ตำนานพระปริตร


170เรื่องสวดมนต์เจ็ดตำนานและสิบสองตำนาน

  ในงานพิธีต่างๆ ของพุทธศาสนิกชนชาวไทย นิยมนิมนต์พระภิกษุในพระพุทธศาสนามาสวดพระปริตร ซึ่งเราเรียกกันเป็นสามัญว่า สวดมนต์ หรือเจริญพระพุทธมนต์ เป็นประเพณีมาช้านาน ตามตำนานพระปริตรซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์ไว้ว่า “ประเพณีที่พระสงฆ์สวดพระปริตรเกิดขึ้นในลังกาทวีป ประมาณว่าเมื่อพุทธกาลล่วงแล้วราว ๕๐๐ ปี”

สาเหตุที่จะเกิดประเพณีสวดพระปริตรตามบ้านนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงฯ ทรงพระนิพนธ์ไว้ว่า “ในเรื่องพงศาวดารปรากฏว่า พวกทมิฬมีอำนาจปกครองบ้านเมือง (ลังกา) อยู่นานๆ ก็หลายครั้ง พวกทมิฬนับถือไสยศาสตร์ พาศาสนาพราหมณ์เข้ามาสั่งสอนในลังกาทวีปด้วยก็ตาม คติศาสนาพราหมณ์นั้นนิยมว่าผู้ทรงพระเวทอาจร่ายมนต์ให้เกิดสิริมงคลหรือป้องกันแก้ไขภยันตรายแก่มหาชนได้

สันนิษฐานว่า พวกชาวลังกาแม้ที่นับถือพระพุทธศาสนา ก็ย่อมมีเวลาปรารถนาสิริมงคลและมีเวลาหวาดหวั่นต่อภยันตรายตามธรรมดาสามัญมนุษย์ คงจะขอให้พระสงฆ์เถรานุเถระชาวลังช่วยหาทางในพระพุทธศาสนาสงเคราะห์เพื่อให้เกิดสิริมงคล หรือป้องกันภยันตรายให้แก่ตนบ้าง พระสงฆ์มีความกรุณา จึงคิดวิธีสวดพระปริตรขึ้นให้สมประสงค์ของประชาชน ก็แต่วิธีร่ายเวทมนต์ของพราหมณ์นั้น เขาวิงวอนขอพรต่อพระเป็นเจ้า คติพระพุทธศาสนาห้ามการเช่นนั้น พระสงฆ์จึงค้นในพระไตรปิฎกเลือกเอาพระสูตรและปาฐะพระคาถาสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย อันมีตำนานอ้างว่าเกิดขึ้นเนื่องด้วยเหตุการณ์ต่างๆ มาสวดเป็นมนต์”

การสวดมนต์ดังกล่าวนั้น เรียกว่าสวดพระปริตร หมายถึง สวดพระพุทธวจนะที่มีอานุภาพคุ้มกันอันตรายต่างๆ ได้

พระปริตรปรากฏมี ๒ แบบ คือ มหาราชปริตร ราชปริตรใหญ่ ๒ ตำนาน ๑ จุลฺลราชปริตฺต ราชปริตรน้อย ๗ ตำนาน ๑ ที่เรียกราชปริตรนั้น สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงสันนิษฐานว่า “คงจะเกิดขึ้นโดยพระราชประสงค์ของพระเจ้าแผ่นดิน” และในข้อที่ว่าอันใดจะเกิดก่อนเกิดหลัง มีพระนิพนธ์ไว้ว่า “อย่างไหนจะเป็นแบบเดิม ข้อนี้เคยสันนิษฐานกันมาแต่ก่อนว่า อย่าง ๑๒ ตำนาน เห็นจะเป็นราชปริตรเดิม ครั้นต่อมาภายหลังมีพระเจ้าแผ่นดินอีกพระองค์หนึ่ง ซึ่งอาจเป็นต่างประเทศกับลังกา ทรงมีดำริเห็นว่ายังยาวนัก จึงโปรดให้ตัดลงเป็นอย่าง ๗ ตำนาน มีราชปริตรเป็น ๒ อย่างขึ้น จึงได้เรียกอย่างยาวว่า มหาราชปริตร เรียกอย่างสั้นว่า จุลราชราชปริตร ดังนี้

