Group Blog
 
 
เมษายน 2552
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
9 เมษายน 2552
 
All Blogs
 
ปัญหาโครงสร้างประเทศไทย : ระบบอุปถัมภ์



กรณีหนึ่งที่เป็นที่ถกเถียงกันมากก็คือการที่รัฐบาลทักษิณได้เข้ามาแบ่ง

ผลประโยชน์บางส่วนให้แก่รากหญ้า ประเด็นนี้ผมสงสัยมาตลอดว่า

สิ่งที่รัฐบาลทักษิณทำไปนั้นมันกระทบต่อ

โครงสร้างเดิมที่อยุติธรรมบ้างหรือไม่

ผมคิดว่าไม่ สิ่งที่รัฐบาลทักษิณทำเป็นเพียงการรวบอำนาจ

จากกลุ่มอำนาจเดิมเท่านั้น แต่โครงสร้างเดิมมิได้เปลี่ยนแปลงไปสักเท่าไร

นั่นคือ

1.ภาวะการพึ่งพิงระบบอุปถัมภ์

2.โครงสร้างการจัดการทรัพยากรมีลักษณะผูกขาด

ทั้งสองโครงสร้างคืออุปสรรคสำคัญที่ทำให้การพัฒนาประชาธิปไตยมีปัญหา



ประเด็นเกี่ยวกับระบบอุปถัมภ์

อ.อเนก เหล่าธรรมทัศน์ เคยตั้งข้อสังเกตุเอาไว้ว่า สภาพชนบท

ที่มีขนาดใหญ่โตนั้นมิใช่สภาวะที่เอื้อต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

ประเทศที่ประสบความสำเร็จในการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้น

ล้วนแต่มีขนาดของสังคมชนบทที่ไม่ใหญ่โตมากนัก

พูดอีกแง่หนึ่งก็คือ ประชาธิปไตยมีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จ

ในสังคมที่มีลักษณะเป็นเมืองมากกว่าชนบท

กระนั้น "เมือง" ที่ว่านี้ ไม่จำเป็นต้องโตเดี่ยวแบบกรุงเทพ

แต่อาจเป็นเมืองขนาดเล็ก ๆ



ในความรู้สึกผม ระบบอุปถัมภ์เป็นปรากฏการณ์ปกติที่พบเห็นได้ทั่วไป

ในหลาย ๆ ประเทศรวมถึงในประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งหลาย

อาทิ การที่รัฐบาลกำหนดนโยบายเอื้อต่อบริษัทข้ามชาติบางบริษัท

ลักษณะของระบบอุปถัมภ์เหล่านั้น

เป็นความสัมพันธ์ที่อยู่บนพื้นฐานของตลาดเป็นสำคัญ

กล่าวคือ ทั้งสองฝ่าย มีสถานะภาพที่ใกล้เคียงกัน ไม่ได้มีสำนึกในเรื่องของ

ความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่เด่นชัด แต่ความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ฝ่าย

อยู่บนพื้นฐานของการแลกเปลี่ยนและความสมัครใจ

ซึ่งเป็นลักษณะของความสัมพันธ์เชิงตลาด นี่ย่อมแตกต่างเป็นอย่างมาก

กับระบบอุปถัมภ์แบบไทย ๆ ที่มีความหลากหลายซับซ้อน

ลักษณะระบบอุปถัมภ์ในประเทศไทยอิงอาศัยกับความสัมพันธ์

ที่หลากหลายกว่ามาก อาทิ

ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ = ใครใหญ่กว่าใคร

ความสัมพันธ์เชิงตลาด = การแลกเปลี่ยนที่ต่างฝ่ายต่างหยิบยื่นให้

ความสัมพันธ์เชิงศีลธรรม = บุญคุณ และการตอบแทนบุญคุณ

ด้วยความหลากหลายของความสัมพันธ์ดังกล่าว

จึงนำมาซึ่งปฎิสัมพันธ์ของกลุ่มรากหญ้าที่มีต่อระบบอุปถัมภ์ในลักษณะ

ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ =ความเกรงกลัว , ความเกรงใจ

ความสัมพันธ์เชิงตลาด =ความสมัครใจ

ความสัมพันธ์เชิงศีลธรรม =ความชอบธรรม

และผลบั้นปลายที่เกิดขึ้นก็คือ ความจงรักภักดี

ผมไม่แน่ใจว่าระบบอุปถัมภ์ในประเทศอื่นจะมีลักษณะเช่นนี้บ้างหรือไม่

แต่ที่ผมแน่ใจอยู่อย่างก็คือ สำหรับรากหญ้าในไทยแล้วระบบอุปถัมภ์

เป็นสิ่งจำเป็นและมีความชอบธรรมสูงยิ่ง

อีกประการหนึ่ง อำนาจเชิงอุปถัมภ์เองก็มิได้ผูกขาดอยู่กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

