Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
25 พฤศจิกายน 2554
 
All Blogs
 
แกะรอยน้ำท่วม 54 บันทึกไว้ก่อนเลือน จาก ไทยรัฐ


อภิมหาอุทกภัยที่เกิดขึ้น ยังเป็นวาทะถกเถียงเอาดีใส่ตัว

เอาชั่วให้คนอื่นไม่จบสิ้น หาผู้หาญกล้ายืดอกแสดงความรับผิดชอบไม่ได้

เหมือนปัญหาอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองนี้มีทั้งโทษธรรมชาติ

ปีนี้มีพายุพัดเข้ามาก รวมทั้งคิดไกลมองเป็นเกม การเมือง

ฝ่ายตรงข้ามใช้ จับมือกับพระพิรุณ ปล่อยฝนตกหนัก

แล้วแอบกักเก็บน้ำไว้ในเขื่อนไว้ไม่ยอมปล่อยระบาย

วางยารอท่ารัฐบาลใหม่จะได้สำลักน้ำท่วมเสียความนิยมทางการเมือง

ข้อครหาสาดโคลนกันไปมาเป็นเรื่องจริง หรือจินตนาการ

เพื่อโบ้ยผิดให้พ้นตัวสังคมข้อมูลข่าวสารสารพัดสื่อยุคนี้

เป็นเรื่องยากที่คนไทยจะรู้ได้เท่าทัน นอกจากจะต้องย้อนรอย

ไปดูความเป็นมาของมหาอุทกภัยที่เกิดขึ้น

ในยุคเปลี่ยนผ่านระหว่างรัฐบาลเก่ากับรัฐบาลใหม่

มหาอุทกภัย 2554...ประเทศไทยเจอพายุซัดเข้ามาถึง 5 ลูกเต็มๆ

เกินปัญญาจะรับไหว จริงเท็จแค่ไหนบันทึกข้อมูลจากวิกิพีเดีย

สารานุกรมเสรี ในข้อหัว “ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ.2554”

มีพายุเกิดขึ้นทั้งหมด 34 ลูก...แต่มีพายุที่พัดเข้ามาแถวบ้านเราแค่ 5 ลูก

ลูกแรกเริ่มก่อตัวมาตั้งแต่กลางเดือนมิถุนายน พายุ “ไหหม่า”

ตามด้วย “นกเตน” ตอนปลายเดือนกรกฎาคมเว้นระยะ

พักไปเกือบ 2 เดือน มาในช่วง 23 ก.ย.-5 ต.ค.

มีพายุก่อตัวไล่ตามกันมาติดๆ ถึง 3 ลูก นั่นคือ “เนสาด”

ตามติดด้วย “ไห่ถาง” และ ปิดท้ายด้วย “นาลแก”แต่พายุ 5 ลูกที่ว่านั้น...

ไม่ได้พัดเข้าไทยแบบเต็มๆ ทั้ง 5 ลูกแต่อย่างใด

“ไหหม่า” พายุลูกแรก พัดจากฟิลิปปินส์มุ่งหน้าทางตะวันตกเหนือ

ขึ้นเกาะไหหลำแล้วโฉบลงมาเข้าเวียดนาม อ่อนกำลังลงเป็นดีเปรสชัน

ถึงจะเข้าลาว...26 มิ.ย. มาถึงไทยสลายตัวเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ

ยิ่ง “เนสาด–ไห่ถาง–นาลแก” แม้จะเป็นพายุ 3 ลูก

ที่ก่อตัวขึ้นมาในเวลาใกล้เคียงกัน แต่อิทธิพลความรุนแรงต่อไทย

สู้ไหหม่าไม่ได้เพราะ เนสาด ออกจากฟิลิปปินส์

มุ่งหน้าไปทางเหนือของเกาะไหหลำแล้วเข้าจีนไปเลย

ส่วน ไห่ถาง ก่อตัวในทะเลทางใต้ของฮ่องกง พัดหมุนวนอยู่

ในทะเลใกล้เวียดนามตอนเหนือ หมุนวนอยู่อย่างนั้น 4 วัน (24-27 ก.ย.)

แล้วสลายตัวขึ้นฝั่งเวียดนามกลายเป็นดีเปรสชัน

พอเคลื่อนเข้าลาวกลายเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ

ก่อนจะเข้าไทยนาลแก มิต่างกัน แรกๆ ตั้งท่ามาแรง

เป็นซุปเปอร์ไต้ฝุ่นถล่มฟิลิปปินส์แรงได้วันเดียว

ลดระดับฮวบฮาบลงมาเป็นพายุโซนร้อนธรรมดา

เกรดต่ำกว่าไต้ฝุ่น จากนั้นโฉบไปขึ้นเกาะไหหลำ แล้วดาวน์เกรดลงมา

เหลือสถานะแค่ดีเปรสชัน จากนั้นวกลงใต้ขึ้นฝั่งเวียดนามที่เมืองดองฮอย

สลายตัวกลายเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ

ก่อนจะเข้าลาวและไทยอีกเช่นกันในบรรดาพายุ 5 ลูก

ที่กล่าวอ้าง มีแค่ “นกเตน” เจ้าเดียวเท่านั้นที่พอ

จะพูดได้ว่าเป็นพายุที่พัดเข้าประเทศไทย...เพราะตอนพัดเข้าเวียดนาม

ก่อนจะเข้าลาวยังมีสถานะเป็นพายุโซนร้อน

ออกจากลาวจะเข้าไทยได้ลดระดับ เป็นดีเปรสชัน...

