Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2556
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
2425262728 
 
16 กุมภาพันธ์ 2556
 
All Blogs
 
การวิจัยฟักข้าวในประเทศไทย โดย มข.-มข.- วว. สมุนไพรเพื่อสุขภาพ

ฟักข้าว






การวิจัยฟักข้าว
มหาวิทยาลัยขอนแก่น


ปรับปรุงพันธุ์ฟักข้าว มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง

" ฟักข้าว"

เป็นพืชที่มีศักยภาพสูงสำหรับการเป็นพืชเพื่อสุขภาพ เนื่องจากมีคุณค่าทางสารอาหาร
และมีประโยชน์ต่อสุขภาพสูง
โดยมีรายงานของ ต่างประเทศว่า ในเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวนั้น
มีปริมาณเบต้าแคโรทีน มากกว่าแครอท 10 เท่า และมีสารไลโคพีนมากกว่ามะเขือเทศ 70 เท่า
นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า สารไลโคพีน จากเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวสามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งได้
 โดยเฉพาะมะเร็งต่อมลูกหมาก

สำหรับฟักข้าวสายพันธุ์ต่าง ๆในประเทศไทยพบว่า
มีปริมาณ สารไลโคพีน มากกว่ามะเขือเทศเพียง 12 เท่า

ดร.พัชริน ส่งศรี อาจารย์ประจำภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

จึงได้ทำการศึกษาวิจัยเพื่อปรับปรุงพันธุ์ฟักข้าว ให้มีปริมาณสารไลโคพีน และเบต้าแคโรทีนในเยื่อหุ้มเมล็ดสูง และมีผลผลิตของเยื่อหุ้มเมล็ดสูงขึ้นด้วย ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนให้วัตถุดิบที่จะนำมาแปรรูปเป็นอาหารเพื่อสุขภาพมี คุณภาพสูง เนื่องจากฟักข้าวมีคุณค่าทางสารอาหารและมีประโยชน์ต่อสุขภาพสูง โดยโครงการนี้อยู่ภายใต้การสนับสนุนจากศูนย์วิจัยปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อการ เกษตรที่ยั่งยืน มหาวิทยาลัยขอนแก่น และโครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยศาสตราจารย์ดีเด่น ศ.ดร.อารันต์ พัฒโนทัย ภายใต้การสนับสนุนจาก สกว. สกอ. และมหาวิทยาลัยขอนแก่น

ดร.พัช ริน เปิดเผยว่า
ได้มีการดำเนินงานวิจัยนี้มาแล้วกว่า 3 ปี เบื้องต้นได้คัดเลือกต้นพ่อ-แม่พันธุ์ที่มีความแตกต่างกันของแหล่งที่มาของ สายพันธุ์ฟักข้าวทั้งในและต่างประเทศมากกว่า 100 สายพันธุ์ เพื่อสร้างลูกผสม เพื่อดูความแตกต่างทั้งทางสายพันธุ์และพื้นที่ปลูกว่าสายพันธุ์ที่ได้รับการ ปรับปรุงพันธุ์แล้วจะมีปริมาณสานไลโคพีนและเบต้าแคโรทีน รวมทั้งมีผลผลิตเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด ทั้งนี้คาดว่าภายในอีก 2 ปี จะได้สายพันธุ์ฟักข้าวใหม่ตามที่ตั้งเป้าไว้

"เมื่อเสร็จงาน วิจัยนี้แล้วจะได้พันธุ์ฟักข้าวที่มีผลผลิต และสารไลโคพีน และเบต้าแคโรทีนสูง รวมทั้งจะทำให้ทราบข้อมูลด้านการตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมที่ต่างกันต่อปริมาณ สารไลโคพีน และเบต้าแคโรทีน รวมทั้งข้อมูลด้านพันธุกรรมการถ่ายทอดอันจะเป็นุข้อมูลพื้นฐานที่เป็น ประโยชน์ต่อการพัฒนาฟักข้าวพันธุ์ดีสำหรับแนะนำเกษตรกรต่อไป" ดร.พัชริน กล่าว

