Group Blog
 
<<
เมษายน 2554
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
18 เมษายน 2554
 
All Blogs
 

ปรับฐานทัพรับร้อน



ถ้าบ้านเปรียบเสมือนฐานทัพที่คนในบ้านใช้เป็นที่พักพิง
แต่พอถึงหน้าร้อนก็มีศัตรูยกพลมาประชิดชายแดนสร้างความ "เดือดร้อน" ให้กับคนในบ้าน
คงจะถึงเวลาที่คุณต้องลุกขึ้นมาเพื่อขับไล่ผู้บุกรุกอย่าง “ความร้อน” ให้ออกไปให้ไกล

คัมภีร์ยุทธศาสตร์ต่างๆ มักจะเอ่ยอ้างอิงถึงสำนวนสุภาษิตว่า “รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง”
คุณจึงควรรู้จักกับการถ่ายทอดพลังงานความร้อน*ของบรรดาข้าศึกเหล่านี้เสียก่อนว่า
มันจะมีรูปแบบใดกันบ้าง? เพื่อที่ว่าเมื่อคุณรู้จะได้หายุทธวิธีรบเพื่อเอาชนะต่อไป

ถ้าคุณเลือกวิธีตีหัวเข้าบ้านอย่างเดียวด้วยการติดเครื่องปรับอากาศ ชัยชนะอาจจะได้มาแสนง่ายดาย
คนในบ้านกลับมาอยู่เย็นอีกครั้ง แต่สิ่งที่ต้องสูญเสียไปล่ะจะคุ้มค่ากันไหม?
ไม่ใช่เสียเลือดเสียเนื้อหรอก…แต่จะเป็นการเสียเงินเกินความจำเป็น
คุณจึงต้องมีการจัดทัพให้ดีเพื่อรบกับความร้อนนี้

วางแนวหน้าด้วยการใช้กันสาดบังแดดที่ส่องผ่านเข้าหน้าต่าง
แต่ต้องระวัง อย่าให้บดบังจนบ้านมืดเกินไป เพราะนั่นก็จะสิ้นเปลืองทรัพยากรไปกับการทำให้บ้านสว่างอีก

ยุทธการเช่นนี้ต้องปรับวิธีรับมือ ให้เข้ากับการระดมพลรุกของข้าศึกอย่างดวงอาทิตย์ด้วย

ดาวฤกษ์ใหญ่ดวงนี้จะเคลื่อนตัวจากทิศตะวันออกอ้อมไปทางใต้
และมาบรรจบที่ทิศตะวันตกเป็นเวลา 9 เดือน
โดยเฉพาะเดือนธันวาคมที่อ้อมไปทางใต้ที่สุด แดดจึงมีมุมต่ำที่สุด
ส่วนอีก 3 เดือนที่เหลือ (พฤษภาคม-กรกฎาคม) ดวงอาทิตย์จะเปลี่ยนแผนอ้อมไปทางเหนือ
มุมแดดจะสูงป้องกันง่ายแต่แสงทิศนี้จะส่งผลต่อความสว่าง

ดังนั้น การตั้งรับการโจมตีจึงต้องยึดหลัก “รับไว้แสงทิศเหนือ ที่เหลือกันแดด

กันสาดจะมี 3 รูปแบบให้เลือกใช้ คือ แนวนอนที่เหมาะกับการตั้งรับทางทิศเหนือและทิศใต้,
แนวตั้งสำหรับทิศตะวันออกและตก และแบบผสมใช้ได้กับทุกทิศ

แต่ไม่ว่าจะเป็นแบบใดสิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือ
คุณสามารถติดตั้งได้ไหม?
มันจะล้ำแดนอาณาเขตผู้อื่นหรืออาณาเขตเป็นกลางไหม?
โครงสร้างบ้านแข็งแกร่งพอหรือไม่?

แต่กันสาดนั้นสามารถทำให้เกิดเทอร์มอล บริดจ์ (Thermal Bridge) ได้
คือเมื่อแสงแดดส่องกระทบกันสาด ความร้อนจะสะสมอยู่มากเข้าๆ
ก็จะมีการนำความร้อนไปยังผนัง และวัสดุตรงส่วนรอยต่อของกันสาดกับบ้าน
การติดตั้ง จึงควรเลี่ยงที่จะให้มีจุดเชื่อมของกันสาดกับตัวบ้านน้อยที่สุด…แต่ยังคงไว้ซึ่งความแข็งแกร่งอยู่


ในขณะที่แนวหน้ากำลังกรำศึกอยู่ก็ควรมีแถวสองไว้ด้วย
คือฉนวนกันความร้อนที่จะไม่ยอมให้ความร้อนแทรกซึมมาได้ แยกได้เป็น 2 ชนิด
คือ ฉนวนป้องกันความร้อน เช่น พวกใยแก้ว โฟม พวกนี้จะนำความร้อนต่ำ เมื่อมาทำฉนวนจะมีโพรงอากาศ
เนื้อวัสดุไม่ติดกัน ทำให้ไม่เกิดการนำความร้อน แต่การแผ่รังสีก็ยังเกิดขึ้นได้แต่น้อย