แต่เมื่อมาพิจารณากันในคราวจะแต่งตำนานพระปริตรนี้ มีบัณฑิตหลายคน คือ พระพินิจวรรณการ (แสง สาลิตุล) เป็นต้น กลับเห็นว่า อย่าง ๗ ตำนานจะเป็นแบบเดิม อย่าง ๑๒ ตำนานเป็นของปรุงใหม่ต่อภายหลัง อ้างเหตุให้เห็นเช่นนั้น ด้วยพระปริตรต่างๆ ใน ๗ ตำนาน กับ ๑๒ ตำนาน เหมือนกันโดยมาก เป็นแต่ว่าลำดับผิดกัน

ถ้าว่าเฉพาะตัวพระปริตร ไม่ยาวสั้นผิดกันกี่มากน้อยนัก เป็นแต่มีบทขัดตำนานมากกว่ากัน ถ้าประสงค์เพียงจะตัดพระปริตรอย่าง ๑๒ ตำนานให้สั้น คงไม่ทำเช่นที่ปรากฏ

อีกประการหนึ่งสังเกตเห็นว่า ลักษณะที่จัดพระปริตรต่างๆ ทั้งที่เพิ่มคำขัดตำนานขึ้นอย่าง ๑๒ ตำนาน เป็นระเบียบเรียบร้อยดีกว่าอย่าง ๗ ตำนาน จึงสันนิษฐานว่า ราชปริตรเดิมเห็นจะเป็นอย่าง ๗ ตำนาน ต่อมามีผู้รู้คิดแก้ไขให้เป็นอย่าง ๑๒ ตำนาน”

งานที่จะสวดเจ็ดตำนานและสิบสองตำนาน สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงพระนิพนธ์ว่า “การพิธีพุทธศาสนาล้วนๆ แต่ก่อนมา ถ้าเป็นงานมงคลอย่างสามัญ เช่น ทำบุญเรือน หรือฉลองพระ หรือโกนจุก เป็นต้น สวด ๗ ตำนาน

ถ้าเป็นงานมงคลวิเศษกว่าสามัญ เช่น การราชพิธีใหญ่ แต่สวดมนต์วันเดียว ดังพิธีถือน้ำและพิธีแรกนาเป็นต้นก็ดี งานเชลยศักดิ์ซึ่งเป็นงานสำคัญ เช่น งานฉลองอายุและแต่งงานบ่าวสาวเป็นต้นก็ดี ย่อมสวด ๑๒ ตำนาน แต่เดี๋ยวนี้เปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไปแล้ว”

การสวดมนต์ในงานมงคลต่างๆ ในปัจจุบันนี้ใช้สวดเจ็ดตำนานโดยทั่วไป สิบสองตำนานไม่ใคร่จะได้สวด ถ้าจะมีการสวดสิบสองตำนาน ต้องบอกพระให้ท่านทราบล่วงหน้าไว้ ในเวลาที่ไปนิมนต์ หรือหมายเหตุไปกับฎีกาที่นำไปถวาย ในที่นี้ จะได้พูดถึงเรื่องของสิบสองตำนานทั้งบาลีคำแปลและตำนาน ตลอดถึงอธิบายข้อที่ควรอธิบาย
 



Create Date : 22 มิถุนายน 2565
Last Update : 22 มิถุนายน 2565 5:37:15 น.
Counter : 388 Pageviews.

0 comments
144. พ.ศ. 2568 ปี พ.ศ. ที่ 64 ของชีวิต chancamp
(31 ธ.ค. 2567 08:11:18 น.)
: กะว่าก๋าแนะนำหนังสือ - โพธิสัตตวจรรยาวตาร : กะว่าก๋า
(27 ธ.ค. 2567 04:59:56 น.)
รวมธรรม2 นาฬิกาสีชมพู
(26 ธ.ค. 2567 13:16:50 น.)
สรุปคติธรรมของพระอาจารย์ทั้งหลาย และขออนุญาตนำมาฝากกัลยาณมิตร เป็นของขวัญปีใหม่ 2568 นะคะ newyorknurse
(24 ธ.ค. 2567 15:13:59 น.)
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Samathijit.BlogGang.com

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]

บทความทั้งหมด