ลักษณะเด่นของระบบอุปถัมภ์ในประเทศไทย คือ

ส่วนกลางไม่สามารถผูกขาดอำนาจเชิงอุปถัมภ์ได้เพียงผู้เดียว

ตรงจุดนี้จึงแตกต่างจากระบบอุปถัมภ์ในบางประเทศ อาทิ

อินโดนีเซียในยุคซูฮาร์โตเป็นประธานาธิบดี

ซึ่งอำนาจถูกผูกขาดอยู่ที่ครอบครัวของซูฮาร์โตเพียงกลุ่มเดียว

ดังนั้น เมื่อกล่าวถึงระบบอุปถัมภ์ในประเทศไทยจึงต้องพูดถึงทั้งระบบโดยรวม

ไม่ว่า ทุนนิยมอุปถัมภ์ อำมาตยาอุปถัมภ์ อิทธิพลอุปถัมภ์ ฯ



ข้อเท็จจริงก็คือทุกรัฐบาลที่ผ่านมา

ล้วนอาศัยระบบอุปถัมภ์ทั้งสิ้น รวมทั้งรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณด้วย

ยังไม่มีรัฐบาลไหนที่คิดทำลายโครงสร้างระบบอุปถัมภ์อย่างจริงจัง

นอกจากความพยายามในการใช้ประโยชน์จากระบบอุปถัมภ์ผ่าน

กระบวนการบางอย่างแต่รัฐบาลทักษิณมีความพิเศษกว่า

สิ่งที่รัฐบาลทักษิณได้เพิ่มเข้าไปก็คือ นโยบายบางอย่าง

เช่น กองทุนหมู่บ้าน ฯ แต่ปัญหาก็คือ กระบวนการดังกล่าวมานั้น

มันมีส่วนในการลดอิทธิพลหรือเสริมความเข้มแข็งของระบบอุปถัมภ์กันแน่

บทความของอาจารย์นิธิ ในหนังสือพิมพ์มติชนรายสัปดาห์

กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า นับตั้งแต่รัฐบาลไทยรักไทยเป็นต้นมา

นักการเมืองส่วนกลางได้ประสานเครือข่ายกับเจ้าพ่อในท้องถิ่น

ร่วมมือกันผลักดันให้เจ้าพ่อเข้าไปบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

แล้วนักการเมืองส่วนกลางก็ใช้อำนาจต่อรองของตนในพรรคหรือในรัฐบาล

ผลก็คือ การเมืองระดับชาติกับการเมืองระดับท้องถิ่น

มีความเชื่อมโยงกัน โดยอาศัยความสัมพันธ์ที่อยู่บนพื้นฐานของระบบอุปถัมภ์


การทำลายระบบอุปถัมภ์

ประเด็นนี้คือสิ่งสำคัญที่จะมีส่วนทำให้ประชาธิปไตยเกิดขึ้นมาได้อย่างแท้จริง

แต่ระบบอุปถัมภ์ไม่ใช่ก้อนอะไรสักอย่างที่จะเข้าไปทุบมันให้แตกละเอียด

ระบบอุปถัมภ์เกิดมาจากความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนหลากหลาย

การทำลายระบบอุปถัมภ์ที่แท้จริงจึงหมายถึง

1.การทำลายความชอบธรรมของระบบอุปถัมภ์และ

2.ลดสภาวะที่เอื้อต่อการเกิดระบบอุปถัมภ์

วิธีทำลายระบบอุปถัมภ์ที่ผมเห็นว่าน่าจะได้ผลอย่างยิ่งก็คือ

1.เศรษฐกิจพอเพียง (การพึ่่งตนเองในระดับปัจเจก)

2.สหกรณ์ (การพึ่งตนเองในระดับชุมชน)

สำหรับผมขอให้นิยามแก่เศรษฐกิจพอเพียงว่า คือ

" กระบวนการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ

โดยเน้นการพึ่งพาตนเองและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด "

ระบบเศรษฐกิจพอเพียงเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยลดอิทธิพล

และความชอบธรรมของระบบอุปถัมภ์ ในขณะเดียวกัน ระบบเศรษฐกิจพอเพียง

จะช่วยสนับสนุนระบบสหกรณ์ให้เข้มแข็งขึ้นข้อสังเกตุอย่างหนึ่งก็คือ

ทั้งสองระบบไม่ได้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อแสวงหากำไร

