ขอมีส่วนช่วยเด็กพิเศษ
Group Blog
 
 
กันยายน 2551
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
13 กันยายน 2551
 
All Blogs
 
เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน


เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยินไม่สามารถรับฟังเสียงได้เหมือนเด็กปกติ
ซึ่งอาจเป็นเด็กหูตึงหรือเด็กหูหนวกก็ได้ เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินมี 2
ประเภท คือ


1.เด็กหูตึง หมายถึง เด็กที่มีการได้ยินเหลืออยู่บ้าง
สามารถได้ยินได้ไม่ว่าจะใส่เครื่องช่วยฟัง
หรือไม่ก็ตามเด็กหูตึงจะมีระดับการได้ยินในหูที่ดีกว่าอยู่ระหว่าง 26-89เดซิเบล
ซึ่งคนปกติจะมีระดับการได้ยินอยู่ระหว่าง0-25 เดซิเบล


2. เด็กหูหนวก หมายถึง
เด็กที่สูญเสียการได้ยินในหูข้างที่ดีตั้งแต่ 90
เดซิเบลขึ้นไปไม่สามารถได้ยินเสียงพูดดัง
อาจรับรู้เสียงบางเสียงได้จากการสั่นสะเทือน



การให้ความช่วยเหลือ


เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
มีปัญหาทางการได้ยิน จึงไม่สามารถได้รับประโยชน์จากการฟัง-การพูดได้อย่างเต็มที่
ต้องใช้การสื่อสารวิธีอื่นแทนการใช้ภาษาพูด
วิธีการสื่อความหมายของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินอาจแบ่งเป็น 6 วิธี คือ


1. การพูด เหมาะสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินไม่มากนัก


2. ภาษา
เหมาะสำหรับเด็กที่สูญเสียการได้ยินมากหรือหูหนวกซึ่งไม่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ด้วยการพูดจึงใช้ภาษามือแทน


3. การใช้ท่าทาง หมายถึง
การใช้ท่าทางที่คิดขึ้นเองมักเป็นไปตามธรรมชาติโดยไม่ใช้ภาษามือและไม่ใช้น้ำเสียงแต่ใช้สายตาในการรับภาษา


4. การสะกดนิ้วมือ
คือการที่บุคคลใช้นิ้วมือเป็นรูปต่างๆแทนตัวพยัญชนะ สระ วรรณยุต์
ตลอดจนสัญลักษณ์อื่นของภาษาประจำชาติเพื่อสื่อภาษา


5. การอ่านริมฝีปาก เป็นวิธีการที่เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินรับภาษาพูดจากผู้อื่น
ดังนั้น การอ่านริมฝีปากจึงเป็นสิ่งแรกที่เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
จะต้องเรียนรู้วิธีการอ่านตั้งแต่คำแรกที่เรียนภาษาและเป็นสิ่งแรกที่เด็กต้องใช้ตลอดชีวิต


6. การสื่อสารรวม
คือการสื่อสารตั้งแต่สองวิธีขึ้นไป
เพื่อให้ผู้ฟังเดาความหมายในการแสดงออกของผู้พูดได้ดียิ่งขึ้นนอกจากการพูด
การใช้ภาษามือ การแสดงท่าทางประกอบแล้วก็อาจใช้วิธีอ่านริมฝีปาก การอ่าน
การเขียนหรือวิธีอื่นก็ได้






การเรียนร่วมระหว่างเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินกับเด็กปกติ


เมื่อมีเด็กมีความบกพร่องทางการได้ยินเข้ามาเรียนร่วมในชั้นเรียน
ครูผู้สอนควรปฏิบัติดังนี้


1. ควรให้เด็กที่มีความบกพร่องนั่งในตำแหน่งที่สามารถมองเห็นและได้ยินผู้สอนได้


ชัดเจน


2. ใช้ท่าทางประกอบคำพูดเพื่อให้เด็กเข้าใจคำพูดของครุแต่ไม่ควรแสดงท่าทางมา


จนเกินไป


3. ครูควรเขียนกระดานมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่มีความสำคัญ เช่น


นิยาม คำสั่ง หรือการบ้าน เป็นต้น


4. อย่าพูดขณะเขียนกระดานเพราะเด็กไม่สามารถอ่านปากของครูได้


5. เมื่อต้องการพูดคุยกับเด็กควรใช้วิธีเรียกชื่อ
ไม่ควรใช้วิธีแตะสัมผัส เป็นการฝึกให้เด็ก


รู้จักฟัง


6. จัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)


