ขอมีส่วนช่วยเด็กพิเศษ
Group Blog
 
 
กันยายน 2551
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
7 กันยายน 2551
 
All Blogs
 

การบริหารจัดการการศึกษาเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้าง SEAT



...การศึกษาแห่งชาติ..2542และที่แก้ไข..2545ในมาตรา10ได้กล่าวไว้ชัดเจน
ในภารกิจที่รัฐต้องจัดการศึกษาสำหรับบุคคลที่บกพร่องด้านต่างๆ
โดยเฉพาะในวรรค 3 กำหนดว่าการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการให้จัดตั้งแต่แรกเกิดหรือทันทีที่พบความพิการเป็นจุดใหญ่
ที่ทำให้เกิดการตื่นตัวในเรื่องการจัดการศึกษาเพื่อคนพิการ และในปี พ
.. 2542
นี้เอง




กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดให้เป็นปีการศึกษาเพื่อคนพิการ มีนโยบายว่า
คนพิการทุกคนที่อยากเรียนต้องได้เรียน
มีการตื่นตัวมากในช่วงนั้นที่จะทำให้โรงเรียน
ทุกโรงเรียนสามารถสอนเด็กพิเศษได้ มีโรงเรียนทั่วไปที่จัดการเรียนร่วม
และการจัดการเรียนร่วม
นี้ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่ทำงานด้านการศึกษาพิเศษในการเตรียมเด็กพิการให้ได้
รับบริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม
จากการติดตามผลการดำเนินการที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันพบว่า โรงเรียนทั่วไปยังมีปัญหาในการบริหารจัดการเรียนร่วมและเกิดจากโรงเรียนยังไม่มีความรู้และ
ขาดทักษะในการจัดการศึกษาเรียนร่วม ผศ
. ดร. เบญจา ชลธาร์นนท์ ที่ปรึกษาด้านการศึกษาพิเศษ
และผู้ด้อยโอกาส สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงได้พัฒนาระบบโครงสร้าง
SEAT
เพื่อศึกษาว่าอะไรคือปัจจัยสำคัญใหญ่ๆ
ที่จะช่วยให้การบริหารจัดการโรงเรียนเรียนร่วมนี้
ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เด็กพิการสามารถเรียนร่วมได้อย่างมีความสุข
และมีการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของแต่ละบุคคล และเป็นที่มา
ของการพัฒนาระบบโครงสร้าง
SEAT



ผศ.ดร. เบญจา ชลธาร์นนท์ บอกว่า ในวงการศึกษาไทยได้พัฒนาโครงสร้าง SEAT ขึ้นมา โดยนำเอาแนวคิดการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม หรือ Inclusive Education ที่มุ่งเน้นให้โรงเรียน
เป็นองค์กรที่จะต้องปรับและเตรียมการ โรงเรียนจะทำอย่างไรที่จะช่วยให้เด็กทุกคนที่อยู่ในโรงเรียน
สามารถเรียนรวมกับคนอื่นได้ แทนที่จะเป็นการมุ่งเตรียมเด็ก
(พิเศษ) ให้พร้อมและมีคุณสมบัติถึงเกณฑ์
ที่โรงเรียนกำหนด นอกจากมีการเตรียมการในเรื่องต่างๆ
ที่กล่าวมานี้แล้ว นักวิชาการศึกษายังพบว่า
เด็กบางกลุ่มก็ยังมีความต้องการจำเป็นพิเศษที่ไม่สามารถขจัดไปได้ โรงเรียนจะทำอย่างไรที่จะสนองตอบ
ความต้องการหรือข้อจำกัดเหล่านี้ และเป็นที่มาของการปรับกระบวนทัศน์ใหม่ของการบริการจัดการศึกษาพิเศษ
ให้กับเด็กทั่วๆ
ไป









