รีวิวหนังสือ กาลานุกรม





หนังสือกาลานุกรม  พระพุทธศาสนาในอารยธรรมโลก

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต)



หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ดีมาก และยาวมากเล่มหนึ่ง

ซึ่งเมื่อเราได้อ่านแล้ว จะพบว่า ผู้เขียนต้องใช้ความพยายาม และใช้เวลาอย่างยิ่ง

ในการรวบรวมเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนาเข้ามารวมกัน

และผนวกเข้ากับความเป็นไป ในยุค ช่วงสมัยต่างๆของนานาประเทศ

ทั้งยุโรป อเมริกา และแม้แต่ในเอเชีย

ว่าในช่างเวลานั้นๆ นานาอารยประเทศ เกิดเหตุการณ์สำคัญใดขึ้นบ้าง

และพระพุทธศานาได้เกิดเหตุการณ์ใด มีการแผ่ขยาย หรือถูกทำลายอย่างไรที่ไหนบ้าง โดยผู้ใดบ้าง




เรื่องราวเริ่มตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาล หลังพุทธกาล 

การสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 1 เป็นต้นมา จนถึงพุทธศาสนาถูกทำลายโดยฮินดูและมุสลิมในยุคต่างๆ




เรื่องราวการแผ่กระจายอำนาจจากมุสลิมอาหรับ จนพุทธศาสนาสูญสิ้นจากอินเดีย

และเมื่ออังกฤษเข้ามาปกครองอินเดีย ก็กลับทำให้พุทธศาสนาฟื้นตัวขึ้นอีกครั้ง

โดยมีเรื่องราวความเป็นมาที่น่าสนุกและน่าสนใจอย่างยิ่ง



การกำเนิดของศาสนาแต่ละศาสนามีความเป็นมาอย่างไร

ผู้เขียนได้รวบรวมบอกกล่าวไว้อย่างน่าสนใจ การแผ่ขยายของแต่ละศาสนา รวมถึงอิสลาม 

จนถึงยุคล่าอานานิคม สงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2



โดยในแต่ละช่วงเวลานั้น ผู้เขียนจะผนวก ความเป็นไปของศาสนา

และเทียบช่วงกับพัฒนาการต่างๆ ขอยกตัวอย่างบางส่วนดังนี้


เช่น บาบิโลเนียใช้ไม้สักอินเดีย ในช่วง 605-562 BC

เล่าจี๊อ ขงจื้อ เริ่มเกิดในจีน ในช่วง 604 BC และ 551-479 BC ตามลำดับ

ขณะที่ทางฝ่ายมหาวีระ ศาสดาแห่งศาสนาเชนได้สิ้นชีพลง มีการทะเลาะวิวิาท ในช่วง 527 BC

ซึ่งเป็นเหตุให้พระพุทธองค์ทรงแนะนำให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎกขึ้น




ทั้งยังมีเรื่องราวของศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกมหาราช

ที่ได้โปรดให้ทำศิลาจารึกเริ่มแต่เมื่อได้อภิเษาได้ 12 พรรษา ( พ.ศ. 226 )
ในศิลาจารึกฉบับที่ 12 มีพระดำรัสว่า


"สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปริยทรรศี ผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ

ย่อมทรงยกย่องนับถือศาสนิกชนแห่งลัทธิศาสนาทั้งปวง

ทั้งที่เป็นบรรพชิตและคฤหัสถ์ด้วยพระราชทาน

และการแสดงความยกย่องนับถืออย่างอื่นๆ

แต่พระผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ ไม่ทรงพิจารณาเห็นทานหรือการบูชาอันใด

ที่จะเทียบได้กับสิ่งนี้เลย สิ่งนี้คืออะไร?

นั่นก็คือการที่จะพึงมีความเจริญงอกงามแห่งสารธรรมในลัทธิศาสนาทั้งปวง

ก็ความเจริญงอกงามแห่งสารธรรมนี้ มีอยู่มากมายหลายประการ

แต่ส่วนที่เป็นรากฐานแห่งความเจริญงอกงามนั้นได้แก่สิ่งนี้คือ

การสำรวมวาจา ระวังอย่างไร ? คือ

ไม่พึงมีการยกย่องลัทธิศาสนาของตน และการตำหนิลัทธิศาสนาของผู้อื่น

เมื่อไม่มีเหตุอันควร....การสังสรรค์สมาคมกันรนั่นแลเป็นสิ่งดีงามแท้

จะทำอย่างไร ? คือ จะต้องรับฟังและยินดีรับฟังธรรมของกันและกัน


จริงดังนั้น พระผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพทรงมีความปราถนาว่า

เหล่าศานิกชนในลัทธิศาสนาทั้งปวง พึงเป็นผู้มีความรอบรู้ และเป็นผู้ยึดมั่นในกรรมดี....

