Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2556
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
9 มิถุนายน 2556
 
All Blogs
 
ข้อสังเกตุ : การเอานักการเมืองโกงเข้าคุก


ถ้าความทรงจำผมไม่ผิดพลาด จำได้ว่า นับแต่มีรัฐธรรมนูญ ฉบับ 2540

จนถึงปัจจุบันนี้ ระบบตรวจสอบของประเทศไทย

สามารถเอานักการเมืองทุจริตเข้าคุก ได้เพียงคนเดียวเท่านั้น

นั่นก็คือ นายรักเกียรติ สุขธนะ

หมายเหตุ : เฉพาะนักการเมืองระดับชาติครับ..นักการเมืองท้องถิ่นไม่นับนะครับ

...............................

ในรัฐธรรมนูญ 2540 นั้น มีระบบตรวจสอบยุบยับมากมายเต็มไปหมด

แต่ก็ยังไม่สามารถจะทำอะไรนักการเมืองโกงได้มากนัก

ลองเทียบเคียงกับกรณีนายรักเกียรติแล้ว

ที่สามารถลงโทษนายรักเกียรติได้...สาเหตุสำคัญก็คือ

ความร่วมมือจากกลุ่มแพทย์ชนบท ที่ร่วมกันให้สารพัดข้อมูล พยานหลักฐาน

ทำให้ผมอดคิดไม่ได้ว่า แท้จริงแล้ว ปัญหาการตรวจสอบนักการเมืองของไทย

มันอยู่ที่ระบบตรวจสอบหรือวัฒนธรรมในการตรวจสอบกันแน่

...............................

อ.นิธิ เคยเขียนบทความน่าสนใจเรื่องหนึ่ง นั่นก็คือ รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรม

อ.นิธิกล่าวว่า ที่สังคมไทยในอดีต ไม่ให้ความสำคัญกับการฉีกรัฐธรรมนูญก็เพราะ

สิ่งที่อยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับโดนฉีกนั้น ไม่ใช่วิถีชีวิตที่สังคมไทยยอมรับ

แต่สังคมไทย มีรัฐธรรมนูญเฉพาะที่แตกต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับที่โดนฉีกอยู่แล้ว

นั่นก็คือ รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรม หรือพูดให้ชัดก็คือ

วัฒนธรรมนั่นเอง คือ รัฐธรรมนูญที่แท้จริงของสังคมไทย

การที่ระบบตรวจสอบแทบไม่เคยลงโทษนักการเมืองโกงได้เลย

หากอาศัยแนวคิดจากบทความของอ.นิธิ มาอธิบายประกอบ นั่นก็คือ

"รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรม" ของสังคมไทย

มีปัญหาในเรื่องแนวคิดพื้นฐานของการตรวจสอบทางการเมือง

...............................

บนพื้นฐานของการตรวจสอบและการลงโทษในทางคดีอาญา

สิ่งสำคัญประการหนึ่ง ก็คือ สำนึกในความเป็น "ผู้เสียหาย"

นั่นก็คือ ความรู้สึกว่า ตนเองได้รับความเสียหาย

จากการกระทำบางอย่างของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง

สำนึกในความเป็นผู้เสียหายจะทำให้การกระทำในฐานะผู้เสียหายนั้น

มุ่งหวังผลลัพธ์สองประการ

1.ต้องการให้ผู้กระทำผิดได้รับการลงโทษทางอาญา

2.ต้องการได้รับการเยียวยาความเสียหาย (การเรียกค่าเสียหายในทางละเมิด)

ในบางกรณีนั้น แม้มีการกระทำผิดเกิดขึ้น แต่ถ้าไม่มีผู้เสียหายแสดงตัว

ก็แทบไม่มีหวังว่าผู้กระทำผิดจะได้รับโทษ เช่นในคดีข่มขืน

ความเป็นผู้เสียหายจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่มีส่วนทำให้ผู้กระทำผิดถูกลงโทษตามสมควร

...............................

ความเป็นผู้เสียหายจะเห็นได้ชัดเจน ในคดีอาญาที่เกี่ยวข้องกับทางกายภาพ

แต่จะเข้าใจได้ยากถ้ามันเกี่ยวข้องกับสิทธิ

ซึ่งไม่ใช่การล่วงละเมิดต่อร่างกายหรือชีวิตโดยตรง

และมันจะยิ่งซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ถ้าสิทธิที่ว่านั้น มีประเด็นในทางเทคนิค

เข้ามาเกี่ยวข้อง อาทิ การพิสูจน์ความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์

ก่อนจะไปพิสูจน์เรื่องการถูกโกง แต่ในคดีอาญาของนักการเมืองนั้น

ยิ่งเป็นเรื่องเทคนิคที่สลับซับซ้อน จนบางครั้งกองเชียร์ (กองแช่ง)

ก็เกิดอาการมึนว่ามันเกิดความเสียหายยังไง และใครคือผู้เสียหาย

...............................

