ขอมีส่วนช่วยเด็กพิเศษ
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2551
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
24 พฤศจิกายน 2551
 
All Blogs
 
พัฒนาการด้านอารมณ์และสังคม

พัฒนาการด้านอารมณ์และสังคม


                               แม้ว่าเด็กวัยประถมศึกษาจะเรียนรู้การควบคุมอารมณ์  แต่ผู้ใหญ่ควรจะคำนึงถึง        ความแตกต่างกันมาก  เด็กบางคนยังมีความกลัวสัตว์  เช่น  งู  แม้ว่าจะเป็นงูที่ไม่มีพิษ  กลัวความมืด   กลัวที่สูง  กลัวฟ้าผ่า  ฟ้าร้อง  แต่สิ่งที่เด็กวัยนี้กลัวที่สุดก็คือ  กลัวว่าจะถูกล้อเพราะความแตกต่าง            กับเพื่อน  นอกจากความกลัว  เด็กวัยนี้ยังมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเรียน  กลัวว่าจะสอบไม่ได้            จะถูกทำโทษ  หรือกลัวว่าเพื่อนจะไม่ชอบ  ถ้าเด็กมีความวิตกกังวลมากอาจจะแสดงพฤติกรรมที่แตกต่างกัน  บางคนอาจจะซึม  ไม่ตั้งใจเรียน  นอนหลับในห้องเรียน  บางคนอาจแสดงออกโดยการไม่หยุดนิ่ง   มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย  หรือแสดงพฤติกรรมที่ทำความแปลกใจให้แก่คนอื่น  เด็กวัยนี้เวลาที่มีอารมณ์โกรธอาจจะมีการต่อสู้กันทางร่างกาย  หรืออาจจะด้วยวาจาโดยการล้อหรือตั้งสมญา  พูดจาถากถาง       ขู่  หรือบางครั้งอาจจะไม่พูดกับคนที่ทำให้โกรธ  การแสดงออกอารมณ์โกรธจะแตกต่างกันในหมู่


เด็กหญิงและเด็กชาย  เด็กหญิงอาจจะต้องให้เวลาโกรธ  การช่วยเด็กที่แสดงความโกรธโดยการทำร้ายผู้อื่นควรจะใช้การอธิบายให้เด็กเข้าใจพฤติกรรมที่แสดงไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมและควรจะหา


ตัวอย่างแบบเพื่อนร่วมวัยที่มีพฤติกรรมดีที่เด็กจะเลียนแบบได้  นอกจากนี้  ครูควรพยายามให้แรงเสริมเวลาเด็กสามารถระงับความโกรธได้  การลงโทษเด็กโดยเฉพาะการตีหรือการลงโทษให้เจ็บกายจะเป็นการส่งเสริมให้เด็กแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวเวลาโกรธมากขึ้น


                               นอกจากอารมณ์ต่าง ๆ ดังกล่าว  เด็กวัยนี้เป็นวัยที่เต็มไปด้วยความร่าเริงปิติเบิกบาน  เด็กจะสนุกในการเล่น  จากการที่ประสบความสำเร็จในกิจกรรมที่ทำ  ทั้งทางด้านการเรียนและในการเล่นเกมต่าง ๆ  ข้อสำคัญที่สุด  เด็กจะต้องประสบความสำเร็จ  รู้ว่าตนมีสมรรถภาพ


                               สำหรับพัฒนาการด้านสังคม  เด็กวัยนี้จะมีสังคมพิเศษเฉพาะของเด็ก  เด็กมักจะรวมกลุ่มตามเพศ  การเล่นเกมต่าง ๆ  ก็มักจะแบ่งตามเพศ  เพื่อนจะมีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อพฤติกรรม  ทัศนคติ  และค่านิยมของเด็กวัยนี้  เด็กที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับเพื่อน ๆ  ในวัยนี้จะไม่มีปัญหาในการปรับตัวเวลาที่เป็นผู้ใหญ่  สำหรับเด็กที่มีปัญหาควรจะได้รับการช่วยเหลือจากครู  การใช้สังคมมติจะช่วยครูให้ทราบว่า  ใครเป็นคนที่เพื่อนรักหรือชอบมากและใครบ้างที่เพื่อนไม่ชอบ เด็กที่ถูก         ทุกคนไม่ยอมรับเป็นเพื่อนมักจะมีปัญหาด้านความประพฤติ  ซึ่งจำเป็นจะต้องได้รับการแก้ไข               การช่วยเหลือของครูจึงจำเป็นมาก