7. ก่อนลงมือสอนควรตรวจเช็คเครื่องช่วยฟังว่าทำงานหรือไม่


8. ให้โอกาสแก่เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินออกมารายงานหน้าชั้น
ทั้งนี้เพื่อให้


เด็กได้มีโอกาสแสดงออกด้วยการพูด และขณะเดียวกัน
ก็เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กปกติได้ฝึกฟังการพูดภาษาของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน


9. หากเด็กปกติออกมาพูดหน้าชั้น ครูผู้สอนควรสรุปสิ่งที่เด็กปกติพูดให้เด็กที่มีความ


บกพร่องทางการได้ยินฟังด้วย



การประเมินผล


การประเมินผลสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
ให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ในแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล
ของนักเรียนแต่ละคนอย่างน้อยภาคเรียนละหนึ่งครั้ง วิธีจัดและประเมินผลก็ทำเช่นเดียวกันกับการจัดผลประเมินผลปกติ
คือใช้แบบทดสอบ การสังเกตการสนทนา ให้ลงมือปฏิบัติตามคำสั่ง ทดสอบปากเปล่า
ซึ่งจุดมุ่งหมายสำคัญเกี่ยวกับการวัดผลและประเมินผลจะกำหนดไว้ในแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล










Free TextEditor


Create Date : 13 กันยายน 2551
Last Update : 13 กันยายน 2551 20:18:38 น. 4 comments
Counter : 14050 Pageviews.

 
อยากให้มีการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มแต่ละประเภทของเด็กที่เป็น คงดีมากๆๆกว่านี้เลยค่ะ


โดย: ตะวันฉาย IP: 202.28.35.3 วันที่: 25 ธันวาคม 2551 เวลา:13:45:51 น.  

 
ได้รับความรู้ดีมาก


โดย: เพ็ญศิริ ภุชฌงค์ IP: 111.84.129.39 วันที่: 7 พฤศจิกายน 2553 เวลา:7:06:49 น.  

 
ขอต้อนรับเข้าสู่ DMED hearing Center แหล่งขายอุปกรณ์เครื่องช่วยฟังออนไลน์ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าทุกท่าน ลดเวลาการเดินทางและได้สินค้าที่ได้มาตรฐานจากผู้ผลิตที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก
สินค้าทุกชิ้นทางบริษัท จัดส่งสินค้าผ่านช่องทาง EMS เพื่อประหยัดเวลาในการส่งและถึงมือของท่านได้อย่างรวดเร็วที่สุด ทั้งยังสามารถตรวจสอบสถานะ การจัดส่งได้ตลอดเวลา (ระยะเวลาในการส่ง กรุงเทพฯ 1 – 2 วันทำการ ต่างจังหวัด 2 – 3 วันทำการ )
เมื่อมีปัญหาในการซื้อสินค้าออนไลน์ กรุณาติดต่อ 02 668 1300 ทางเราจะแก้ไขปัญหาของท่านทันทีที่ได้รับแจ้ง ฉลองเปิดเว็บไซด์ใหม่ สินค้าประเภทแบตเตอรี่ ลดราคาพิเศษเหลือแผงละ 250 บาท จากราคาปกติแผงละ 300 บาท
เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ลูกค้าทุกท่าน ในช่วงฉลองเว็บไซด์ใหม่ ทางบริษัทจะจัดส่งสินค้าผ่านทาง EMS โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้นไม่ว่าท่านจะอยู่ในกรุงเทพ หรือต่างจังหวัด
หมายเหตุ กรุณาซื้อสินค้ามีมูลค่ารวมมากกว่าหรือเท่ากับ 500 บาทขึ้นไปต่อการจัดส่ง 1 ครั้ง


โดย: ขายแบตเตอรี่เครืองช่วยฟัง ราคาถูกรับประกันคุณภาพ จัดส่งฟรี IP: 115.87.128.130 วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:9:04:01 น.  

 
สูนย์คืนเสียงได้เปิดรับการฝึกด้านเตรียมความพร้อมกระตุ้นพัฒนาการให้กับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและการฝึกฟังฝึกพูด
จากครูการศึกษาพิเศษที่มีประสบการณ์นานเกือบ20 ปี สนใจติดโทรปรึกษาได้ที่ 0846768774


โดย: สูนย์คืนเสียง IP: 110.169.234.158 วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา:10:21:03 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

chotirosj
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ขอมีส่วนช่วยเด็กพิเศษ
Friends' blogs
[Add chotirosj's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.