ดร.พัชริน กล่าวว่า
การพัฒนาพันธุ์ฟักข้าว จะเป็นการสนับสนุนให้เกษตรกรมีการผลิตวัตถุดิบคุณภาพสูงให้กับอุตสาหกรรมแปร รูปฟักข้าว เนื่องจากความคงที่ของปริมาณสาระสำคัญที่ควบคุมด้วยพันธุกรรมพืชนั้น จะทำให้การผลิตในปริมาณมากระดับอุตสาหกรรมมีความสม่ำเสมอในการผลิต และแปรรูปผลิตภัณฑ์ได้ด้วย

ทางทีมผู้วิจัยยังได้ดำเนินการ วิจัยแบบบูรณา การร่วมกับนักวิจัยด้านเภสัชศาสตร์ เทคโนโลยีอาหารและวิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาการใช้ประโยชน์ในฟักข้าวอีกด้วย เบื้องต้นนำไปแปรรูปเป็นอาหารเพื่อสุขภาพอย่างง่าย อาทิ วุ้น น้ำผลไม้รวม ฯลฯ







เภสัช มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พัฒนา“ ฟักข้าวนาโนลบริ้วรอย”


 ผลงานคนไทยคนแรก ได้รับรางวัล “ IFSCC Host Society Award 2011 ”
 จากงานประชุมสมาพันธ์นักเคมีเครื่องสำอางนานาชาติ 2011 (IFSCC 2011)

โดยผู้เข้าร่วมประชุมได้แสดงผลงานวิจัย และศักยภาพของอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง
ซึ่งมุ่งเน้นประสิทธิภาพ คุ้มค่า และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม


สำหรับผลงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาเครื่องสำอางลดเลือนริ้วรอย จากน้ำมันของเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวในอนุภาคไขมันระดับนาโน (Development of Anti-wrinkle Cosmetic from Aril Oil of Momordica cochinchinesis (Lour.) Spreng in Nanostructured Lipid Carriers) ” เป็นการต่อยอดงานวิจัยพัฒนาอย่างต่อเนื่องกว่า 5 ปี ของทีมนักวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย รศ.ดร.ภก.สุรพล นธการกิจกุล นางสาวณัฏฐิณี นันตาลิต รศ.ดร.ภญ.พาณี ศิริสะอาด รศ.ดร.ภญ.สุพร จารุมณี และ ผศ.ดร.เกียรติศักด์ พลสงคราม จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ


รศ.ดร.ภก.สุรพล กล่าวถึงที่มาของการวิจัยว่า ชื่อวิทยาศาสตร์ของฟักข้าว คือ Momordica cochinchinensis (Lour.) Spreng วงศ์ Cucurbitaceae เดิมมีถิ่นกำเนิดแถบประเทศเอเชียเขตร้อน สำหรับเมืองไทยมีมากในเขตภาคเหนือ และภาคกลาง ซึ่งหมอพื้นบ้านใช้ภูมิปัญญาในการนำฟักข้าวเป็นยารักษาโรค และอาหาร ทั้งนี้ ในการศึกษา ทีมวิจัยได้นำเยื่อหุ้มเมล็ดมาสกัดน้ำมัน ทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และพัฒนาตำรับเครื่องสำอางชะลอความแก่ โดยการทดสอบประสิทธิภาพลดรอยเหี่ยวย่นในอาสาสมัคร และเผยแพร่ในการประชุมมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 8 พ.ศ.2550 ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น


