สวนแล้วให้ส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาแล้วแต่กรณี เป็น ผู้สั่งคำขอนั้น ถ้าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล ศาลมีอำนาจบังคับ โจทก์เสมือนหนึ่งว่าเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา แต่ในกรณีที่ศาลมี คำสั่งให้โจทก์ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม (1) ให้งดการบังคับ คดีไว้จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์แพ้คดี
คำสั่งของศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ตามวรรคสอง ให้อุทธรณ์ หรือฎีกาได้ตามบทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์หรือฎีกา

มาตรา 264**: นอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 253 และ มาตรา 254 คู่ความชอบที่จะยื่นคำขอต่อศาล เพื่อให้มีคำสั่งกำหนด วิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอในระหว่างการพิจารณาหรือ เพื่อบังคับตามคำพิพากษาเช่น ให้นำทรัพย์สินหรือเงินที่พิพาท มาวางต่อศาลหรือต่อบุคคลภายนอกหรือให้ตั้งผู้จัดการหรือผู้รักษา ทรัพย์สินของห้างร้านที่ทำการค้าที่พิพาท หรือให้จัดให้บุคคลผู้ไร้ ความสามารถอยู่ในความปกครองของบุคคลภายนอก
คำขอตามวรรคหนึ่งให้บังคับตาม มาตรา 21 มาตรา 25 มาตรา 227 มาตรา 228 มาตรา 260 และ มาตรา 262

มาตรา 265: ในกรณีที่ศาลยอมรับเอาบุคคลเป็นประกันตามที่ บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้และบุคคลนั้นแสดงกิริยาซึ่งพอจะเห็น ได้ว่าจะทำให้โจทก์เสียเปรียบ หรือจะหลีกเลี่ยง ขัดขวางหรือกระทำ ให้เนิ่นช้าซึ่งการปฏิบัติตามหน้าที่ของตน ให้นำบทบัญญัติแห่งหมวด นี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม

หมวด 2 คำขอในเหตุฉุกเฉิน

มาตรา 266: ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินเมื่อโจทก์ยื่นคำขอตาม มาตรา 254 โจทก์จะยื่นคำร้องรวมไปด้วยเพื่อให้ศาลมีคำสั่งหรือออกหมาย ตามที่ขอโดยไม่ชักช้าก็ได้
เมื่อได้ยื่นคำร้องเช่นว่ามานี้ วิธีพิจารณาและชี้ขาดคำขอนั้นให้อยู่
ภายใต้บังคับบทบัญญัติ มาตรา 267 มาตรา 268 และ มาตรา 269

มาตรา 267: ให้ศาลพิจารณาคำขอเป็นการด่วน ถ้าเป็นที่พอใจ จากคำแถลงของโจทก์หรือพยานหลักฐานที่โจทก์ได้นำมาสืบหรือ ที่ศาลได้เรียกมาสืบเองว่า คดีนั้นเป็นคดีมีเหตุฉุกเฉิน และคำขอนั้น มีเหตุผลสมควรอันแท้จริงให้ศาลมีคำสั่งหรือออกหมายตามที่ขอ ภายในขอบเขต และเงื่อนไขไปตามที่เห็นจำเป็นทันที ถ้าศาลมี คำสั่งให้ยกคำขอ คำสั่งเช่นว่านี้ให้เป็นที่สุด
จำเลยอาจยื่นคำขอโดยพลัน ให้ศาลยกเลิกคำสั่งหรือหมาย นั้นเสีย และให้นำบทบัญญัติแห่งวรรคก่อนมาใช้บังคับโดยอนุโลม คำขอเช่นว่านี้อาจทำเป็นคำขอฝ่ายเดียวโดยได้รับอนุญาตจากศาล ถ้าศาลมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งเดิมตามคำขอ คำสั่งเช่นว่านี้ให้เป็นที่สุด
การที่ศาลยกคำขอในเหตุฉุกเฉิน หรือยกเลิกคำสั่งที่ได้ออกตาม คำขอในเหตุฉุกเฉินนั้นย่อมไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำเสนอคำขอ ตาม มาตรา 254 นั้นใหม่

มาตรา 268: ในกรณีที่มีคำขอในเหตุฉุกเฉิน ให้ศาลมีอำนาจที่ จะใช้ดุลพินิจวินิจฉัยว่าคดีนั้นมีเหตุฉุกเฉินหรือไม่ ส่วนวิธีการที่ ศาลจะกำหนดนั้น หากจำเป็นต้องเสื่อมเสียแก่สิทธิของคู่ความใน ประเด็นแห่งคดี ก็ให้เสื่อมเสียเท่าที่จำเป็นแก่กรณี

มาตรา 269: คำสั่งศาลซึ่งอนุญาตตามคำขอในเหตุฉุกเฉินนั้น ให้มีผลบังคับตามที่บทบัญญัติไว้ใน มาตรา 258 และ มาตรา 258ทวิ อนึ่ง ศาลจะสั่งให้โจทก์รอการบังคับไว้ จนกว่าศาลจะได้วินิจฉัยชี้ขาด คำขอให้ยกเลิกคำสั่งหรือจนกว่าโจทก์จะได้วางประกันก็ได้

มาตรา 270: บทบัญญัติในหมวดนี้ให้ใช้บังคับแก่คำขออื่น ๆนอกจากคำขอตาม มาตรา 254 ได้ต่อเมื่อประมวลกฎหมายนี้หรือ กฎหมายอื่นบัญญัติไว้โดยชัดแจ้ง


Create Date : 12 ตุลาคม 2548
Last Update : 12 ตุลาคม 2548 0:25:34 น. 5 comments
Counter : 820 Pageviews.

 
^ข้างบนจะเขียนเพิ่มเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นอย่าแปลกใจถ้ามาแล้วเห็นเปลี่ยนไปเปลี่ยนมานะคะ


โดย: ไร้นาม วันที่: 12 ตุลาคม 2548 เวลา:0:23:08 น.  

 
จะสอบกฎหมายอาญาอยู่เนี่ยอ่ะคับ เบี่ยจัง
ผมเคยเรียนกฎหมายอ่ะคับ ตอนนี้ไม่ไหวเเละ รู้ตัวว่าไม่ใช่เเนวทาง
เเต่ก็ติดเป็นวิชาโทอยู่ คงต้องสู้ต่อไป นับถือครับนับถือ
คนเรียนกฎหมาย


โดย: Dark Secret วันที่: 12 ตุลาคม 2548 เวลา:0:36:37 น.  

 
--- คุณ Dark Secret ---

สู้ สู้ ค่ะ (ให้กำลังใจกันและกัน อิอิ)


โดย: ไร้นาม วันที่: 12 ตุลาคม 2548 เวลา:0:59:24 น.  

 
ต้องการข้อมูลเกียวกับกฏหมายลักษณะพยานหลักฐาน เรื่องสิ่งที่ไม่ต้องสืบพยานหลักฐาน


โดย: เบน IP: 124.120.237.220 วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:21:26:37 น.  

 
แนะนำ //www.kodmhai.com


โดย: ไร้นาม วันที่: 5 พฤษภาคม 2551 เวลา:2:04:47 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ไร้นาม
Location :
ปทุมธานี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]





"อ่านคนอ่านที่ความคิด
หาใช่ชื่อเสียงเรียงนาม"
Friends' blogs
[Add ไร้นาม's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friends


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.