โครงสร้าง SEAT หมายถึงอะไร



S…Student หมายถึง นักเรียนที่มีความพิการ มีการเตรียมการโดยหากรู้ว่าเด็กพิการตั้งแต่แรกเกิด รัฐจะให้บริการตั้งแต่แรกเกิด หรือหากพิการภายหลังก็ให้บริการทันทีที่พบความพิการ
เป็นการให้ต่อแต้มโดยเตรียมเด็กให้มีทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนร่วม เช่น คนหูหนวกต้องรู้ภาษามือ คนตาบอดต้องการอักษรเบรลล์ และพยายามค้นหาและใช้สิ่งที่เด็กมีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด หลังจากที่มีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ
.. 2542 และฉบับแก้ไข พ..
2545รัฐบาลได้จัดตั้ง
ศูนย์การศึกษาพิเศษเขต
เพิ่มเติมจากเดิม
5 เขต เป็น 13 เขต และศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด 63
จังหวัดหน่วยการศึกษาเหล่านี้มีหน้าที่ให้บริการการศึกษา ระยะแรกเริ่ม สำหรับเด็กพิเศษ
แต่ทั้งนี้



หัวใจสำคัญในการพัฒนาเด็กพิเศษคือ ครอบครัวของเด็กที่จะมีผลต่อพัฒนาการของเด็กอีกกลุ่มหนึ่งที่มีความสำคัญต่อ การพัฒนาการศึกษาพิเศษคือเด็กทั่วไปในโรงเรียนในการบริหารจัดการโรงเรียนเรียนร่วมต้องมีการบริหาร จัดการ ในโรงเรียนจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด เด็กทั่วไปต้องเข้าใจและมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของการจัดการเรียนร่วม และได้รับการเตรียมให้เข้าใจคนพิการดยทำกิจกรรมจำลองเพื่อให้เด็กเกิดความรู้สึกเข้าใจเพื่อนเรียนรู้ที่จะเรียนร่วม กับคนพิการอย่างไร การช่วยเหลือเพื่อนพิการทำอย่างไร เตรียมเด็กให้เปิดใจและยอมรับความแตกต่างของคน เป็นการปลูกฝังจริยธรรมของเด็กไปด้วย



E…Environment สภาพแวดล้อม แบ่งออกเป็น 2
ส่วน คือ กายภาพ หมายถึงสภาพ
กายภาพภายในโรงเรียน ได้แก่ ห้องเรียน
โต๊ะเรียน โต๊ะนั่ง การถ่ายเทของอากาศ แสงไฟ ความชื้นสภาพแวดล้อมรอบบริเวณโรงเรียน สนามฟุตบอล ห้องดนตรี หอประชุม ห้องสมุด สภาพทางกายภาพนอกโรงเรียน เช่น ในชุมชน ในตลาด ในตัวเมือง ในอำเภอ ในสถานที่ที่พาเด็กไปทัศนศึกษา ค่ายลูกเสือ เรื่องต่างๆ
เหล่านี้โรงเรียนต้องจัดการให้ความสะดวกกับเด็กพิการ อีกส่วนหนึ่งคือ บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเด็ก
ได้แก่ บุคลากรในโรงเรียน ครู แม่ครัว ยาม ตำรวจจราจรที่ช่วยเด็กข้ามถนนหน้าโรงเรียน บุคคลเหล่านี้ถือว่ามีความสำคัญต่อเด็ก บุคคลเหล่านี้ต้องได้เข้าใจในการจัดการศึกษาเรียนรวมโดยผู้บริหารโรงเรียนบอกเล่าให้บุคคลเหล่านี้เข้าใจ



A…Activity เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนภายในและภายนอกห้องเรียน เริ่มตั้งแต่หลักสูตร กระทรวงศึกษาธิการได
้มีการปรับหลักสูตรของเด็กทั่วไปให้เด็กพิการแต่ละประเภท
เช่น การปรับชั่วโมงเรียนคัดไทย แทนที่จะให้เด็กตาบอดคัดไทย ต้องกดเบรลล์แทน การปั้นแทนวาดรูป การปรับหลักสูตรเฉพาะ
ตั้งแต่เริ่มเรียนจนถึง 12
ปี เด็กพิการที่บกพร่องด้านต่างๆ ควรมีความรู้เรื่องต่างๆ
ที่เรียนในห้องเรียนเพื่อนำไปสู่การประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น เด็กปัญญาอ่อนต้องซื้อของเป็น และต้องรู้จักจำนวนเงิน
นอกจากนี้ยังมีหลักสูตรเพิ่มเติมทักษะที่จำเป็น เช่น
ตาบอดต้องสอนอักษรเบรลล์