“จากผลการวิจัยครั้งนั้น 
สร้างกระแสให้มีการปลูกฟักข้าว และนำมาแปรรูป
เป็นอาหาร เครื่องดื่ม เช่น น้ำผลไม้ ไอศกรีม ในระดับชุมชน ทั้งยังมีการผลิตเป็นสบู่ และครีมบำรุงผิว สู่สินค้าระดับ OTOP และ SME อย่างไรก็ดี การผลิตเพื่อแปรรูปในระดับอุตสาหกรรมต้องวางแผนการปลูกที่ดี ควบคุมคุณภาพวัตถุดิบ รวมทั้งขั้นตอนการแปรรูปต้องตรวจสอบความคงตัว และมาตรฐานสารสำคัญในฟักข้าว ตลอดจนต้องมีการประเมินประสิทธิผลตามมาตรฐานสากล จึงจะสามารถผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานส่งออกได้


” รศ.ดร.ภก.สุรพล กล่าว

ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากธรรมชาติ หากได้มีการตรวจสอบคุณภาพ และประเมินประสิทธิภาพอย่างจริงจัง มักพบปัญหาเรื่องความคงตัว และการออกฤทธิ์ลดลงเมื่อเก็บผลิตภัณฑ์ไว้นาน ทีมวิจัยจึงได้สกัดน้ำมันจากเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวมาศึกษาองค์ประกอบทางเคมี โดยวิธี HPLC พบว่า ลายพิมพ์นิ้วมือตรงกับของสารมาตรฐานไลโคปีน และกลุ่มเบต้าแคโรทีน ซึ่งสารประกอบกลุ่มนี้สลายตัวได้ง่ายโดยเฉพาะเมื่ออยู่ในสภาวะที่มีแสง และอุณหภูมิสูง


ทีมวิจัยจึงหาวิธีเพิ่มความคงตัว จากการเตรียมน้ำมันเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวให้อยู่ในรูปอนุภาคไขมันระดับนาโน และนำไปใส่ในตำรับครีมพื้น จากนั้น ทดสอบความคงสภาพของตำรับที่สภาวะเร่งด้วยอุณหภูมิต่าง ๆ นาน 90 วัน พบว่า มีลักษณะทางกายภาพดี ไม่เกิดการแยกชั้น ผลของอุณหภูมิ และแสงต่อความคงตัวของเบต้าแคโรทีนในน้ำมันเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าว พบว่า ในทุกสภาวะของตำรับครีมพื้นผสมน้ำมันเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวในอนุภาคไขมัน ระดับนาโน มีเปอร์เซ็นต์ที่เหลืออยู่ของเบต้าแคโรทีนสูง


เมื่อศึกษาประสิทธิภาพลดริ้วรอย
โดยใช้เครื่องมือ Skin Visiometer พบว่า หลังใช้ผลิตภัณฑ์วันละ 2 ครั้ง ต่อเนื่องนาน 8 สัปดาห์ บริเวณที่ใช้ครีมพื้นผสมน้ำมันเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวในอนุภาคไขมันระดับนาโน สามารถลดริ้วรอยของผิวหนังได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับก่อนใช้ และลดริ้วรอยได้ดีกว่าบริเวณที่ใช้ครีมพื้นผสมน้ำมันเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ






สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ( วว.)

นายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้ว่าการ วว. เปิดเผยว่า ฝ่ายเภสัชและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ร่วมกับฝ่ายเทคโนโลยีอาหาร วว. ประสบผลสำเร็จใน การดำเนินงานโครงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพต้านอนุมูลอิสระจาก พืชพื้นบ้าน โดยเลือกวิจัยผลฟักข้าวเป็นวัตถุดิบและพัฒนากระบวนการสกัดจากส่วนต่าง ๆ ของฟักข้าวผ่านการทดสอบความเป็นพิษ

ปัจจุบันสามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบใหม่ได้ถึง 15 ผลิตภัณฑ์ ใน 3 รูปแบบ คือ ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง

ด้านดร.ประไพภัทร คลังทรัพย์
นักวิจัยอาวุโสฝ่ายเภสัชและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ วว. กล่าวว่า ใช้ระยะเวลาดำเนินงานโครงการวิจัยจากฟักข้าว ประมาณ 4 ปี (พ.ศ. 2552-2555) โดยเริ่มตั้งแต่พัฒนากระบวนการเตรียมสารสกัดวิธีต่าง ๆ และจากส่วนต่าง ๆ ของผลฟักข้าว คือ เปลือก เนื้อ และเยื่อหุ้มเมล็ด

