Group Blog
 
<<
มีนาคม 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
15 มีนาคม 2554
 
All Blogs
 
ฟูมฟักต้นไม้ใหญ่ให้มีคุณภาพ

ฟูมฟักต้นไม้ใหญ่ให้มีคุณภาพ

การปลูกต้นไม้” หลาย ๆ คนอาจจะคิดว่าเป็นแค่เพียงการนำเอาต้นไม้ลงดินเท่านั้น
แต่ความจริงแล้วยังมีรายละเอียดมากกว่านั้น เพื่อให้ต้นไม้ที่เรา “นำลงดิน” แข็งแรง สวยงาม
ให้ร่มเงารวมทั้งความร่มรื่น ชื่นใจยามมองเข้าไปในสวนของเราด้วย

การเตรียมหลุมปลูกแบบใหม่ตื้นและกว้าง
การเตรียมหลุมปลูกแบบใหม่ตื้นและกว้างช่วยเร่งระบบรากทางนอน
ทำให้ต้นไม้เติบโตแข็งแรงได้เร็วกว่าปลูกที่ลึกและแคบ

“แต่ก่อนเคยเชื่อกันมาว่าหลุมปลูกยิ่งลึกยิ่งดี
แต่ในความเป็นจริงแล้ว รากไม้ที่ขยันหาอาหารจะอยู่แค่เพียงในระดับตื้นๆ
ประมาณ 15-40 เซนติเมตรเป็นส่วนใหญ่เท่านั้น โดยเฉพาะดินเหนียวด้วยแล้ว”
ศาสตราจารย์เดชา บุญค้ำ อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องภูมิทัศน์เมือง รวมทั้งวิชา “รุกขกรรม”
ยกตัวอย่างแรกให้ฟัง

เห็นไหมว่าแค่ “ความลึก” ก็ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตต่อไปของต้นไม้แล้ว
แต่จะเล็กแต่ลึกแบบไหน อันนี้ต้องไปฟังศาสตราจารย์เดชาอธิบายขยายความกันต่อ
คือรากแก้วซึ่งเกิดจากการเพาะเมล็ดแทบจะหมดความจำเป็นแล้ว
รากทางนอนกลายเป็นตัวช่วยยึดลำต้นมากกว่าหลุมที่กว้างจึงดีกว่าลึก


แต่หลุมที่กว้างนั้นต้องยอมรับว่า บางครั้งมันสวนทางกับขนาดของพื้นที่ที่มีอยู่
การปฏิบัติจริงจึงอาจจะต้องอาศัยการดัดแปลง เพื่อให้เข้ากับขนาดของพื้นที่ด้วย
อย่างไรก็ดีการปลูกต้นไม้จะงามหรือไม่นั้น ไม่ได้อยู่ที่ขนาดของหลุมเท่านั้น
ดินที่ใช้ปลูกก็สำคัญไม่แพ้กัน


“ดินสำหรับใช้ปลูกต้นไม้ใหญ่ที่ดีที่สุดคือดินบนหรือ Top Soil ธรรมดาในบริเวณนั้นนั่นเอง”
ศาสตราจารย์เดชาบรรยายต่อ
“แต่ต้องยกเว้นบริเวณที่เป็นดินเลวนะครับ เช่น บริเวณที่เป็นทรายหรือหินล้วนๆ
ส่วนดินปลูกหรือ Soil Mix ที่เค้าขายๆ กันและมีราคาแพง
ส่วนใหญ่กลับจะสร้างปัญหาให้ต้นไม้ซะมากกว่า”

เหตุผลที่เป็นเช่นนั้นก็คือนอกจากจะเกิดการยุบตัวมากแล้ว ยังมีธาตุอาหารที่ไม่สมบูรณ์ด้วย
แต่ถ้าหากใส่ปุ๋ยทันทีหลังจากปลูกก็จะเป็นการสูญเปล่าอีกเช่นกัน เพราะระบบรากยังไม่เดิน
ปุ๋ยจึงจะกลายเป็นตัวเร่งหญ้า รวมทั้งวัชพืชให้เติบโตสร้างศัตรูให้กับต้นไม้ที่ปลูกเสียเปล่าๆ

วิธีแก้ไขหากต้องปลูกในพื้นที่แคบรวมทั้งผิวดินแข็ง ศาสตราจารย์เดชาแนะนำว่า
ตะแกรงเหล็กหรือคอนกรีตโปร่งสำหรับวางรอบโคนต้นจะมีความจำเป็นมาก
ควรจะนำมาใช้เพื่อการนี้ด้วย
” ทั้งนี้ก็เพื่อการเจริญเติบโตที่ดีที่สุด ของต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่งนั่นเอง

ข้อควรจำอีกข้อหนึ่งที่ลืมไม่ได้ หากต้องปลูกในพื้นดินหรือสนามก็คือขุดหลุมให้ตื้นๆ ไว้
แต่ให้กว้างจะดีกว่า แล้วก็ห้ามปูหญ้าถึงโคนต้นเด็ดขาด
เพราะเจ้าหญ้านี่แหละมีนิสัยมุทะลุดุดันมากๆ ในการแย่งอาหารจากเพื่อนๆ
ต้นไม้ที่คุณปลูกจึงอาจจะไม่ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนก็ได้