                               เด็กวัยประถมศึกษาเป็นวัยที่เริ่มที่จะใช้เวลาส่วนมากอยู่กับเพื่อน  และเริ่มเรียนรู้ที่จะให้ความร่วมมือ  รู้จักให้และรับ  เด็กจะใช้เวลากับเพื่อนร่วมวัยมากขึ้น  เพื่อนร่วมวัยเป็น  Socialization  Agent  ที่สำคัญ  เด็กจะเลียนแบบพฤติกรรมต่าง ๆ จากเพื่อน  เพื่อนเป็นผู้ให้แรงเสริม  ขณะเดียวกันจะเป็นผู้ประเมินพฤติกรรมให้คำติชม  ดังนั้น  ปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนจึงสำคัญมาก  เด็กบางคนอาจจะมีปัญหาไม่มีเพื่อน  ครูควรจะพยายามหาทางช่วยโดยพยายามหาสาเหตุว่าอะไรเป็นเหตุที่ทำให้เพื่อน         ไม่ยอมรับและพยายามหาทางแก้ไข  นอกจากนี้การมีเพื่อนสนิทก็สำคัญสำหรับเด็กวัยนี้  จากการวิจัยพบว่า  วัยเด็กประถมศึกษาเป็นวัยที่มีความสุข  ความพึงพอใจเกี่ยวกับวัยของตนตรงข้ามกับเด็กวัยรุ่น  ซึ่งไม่มีความพึงพอใจในวัยของตน  วัยรุ่นบางคนอยากจะกลับไปอยู่ในวัยเด็กประถมฯ  เพราะเป็นวัยที่มีความสุข  บางคนอยากจะเป็นผู้ใหญ่เร็วขึ้น  และเมื่อถามผู้ใหญ่ว่าวัยไหนเป็นวัยที่มีความสุขที่สุด  ส่วนมากจะบ่งว่าวัยเด็กประถมศึกษา  ผู้ใหญ่บางคนยังสามารถเล่าเหตุการณ์และประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในวัยนั้นได้เป็นอย่างดี  ดังนั้นจึงไม่เป็นการยากที่ครูจะช่วยเด็กวัยนี้ให้มีความสุข


                               พัฒนาการของวัยเด็กระยะกลาง  (อายุ 6 – 12 ปี)


                               1.      เรียนรู้ที่จะใช้ทักษะทางร่างกายที่จำเป็นสำหรับการเล่นเกมต่าง ๆ


                               2.      สร้างทัศนคติที่ดีต่อตนเองในฐานะเป็นมนุษย์


                               3.      เรียนรู้ในการปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนร่วมวัย


                               4.      เรียนรู้บทบาททางสังคมที่เหมาะสมสำหรับเพศชายและเพศหญิง


                               5.      พัฒนาทักษะพื้นฐานในการอ่าน  การเขียน  และการคิดคำนวณ


                               6.      พัฒนาความคิดรวบยอดที่จำเป็นสำหรับชีวิตประจำวัน


                               7.      พัฒนามาตรฐานจริยธรรม  มโนธรรม  และค่านิยม


                               8.      มีความอิสระ  สามารถที่จะทำอะไรด้วยตนเอง


                               9.      พัฒนาทัศนคติต่อสังคมและสถาบันสังคม


ที่มา   :   สุรางค์  โค้วตระกูล.  (2548)  จิตวิทยาการศึกษา.  พิมพ์ครั้งที่ 6.  กรุงเทพฯ  :  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.






Free TextEditor


Create Date : 24 พฤศจิกายน 2551
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2551 18:50:33 น. 34 comments
Counter : 10618 Pageviews.

 
คำเดียวเลยครับ งง -*-


โดย: หาข้อมูลทำรายงาน IP: 202.57.177.218 วันที่: 6 มิถุนายน 2552 เวลา:11:35:26 น.  

 

เยี่ยมค่ะ เพราะชอบอ่านจิตวิทยาเด็ก เพื่อนำไปใช้ในการปรับพฤติกรรมเด็ก และใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาในเด็กแต่ละคนซึ่งมีปัญหาที่หลากหลายแตกต่างกันไป แต่ก็เป็นปัญหาของเด็กประถมที่สามารถแก้ได้ง่ายๆ โดยการใช้จิตวิทยานี่แหละค่ะ ขอบคุณนะคะ


โดย: สุริยาพร รัชนิพนธ์ IP: 223.205.79.194 วันที่: 16 ตุลาคม 2553 เวลา:20:01:12 น.  

