ขอมีส่วนช่วยเด็กพิเศษ
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2551
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
24 พฤศจิกายน 2551
 
All Blogs
 
พัฒนาการทางบุคลิกภาพ

พัฒนาการทางบุคลิกภาพ


                               เด็กวัยนี้เป็นวัยที่นักจิตวิทยาพัฒนาการอีริคสัน (Erikson)  เรียกว่า  เป็นวัยแห่งการเป็น ผู้คิดริเริ่มการรู้สึกผิด (Initiative vs Guilt) เป็นวัยที่เต็มไปด้วยพลังงานที่จะเริ่มงาน มีความคิดริเริ่ม         ที่จะทำสิ่งใหม่ ๆ  ชอบประกอบกิจกรรมต่าง ๆ  ด้วยตนเองอย่างอิสระ  ผู้ใหญ่  เช่น  บิดา  มารดา  หรือครูควรจะพยายามช่วยเหลือและสนับสนุนมากกว่าดุหรือห้าม  เพราะการดุและห้ามอาจจะทำให้เด็กมีความขัดแย้งในใจ  และรู้สึกผิด  ทำให้เด็กเก็บกดความคิดริเริ่ม  ฟรอยด์ได้กล่าวว่า  เป็นวัยที่เด็กมีปมเอ็ดดิปุส  และพยายามที่จะหาวิธีแก้ปัญหาความขัดแย้งในใจ  โดยการเลียนแบบพฤติกรรมพ่อหรือแม่ที่มีเพศเดียวกับตน  ดังนั้น  ในระยะสุดท้ายของวัยอนุบาลราว ๆ  5 ขวบ  เด็กชายและเด็กหญิงจะเริ่มแสดงพฤติกรรมที่บ่งถึงความแตกต่างระหว่างเพศ  เด็กชายจะทำตนเหมือน “ผู้ชาย”   เด็กหญิงจะทำตนเหมือน “ผู้หญิง”  นักจิตวิทยาที่สนใจเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างเพศแต่ไม่เห็นด้วยกับทฤษฎีของฟรอยด์           ได้พยายามตั้งทฤษฎีเพื่ออธิบายความแตกต่างระหว่างเพศขึ้น  ทฤษฎีที่สำคัญ มีดังนี้คือ  ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมของบันดูรา  และทฤษฎีพัฒนาการปัญญานิยมของโคลเบิร์ก


                               บันดูรา  อธิบายว่า  ความแตกต่างของพฤติกรรมระหว่างเพศเกิดจากการเรียนรู้             โดยการสังเกตทุกสังคมตั้งความคาดหวังเกี่ยวกับพฤติกรรมของชายและหญิงไว้ด้วยกัน  เวลาที่เด็กชายแสดงพฤติกรรมเหมือน  “ผู้ชาย”  โดยการสังเกต  หรือเลียนแบบก็มักจะได้รับรางวัล  สำหรับเด็กหญิง       ก็เช่นเดียวกันพฤติกรรมที่เหมือนกับ  “ผู้หญิง”  มักจะได้รับการสนับสนุนหรือได้รับรางวัล เด็กชายและหญิงพยายามแสดงบทบาทตามเพศของตนตามที่สังคมได้ตั้งความคาดหวังไว้


                               สำหรับโคลเบอร์ก  กล่าวว่า  ความเข้าใจเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างเพศเกิดพร้อม ๆ    กับการพัฒนาการทางระดับเชาวน์ปัญญา  ซึ่งโคลเบอร์กแบ่งออกเป็น  3  ระดับ  ดังต่อไปนี้


                               ระดับแรก  เป็นระยะที่เด็กชายหญิงรู้อย่างชัดเจนว่า  ตนเป็นชายหรือหญิง  เป็นต้นว่า         รู้ความแตกต่างของอวัยวะเพศ  โคลเบิร์กเรียกระดับนี้ว่า  “Basic  Gender  Identity”


                               ระดับที่ 2     เป็นระยะที่เข้าใจความคงตัว  หรือคงที่ของเพศ  เช่น  ถ้าเป็น  “ผู้ชาย”  ก็จะเป็นผู้ชายตลอด  “ผู้หญิง”  ก็เป็นผู้หญิงตลอด  แลกเปลี่ยนกันไม่ได้  โคลเบิร์ก  เรียกระดับนี้ว่า  “Gender  Stability”


                               ระดับที่ 3     เป็นระยะที่เด็กหญิงและเด็กชายทราบว่า  ความแตกต่างระหว่างเพศเป็นสิ่งถาวร  เปลี่ยนแปลงไม่ได้  แม้ว่าจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่แสดงออก  หรือเปลี่ยนการแต่งตัวเด็กชายและเด็กหญิงทราบว่า  แม้จะแต่งตัวเหมือนกัน  เช่น  นุ่งกางเกงใส่เสื้อเหมือนกัน  เด็กหญิงก็ยังคงเป็นเด็กหญิง  เด็กชายก็ยังคงเป็นเด็กชาย  โคลเบิร์ก  เรียกระดับนี้ว่า  “Gender  Constancy” โคลเบิร์ก  กล่าวว่า  เด็กชายและหญิงจะมีความเข้าใจเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างเพศอย่างแท้จริงก็ต่อเมื่อมีอายุราว ๆ  6  ขวบ