แต่ก็แค่วันเดียวมาถึง จ.น่าน สลายกลายเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ

ถึงจะแค่ดีเปรสชัน...แต่พอจะคุยกับคนไม่รู้เรื่องอุตุนิยมวิทยาได้ว่า

ประเทศไทยมีพายุพัดเข้ามาเหมือนกัน น้ำจึงได้ท่วมเป็นมหาอุทกภัย

ในขณะที่เวียดนาม ฟิลิปปินส์เจอพายุตัวแม่ของจริงไปเต็มๆ...

แต่ไฉนถึงไม่เป็นข่าววิกฤติระดับโลก

น้ำท่วมมาราธอนยาวนาน 3–4 เดือน เหมือนไทยเรา


ส่วนปมประเด็นพระพิรุณรับจ็อบนักการเมืองฝ่ายตรงข้าม

วางยาเก็บกักน้ำไว้ในเขื่อน ในช่วงรอยต่อรัฐบาลเก่ารัฐบาลใหม่...

เท็จจริงเป็นเช่นไรต้องแกะรอยปริมาณน้ำในเขื่อน

ที่ประชาชนธรรมดาสามารถหาสืบค้นได้ในเว็บไซต์ ...

ได้ทั้งของกรมชลประทาน, การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย,

สถาบันสาร– สนเทศทรัพยากรน้ำและเกษตร (องค์การมหาชน)

ไม่ต้องดูทุกเขื่อนทั่วไทย...ดูกันแค่เขื่อนภูมิพล กับเขื่อนสิริกิติ์ ก็พอ

เพราะเป็นที่ถูกกล่าวหามากที่สุดเริ่มต้นจ้องมอง...

ดูปริมาณน้ำวันประกาศยุบสภาฯ


5 พ.ค.54 วันนั้น ปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพล มีอยู่ 45% ของความจุอ่าง

ส่วนเขื่อนสิริกิติ์ มีอยู่ 50%...

ผ่านไปเดือนครึ่ง ก่อนไหหม่าจะพัดมา

น้ำในเขื่อนภูมิพลมีอยู่ 55% เขื่อนสิริกิติ์ 54%

หลังไหหม่าสลายตัวไป 7 วัน และก่อนเลือกตั้ง 1 วัน...


2 ก.ค.54 น้ำในเขื่อนภูมิพล เพิ่มมาเป็น 58% ของความจุอ่าง

เขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำเพิ่มเป็น 64% ยังเก็บน้ำได้อีกเยอะ

ห้วงเวลาถัดมา คนไทยรู้กันแล้วว่าใครจะได้เป็นนายกรัฐมนตรี


29 ก.ค.54 ก่อนดีเปรสชันนกเตนจะถึงไทย...

น้ำในเขื่อนภูมิพล มีอยู่ 63% เขื่อนสิริกิติ์ 77%


5 ส.ค. สภาผู้แทนราษฎรลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี...

เป็นวันที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีบันทึกไว้ว่า

เป็นวันสิ้นสุดการเป็นนายกรัฐมนตรีของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

และเป็นเริ่มต้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร


8 ส.ค. มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม

แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี เป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ดีเปรสชันนกเตนสลายตัวไป


8 วันแล้ว...ปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพล เพิ่มมาอยู่ที่ 69%

เขื่อนสิริกิติ์ 85%ปริมาณน้ำขนาดนี้ มากเกินไปหรือไม่...

ยังไม่อันตราย เพราะขีดความสามารถการรับน้ำของเขื่อนนั้น

รับได้ 100% และต่อให้เกิน 100% ระดับน้ำเพิ่มขึ้นมาจ่อสันเขื่อน

ก็ยังรับได้แต่ในทางปฏิบัติ ถ้าไม่มีน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำเพิ่ม

จะเก็บกักกันแค่ 100% เพราะถ้าปล่อยให้เกิน 100%

แรงดันน้ำจะกดทับประตูจนไม่สามารถเปิดประตู Spillway ได้นั่นเอง


25 ส.ค. รัฐบาลชุดใหม่เสร็จสิ้นการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาเป็นที่เรียบร้อย

คณะรัฐมนตรีทำหน้าที่บริหารประเทศได้เต็มสูบ...

ปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพล มีอยู่ 75% เขื่อนสิริกิติ์ 93%

และเป็นวันแรกที่เขื่อนสิริกิติ์เริ่มระบายน้ำผ่าน Spillway

วันละ 7.35 ล้านคิว นอกเหนือจากระบายน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้าที่ระบายอยู่แล้ว

วันละประมาณ 50-60 ล้านคิว มาตั้งแต่ 4 ส.ค.54

ส่วนเขื่อนภูมิพลปริมาณน้ำอยู่ที่ 75% การระบายน้ำล้นยังไม่ได้ทำ

มีแต่ระบายน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้าวันละ 20-30 ล้านคิวอยู่แล้ว

สถานการณ์ขณะนั้นน้ำท่วมยังคงอยู่แถวสุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร...

คงจำกันได้ 28 ส.ค. 54 ชื่อ “บางระกำโมเดล” มาโผล่เอา

ตอนนายกรัฐมนตรี หญิงคนแรกของไทยไปเยี่ยมเยียน

แจกถุงยังชีพแถวนั้นทัพน้ำยังมาไม่ถึงนครสวรรค์สักเท่าไร

ให้บังเอิญเวลานั้นหลังจากนกเตนสลายตัว

ไม่มีพายุไหนพัดเข้ามาอีกเลย...รัฐบาลชุดใหม่เข้ามาบริหารประเทศ

พายุเว้นวรรคให้ลืมน้ำท่วมไปได้ถึง 2 เดือน

วุฒิภาวะตระหนักภัยมือน้ำท่วมเลยจืดจาง ปล่อยให้มหาดไทย

สิงห์คลองหลอดขยันใช้งบฉุกเฉินซื้อถุงยังชีพแจก

รับหน้าสื่อแก้ปัญหา...ส่วนรัฐบาลหันไปให้ความสำคัญ

เรื่องอื่นที่ใหญ่กว่าแทน


27 ส.ค. ลดราคาน้ำมัน,


6 ก.ย. ย้ายเลขาธิการ สมช.เพื่อจะได้โยก ผบ.ตร.

มานั่งแทนแล้วดันญาติมาเป็นใหญ่ใน สตช.,


13 ก.ย. รถยนต์คันแรก,


20 ก.ย. บ้านหลังแรก


และแล้ววันเวลาหลงระเริงประชานิยมต้องหยุด เมื่อ 3 พายุก่อตัว

อาละวาดในช่วงเวลาไล่ๆกัน

เนสาด (23-30 ก.ย.),

ไห่ถาง (24-27 ก.ย.),

นาลแก (26 ก.ย.-5 ต.ค.)

พร้อมๆกับน้ำท่าเริ่มรุกเข้านครสวรรค์-อุทัยธานี-ชัยนาท-อ่างทอง-

สิงห์บุรี-ลพบุรี-อยุธยา5 ต.ค.54 เริ่มมีการระบายน้ำ

ออกจากเขื่อนภูมิพลทางประตูน้ำล้นวันละ 40 ล้านคิว

เพิ่มเติมจากที่ระบายเพื่อผลิตไฟฟ้าอยู่แล้ว 60 ล้านคิว

เพราะปริมาณน้ำในเขื่อนเพิ่มขึ้นมาเป็น 98% ของความจุเต็มอ่าง

ส่วนเขื่อนสิริกิติ์ ปริมาณน้ำอยู่ที่ 99% แต่ไม่ระบายน้ำล้น

ระบายแค่เพื่อผลิตไฟฟ้าวันละ 60 ล้านคิว6 ต.ค.

น้ำท่วมนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนคร, 7 ต.ค.

เทศบาลอโยธยาใจกลางเมืองอยุธยาจมบาดาล...

และผู้นำเพิ่งตั้งหลักได้ ตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย

(ศปภ.) ขึ้นที่สนามบินดอนเมือง


8 ต.ค.น้ำทะลักแนวกั้นนิคมอุตสาหกรรม

โรจนะ และอีกหลายนิคมอุตสาห– กรรมจมน้ำตามมา

เพราะเอาอยู่...จนกลายเป็นตำนานให้เล่าขานไปอีกนาน


พระพิรุณรับจ็อบ หรือคนมีจ็อบแต่ทำไม่เป็น...

ทั้งที่มีอำนาจเต็มตัวและมีเวลาให้รับมือถึง 2 เดือน

เมื่อมีปัญญาคิดทำได้เท่านี้...สมควรแล้วที่ต้องโทษผีสางเทวดา



อ้างอิงจาก หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 25 พฤศจิกายน 2554

"//www.thairath.co.th/column/pol/page1scoop/218830"




Create Date : 25 พฤศจิกายน 2554
Last Update : 15 มิถุนายน 2556 15:08:40 น. 1 comments
Counter : 1048 Pageviews.

 


โดย: thebe01 วันที่: 29 พฤศจิกายน 2554 เวลา:19:27:27 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ART19
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]





ความเสมอภาคที่แท้จริง คือ
การที่ทุกคนต้องมีหน้าที่
การทำหน้าที่ของตนเอง
จะเป็นสิ่งที่กำหนดว่า
เราควรได้รับอะไร แค่ไหน
Friends' blogs
[Add ART19's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.