 
ได้ศึกษาบทเรียนนี้แล้วครับ เยี่ยมมาก ทำให้เข้าใจพัฒนาการของเด็กยิ่งขึ้น


โดย: บุญเหลือ กิ่มเกิด IP: 118.172.157.218 วันที่: 25 ตุลาคม 2553 เวลา:13:26:21 น.  

 

การสอนเด็กที่มาจากสิ่งแวดล้อม การเลี้ยงดู การที่ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ ฯลฯบทเรียนนี้ให้ความรู้ที่ดีมากเพราะต้องอยู่กับเด็กที่มีจำนวนมาก


โดย: รุ่งรัตน์ กุดแถลง IP: 223.206.222.154 วันที่: 27 ตุลาคม 2553 เวลา:7:45:18 น.  

 

จากการเรียนรู้จากบทเรียนนี้แล้วนำมาประกอบจากประสบการณ์จริงที่ได้ปฎิบัติอย่ตรงกันแลเยี่ยมมากค่ะ


โดย: ชูศรี สุทธะมี IP: 223.205.173.154 วันที่: 28 ตุลาคม 2553 เวลา:6:43:16 น.  

 
การอบรมเลี้ยงดูที่ดี ให้ความรักความอบอุ่นกับเด็กเป็นการสร้างเกราะที่แข็งแรงให้เด็กในภายภาคหน้า เป็นอานิสงค์ของครูปฐมวัยนะคะ


โดย: กฤตติการ มงคลวิสุทธิ์ IP: 118.172.126.62 วันที่: 30 ตุลาคม 2553 เวลา:12:11:14 น.  

 
ดีมากค่ะ ทำให้ครูเข้าใจพฤติกรรมเด็ก และแก้ปัญหาได้ถูกต้อง ถูกทาง ไม่ใช่เอาแต่ลงโทษ บทเรียนนี้ก็ส่อให้ครูปฐมวัยเห็นแนวทางในการอบรมเลี้ยงดูเด็กให้ดีเป็นอย่างไร เพื่อขึ้นชั้นต่อไปจะได้มีปัญหาลดลง หรือไม่มีเลย


โดย: สุวารี ไกรบำรุง IP: 182.93.186.67 วันที่: 31 ตุลาคม 2553 เวลา:12:43:43 น.  

 
การอบรมเลี้ยงดูที่ดี ให้ความรักความอบอุ่นกับเด็กทำให้เด้กมีพัฒนาการที่ดี รู้จักแก้ปัญหา ต่อไปในอนาคตเด็กจะได้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข


โดย: ว่าที่ร.ต.หญิงสาธิกา ธนะสีลังกูร IP: 118.173.216.52 วันที่: 1 พฤศจิกายน 2553 เวลา:11:11:21 น.  

 
การจัดสภาพแวดล้อมที่ดี เริ่มจากครอบครัวที่อบอุ่นสามารถส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์และสังคมของเด็กได้ดีคะ


โดย: นางละเมาะ สมศรีแสง IP: 61.19.66.185 วันที่: 1 พฤศจิกายน 2553 เวลา:21:58:49 น.  

 
จากการศึกษาบทเรียนทำได้ความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการด้านอารมณ์และสังคมของเด็กเพิ่มขึ้นมากคะ่


โดย: นางวิยะดา พลรักษ์ IP: 125.26.127.130 วันที่: 2 พฤศจิกายน 2553 เวลา:22:37:15 น.  

 


ทำให้ทราบถึงอารมณ์ของเด็กต่างวัยกันและการมีพัฒนาการทางสังคมได้มากขึ้น การปรับตัวเข้าหาเพื่อน
มีอิสระในการทำงานมากขึ้นครูผู้สอนนำไปใช้ได้เลยขอขอบคุณค่ะ


โดย: ชูศรี สุทธะมี IP: 117.47.186.32 วันที่: 3 พฤศจิกายน 2553 เวลา:6:22:27 น.  

 
สภาพครอบครัวที่อบอุ่น การอบรมเลื้ยงดูที่ดืจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กดีขึ้น


โดย: ครูวร IP: 110.49.193.104 วันที่: 4 พฤศจิกายน 2553 เวลา:0:47:11 น.  