                               ซานดรา  เบ็ม  (Sandra  Bem,  1985)  อธิบาย  Sex  typing  ว่าเป็นสิ่งที่เด็กหญิงและเด็กชาย  เรียนรู้จาก  schemas  เกี่ยวกับเรื่องเพศของแต่ละวัฒนธรรม  ดังนั้น  เด็กหญิงและเด็กชายจะจัดรวบรวมพฤติกรรมของหญิงและชายเป็น  Schemas  หญิงและชาย  และทราบความแตกต่าง


                               เนื่องจากสังคมแต่ละสังคมได้ตั้งความคาดหวังเกี่ยวกับพฤติกรรมของชายหญิงไว้แตกต่างกัน  การเรียนรู้พฤติกรรมตามเพศของเด็กในวัยนี้จึงสำคัญมาก  เพราะจะช่วยเด็กในการปรับตัวทั้งด้านอารมณ์และสังคม


                               ลักษณะทางบุคลิกภาพที่เด่นชัดของเด็กวัยนี้คือ  การยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง (Egocentrism)  พีอาเจต์  ได้อธิบายว่า  เด็กวัยนี้ไม่สามารถที่จะเข้าใจความคิดเห็นของผู้อื่น  ดังนั้น          จึงเป็นการยากที่เด็กวัยนี้จะยอมรับความเห็นของผู้อื่น  เด็กวัยนี้จะคิดว่าสิ่งที่ตนรับรู้คนอื่นก็รับรู้ด้วย  การส่งเสริมให้เด็กได้มีโอกาสที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมวัย โดยมีผู้ใหญ่ให้ความช่วยเหลือ            จะช่วยให้การยึดตนเองเป็นศูนย์กลางของเด็กลดลง  (Piaget  and  Inhelder,  1967)


                               ตัวแบบในสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก  เช่น  บิดา  มารดา  ครู  และเพื่อนร่วมวัย  รวมทั้ง   สิ่งที่เห็นจากโทรทัศน์  จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของเด็กวัยนี้มาก  การใช้ภาษามาตรฐานทางศีลธรรมและค่านิยมต่าง ๆ  เด็กวัยนี้ควรจะได้รับการเรียนรู้โดยการสังเกตเกี่ยวกับพฤติกรรมเสริมสร้างสังคม        ต่าง ๆ  (Prosocial  Behaviors)  ตัวอย่างเช่น  การแสดงความเมตตาต่อเพื่อน  สัตว์เลี้ยง  และการแสดงความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  แบ่งของเล่น  และขนมให้เพื่อน  นอกจากการเรียนรู้จากตัวแบบจริงแล้ว                 ครูอาจจะใช้การเล่านิทาน  การใช้บทบาทสมมติช่วยในการสอน






Free TextEditor


Create Date : 24 พฤศจิกายน 2551
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2551 18:37:22 น. 12 comments
Counter : 2067 Pageviews.

 

ได้รับความรู้ดีมากค่ะ สำหรับเด็กปฐมวัยแล้ว การเป็นแบบอย่างที่ดีในทุกด้านทุกๆเรื่อง ของพ่อ แม่และครู เป็นสิ่งจำเป็นมากและมากที่สุด คิดว่าอย่างนั้นนะคะ


โดย: สุริยาพร รัชนิพนธ์ IP: 223.205.79.194 วันที่: 16 ตุลาคม 2553 เวลา:20:48:06 น.  

 


เด็กมีเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างเพศเด็กจะร้ด้วยตัวเองชอบเล่นแยกกันแต่บางครั้งเด็กก็เล่นรวมกันสิ่งแวดล้อมในตัวเด็กและสิ่งที่เห็นรอบๆตัวมีอิทธิพลของเด็กวัยน้มาศึกษาแล้วเข้าใจดีค่ะขอบคุณค่ะ


โดย: ชูศรี สุทธะมี IP: 117.47.78.17 วันที่: 29 ตุลาคม 2553 เวลา:23:16:34 น.  

 
เด็กเรียนรุ้จากการเลียนแบบ เพราะฉะนั้น บุคคลที่เป็นพ่อ แม่ ผู้ปกครอง และครู ควรเป็นแบบอย่างที่ดี และสอนไปในทางเดียวกัน ไม่ให้เด็กเกิดการสับสน


โดย: สุวารี ไกรบำรุง IP: 182.93.186.67 วันที่: 31 ตุลาคม 2553 เวลา:12:50:22 น.  