หากสอนไม่ได้โรงเรียนต้องจัดบริการเพิ่มเติมให้ โดยมีกฎกระทรวงเอื้ออำนวยให้แล้ว การจัดการทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) เป็นกระบวนการที่ดูเด็กพิเศษทุกด้านตลอดทั้งปี และมีการปรับแผนทุกๆ ครึ่งปี
แผนนี้สามารถนำไปใช้ในกระบวนการ
ของการตรวจสอบเด็กก่อนที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กและเมื่อให้การช่วยเหลือเด็กไปแล้วยังเป็นเครื่องมือที่ใช้ ในกระบวนการประเมินความก้าวหน้าของเด็ก ว่าเป็นไปสอดคล้องกับความต้องการของเด็กแต่ละคนหรือไม่ ฉะนั้น
การจัดทำ
IEP เป็นกระบวนการใหญ่ ต้องทำงานเป็นทีมงานจึงจะเกิด
ประโยชน์สูงสุด
มีการทำงาน
ตามแผนและ
มีคู่มือช่วยในการทำงาน
โดยเชิญทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมาช่วยกัน เช่น ครู ผู้ปกครอง ผู้ชำนาญการเฉพาะด้านต่างๆ ผู้บริหารโรงเรียน เป็นต้น

ในแผนนี้มีข้อหนึ่งเขียนถึงสิทธิประโยชน์ของเด็กที่พึงได้รับ จากการตรวจสอบแล้วว่าเด็กมีความต้องการจำเป็นพิเศษ

จำเป็นต้องได้รับบริการในเรื่องสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาตามกฎกระทรวง

และมีเงินกองทุนการศึกษาเพื่อคนพิการเพื่อดำเนินการให้สอดคล้องกับแผนใน
IEP
        นอกจากนี้ยังจัดให้มีแผนการสอนเฉพาะบุคคล
IIP เป็นแผนเล็กๆ
ที่จะสอนเด็กเฉพาะส่วนที่เด็กมีความบกพร่อง
เทคนิคการสอน เทคนิคการวิเคราะห์งาน เทคนิคการใช้ระบบเพื่อนช่วยเพื่อน
(Buddy System) ระบบพี่สอนน้อง
การเรียนร่วมโดยร่วมมือกัน
ทำให้เด็กทั้งห้องเรียนเรียนได้ดีขึ้น กิจกรรมนอกห้องเรียน การจัดกิจกรรมการค้นคว้า การศึกษาดูงาน



TTool เครื่องมือ ตามกฎกระทรวง เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก การใช้เทคโนโลยีมาประดิษฐ์เพิ่มเติม เช่น
เครื่องคิดเลขมีเสียง ครูการศึกษาพิเศษ ล่ามภาษามือ งบประมาณ (เด็กพิการจะได้ 5 เท่า ของเด็กปกติ คือ 2,000 บาท/คน/ปี)
นโยบาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ สื่อ ตำรา บริการ การฝึกอบรมพ่อแม่
ล้วนเป็นเครื่องมือที่จะช่วยในการให้บริการด้านการศึกษา
สำหรับเด็กพิเศษทั้งสิ้น



การบริหารจัดการเรียนร่วมต้องมีการบริหารจัดการที่ดีจึงจะมีประสิทธิภาพ
นอกจากใช้การบริหารจัดการแบบโครงสร้าง
SEAT แล้ว
ยังต้องใช้การบริหารแบบใช้โรงเรียนเป็นฐาน
(School Based
   Management)ขณะนี้ได้นำการบริหารจัดการ การศึกษาเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้าง SEAT ไปใช้กับโรงเรียนนำร่อง จำนวน 390 โรงทั่วประเทศในจำนวนนี้ได้จัดให้มี ห้องเรียนพิเศษคู่ขนานสำหรับเด็กออทิสติกระดับรุนแรง จำนวน 50 ห้องเรียน โดยฝึกอบรมครู 100 คน
เพื่อดูแล

เด็กออทิสติกในห้องเรียนคู่ขนาน ใน 1 ห้องเรียน ใช้ครู 2 คน ต่อนักเรียน 3-5 คน หากการนำร่องนี้ได้ผลดีจะได้มีการขยายผลต่อไป



หลักในการจัดการศึกษาพิเศษจะเป็นการเตรียมการให้โรงเรียน สิ่งอำนวยความสะดวก และความต้องการจำเป็นต่างๆ
เอื้อต่อเด็กพิเศษ ไม่ใช่เป็นการปรับเด็กพิเศษให้สามารถปรับตัวเพื่อเรียนร่วมกับเด็กปกติอีกต่อไป



ที่มาสัมภาษณ์ ผศ.ดร.เบญจา ชลธาร์นนท์ ที่ปรึกษาด้านการศึกษาพิเศษและผู้ด้อยโอกาส สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในรายการวิทยุเพื่อคนพิการ โลกกว้างทางการศึกษาอังคารที่ 11 พฤศจิกายน 2546








 

Create Date : 07 กันยายน 2551
49 comments
Last Update : 7 กันยายน 2551 22:04:39 น.
Counter : 19086 Pageviews.