“มันเป็นลักษณะนิสัยของวัชพืชอยู่แล้วครับ ที่สามารถแย่งอาหารในดินได้อย่างดุดันกว่าต้นกล้า
ซึ่งจะทำให้ต้นกล้าที่เราปลูกรากเดินช้าไปด้วย จะให้ดีควรคลุมผิวดินรอบโคนต้นด้วยวัสดุคลุม
เช่น ขุยมะพร้าว ฟางข้าว ฯลฯ เพื่อรักษาอุณหภูมิและความชื้นจะดีกว่า” ศาสตราจารย์เดชาว่า

ต้นไม้วัยเยาว์สามารถตัดฝึกให้มีสรีระเหมาะสมได้ตามต้องการ
ต้นไม้วัยเยาว์สามารถตัดฝึกให้มีสรีระเหมาะสมได้ตามต้องการ (บนซ้าย) ปล่อยให้สูง
(กลาง-ขวา) ตัดไม่ให้สูง

หลังจากปลูกต้นกล้าของไม้ใหญ่ต้นหนึ่งแล้ว สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือการค้ำยัน
เพราะขนาดของต้นไม้ใหญ่ที่เหมาะสมจะมีขนาดระหว่าง 2.5-4.5 เมตร ซึ่งถือว่าใหญ่พอควรเลย
หากโค่นล้มลงมาจะเกิดอตร.-อันตรายได้นั่นเอง
การยึดควรทำให้แข็งแรงพอจะต้านแรงลมได้ แต่ไหวเอนพอให้ต้นไม้ได้พัฒนากล้ามเนื้อได้ด้วย

“การตรึงต้นไม้จนแน่นแบบมัดตราสังข์ แล้วปล่อยทิ้งไว้นานนับปีจะเกิดแต่ผลเสียนะครับ
เพราะพอถอดเครื่องค้ำจุนออกปุ๊บ ต้นไม้มักถูกโค่นเมื่อถูกพายุ
ส่วนที่มันจะหักเป็นส่วนล่างที่กล้ามเนื้อลีบนั่นเอง
นอกจากนี้ยังจะเกิดเป็นรอยแผลที่ลำต้นบริเวณบริเวณที่โดนตรึงด้วย” ศาสตราจารย์เดชาว่า

สำหรับวัสดุที่เหมาะสมในการใช้ตรึงต้นไม้นั้นมีทั้งไม้ เคเบิลไปจนถึงลวด
แต่หากจะทำให้ถูกวิธีต้องมีห่วงสปริงที่ยืดขยายตามแรงลมได้ ซึ่งมีราคาแพง
บางครั้งจึงอาจจะไม่เหมาะนักหากงบประมาณไม่พอ
จึงอาจจะเป็นการใช้แค่ไม้ตอกยึดเพื่อค้ำยันก็เพียงพอแล้ว โดยตอกไม้ยึดลำต้น 4 หัวเสาเป็น 2 ชั้น

“ชั้นนอกให้ห่างลำต้นด้านละ 10-15 เซนติเมตร ส่วนชั้นในหรือบนไม้ยึดชั้นนอกนั้น
ตอกให้ห่างลำต้นชั้นสัก 1-2 เซนติเมตร รองรับลำต้นด้วยเศษยางฟองน้ำ” ศาสตราจารย์เดชาแนะนำ
“พอต้นไม้แสดงให้เห็นการเจริญแล้วจึงถอดเครื่องตรึงชั้นในออก
ส่วนจะถอดออกได้ทั้งชุดเมื่อไหร่นั้นอยู่ที่ระบบรากและสภาพแวดล้อม”

ช่วงที่นำกล้าไม้ลงปลูกจนถึงช่วงโตเต็มวัย
การ “ฝึก” ก็ยังมีความจำเป็นเพื่อให้ต้นไม้ที่ปลูกมีรูปร่างที่สวยงาม สุขภาพแข็งแรง
สิ่งที่ต้องดูแลคือการตัดกิ่งกระโดง กิ่งง่ามมุมแคบ
แต่ถ้าต้องการให้ต้นไม้สูง จำไว้ว่า “อย่าไปตัดกิ่งยอด (Leader) เป็นอันขาด
หากเห็นว่าด้านบนมีสายไฟก็ให้ตัดกิ่งยอดเพื่อให้แตกด้านข้างแทน

จังหวะกิ่งที่งามและเหมาะสม
จังหวะกิ่งที่งามและเหมาะสม

กิ่งที่ควรรักษาไว้คือกิ่งที่ทำมุมกว้างกับลำต้น โดยเฉพาะกิ่งที่สยายทางนอนได้สมดุล
กิ่งมุมแหลมเป็นสาเหตุสำคัญอันหนึ่งของการหักโค่นแบบครึ่งซีก เมื่อถูกพายุ จึงไม่ควรตัดเป็นอันขาด
ส่วนใบนั้นไม่ควรตัดเพราะเป็นแหล่งปรุงอาหาร จะยกเว้นก็แค่ใบที่ถูกพุ่มใบส่วนบนบังตลอดเวลาครับ”
ศาสตราจารย์เดชากล่าว


เรื่องและภาพโดย พรชัย พงษ์สุกิจวัฒน์
เอื้อเฟื้อข้อมูลและภาพประกอบโดย ศาสตราจารย์เดชา บุญค้ำ
ที่มา : //www.homeandi.com


สารบัญตกแต่งบ้าน และ จัดสวน



Create Date : 15 มีนาคม 2554
Last Update : 15 มีนาคม 2554 17:55:15 น. 0 comments
Counter : 5558 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.