 
ได้เรียนรู้ในทฤษฎีต่างๆ เด็กมีความแตกต่างกันเข้าใจในตัวเด็กมากขึ้น


โดย: ว่าที่ร.ต.หญิงสาธิกา ธนะสีลังกูร IP: 118.173.216.52 วันที่: 1 พฤศจิกายน 2553 เวลา:11:31:14 น.  

 
ความแตกต่างระหว่างเพศเด็กๆจะรู้จักด้วยตัวเอง ชอบเล่นแยกกันแต่บางครั้งเด็กก็เล่นรวมกันสิ่งแวดล้อมในตัวเด็กและสิ่งที่เห็นรอบๆตัวมีอิทธิพลของเด็กวัยนี้มาก ขอบคุณสำหรับความรู้ที่ได้รับจ้า


โดย: เพ็ญศิริ ภุชฌงค์ IP: 115.67.111.184 วันที่: 6 พฤศจิกายน 2553 เวลา:21:13:39 น.  

 
เด็กวัยนี้รู้จักแบ่งแยกเพศได้อย่างชัดเจน มีการลอกเลียนแบบพฤติกรรมต่างๆในสิ่งทีเห็น สื่อ สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กมักมีอิทธิพล กับตัวเด็ก


โดย: รุ่งทิพย์ คงชน IP: 1.46.189.141 วันที่: 11 พฤศจิกายน 2553 เวลา:7:12:05 น.  

 
ได้เรียนรู้ทฤษฎีต่างเข้าใจเด็กมากขึ้น


โดย: นิตยา ขุนอำไพ IP: 118.173.206.146 วันที่: 11 พฤศจิกายน 2553 เวลา:22:17:56 น.  

 
เด็กวัยนี้เป็นวัยที่นักจิตวิทยาพัฒนาการอีริคสัน (Erikson) เรียกว่า เป็นวัยแห่งการเป็น ผู้คิดริเริ่มการรู้สึกผิด (Initiative vs Guilt) เป็นวัยที่เต็มไปด้วยพลังงานที่จะเริ่มงาน มีความคิดริเริ่ม ที่จะทำสิ่งใหม่ ๆ ชอบประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเองอย่างอิสระ ผู้ใหญ่ เช่น บิดา มารดา หรือครูควรจะพยายามช่วยเหลือและสนับสนุนมากกว่าดุหรือห้าม เพราะการดุและห้ามอาจจะทำให้เด็กมีความขัดแย้งในใจ และรู้สึกผิด ทำให้เด็กเก็บกดความคิดริเริ่ม ฟรอยด์ได้กล่าวว่า เป็นวัยที่เด็กมีปมเอ็ดดิปุส และพยายามที่จะหาวิธีแก้ปัญหาความขัดแย้งในใจ โดยการเลียนแบบพฤติกรรมพ่อหรือแม่ที่มีเพศเดียวกับตน ได้เรียนรู้ทฤษฎีต่างเข้าใจเด็กมากขึ้น


โดย: นางอำภา เวียงเกตุ IP: 223.206.227.127 วันที่: 16 พฤศจิกายน 2553 เวลา:20:56:21 น.  

 
ทำให้เข้าใจเด็กยิ่งขึ้น เพราะเด็กวัยนี้มีความอยากรู้ อยากลอง เป็นวัยที่กำลังเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัว


โดย: วิภาภรณ์ เมืองเกิด IP: 118.175.188.174 วันที่: 22 พฤศจิกายน 2553 เวลา:21:17:51 น.  

 
เด็กวัยนี้เกิดการเรียนรู้จากการเลียนแบบจากสิ่งต่างๆรอบตัวของเด็ก ดังนั้นผู้ปกครองควรคอยชี้แนะว่าสิ่งใดผิดสิ่งใดถูกอย่าใกล้ชิดให้เด็กได้ทราบ


โดย: หทัยทิพย์ อัมหธร IP: 110.49.235.47 วันที่: 22 เมษายน 2555 เวลา:10:32:42 น.  

 
ความแตกต่างระหว่างเพศเด็กๆจะรู้จักด้วยตัวเอง ชอบเล่นแยกกันแต่บางครั้งเด็กก็เล่นรวมกันสิ่งแวดล้อมในตัวเด็กและสิ่งที่เห็นรอบๆตัวมีอิทธิพลของเด็กวัยนี้มาก ขอบคุณสำหรับความรู้ที่ได้รับจ้า


โดย: สุทธิรัตน์ เหมาทองสุช IP: 223.206.118.212 วันที่: 6 มิถุนายน 2555 เวลา:19:40:39 น.  

 
จริงด้วย คะ ครูต้องพยายามหาข้อเสนอแนะวิธีมาชี้นำทางในสิ่งที่ดีที่ถูกต้อง


โดย: ธัชกร ผิวงาม IP: 171.98.7.0 วันที่: 9 มิถุนายน 2555 เวลา:20:49:16 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

chotirosj
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ขอมีส่วนช่วยเด็กพิเศษ
Friends' blogs
[Add chotirosj's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.