 

ในการจัดห้องเรียนคู่ขนานนั้นบางแห่งไม่เป็นไปตามหลักการที่กำหนดไว้ อย่างของดิฉันมีนักเรียนอยู่รวมกัน11 คนมีทั้งดาว์น หู LD ออทิสติก ตั้งแต่อายุ4-15 ปีแต่ทางศูนย์จังหวัดก็ให้มาและที่สำคัญคือ อยู่คนเดียวไม่มีใครช่วยทั้งงานด้านเอกสารรับเองเต็มๆ อันที่จริงทางโรงเรียนเป็นแกนนำเรียนร่วม ทั้งนี้ทางศุนย์ไม่ได้ชี้แจงให้ทางโรงเรียนทราบถึงหลักในการปฏิบัติงานของดิฉันเลย
ดิฉันเข้าใจว่าการทำงานมันต้องเหนื่อยกันบ้าง แต่เหนื่อยกายมันไม่เท่าไรแต่นี้มันเหนื่อยใจมากกว่า

 

โดย: ครูห้องเรียนคู่ขนาน IP: 118.174.4.210 17 กันยายน 2552 21:29:50 น.  

 

อยากทราบความหมายดังนี้คะภ้าทราบส่งมาด้วยนะคะ
1.หลักการของการบริหารจัดการในโรงเรียน
2.แนวคิดของการบริหารจัดการในโรงเรียน
3.ขอบข่ายของการบริหารจัดการในโรงเรียน
4.ความสำคัญของการบริหารจัดการในโรงเรียนคะถ้าทราบบอกบ้างนะคะ จะขอบคุนเป็นอย่างสูงคะ

 

โดย: สุภรัตน์ IP: 124.122.18.126 23 ธันวาคม 2552 9:02:17 น.  

 

นโยบาย อุปกรณ์ การจัดการเรียนรู้ของเด็กออทิสติกเป็นลักษณะไหน

 

โดย: nana IP: 192.168.134.68, 202.12.73.20 7 มกราคม 2553 15:57:02 น.  

 

ที่โรงเรียนมีเด็กพิการเรียนร่วมด้านนี้เพียงไม่กี่คน ซึ่งได้รับงบประมาณ SP2 จัดจ้างครูพี่เลี้ยงมาช่วยสอนเสริม แต่ถ้าหากหมดงบก็คงเรียนร่วมเหมือนเดิม

 

โดย: มธุรดา ธูปทอง IP: 125.26.39.184 20 ตุลาคม 2553 10:33:06 น.  

 

ได้ความรู้เกี่ยวกับเด็กพิเศษมากขึ้นที่โรงเรียนมีเด็กพิการไม่กี่คนได้รับงบประมาณsp2จัดจ้างครูพี่เลี้ยงมาช่วยสอนเสริมแต่ตอนนี้จะครบกำหนดเมื่อไม่มีงบจ้างต่อก็คงจะเป็นลักษณะเดียวกันกับของคุณมธุรดา

 

โดย: จินตนา เมฆอัคคี IP: 125.27.142.207 21 ตุลาคม 2553 5:20:22 น.  

 

เคยสอนนักเรียนพิเศษมาหลายรุ่นสอนร่วมกับเด็กปกติก่อนจะได้งบจ้างครูพี่เลี้ยงก็เหนื่อยมาก
วันนี้ได้ศึกษาความรู้เกี่ยวกับเด็กพิเศษทำให้เข้าใจวิธีการมากขึ้น

 

โดย: ประทุม ทองเงิน IP: 125.27.146.36 21 ตุลาคม 2553 7:25:50 น.  

