Group Blog
 
<<
เมษายน 2556
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
23 เมษายน 2556
 
All Blogs
 
โรคไต ทุกคนพึ่งระวังรู้ให้ทันเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นโรคไต


ทุกคนรู้จัก “โรคไต” แต่หลายคนไม่เคยใส่ใจดูแลสุขภาพตัวเอง มารู้ตัวอีกทีก็ป่วยด้วยโรคนี้แล้ว เงินทองจำนวนมากที่หามาได้และเก็บหอมรอมริบเอาไว้ต้องหมดไปกับค่ารักษา พยาบาล ทุกข์ทั้งกายและใจ เพราะต้องล้างไตทางช่องท้อง ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม หรือรอการปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาค ดีไม่ดีอาจเสียชีวิตไปก่อน


คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี รองประธานกรรมการมูลนิธิสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ คนที่ 4 พร้อมด้วย พล.ท.ภานุวิชญ์ พุ่มหิริญ กรรมการสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ ศ.เกียรติคุณ นพ.อรุณ เผ่าสวัสดิ์ รองประธานกรรมการมูลนิธิสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ คนที่ 2 ศ.พญ.ธัญญารัตน์ ธีรพรเลิศรัฐ ประธานฝ่ายการแพทย์และวิชาการ นพ.ชาตรี บานชื่น รองประธานอนุกรรมการฝ่ายป้องกันโรคไตเรื้อรัง และ ศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ ประธานกรรมการบริหารโรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ ได้ร่วมกันแถลงข่าวบอกเล่าความเป็นมาของสถาบันแห่งนี้รวมถึงสถานการณ์โรคไต เรื้อรังที่น่าสนใจ

โดย นพ.ชาตรี บานชื่น รองประธานอนุกรรมการฝ่ายป้องกันโรคไตเรื้อรัง กล่าวว่า จากสถิติล่าสุดคนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังประมาณ 8 ล้านคน และมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี ในจำนวนดังกล่าวมีผู้ป่วยถึง 40,845 รายที่ต้องรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไต เสียค่าใช้จ่ายสูงเฉลี่ยรายละ 2.5 แสนบาทต่อปี

ศ.พญ.ธัญญารัตน์ ธีรพรเลิศรัฐ ประธานฝ่ายการแพทย์และวิชาการ กล่าวว่า โรคไตเรื้อรังเป็นปัญหาสำคัญอันดับหนึ่งของระบบสาธารณสุขบ้านเรา ในจำนวนผู้ป่วยที่ต้องรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไต 40,845 รายนั้น 3หมื่นคนต้องรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 7,000 คน ต้องรักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้อง และ 3,000 คนต้องรักษาด้วยการปลูกถ่ายไต ซึ่งมีคนจำนวนมากรอการปลูกถ่ายไตอยู่เนื่องจากมีผู้บริจาคอวัยวะน้อย

สาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคไตเรื้อรัง คือ โรคเบาหวาน รองลงมาคือ โรคความดันโลหิตสูง นิ่วในไต โรคไตบางประเภทที่เกิดจากพันธุกรรม และที่น่าเป็นห่วงคือกลุ่มที่เป็นโรคไตเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ

ทั้งนี้มีผู้ป่วยจำนวนมากที่ไม่รู้ว่าเป็นโรคไตเรื้อรัง ควรจะไปตรวจดูการตรวจการทำงานของไต ซึ่งทำได้หลายวิธี ดังนี้

1. การตรวจปัสสาวะ หาความผิดปกติ ถ้าพบว่ามีไข่ขาวรั่ว โปรตีนรั่ว
เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวรั่วออกมาในกระเพาะปัสสาวะ ต้องตรวจไตต่อแล้ว

2.การตรวจเลือด ดูระดับค่าของเสียในไต
ซึ่งจะสามารถบอกได้คร่าว ๆ ว่าผิดปกติหรือไม่

3. การตรวจอัตรากรองไต ด้วยการตรวจปัสสาวะและเลือด

สิ่งที่น่าห่วง คือ มีคนจำนวนมากไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคไตเรื้อรัง เพราะหลายคนไม่เคยไปตรวจสุขภาพ ดังนั้นแนะนำว่า อย่างน้อยควรไปตรวจสุขภาพสักครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการตรวจวัดความดัน ตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือด โดยเฉพาะคนที่เป็นเบาหวาน เป็นโรคความดันสูง ปัสสาวะผิดปกติ เป็นนิ่วในไต และผู้ที่มีอายุเกิน 40 ปี ขึ้นไป

สำหรับคนที่กินยามาก ๆ โดยเฉพาะกลุ่มยาแก้ปวด เนื่องจากยาทุกชนิด หรือสารพิษทุกชนิดจะขับออกจากตัวเราผ่าน 2 ทาง คือ ทางตับ และทางไต ถ้าเรากินยาที่เป็นยาแก้ปวดอย่างแรงต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน แน่นอนว่าไตต้องถูกใช้งานหนักเพื่อขับของมีพิษออกไป ก็เป็นการทำลายไตอย่างช้า ๆ แต่ถาวรโดยเจ้าตัวอาจไม่รู้ และไม่ทันได้หยุดยา พอมาหยุดยาภายหลังอาจแก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว เพราะฉะนั้นการกินยาแก้ปวดหากเป็นครั้งคราวคงไม่เป็นไร

นอกจากนี้หลายคนที่ดื่มน้ำน้อย ขอแนะนำว่าควรดื่มน้ำให้เพียงพอวันละ 2 ลิตร ออกกำลังกายเป็นประจำ ทำจิตใจไม่ให้เครียด กินอาหารให้ถูกสุขลักษณะ หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มจัด หวานจัด มันจัด เพราะจะทำให้อ้วน มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคไต

( ขอบคุณรู้ทันโรคไต จากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ คอลัมน์ X - สุขภาพ)

ด้วยความปรารถนาดี กานดา แสนมณี




Create Date : 23 เมษายน 2556
Last Update : 23 เมษายน 2556 11:28:11 น. 0 comments
Counter : 2318 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

kandanalike
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 30 คน [?]




Friends' blogs
[Add kandanalike's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.