มีการนำสารสกัดที่ได้ทั้งหมดมาตรวจสอบองค์ประกอบทางเคมีพบว่า ประกอบด้วยสารสำคัญ โดยเฉพาะสารเบต้าแคโรทีน และสารแอลฟา-โทโคฟีรอล ในปริมาณสูง และเมื่อตรวจสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ด้วยวิธีทดสอบต่าง ๆ ทั้งในระดับเซลล์ เอนไซม์ และดีเอ็นเอ ในเซลล์มนุษย์ พบว่าสารสกัดฟักข้าวอย่างน้อย 2-3 ตัวอย่างมีฤทธิ์โดดเด่นในการต้านอนุมูลอิสระทั้งในเชิงเอนไซม์ และไม่ใช่เอนไซม์

และเมื่อทดสอบต่อโดยใช้เทคนิคทดสอบมาตรฐานทางพันธุพิษวิทยา สำหรับตรวจประเมินความเป็นพิษระดับดีเอ็นเอซึ่งวิเคราะห์ผลด้วยระบบ คอมพิวเตอร์และโปร แกรมจำเพาะ พบว่าสารสกัดฟักข้าวที่ได้ มีฤทธิ์ป้องกันสารพันธุกรรมหรือ ดีเอ็นเอในเซลล์ จากการทำอันตรายของอนุมูลอิสระชนิดไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ได้สูงถึง 65% และจากรังสีอัลตราไวโอเลตหรือแสงยูวี ได้ 20% ผลวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ ทางเภสัชศาสตร์ คือ Journal Of Applied Pharmaceutical Science ฉบับเดือนเมษายน ที่ผ่านมา


ทีมวิจัยได้คัดเลือกตัวอย่างสารสกัดฟักข้าว ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีที่ สุดและมีความปลอดภัยทั้งต่อเซลล์มนุษย์และเซลล์สัตว์ทดลอง มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบเพื่อสุขภาพต้านอนุมูลอิสระและชะลอความชรา อาทิ เครื่องดื่มสารสกัดฟักข้าว ซอสปรุงรส ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เซรั่มชะลอแก่ ครีมป้องกันรังสียูวี และโลชั่นให้ความชุ่มชื่นผิวต่าง ๆ


ปัจจุบัน วว.พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตผลิต ภัณฑ์เพื่อสุขภาพจากสารสกัดฟักข้าวสู่เชิงพาณิชย์ ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าสมุน ไพรสู่การพัฒนาผลิต ภัณฑ์ใหม่ที่หลากหลาย
สอบถามผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ที่ 02-5779300


 ( ขอบคุณข้อมูล การวิจัยฟักข้าว จากหนังสือพืมพ์เดลินิวส์ )


ฟักข้าวหากมีพื้นที่ปลูกไว้ต้นเดียวก็อยู่ได้ตลอดหากดูแลรักษาดีเพราะเป็น ไม้เถายืนต้น สารสีแดงไลโคฟีนนั้นดีต่อสุขภาพคุณผู้ชายมาก ในเรื่องต่อมลูกหมากและยังดีต่อผืวพรรณ ใช้ได้ตั้งแต่รากจนถึงยอดอ่อน ใบลูกตั้งแต่ลูกอ่อนจนถึงแก่จัด นำมาทำอาหารได้หลายอย่าง ดีต่อสุขภาพมาก

ด้วยความปรารถนาดี  กานดา แสนมณี











Create Date : 16 กุมภาพันธ์ 2556
Last Update : 16 กุมภาพันธ์ 2556 14:30:20 น. 0 comments
Counter : 4916 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

kandanalike
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 30 คน [?]




Friends' blogs
[Add kandanalike's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.