 

ได้ความรู้เกี่ยวกับเด็กพิเศษมากขึ้นที่โรงเรียนมีเด็กพิการอาการหนักมาก 2 คนได้รับงบประมาณsp2จัดจ้างครูพี่เลี้ยงมาช่วยสอนเสริมแต่ตอนนี้จะครบกำหนดเมื่อไม่มีงบจ้างต่อก็แล้วจะเอาเด็ก 2 คนนี้ไปไว้ที่ไหน

 

โดย: นางสาวอมรา บำบัดทุกข์ IP: 182.93.245.38 21 ตุลาคม 2553 9:56:35 น.  

 

ได้ความรู้เกี่ยวกับเด็กพิิเศษมากขึ้น เพราะที่โรงเรียนมีเด็กพิเศษหลายคน ได้นำความรู้ที่ได้ไปใช้กับเด็กพิเศษเหล่านี้

 

โดย: นางการุณ หวังชม IP: 125.27.26.211 24 ตุลาคม 2553 6:43:17 น.  

 

ปกติก็สอนแต่เด็กนักเรียนปกติ แต่พอได้มาอ่านก็ทำให้ได้ความรู้เกี่ยวกับเด็กพิเศษมากขึ้น

 

โดย: ถนอมศรี IP: 182.232.237.234 26 ตุลาคม 2553 1:29:01 น.  

 

การเป็นครูและสอนในระดับปฐมวัยมา เข้าปีที่ 30 พบว่าการนำเด็กพิเศษมาเรียนร่วมกับเด็กปกติ คุณครูจะเหนื่อยมาก พบบทความนี้ ได้อ่าน ทำให้เข้าใจวิธีการที่จะเรียนรู้ร่วมกับเด็กๆ
แต่ถ้าได้เข้าอบรมบ้างก็จะดีมากๆค่ะ

 

โดย: ทัศนีย์ ละพิมาย IP: 223.207.174.106 29 ตุลาคม 2553 7:41:33 น.  

 

ที่โรงเรียนไม่มีเด็กพิเศษที่ต้องมาเรียนกับเด็กปฐมวัยแต่ศึกษาไว้ก็ดีเหมือนกัยขอขอบคุณค่ะ


 

โดย: นางชูศรี สุทธะมี IP: 222.123.205.91 29 ตุลาคม 2553 21:19:03 น.  

 

เด็กพิการเป็นเด็กที่น่าสงสาร รัฐบาลให้ความสำคัญกับเด็กกลุ่มนี้ก็ถือเป็นบุญของเขา นับถือครูที่สอนเด็กกลุ่มนี้ ท่านเสียสละมากสู้ต่อไปนะคะ

 

โดย: กฤตติการ มงคลวิสุทธิ์ จังหวัดน่าน IP: 118.172.126.62 30 ตุลาคม 2553 16:32:31 น.  

 

เด็กพิการที่เท้าส่วนอื่นๆดีทุกอย่างถือเป็นพิการเรียนร่วมหรือไม่ ต้องมีแผนแยกต่างหากไหมค่ะ

 

โดย: ปราณี พิจารณา IP: 182.232.187.84 31 ตุลาคม 2553 1:13:53 น.  

 

เด็กปัญญาอ่อนต้องซื้อของเป็น และต้องรู้จักจำนวนเงิน นอกจากนี้ยังมีหลักสูตรเพิ่มเติมทักษะที่จำเป็น

 

โดย: พนิตสินี บุญทอง IP: 111.84.4.24 31 ตุลาคม 2553 8:02:54 น.  

 

เด็กพิเศษเป็นเด็กที่ด้อยโอกาส ได้รับความรู้เรื่องระบบการช่วยเหลือด้านการศึกษาของรัฐก็สบายใจขึ้นอยากให้พวกเขาได้รับโอกาสเท่าเทียมกับเด็กปกติ

 

โดย: ปิยดา คำภิระปาวงศ์ IP: 117.47.120.39 31 ตุลาคม 2553 21:20:19 น.  

 

การบริหารจัดการโรงเรียนเรียนร่วมดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เด็กพิการสามารถเรียนร่วมได้อย่างมีความสุขและมีการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของแต่ละบุคคล

 

โดย: นางละเมาะ สมศรีแสง IP: 61.19.66.148 1 พฤศจิกายน 2553 0:24:27 น.  

