รีวิวหนังสือ กรรมทีปนี






หนังสือ กรรมทีปนี 

รงวัลชนะเลิศวรรณกรรมไทยสาขาศาสนา
ของธนาคารกรุงเทพจำกัด (มหาชน) ประจำปี 2517



โดย พระพรหมโมลี (วิลาส ญาณวโร ป.ธ. 9)
เจ้าอาวาสวัดยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร

หนังสือเล่มนี้เป็นหนึ่งในงานเขียนทางพระพุทธศาสนาที่มีค่าเล่มหนึ่ง

ซึ่งได้กล่าวถึงในเรื่องของ กรรม การบรรลุธรรมในชั้นต่างๆ

การลดวัฏฏะสงสาร การเข้าถึงสภาวะแห่งอริยบุคคล ญาณทัสนะ  มรรคและผล จนถึงพระนิพพาน

โดยได้เรียบเรียงอธิบายแต่ละสิ่งไว้อย่างเป็นลำดับขั้นตอน  มีการยกเรื่องราวของบุคคลทั้งหลายในสมัยพุทธกาลให้ได้อ่านได้ศึกษาเรียนรู้กัน

เริ่มตั้งแต่ทั้งหมู่คนและหมู่สัตว์ตลอดถึงเหล่าพรหมทั้งหลาย ล้วนไม่พ้นจากอบายไปได้เหตุ

เพราะได้กระทำกรรมชั่ว หรืออกุศลกรรมบทล่วงทั้ง 10 ประการ เพราะกำลังอำนาจแห่งราคะ โทสะ และโมหะเป็นเหตุ


การจะพ้นจากอบายได้นั้นเบื้องต้นต้องเจริญ กุศลกรรมบถ 10 หรืออริยธรรม 10 ประการคือ

1. งดเว้นจาการฆ่า
2. งดเว้นจาการลักทรัพย์
3. งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
4.งดเว้นจากการพูดเท็จ
5.งดเว้นจาการพูดส่อเสียด
6.งดเว้นจาการพูดคำหยาบ
7. งดเว้นจาการพูดเพ้อเจ้อ
8.ความไม่อยากได้ทรพัย์ของผู้อื่น
9. ความไม่ปองร้าย
10. ความเห็นชอบ


โดยในแต่ละข้อล้วนมีรายละเอียดปลีกย่อยที่น่าสนใจ ที่อธิบายให้เข้าใจอย่างกระจ่าง พร้อมการยกตัวอย่างและข้อที่หลายคนสงสัย

ดังเช่นการประพฤติผิดในกาม หากล่วงเกินต่อผู้ที่เป็นสามีหรือภรรยาของผู้อื่น แต่ตนไม่รู้จะผิดหรือไม่

ในข้อนี้ก็คือผิดเช่นกัน แต่เพราะไม่มีเจตนา ความผิดนี้นจึงมีโทษร้ายแรงน้อยกว่ารู้แล้วกระทำโดยตั้งใจ

ฉะนั้นในเรื่องนี้ และเรื่องเกี่ยวกับกรรมทั้งหมดเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ที่ต้องระวังและพิจารณาให้ถ่องแท่้อย่างแท้จริง

เมื่อผู้ใดได้ระวังรักษาการกระทำของตนให้เป็นกุศลอยู่เสมอ นั่นคือไม่ก้าวล่วงต่อกุศลกรรมบททั้ 10 ได้แล้ว

ก็เร่งความเพียรเพื่อเจริญสมถะและวิปัสสนา จนปรากฏวิปัสสนาญาณทั้ง 16 ขั้น

ซึ่งในแต่ละขั้นนั้นก็มีความหมายและรายละเอียดของตนเองอย่างชัดเจน

1. นามรูปปริเฉทญาณ สามารถกำหนดแยกนามและรูปได้

2.ปัจจยปริคคหญาณ  กำหนดรู้ปัจจัยหรือเหตุผลแห่งนามรูป ว่าเกิดจากเหตุนี้ๆ

3.สัมมสนญาณ กำหนดรู้รูปนามโดยอาการที่ปรากฎเป็นไตรลักษณะ

4.อุทยัพพยญาณ กำหนดรู้ความเกิด ดับแห่งนามรูป ซึ่งในขั้นนี้จะเกิดวิปปัสนูกิเลส 10 ประการ 

อันจะทำให้ผู้ปฏิบัติหลงผิด และติดอยู่ในวิปัสสนาญาณขั้นนี้

5. ภังคญาณ รู้ความแตกสลายไปแห่งนามรูป

6. ภยญาณ  กำหนดเห็นามรูปว่าเป็นภัย คือเป็นสิ่งน่ากลัว

7.อาทีนวญาณ  กำหนดเห็นโทษแห่งนามรูป

8. นิพพิทาญาณ เกิดความเบื่อหน่ายในนามรูป

9. มุญจิตุกัมยตาญาณ  ปราถนาใคร่จะหลุดพ้นออกไปจากนามรูป

10.ปฏิสังขาฐาณ  ญาณที่พิจารณานามรูป โดยมีไตรลักษณะปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนอีกครั้งหนึ่ง