 
ครูผู้สอนต้องมีความรู้ความเข้าใจในพัฒนาการด้านอารมณ์ และสังคมของเด็กแต่ละวัย เช่นเด้กปฐมวัยยังไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ ชอบเล่นแบบคู่ขนาน ชอบเลียนแบบผู้ที่ตนรัก ครูจึงควรจัดหาสื่อของเล่นให้เพียงพอ ให้ความรักความอบอุ่น ชมเชยเด็ก และปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็กทั้งทางกาย วาจา และใจ เป็นต้น


โดย: นางมาณวิกา บุญรินทร์ IP: 180.180.56.218 วันที่: 4 พฤศจิกายน 2553 เวลา:4:25:37 น.  

 



ทุกอย่างเป็นไปตามพติกรรมเด็กแสดงออกตามวัย

ครูต้องเข้าใจเด็กด้วย


โดย: นางวิญญาณ์ เถาว์ชาลี IP: 125.26.232.83 วันที่: 5 พฤศจิกายน 2553 เวลา:0:21:35 น.  

 
สิ่งแวดล้อมมีความสำคัญต่อพฤติกรรมเด็กโดยเพราะครอบครัว


โดย: อำไพ กองเพชร IP: 182.93.226.61 วันที่: 5 พฤศจิกายน 2553 เวลา:10:02:41 น.  

 
พฤติกรรมตามวัย


โดย: อำไพ กองเพชร IP: 182.93.226.61 วันที่: 5 พฤศจิกายน 2553 เวลา:10:13:24 น.  

 
ในการปรับพฤติกรรมเด็ก และใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาในเด็กแต่ละคนซึ่งมีปัญหาที่หลากหลายแตกต่างกันไป แต่ก็เป็นปัญหาของเด็กประถมที่สามารถแก้ได้ง่ายๆ โดยการใช้จิตวิทยา ดังนั้นครูผู้สอนต้องมีความรู้ความเข้าใจในพัฒนาการด้านอารมณ์ และสังคมของเด็กแต่ละวัย เช่นเด้กปฐมวัยยังไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ ชอบเล่นแบบคู่ขนาน ชอบเลียนแบบผู้ที่ตนรัก ครูจึงควรจัดหาสื่อของเล่นให้เพียงพอ ให้ความรักความอบอุ่น ชมเชยเด็ก และปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็กทั้งทางกาย วาจา และใจ


โดย: เพ็ญศิริ ภุชฌงค์ IP: 115.67.111.184 วันที่: 6 พฤศจิกายน 2553 เวลา:20:53:39 น.  

 
ข้าพเจ้าเข้ามาทบทวนครั้งที่ 2 ทำให้เข้าใจพฤติกรรมเด็ก และแก้ปัญหาได้ถูกต้อง มากยิ่งขึ้น


โดย: เพ็ญศิริ ภุชฌงค์ IP: 111.84.129.39 วันที่: 7 พฤศจิกายน 2553 เวลา:4:38:50 น.  

 
การอบรมเลี้ยงดูที่ดี ให้ความรักความอบอุ่นกับเด็กทำให้เด้กมีพัฒนาการที่ดี รู้จักแก้ปัญหา ต่อไปในอนาคตเด็กจะได้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข


โดย: นางอารี บุณยานุเคราะห์ IP: 110.49.205.223 วันที่: 11 พฤศจิกายน 2553 เวลา:0:01:36 น.  

 
ได้ศึกษาแล้วได้ความรู้ด้านอารมณ์และนสังคมเด็กมากขึน


โดย: นิตยา ขุนอำไพ IP: 118.173.206.146 วันที่: 11 พฤศจิกายน 2553 เวลา:22:03:32 น.  

 
นำการพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในแต่ละช่วงวัยไปแก้ไขในการพัฒนาด้านอารมฌ์และสังคมให้เหมาะสมกับวัย


โดย: เทวี ราชาตัน IP: 118.172.23.92 วันที่: 14 พฤศจิกายน 2553 เวลา:8:21:16 น.  

 
การอบรมเลี้ยงดูที่ดี ให้ความรักความอบอุ่นกับเด็กทำให้เด้กมีพัฒนาการที่ดี รู้จักแก้ปัญหา ต่อไปในอนาคตเด็กจะได้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข




โดย: นางชัชฎา บริพันธ์ IP: 58.147.59.16 วันที่: 14 พฤศจิกายน 2553 เวลา:8:54:47 น.  