อีกพวกคือฉนวนสะท้อนความร้อน ด้วยความที่มีลักษณะเป็นแผ่นมันวาว
เมื่อวางใต้หลังคามันจึงสะท้อนความร้อนออกไปก่อนที่จะสะสมในตัว
แต่หากผิวหมดความวาวก็จะกลายเป็นของไร้ค่าไป
หากต้องการประสิทธิภาพสูงสุดควรทำให้มีช่องว่างอากาศ (Air Gap)
ระหว่างฉนวนกับฝ้าเพดานอย่างน้อย 1 นิ้วด้วย


สิ่งที่ควรพิจารณาก่อนเลือกฉนวนกันความร้อน คือ
1. การทนต่อแมลงและการเกิดเชื้อรา
2. ราคาและอายุการใช้งาน
3. น้ำหนักและความหนาแน่น
4. การป้องกันน้ำและความชื้น

เมื่อได้คำตอบแล้วก็ติดตั้งได้เลย โดยเริ่มจากฝ้าเพดาน ผนังด้านตะวันตกและใต้แล้วค่อยไปด้านอื่น
แต่กับห้องที่ไม่ติดแอร์ อย่าไปเผลอตัวติดทุกด้านนะ แม้งบจะเพียงพอก็ตาม เพราะห้องจะกลายเป็นเตาอบไป

นี่คือวิธีการง่ายๆ สำหรับการปรับทัพเพื่อต้านรับความร้อน
ไม่ให้เข้ามาสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนในบ้าน
แต่สิ่งสำคัญ คือ ต้องหมั่นตรวจตราด้วย ถ้าเมื่อใดที่กองกำลังที่คุณติดตั้งอ่อนแอลง
ก็จัดการทะนุบำรุงใหม่เพื่อไม่ให้เป็นช่องว่างให้ข้าศึก (ความร้อน) กลับมาโจมตีอีกได้


* การถ่ายทอดพลังงานความร้อน
พฤติกรรมการถ่ายเทความร้อนหรือ Heat Transfer นั้นจะมีมาในลักษณะ 3 รูปขบวนด้วยกันได้แก่

1. การนำความร้อน
จะถ่ายเทอยู่ในวัสดุชิ้นเดียวกันหรือวัสดุ 2 ชิ้นที่แตะทับสัมผัสกันก็ได้
เช่น ถ้าเอามือไปแตะสัมผัสกำแพงก็จะรู้สึกร้อน ถ้ากำแพงนั้นร้อน เป็นต้น
การถ่ายเทความร้อนในลักษณะนี้จะมากจะน้อยขึ้นอยู่กับวัสดุนั้นๆ ว่าเป็นตัวนำความร้อนที่ดีเพียงใด
เช่น เหล็ก หิน คอนกรีตนั้น จัดได้ว่าเป็นตัวนำความร้อนที่ดีทีเดียว

การนำความร้อนสามารถเกิดขึ้นได้อีกลักษณะที่ไม่ต้องเกิดการสัมผัส
คือถ้ากำแพงด้านหนึ่งร้อนมันจะถ่ายเทความร้อนมายังอีกด้านหนึ่งด้วย

2. การพาความร้อน
จะเริ่มซับซ้อนขึ้นเล็กน้อยเมื่อต้องอาศัย “ตัวกลางเชื่อมโยง” อันได้แก่ น้ำหรืออากาศเข้าร่วมมือด้วย
สำหรับการพาความร้อนในบ้านนั้น อากาศเป็นตัวการที่สำคัญที่สุด
ในพื้นที่ที่อุณหภูมิสูงอากาศจะร้อนและลอยตัวขึ้น อากาศจากที่ที่อุณหภูมิต่ำก็เลยสวมรอยเข้าทดแทน
และหมุนเวียนอยู่ทั่วทั้งห้องทำให้ความร้อนอบอยู่ในนั้น
คอนเด็นซิ่งยูนิตของเครื่องปรับอากาศ เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด
เพราะเป็นการพาเอาความร้อนจากในบ้านมาทิ้งนอกบ้าน

3. การแผ่รังสีความร้อน
ไม่ต้องอาศัยตัวกลางเชื่อมโยงแล้ว แต่บุกเดี่ยวเข้าโจมตีด้วยการแฝงตัวผ่านอากาศหรือสูญญากาศ
ในรูปแบบของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเลย เปรียบเสมือนยืนข้างกองไฟแม้ไม่มีลมพัดพาความร้อนมา
แต่เราก็ร้อนอยู่ดีเพราะไฟแผ่รังสีออกมา เช่นกันกับยามบ่ายคล้อย
ผนังที่รับความร้อนมาเต็มที่ก็จะคลายความร้อนออกมา โดยการแผ่รังสีไปยังสิ่งที่เย็นกว่า
เราที่อยู่ในห้องไม่รู้อิโหน่อิเหน่เลยก็จะรู้สึกร้อนไปด้วย


ที่มา : //www.homeandi.com


สารบัญ ตกแต่งบ้าน และ จัดสวน




 

Create Date : 18 เมษายน 2554
0 comments
Last Update : 18 เมษายน 2554 18:13:54 น.
Counter : 1265 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.