11.สังขารุเปกขาญาณ  ญาณที่วางเฉยในสังขารนามรูป

12.อนุโลมญาณ  เป็นสภาวะแห่งวปิัสสนาซึ่งจะอนุโลมคือเห็นพ้องกับวิปัสสนาญาณเบื้องต้นอันเป็นปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิทั้ง 8 ญาณเบื้องตั้น 

นับตั้งแต่อุทยัพพยญาณ มาจนถึงสังขารุเปกขาญาณ

13. โตตรภูญาณ  เป็นญาณข้ามโคตรของปุถุขน สู่ความเป็นอริยบุคคล ที่แล่นไปไม่ติดไม่ข้องไม่เนื่องในสังขารรูปนาม

14. มรรคญาณ  ญาณที่ดำเนินเข้าสู่ความเป็นอริยบุคคล

15. ผลญาณ เป็นญาณที่ดำเนินไปสู่อริยผลบุคคล

16.ปัจเวกขณญาณ คือญาณที่พิจารณาย้อนกลับมาทบทวนถึงสภาพธรรมที่ได้บรรลุแล้ว ถึงความประเสริฐที่ไม่เคยได้พบมาก่อน โดยปัจจเวกขณะนั้นมี 5 ประการคือ

-มัคคปัจจเวกขณะ คือการพิจารณาอริยมรรคที่ตนได้บรรลุแล้ว
-ผลปัจจเวกขณะ  การพิจารณาอริยผลที่ตนได้บรรลุ
-นิพพานปัจจเวกขณะ การพิจารณาพระนิพพานที่ตนได้แล้วโดยความเป็นอารมณ์
-ปหีนกิเลสปัจจเวกขณะ การพิจารณากิเลสบางชนิดที่ตนละได้ ประหารได้แล้ว
-อวสิฏฐกิเลสปัจจเวกขณะ การพิจารณกิเลสบางชนิดที่ยังติดข้องอยู่ในขันธสันดาน

ในการก้าวข้ามสังสารวัฏฏ์ กำหนดเข้าสู่วิปัสสนาญาณนั้น ก็ด้วยมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในไตรลักษณะ คือ

อนิจจลักษณ์ ลักษณะแห่งความไม่เที่ยง มีความแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา

ทุกขลักษณ์ ลักษณะแห่งความเป็นทุกข์ ไม่อาจทนอยู่ได้ ไม่อาจตั้งอยู่ได้

อนัตตลักษณ์ ลักษณะแห่งความมิใช่ของผู้หนึ่งผู้ใด มิใช่ตน มิใช่ของๆตน


ดังคำสอนแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า

 " รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณเป็นอนัตตา 

คือเป็นสิ่งที่ใครจะบังคับบัญชามิได้ เป็นสิ่งที่มิใช่ตัวตน

เธอจงละความพอใจในสิ่งที่เป็นอนัตตานั้นเสียเถิด"



"ผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร ผู้ได้สดับแล้ว

ควรกระทำอุปาทานขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังชาร และวิญญาณ 

ไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย โดยความเป็นอนิจจังคือความไม่เที่ยง

เป็นทุกขัง คือเป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร

เป็นความคับแค้น เป็นอาพาธ เป็นของแปรปรวน เป็นของทรุดโทรม

เป็นอนัตตาคือเป็นของสูญ เป็นของไม่ใช่ตัวตน"


ผู้เจริญรอยตามทางแห่งอริยมรรค มีความเพียรเผากิเลส จนได้วิปัสสนาญาณทั้ง 16 ขั้น

ได้กระทำไตรลักษณ์ให้ประจักษ์ ย่อมดำเินตรงเข้าสู่กระแสแห่งพระนิพพาน 

โดยความเป็นอริยบุคคลไปทีละลำดับ และเผากองกิเลสให้สิ้นสูญไปทีละชั้น

ได้ปิดทางแห่งอบาย พุ่งกระแสตรงเพียงต่อพระนิพพานเท่านั้น ด้วยเหตุนั้นแล



สิ่งที่ประทับใจในหนังสือเล่มนี้คือ เป็นหนังสือที่รวบรวมสรุปญาณต่างๆ และทางดำเนินไปสู่มรรคผล

โดยเรียงลำดับอย่างเป็นขั้นตอน ทั้งทาน ศีล ภาวนา จนเกิดการอบรมบ่มเพาะทางปัญญาให้ยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ

และยังมีเรื่องราวของบุคคลทั้งหลายในสมัยพุทธกาล มีตัวอย่างแห่งการบรรลุธรรมและการรักษาศีลของท่านทั้งหลาย

เป็นเรื่องที่อ่านแล้วเตือนใจ และทำให้เกิดแรงศรัทธาอย่างยิ่ง ในการเจริญกุศลให้มากขึ้นไปอีกค่ะ

บล๊อคนี้ไม่ต้องโหวตนะคะ ขอบคุณที่เข้ามาชมนะคะ



Create Date : 22 กันยายน 2559
Last Update : 22 กันยายน 2559 22:19:28 น. 0 comments
Counter : 989 Pageviews.

ตุ๊กจ้ะ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 264 คน [?]




Group Blog
 
 
กันยายน 2559
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
22 กันยายน 2559
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ตุ๊กจ้ะ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.