 
เด็กหญิงและเด็กชาย เด็กหญิงอาจจะต้องให้เวลาโกรธ การช่วยเด็กที่แสดงความโกรธโดยการทำร้ายผู้อื่นควรจะใช้การอธิบายให้เด็กเข้าใจพฤติกรรมที่แสดงไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมการอบรมเลี้ยงดูที่ดี ให้ความรักความอบอุ่นกับเด็กทำให้เด้กมีพัฒนาการที่ดี รู้จักแก้ปัญหา ต่อไปในอนาคตเด็กจะได้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข



โดย: นางอำภา เวียงเกตุ IP: 223.206.227.127 วันที่: 16 พฤศจิกายน 2553 เวลา:20:48:27 น.  

 
ให้ความรักความอบอุ่นกับเด็กทำให้เด้กมีพัฒนาการที่ดี รู้จักแก้ปัญหา ต่อไปในอนาคตเด็กจะได้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุ


โดย: มยุรี IP: 182.93.200.58 วันที่: 17 พฤศจิกายน 2553 เวลา:14:38:34 น.  

 
ได้รับความรู้ดีมากค่ะ เพราะเด็กปฐมวัยเป็นวัยที่ต้องปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนและบุคคลรอบตัวถ้าเรารู้วิธีการดูแลเด็กในภาวะอารมณ์ต่างๆจะช่วยลดปัญหาในชั้นเรียนได้ดีและไม่มีผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็ก ขอบคุณค่ะ


โดย: นางทวี ปิติรัตน์ IP: 113.53.90.112 วันที่: 19 พฤศจิกายน 2553 เวลา:23:24:37 น.  

 
ศึกษาแล้วดีมากขอบคุณค่ะอาจารย์


โดย: สมจิตร วิสุทธิ์ IP: 182.93.141.214 วันที่: 20 พฤศจิกายน 2553 เวลา:16:05:49 น.  

 
พฤติกรรมของเด็กแต่ละวัยมีผลกระทบจากสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็กซึ่งเป็นสิ่งที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์และสังคมของเด็ก


โดย: วิภาภรณ์ เมืองเกิด IP: 118.175.188.174 วันที่: 22 พฤศจิกายน 2553 เวลา:21:00:04 น.  

 
การตีเด็กบ่อยๆ ไม่ควรทำค่ะ


โดย: พนิดา ปัดชา IP: 223.206.19.200 วันที่: 27 พฤศจิกายน 2553 เวลา:21:22:36 น.  

 
การจัดสภาพแวดล้อมที่ดี เริ่มจากครอบครัวที่อบอุ่นสามารถส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์และสังคมของเด็ก สิ่งแวดล้อมมีความสำคัญต่อพฤติกรรมเด็กมากโดยเพราะครอบครัว


โดย: สายใจ ภูสีเขียว IP: 203.172.248.20 วันที่: 29 พฤศจิกายน 2553 เวลา:18:02:32 น.  

 
พฤติกรรมด้านสังคมอารมณ์ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของครอบครัวพ่อแม่ควรดูแลลูกให้ดี


โดย: นางนงนุช บุญที IP: 182.232.143.62 วันที่: 30 พฤศจิกายน 2553 เวลา:7:09:06 น.  

 
สิ่งแวดล้อมเป็นส่วนหนึ่งที่มีผลต่อพฤติกรรมทางด้านอารมณ์และสังคมของเด็กในวัยนี้


โดย: หทัยทิพย์ อัมหธร IP: 110.49.232.159 วันที่: 21 เมษายน 2555 เวลา:11:56:04 น.  

 
การลงโทษเด็กโดยเฉพาะการตีหรือการลงโทษให้เจ็บกายจะเป็นการส่งเสริมให้เด็กแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวเวลาโกรธมากขึ้น ข้อนี้เห็นด้วยเป็นที่สุดค่ะ เพราะเจอมาแล้วค่ะ


โดย: รุ้งทอปัด ศรีทองมา IP: 110.49.234.111 วันที่: 18 พฤษภาคม 2555 เวลา:18:15:24 น.  

 
ศึกษานักเรียนรายบุคคล


โดย: จินตภาณัฏฐ์ อินทองช่วย IP: 113.53.209.201 วันที่: 23 พฤษภาคม 2555 เวลา:18:03:05 น.  

 
เด็กชายเล่นของเสียหายพรุ่งนี้ไม่มาโรงเรียนชอบเล่นของเสียหาย,แรง ๆ มี 1 - 3 คน คะ เล่าสู่ฟัง ห้า ห้า ห้า


โดย: ธัชกร ผิวงาม IP: 171.98.7.0 วันที่: 9 มิถุนายน 2555 เวลา:20:09:04 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

chotirosj
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ขอมีส่วนช่วยเด็กพิเศษ
Friends' blogs
[Add chotirosj's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.