ขอมีส่วนช่วยเด็กพิเศษ
Group Blog
 
 
กันยายน 2551
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
13 กันยายน 2551
 
All Blogs
 
แนวการจัดการเรียนการสอน

1. การกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ กิจกรรม
อุปกรณ์การเรียนการสอนในแต่ละพฤติกรรม ควรยืดหยุ่นตามเหตุการณ์สภาพแวดล้อม ความสนใจ ความต้องการที่จำเป็น
และความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน


2.
ผู้สอนควรจัดแผนการเรียนการสอนโดยผสมผสาน
การสอนแบบตัวต่อตัวไปกับการสอนแบบกลุ่มย่อยและแบบกลุ่มขนาดใหญ่ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามศักยภาพ
และยังคงมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอย่างเหมาะสม


3.
ผู้สอนควรคำนึงถึงวิธีการสอนเชิงพฤติกรรมซึ่งจะช่วยเหลือให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้อย่างค่อยเป็นค่อยไป
พร้อมทั้งเพิ่มความมั่นใจในตัวเองขึ้น เช่น วิธีการให้แรงเสริม การสอนแบบกระตุ้นเตือน การเลียนแบบ การวิเคราะห์งาน การตะล่อมกล่อมเกลาพฤติกรรมนำทางไปสู่พฤติกรรมที่พึงประสงค์เป็นต้น


4.
ผู้สอนควรจัดโอกาสให้ผู้เรียนได้นำเอาทักษะที่เรียนรู้แล้วในชั้นเรียนไปฝึกปฏิบัตินอกห้องเรียนในสถานศึกษา
หรือที่บ้านของผู้เรียนให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิตประจำวัน ซึ่งมีผลส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถช่วยเหลือตนเอง และดำรงชีวิตได้


5.
ผู้สอนควรได้รับการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ การศึกษา สังคมและอาชีพ ให้เข้มาเป็นส่วนสำคัญในการวางแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล
เช่นเดียวกับผู้ปกครองของผู้เรียน


เวลาเรียน


ตลอดแนวการพัฒนาหลักสูตรพิเศษฉบับนี้ ใช้เวลาเรียนอย่างน้อย 7 ปี
แต่ละปีควรมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 40 สัปดาห์ ทั้งนี้รวมแล้วต้อง


ไม่ต่ำกว่า
240 ชั่วโมงสำหรับช่วงอายุพัฒนาการ 0
3
ปี


ไม่ต่ำกว่า
360 ชั่วโมงสำหรับช่วงอายุพัฒนาการ 3

5 ปี


ไม่ต่ำกว่า
480 ชั่วโมงสำหรับช่วงอายุพัฒนาการ 5

7 ปี


การจัดเวลาเรียนในแต่ละช่วงอายุทางพัฒนาการ
ควรคำนึงถึงดังนี้


1.
ช่วงอายุทางพัฒนาการ 0
3 ปี มีเวลาเรียนในชั้นเรียนและที่บ้านต่อเนื่องกัน
โดยสัปดาห์หนึ่งมีเวลาเรียนในชั้นอย่างน้อย 3 วัน รวมแล้ไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง ( วันละ 2 ชั่วโมง )
สำหรับการสอนทักษะแบบตัวต่อตัว เป็นกลุ่มย่อย รวมทั้งการฝึกทางกายภาพบำบัด


2.
ช่วงอายุทางพัฒนาการ 3
5 ปี ควรจัดเรียนในชั้นอนุบาลหรือชั้นพิเศษ โดยสัปดาห์หนึ่งมีเวลาเรียนในชั้นเรียนอย่างน้อย 3 วัน รวมแล้วไม่น้อยกว่า
9 ชั่วโมง ( วันละ 3 ชั่วโมง ) สำหรับการสอนทักษะแบบตัวต่อตัว เป็นกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่ ซึ่งไม่นับรวมเวลาการฝึกโดยตรงจากนักบำบัด