 

การบริหารจัดการการศึกษาเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างSEATถ้ามีงบประมาณเพียงพอมีการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่องก็ดีแต่ดูเหมือนจะใช้งบประมาณมาก ถ้านำเด็กพิเศษไปรวมไว้ที่ใดที่หนึ่งที่ไม่ไกลจากผู้ปกครองมากนักและใช้ครูหรือผู้ดูแลเด็กที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทางน่าจะดีกว่าเพราะเด็กปฐมวัยเป็นวัยที่ชอบเลียนแบบถ้ามีเด็กพิเศษมาเรียนร่วมห้องเรียนคงจะยุ่งน่าดูลำพังเด็กปกติก็ยุ่งอยู่แล้วค่ะสงสารคุณครูปฐมวัยจังเลย

 

โดย: ทวี ปิติรัตน์ IP: 125.26.59.182 1 พฤศจิกายน 2553 23:44:54 น.  

 


ควรจะแยกเด็กพิเศษโดยคัดกรองเป็นระดับ

ตามความพร้อมทั้ง 4 ด้าน ครูพี่เลี้ยงเด็กต้องผ่านการอบรมและฝึกงานมีประสบการณ์มาแล้ว

 

โดย: นางวิญญาณ์ เถาว์ชาลี IP: 125.26.232.83 4 พฤศจิกายน 2553 23:16:29 น.  

 

การสอนเด็กพิเศษผู้สอนต้องเข้าใจและเอาใจใส่เด็กเป็นกรณีพิเศษโดยเริ่มตั้งแต่แรกเกิด ครอบครัวมีความสำคัญมาก

 

โดย: อำไพ กองเพชร IP: 182.93.226.61 5 พฤศจิกายน 2553 12:24:43 น.  

 

ได้ความรู้เกี่ยวกับเด็กพิิเศษมากขึ้น เพราะที่โรงเรียนมีเด็กพิเศษหลายคน ได้นำความรู้ที่ได้ไปใช้กับเด็กพิเศษเหล่านี้

 

โดย: นันท์นภัส พรมเทียน IP: 223.206.84.192 6 พฤศจิกายน 2553 9:58:48 น.  

 

ได้ความรู้เกี่ยวกับเด็กพิเศษมากขึ้นที่ การประสบการณ์การเรียนรู้เด็กพิเศษผู้สอนต้องเข้าใจและเอาใจใส่เด็กเป็นกรณีพิเศษ

 

โดย: เพ็ญศิริ ภุชฌงค์ IP: 111.84.129.39 7 พฤศจิกายน 2553 4:27:52 น.  

 

เคยได้สอนเด็กพิเศษ ยอมรับว่าต้องมีความอดทนสูง และต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กกลุ่มนี้ สงสาร มอบความรักและความเอ็นดูไม่ได้ต้องเข้าใจพัฒนาการของเขาด้วย ครูผู้สอนต้องมีจิตวิทยาสูงมาก

 

โดย: เพียรดี ไกรปก IP: 118.173.67.90 9 พฤศจิกายน 2553 20:08:13 น.  

 

ควรคัดกรองและเอาใจใส่เป็นพิเศษ

 

โดย: นางประกายแก้ว ศิลป์สาย IP: 125.26.223.31 9 พฤศจิกายน 2553 20:27:45 น.  

 

ในการสอนเด็กพิเศษจะต้องมีครูที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กและครูจะต้องมีจิตวิทยาสูงในการที่จะเข้าใจเด็ก

 

โดย: นงลักษณ์ เอียดแก้ว IP: 117.47.82.245 10 พฤศจิกายน 2553 5:47:41 น.  

 

ปกติก็สอนแต่เด็กนักเรียนปกติ แต่พอได้มาอ่านก็ทำให้ได้ความรู้เกี่ยวกับเด็กพิเศษมาก

 

โดย: lสมศรี กลิ่นอำไพ IP: 111.84.28.102 12 พฤศจิกายน 2553 5:20:52 น.  

 

เด็กพิการเป็นเด็กที่น่าสงสาร รัฐบาลต้องให้ความสำคัญกับเด็กกลุ่มนี้ให้มาก

 

โดย: รัตนา IP: 223.206.110.194 12 พฤศจิกายน 2553 19:33:55 น.  

 

ได้ความรู้เกี่ยวกับเด็กพิิเศษมากขึ้น สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้กับเด็กพิเศษในโรงเรียนได้

 

โดย: นางพิกุล หิรัญชุฬหะ IP: 118.173.174.219 13 พฤศจิกายน 2553 5:14:54 น.  