จะบังเกิดผลให้มีทั้งความเจริญงอกงามแห่งลัทธิศาสนาของตนๆ และความรุ่งเรืองแห่งธรรม"


แสดงให้เห็นถึงความเปิดกว้างทางศาสนา และการไม่เบียดเบียนกันอย่างแท้จริง

ทรงมีความปราถนาความเห็นความสามัคคี และการปรองดองของหมู่คนทั้งหลาย




ขณะที่ ปี พ.ศ. 1033 หรือ ค.ศ. 490 กษัตริย์ของ วากาฏกะ ซึ่งหลายองค์ในยุคหลังๆเป็นชาวพุทธ

ได้ทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา และสร้างงานบุญสำคัญคือ การขุดเจาะแกะสลักถ้ำ ที่อชันตา

และได้ถวายแก่สงฆ์ในช่วงราวปี พ.ศ. 1033 ซึ่งงานสลักถ้ำ ดำเนินต่อมาเรื่อยๆ และมีการขาดช่วงไป จนยุติในปี พ.ศ. 1200

ถ้ำยุคหลังยังการแกะเพิ่มอีก 24  ถ้ำ ล้วนเป็นของพุทะศานามหายานล้วนๆ

ขณะที่งานสลักถ้ำที่อชันตายุติลง ก็มีการแกะสลักวัดถ้ำขึ้นที่เอลโลร่า

ซึ่งห่างจากอชันตามาทางตะวันออกเฉียงใต้ 80 กม

ซึ่งเริ่มต้นในช่วง พ.ศ. 1100-1200 และยุติในประมาณ พ.ศ. 1400

มีทั้งหมด 34 ถ้ำ เป็นของ 3 ศาสนา คือพุทธ ฉินดู และเชน

ส่วนที่ถ้ำอชันตานั้นเป็นของพุทธแต่เพียงศาสนาเดียว



ซึ่งในช่วงเวลาที่อินเดียกำลังสร้างขุดแกะถ้ำเพื่อศาสนาอย่างยิ่งใหญ่ด้วยแรงศรัทธา 

ช่วงเวลาประมาณเดียวกันนั้น คือใน ปี พ.ศ. 989  




จักรพรรดิจีน แห่งราชวงศ์เว่เหนือ ซึ่งเคยส่งเสริมพระพุทธศานา

กลับมาคิดเห็นว่าบ้านเมืองต้องสูญเสียกำลังคนและภาษีไป เนื่องจากคนบวช และการบำรุงวัดวาอาราม

จึงให้ฆ่าภิกษุและภิกษุณี ทำลายวัด พระพุทธรูป

ห้ามชายอายุต่ำกว่า 50 ปีออกบวช โดยดำเนินการอยู่นานถึง 5 ปี

เป็นเหตุให้ลัทธิขงจื๊อขึ้นมามีอำนาจเหนือพุทธศาสนา


ทั้งยังมีเรื่องราวอีกมากมายที่น่าสนใจใคร่รู้และน่าศึกษาอย่างยิ่ง



สิ่งที่ประทับใจ คือ เรื่องราวแต่ละเรื่องที่เกิดขึ้น ผู้เขียนล้วนเทียบเคียงเวลากับสถานการณ์ที่สำคัญ

ทำให้เราได้รู้เรื่องราวต่างๆบนโลกนี้ไปพร้อมกัน

รู้สาเหตุการล่มสลาย การแผ่การะจายอำนาจ 

แต่ละเหตุการณ์ล้วนมีวาระเวลา มีเหตุการณ์ที่ชักนำ พาจูงให้ทุกสิ่งเป็นไป

การได้อ่านหนังสือเล่มนี้เป็นการอ่านที่เราจะมีขีดเวลาของช่วงปีบอกให้

ให้เราได้เทียบช่วงเวลากับเหตุการณ์สำคัญต่างๆ

เหมือนเราได้ดูหนังสารคดีเรื่องต่างๆของโลกไปพร้อมๆกัน ทั้งตะวันออกและตะวันตก

เป็นหนังสือที่ดีและมีประโยชน์อย่างมาก 

และเป็นหนังสือที่ทำให้เราได้รู้สึกถึงแรงทุ่มเท และการค้นคว้าของผู้เขียน

สมกับชื่อที่เรียกว่า กาลานุกรม เพราะทุกสิ่งที่บอกเล่า ล้วนเชื่อมหากันด้วย "กาลเวลา" 

ทำให้เราได้รู้ทุกอย่างราวกับเห็นเหตุการณ์สำคัญของโลกทั้งใบไปพร้อมกัน

รวมถึงภาษาที่ใช้ และการเรียบเรียง ทำให้อ่านไม่สะดุด และชวนติดตามอย่างไม่น่าเบื่อเอาเสียเลย


บล๊อคนี้ไม่ต้องโหวตนะคะ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชมนะคะ








Create Date : 28 กันยายน 2559
Last Update : 28 กันยายน 2559 20:40:23 น. 0 comments
Counter : 827 Pageviews.

ตุ๊กจ้ะ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 264 คน [?]




Group Blog
 
 
กันยายน 2559
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
28 กันยายน 2559
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ตุ๊กจ้ะ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.