นั่นเป็นเรื่องในทางเทคนิค แต่ประเด็นสำคัญกว่านั้นก็คือ

รัฐธรรมนูญทั้งสองฉบับ (ฉบับทางการและฉบับวัฒนธรรม)

เปิดพื้นที่ให้กับความเป็น "ผู้เสียหาย" ของประชาชนเอาไว้น้อยมาก

ประชาชนมีสถานะเป็นเพียงผู้ชมข้างเวทีเท่านั้น

ด้วยเหตุผลว่าประชาชนนั้น ไม่ใช่ผู้เสียหาย จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีทุจริต

ยกเว้นแต่มีเงื่อนไขบางอย่างที่ชัดแจ้ง

ด้วยความสัตย์จริงครับ...การไปบอกประชาชนว่า เขาไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง

แต่กลับเรียกร้องให้เขาร่วมต่อต้านคอรัปชั่นอย่างชนิดเอาจริงเอาจัง

ถึงที่สุดแล้ว จะมีสักกี่คนที่ต่อต้านอย่างเป็นรูปธรรม

บนสถานะที่ตนเองไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง

............................

ข้อสังเกตุอีกอย่างหนึ่งที่ผมเห็นว่าน่าสนใจและสำคัญนั่นก็คือ

ระบบวิธีคิดเกี่ยวกับ "วัฒนธรรมแห่งการตรวจสอบ"

ซึ่งมันยืนอยู่คนละขั้วกับ "วัฒนธรรมเชิงอุปถัมภ์"

หัวใจของการตรวจสอบก็คือ ความสุจริตหรือความถูกต้องนั้น

ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบบการเมืองหรือกฎหมายได้รับรองไว้

โดยไม่ผูกพันกับประเด็นใด ๆ ซึ่งมิใช่สิ่งที่ระบบการเมืองหรือกฎหมายรับรอง

อาทิ ประเด็นทางศีลธรรม , บุญคุณ , บุคลิกภาพ ฯ

ดังนั้น ไม่ว่าผู้ถูกตรวจสอบจะเคยมีผลงานมากเพียงใด

สร้างประโยชน์อะไร อย่างไรไว้

ย่อมไม่มีผลกระทบต่อกระบวนการตรวจสอบทั้งสิ้น

วัฒนธรรมการตรวจสอบจึงไม่อิงอาศัยกับความนิยมหรือเสียงข้างมาก

แต่มีนัยยะไปในทางวัตถุวิสัย หรือกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถพิสูจน์ได้

ระบบวิธีคิดแบบนี้ย่อมแตกต่างเป็นอย่างมากกับวัฒนธรรมเชิงอุปถัมภ์

ที่เปิดช่องให้มีเงื่อนไขอื่น ๆ เข้ามามีผลกระทบหรือมีผลผูกพันต่อการตรวจสอบได้

ปัญหาสำคัญก็คือในระยะหลัง มีพลเมืองกลุ่มใหญ่ยอมรับว่า

"โกงได้ไม่เป็นไร ขอให้มีผลงาน" วาทกรรมเช่นนี้เท่ากับว่า

1.ผู้ถูกโกง (ในฐานะผู้เสียภาษี) ไม่รู้สึกว่า ตนเองเป็นผู้เสียหาย

2.การโกงสามารถระงับได้ด้วยผลงาน

และที่น่าตกใจไปกว่านั้นก็คือ เคยมีการทำแบบสำรวจความเห็น

ปรากฏว่า กลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาและนักเรียนยอมรับวาทกรรมนี้

เกินกว่าร้อยละ 60 นับเป็นจำนวนที่มากอย่างยิ่งสำหรับผู้อยู่ในสถานะเช่นนี้

ถ้าเอาแนวคิดเรื่องรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมมาใช้อธิบายประกอบผลโพล

ข้อสรุปของ "รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรม" ในเวลานี้ก็คือ

[การโกงเป็นความผิดที่สามารถระงับได้ด้วยเงื่อนไขบางอย่าง

และเงื่อนไขนั้น ผูกพันกับระดับความพึงพอใจของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง]

แน่นอน เมื่อข้อสรุปของรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมเป็นเช่นนี้

มันย่อมส่งผลต่อประสิทธิภาพของรัฐธรรมนูญฉบับทางการ

ในการเอานักการเมืองโกงเข้าคุกอย่างไม่ต้องสงสัย

...............................

ตราบใดที่รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมกับรัฐธรรมนูญฉบับทางการ

ยังมองไม่เห็นว่า พลเมืองคือ ผู้เสียหายในคดีทุจริตคอรัปชั่น

ยากครับที่จะได้เห็นปาฏิหาริย์แบบนายรักเกียรติอีกครั้ง






Create Date : 09 มิถุนายน 2556
Last Update : 21 มิถุนายน 2556 15:58:44 น. 0 comments
Counter : 1038 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ART19
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]





ความเสมอภาคที่แท้จริง คือ
การที่ทุกคนต้องมีหน้าที่
การทำหน้าที่ของตนเอง
จะเป็นสิ่งที่กำหนดว่า
เราควรได้รับอะไร แค่ไหน
Friends' blogs
[Add ART19's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.