3.
ช่วงอายุทางพัฒนาการ 5
7 ปี ควรเรียนในชั้นเด็กเล็กเพื่อเตรียมความพร้อม
หรือชั้นพิเศษ โดยสัปดาห์หนึ่งมีเวลาเรียนในชั้นเรียนอย่างน้อย
4 วัน รวมแล้วไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง แต่ไม่ควรเกินกว่า 18 ชั่วโมง ( วันละ 3
5
ชั่วโมง ) สำหรับการสอนทักษะแบบตัวต่อตัว
เป็นกลุ่มย่อย และกลุ่มใหญ่ ซึ่งทั้งนี้ไม่นับรวมเวลาการฝึกโดยตรงจากนักบำบัด


การประเมินผล


การประเมินทักษะการเรียนตามแนวการพัฒนาหลักสูตรพิเศษฉบับนี้
เป็นการประเมินทักษะเพื่อสำรวจความสามารถขั้นพื้นฐานของผู้เรียน เพื่อวัตถุประสงค์ในการวางแผนการเรียนการสอน และเพื่อติดตามความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยให้เป็นหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน
ร่วมกับผู้ปกครองของผู้เรียน ศึกษานิเทศก์
และ/หรือนักวิชาการศึกษาพิเศษในเขตการศึกษาที่สถานศึกษานั้นสังกัดอยู่


การประเมินทักษะการเรียนของแต่ละกลุ่มทักษะนั้น อาจกระทำเป็นสองระยะคือ
ก่อนจัดแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล และภายหลังหรือปลายปีการศึกษา นอกจากนี้อาจกระทำในระหว่างการเรียนการสอน
กล่าวคือเมื่อจะสิ้นสุดการสอนกิจกรรมแต่ละครั้งนั้น หรือตามที่กำหนดในแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล ทั้งนี้อาศัยการสังเกตพฤติกรรมตามพัฒนาการปกติ การสัมภาษณ์ซักถาม การตรวจสอบผลงานที่นักเรียนปฏิบัติไว้ การทดสอบในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน ประกอบกับความร่วมมือ
ความมั่นใจ ช่วงความสนใจ สภาพการมองเห็น และสภาพการได้ยินในขณะทดสอบ


การบันทึกผลที่ได้จากการประเมินทักษะการเรียน ให้จัดรวบรวมลงในสมุดบันทึกพัฒนาการของผู้เรียนแต่ละคน (
หรือจัดเป็นสมุดบันทึกพัฒนาการในชั้นเรียน ) ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องอาจขอทำการตรวจสอบได้ง่าย


การพิจารณาผลประจำปีเพื่อจัดกลุ่ม
เลื่อน หรือปรับชั้นเรียนให้กับผู้เรียนนั้น สถานศึกษาควรจัดทำอย่างสม่ำเสมอ






Free TextEditor


Create Date : 13 กันยายน 2551
Last Update : 13 กันยายน 2551 20:54:25 น. 1 comments
Counter : 4756 Pageviews.

 
แนวการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยได้ศึกษาข้อมูลแล้วมีประโยชน์มากซึ่งครูผู้จัดประสบการณ์ให้กับเด็กต้องคำนึงถึงวัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กปฐมวัยควรจัดให้เด็กเกิดองค์ความรู้โดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 จากการได้ลงมือปฎิบัติจริงเรียนจากรูปธรรมไปหานามธรรม จากง่ายไปยาก มีการวัดผลประเมินผลจากการสังเกต สอบถาม ตรวจผลงานเพื่อนำผลการประเมินไปปรับปรุงและพัฒนาการจัดประสบการณ์เพื่อให้เด็กเกิดองค์ความรู้ต่อไป


โดย: นางละเอียด ขวัญตน IP: 118.172.128.168 วันที่: 29 ตุลาคม 2553 เวลา:21:50:31 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

chotirosj
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ขอมีส่วนช่วยเด็กพิเศษ
Friends' blogs
[Add chotirosj's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.