 

เคยนำเด็กพิเศษไปเรียนร่วมกับเด็กปกติแต่ผู้ปกครองไม่เข้าใจกลัวเด็กมีปมด้อยจึงให้อยู่ที่บ้าน

 

โดย: สมจิต ปิ่นทอง IP: 118.173.32.136 14 พฤศจิกายน 2553 1:27:16 น.  

 

อยากให้มีการจัดการฝึกอบรมครูท่ีรับผิดชอบทางด้านการจัดการสอนเด็กพิเศษเรียนร่วมให้กับครูที่สอนเด็กในจุดนี้ เพราะบางโรงเรียนมีครูน้อยและดูแลเด็กในจุดนี้ยังไม่ทั่วถึง

 

โดย: นางสาวสุมาลี แสนทวีสุข IP: 182.93.147.162 15 พฤศจิกายน 2553 15:44:22 น.  

 

การจัดการึกษาต้องใช้การบริหารแบบใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School Based Management)ขณะนี้ได้นำการบริหารจัดการ การศึกษาเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้าง SEAT ไปใช้กับโรงเรียนนำร่อง จำนวน 390 โรงทั่วประเทศในจำนวนนี้ได้จัดให้มี ห้องเรียนพิเศษคู่ขนานสำหรับเด็กออทิสติกระดับรุนแรง จำนวน 50 ห้องเรียน โดยฝึกอบรมครู 100 คนเพื่อดูแลเด็กออทิสติกในห้องเรียนคู่ขนาน ใน 1 ห้องเรียน ใช้ครู 2 คน ต่อนักเรียน 3-5 คน แต่บางโรงโดยเฉพาะ โรงเรียนขนาดเล็กครู 1คน สอน 2ชั้น ถ้าเจอเด็กพิเศษคงเหนื่อยน่าดู

 

โดย: นางอำภา เวียงเกตุ IP: 223.206.227.127 16 พฤศจิกายน 2553 20:15:20 น.  

 

ขอตัวอย่างแผนฯiepบ้างได้ไหมคะ?

 

โดย: ณัฏฐนิช สะมะจิตร์ IP: 223.205.35.213 16 พฤศจิกายน 2553 20:15:26 น.  

 

ได้ความรู้เพิ่มเติมอีกค่ะ แต่ที่ห้องไม่มีเด็กพิเศษ

 

โดย: นิภาลัย ทองชาติ IP: 125.26.65.120 16 พฤศจิกายน 2553 21:12:34 น.  

 

สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้กับเด็กพิเศษในโรงเรียนได้

 

โดย: มยุรี IP: 182.93.200.58 17 พฤศจิกายน 2553 14:16:38 น.  

 

การบริหารจัดการโรงเรียนเรียนร่วมดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เด็กพิการสามารถเรียนร่วมได้อย่างมีความสุขและมีการจัดการศึกษาให้สอด คล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของแต่ละบุคคล

 

โดย: วาสนา IP: 182.93.200.58 17 พฤศจิกายน 2553 15:11:17 น.  

 

เด็กพิเศษเป็นเด็กที่ด้อยโอกาส อยากให้พวกเขาได้รับโอกาสเท่าเทียมกับเด็กปกติ

 

โดย: ยุพาวดี IP: 223.207.187.227 20 พฤศจิกายน 2553 6:55:43 น.  

 

เคยสอนเด็กพิเศษเรียนร่วม (พิการทางการได้ยิน) มีความภาคภูมิใจในการท่ีได้มีส่วนช่วยเหลือเขา ทำให้เขาสามารถเรียนรู้ได้ใกล้เคียงกับเพื่อนท่ีปกติ และเด็กในห้องเรียนซึ่งเป็นเด็กปกติก็มีน้ำใจท่ีจะช่วยเหลือเพื่อนท่ีเป็นเด็กพิเศษ มองเห็นความเอื้ออาทรของพวกเขาแล้วครูก็มีความสุข

 

โดย: สำรวย สันติวงศกร IP: 110.49.192.13 20 พฤศจิกายน 2553 21:25:15 น.  

 

ครูและผู้ปกครอง มีส่วนร่วมอย่างมากในการบริหารจัดการ
การศึกษาเด็กเรียนร่วมโดยการใช้โครงสร้าง SEAT

 

โดย: นางพนิดา ปัดชา IP: 223.206.19.200 27 พฤศจิกายน 2553 20:51:32 น.  