แต่กำไรเป็นเพียงผลพลอยได้ที่จะเกิดขึ้นเอง

เมื่อรากฐานของระบบเข้มแข็งเพียงพอ

ในส่วนของสหกรณ์นั้น นี่คือเครื่องมือที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง

ที่สามารถลดอิทธิพลของระบบอุปถัมภ์

รวมทั้งสร้างเกราะป้องกันตนเองจากกลุ่มทุน

ดังนั้น ในประเทศที่สหกรณ์มีความเข้มแข็ง

ย่อมส่งผลให้อำนาจต่อรองของเกษตรกรสูงขึ้นตามไปด้วย

แต่น่าแปลก นโยบายของรัฐบาลทักษิณที่ผ่านมากลับไม่มีนโยบาย

ที่สนับสนุนกิจการสหกรณ์อย่างเป็นรูปธรรม

ตราบใดที่โครงสร้างเกษตรกรรมยังคง

พึ่งพาเคมีเกษตรและพึ่งพิงตลาดมากเกินไป

ผมก็ยังมองไม่เห็นว่ารากหญ้าจะพ้นจากปัญหาหนี้สิน

ปัญหาสุขภาพและปัญหาสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร

ดังนั้น สิ่งที่รัฐบาลทักษิณทำมานั้น ผมเห็นว่า

มันไม่ได้กระทบต่อโครงสร้างระบบอุปถัมภ์มากนัก





Create Date : 09 เมษายน 2552
Last Update : 30 กรกฎาคม 2555 22:10:59 น. 3 comments
Counter : 2902 Pageviews.

 
เขียนดี มีความรู้ในการวิเคราะห์ (ยกนิ้วโป้งให้ thumb up เยี่ยม)


โดย: Mermaid AI วันที่: 15 เมษายน 2552 เวลา:9:22:03 น.  

 
ดีมากมีข้อความอยู่ข้อหนึ่งอยากให้วิเคราะห์อยู่แต่วันนี้ไม่มีเวลา


โดย: นก IP: 110.49.186.141 วันที่: 14 สิงหาคม 2552 เวลา:23:39:47 น.  

 
แนวคิดของคุณถือว่าดูดี....แต่การวิเคราะห์ของคุณดูเหมือนว่า
แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงจะเป็นทางออกของการแก้ปัญหาของระบบอุปถัมภ์แต่ผมคิดว่า.....ปัจจุบันกลายเป็นหนทางแสวงหาผลประโยชน์สำหรับการเมืองที่นำเอาชื่อมาหากินเพื่อการทุจริตอย่างมโหราฬ........คุณอย่าลืมนะว่า....การเมืองคือเรื่องผลประโชน์ การทุจริตมีทุกรัฐบาลครับ....แต่สมัยก่อนมีลักษณะตรวจสอบยากปิดหูปิดตาประชาชน......
แต่ปัจจุบันมีการเปิดเผยข้อมูลมากขึ้นจากสื่อต่างๆ.....ดังนั้นรัฐบาลทักษิณ...ถือว่าได้รับการตรวจสอบและดูเหมือนว่าจะมีแนวโน้มว่าจะส่อไปในทางทุจริตเชิงนโยบาย.....เพียงแต่ว่าโชคร้ายคือ.....ยุคปัจจุบันมีการตรวจสอบ
แต่ก็ปฎิเสธไม่ได้ว่าคนรากหญ้า...ก็ได้รับประโยชน์จากนโยบายที่รัฐบาลทักษิณนำมาบริหารประเทศอย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุด.......เท่าที่มีมา (ข้อมูลได้จากการสัมภาษณ์) ดังนั้นแสดงว่าการเมืองที่ผ่านมาที่ขาดการตรวจสอบอย่างเข้มข้นเหมือนในปัจจุบันนี้ ประเทศชาติเสียผลประโยชน์ไปมากขนาดไหน(นาจะออกกฎหมายย้อนหลังไปเอาผิดนะ).....ผมว่าน่าสนใจนะ
ผมว่าแนวคิดการจะแก้ไขระบบอุปถัมภ์ผมว่าคุณต้องไปศึกษาแนวคิดของ Karl Mark แต่ให้ดูในมุมความเชื่อมโยงระหว่างวิภาษวิธีของ Mark กับ ระบบนายทุนที่เชื่อมโยงในระบบอุปถัมภ์นะครับ


โดย: concepct IP: 125.27.215.171 วันที่: 19 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:9:26:37 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ART19
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]





ความเสมอภาคที่แท้จริง คือ
การที่ทุกคนต้องมีหน้าที่
การทำหน้าที่ของตนเอง
จะเป็นสิ่งที่กำหนดว่า
เราควรได้รับอะไร แค่ไหน
Friends' blogs
[Add ART19's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.