 

มีความสุขมากที่ได้สอนเด็กเรียนร่วม

 

โดย: ผ่องศรี จิตมโนวรรณ IP: 180.180.135.11 21 สิงหาคม 2554 14:01:11 น.  

 

ขอบคุณค่ะ ทำให้ได้ความรู้เพิ่มมากเชียว

 

โดย: unruen IP: 182.93.129.225 14 กันยายน 2554 1:07:26 น.  

 

ในการสอนเด็กพิเศษจะต้องมีครูที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กและครูจะต้องมีจิตวิทยาสูงในการที่จะเข้าใจเด็ก

 

โดย: นางมาลี ยิ้มมงคล IP: 103.1.166.33 26 มกราคม 2555 22:25:56 น.  

 

การจัดประสบการณ์เด็กนั้นนอกจากจะคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลแล้ว ครูผู้สอนยังต้องคำนึงถึงความบกพร่องทางด้านร่างกาย เพื่อทำให้เด็กอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างมีความสุข

 

โดย: นางลักษณาวดี มูลโพธิ์ IP: 1.1.158.121 15 พฤษภาคม 2555 17:36:02 น.  

 

สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้กับเด็กพิเศษในโรงเรียนได้

 

โดย: นางผาณิต อุ่นรั้ว IP: 182.93.185.130 28 พฤษภาคม 2555 12:47:33 น.  

 

ยังไม่เข้าชัดเจนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ในการเรียนร่วมกับเด็กปกติในชั่วโมงเรียนเนื้อหาต้องแตกต่างกันไหมค่ะ แล้วใน 1 สัปดาห์ต้องจัดชั่วโมงการสอนเฉพาะเด็กพิเศษอย่างไร ไม่ชัดเจนเลยค่ะเกี่ยวกับคำว่า"เรียนร่วมกับเด็กปกติ"

 

โดย: นางภคพร ไชยสุข (รมย์บุรี) IP: 10.0.1.45, 118.174.15.146 31 พฤษภาคม 2555 16:07:55 น.  

 

ได้รู้หลักการ แนวทาง ในการจัดการศึกษาแก่เด็กพิการเรียนร่วมมากขึ้น

 

โดย: นางฉวี จิตรภิรมย์ IP: 223.204.150.179 3 มิถุนายน 2555 9:17:22 น.  

 

ได้รับความรู้เพิ่มเติมและสามารถเข้าใจพัฒนาการและความต้องการของเด็้กพิเศษ

 

โดย: วิลาวัณย์ จำปาทอง IP: 125.27.160.143 21 กรกฎาคม 2555 5:44:39 น.  

 

สอนเด็กพิเศษ มีลูกเป็นเด็กพิเศษ (ออทิสติก) คิดดูสิคะว่าเหนื่อยแค่ไหน แต่เมื่อเห็นพัฒนาการที่ดีขื้นของลูกเอง และลูกศิษย์ ทำให้หายเหนื่อยเลยค่ะ

 

โดย: นางปัทมา สังขไพฑูรย์ IP: 113.53.19.87 27 กรกฎาคม 2555 19:05:27 น.  

 

ได้รับความรู้ และได้แนวทางในการส่งเสริมเด็กพิเศษเรียนร่วม

 

โดย: นางวิไลวรรณ ใจนวน IP: 101.51.253.160 19 สิงหาคม 2555 9:35:27 น.  

 

วันนี้มีความสุขและภาคภูมิใจมากที่ได้นำความรู้จากการอบรมวิทยากรแกนนำมาเผยแพร่ถ่ายทอดให้เพื่อนครูที่ดูแลเด็กพิเศษเรียนร่วมของสพป.ชัยภูมิเขต 1 และขอขอบคุณคณะวิทยากรจากสพฐ.ทุกท่านพร้อมทั้งผศ.ดร.เบญจา ด้วยค่ะที่ให้ความรู้ ความกระจ่างแจ้ง

 

โดย: นางธนิดา วาทโยธา IP: 101.51.242.217 6 กันยายน 2555 20:51:35 น.  

 

อยากรู้เกี่ยวกับเทคนิคการสอนเด็กพิการ

 

โดย: นัท IP: 223.205.126.207 29 กันยายน 2555 10:37:57 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


chotirosj
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ขอมีส่วนช่วยเด็กพิเศษ
Friends' blogs
[Add chotirosj's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.