โพชฌังคะปริตร



170บทขัดโพชฺฌงฺคปริต

สํสาเร สํสรนฺตานํ              สพฺพทุกฺขวินาสเน
สตฺต ธมฺเม จ โพชฺฌงฺเค      มารเสนปฺปมทฺทิโน

ฯลฯ

    คำแปลทั้งหมด: สัตว์เหล่านี้แม้ใด รู้แจ้งซึ่งธรรม ๗ ประการอันเป็นองค์เครื่องตรัสรู้ ยังทุกข์ทั้งปวงแห่งสัตว์ทั้งหลาย ผู้ท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏให้พินาศ ย่ำยีเสียซึ่งมารและเสนามาร เป็นผู้สูงสุดหลุดพ้นจากไตรภพ สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่าบรรลุแล้วซึ่งพระนิพพาน อันไม่มีชาติชราพยาธิ เป็นอมตะไม่มีภัย เราทั้งหลายจงสวดมนต์นี้ อันชื่อว่า โพชฌงคปริต เป็นโอสถขนานแท้ ประมวลคุณไว้เป็นอเนก ประกอบด้วยคุณดังที่กล่าวแล้วอย่างนี้ เป็นต้น เทอญ ฯ



170โพชฌังคะปริตร

โพชฺฌงฺโค สติสงฺขาโต   ธมฺมานํ วิจโย ตถา

วิริยมฺปีติปสฺสทฺธิ-          โพชฺฌงฺคา จ ตถาปเร

ฯลฯ

     คำแปลทั้งหมด:    โพชฌงค์ ๗ ประการ คือ ๑. สติ ๒. ธัมมวิจยะ ๓. วิริยะ ๔. ปีติ ๕. ปัสสัทธิ ๖.สมาธิ ๗. อุเบกขา เหล่านี้ เป็นธรรมอันพระมุนีเจ้าผู้ทรงเห็นธรรมทั้งปวง ตรัสไว้โดยชอบ
บุคคลทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่งเห็นจริง เพื่อความตรัสรู้และเพื่อนิพพาน ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ

    สมัยหนึ่ง พระโลกนาถเจ้าทอดพระเนตรเห็นพระโมคคัลานะ และพระกัสสปเป็นไข้ ได้ความลำบาก ทรงแสดงโพชฌงค์ ๗ ประการ ให้ท่านทั้งสองฟัง ท่านทั้งสองชื่นชมพระธรรมเทศนานั้น หายจากโรคในบัดดล ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ

    ครั้งหนึ่ง   องค์พระธรรมราชาเอง ทรงประชวรไข้ รับสั่งให้พระจุนทเถระ กล่าวโพชฌงค์ ๗ ประการนั้นถวาย โดยเคารพ ทรงบันเทิงพระทัย หายจากประชวรนั้น โดยแท้จริง ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ

    ก็อาพาธเหล่านั้น ของท่านทั้ง ๓ หายแล้วไม่กลับเป็นอีก ดุจดังกิเลสอันมรรคกำจัดแล้ว ถึงซึ่งความไม่เกิดอีกเป็นธรรมดา ฉะนั้น ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ


     หมายเหตุ:    พระปริตบทนี้    มีข้อแตกต่างในทางปฏิบัติที่ใช้สวดกันอยู่บ้าง ท่านผู้อ่านพึงกำหนดสังเกตไว้ เป็นทางศึกษาดังนี้

    ในการสวดมนต์เจ็ดตำนาน   ท่านยกเอาไปสวดต่อกับองคุลิมาลปริตรวมเป็นบทเดียว ที่ทำเช่นนี้ เพราะองคุลิมาลปริตสั้นมาก จะสวดสั้นแค่นั้น ฟังดูไม่มีน้ำหนัก จึงแก้ด้วยยกเอาโพชฌงคปริต ซึ่งมีสรรพคุณละม้ายคล้ายกัน คือ แก้เจ็บไข้ด้วยกัน มาสวดต่อให้ยาวขึ้น

    ส่วนสิบสองตำนานนี้ไม่จัดอย่างนั้น เพราะต่างก็มีบทขัดด้วยกันเวลาสวด ท่านจึงไม่นิยมนำมารวมกันอย่างเจ็ดตำนาน คงสวดไปตามลำดับบท

     โพชฌงคปริตนี้ไม่มีตำนาน   เพราะความในปริต แสดงตำนานอยู่ในตัวชัดพอแล้ว ขอกล่าวเพิ่มเติมแต่เพียงว่า ความที่กล่าวในพระปริตนั้น ท่านสังเขปมาจากโพชฌงคสูตรทั้ง ๓ ซึ่งเป็นบทสวดมนต์ในภาณวารที่สอง แต่งเป็นคำสัจจกิริยา นัยเดียวกับองคุลิมาลปริต

     ข้อที่เป็นคติในพระปริตบทนี้ ก็คือ “ยามเจ็บ ยามไข้ อย่าไร้สติ”
 

ในสถานการณ์โควิด-19 นี้ โพชฌงค์ สวดก็ได้ แต่ถ้าใช้ จะยิ่งดี โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์

https://www.youtube.com/watch?v=IAsMFOVdU0I

 



Create Date : 17 กรกฎาคม 2565
Last Update : 23 กรกฎาคม 2565 9:55:44 น.
Counter : 274 Pageviews.

0 comments
: รูปแบบของชีวิต : กะว่าก๋า
(17 เม.ย. 2567 04:37:20 น.)
หลักของสติ **mp5**
(16 เม.ย. 2567 12:14:57 น.)
: รูปแบบของการตระหนักในการรับรู้ : กะว่าก๋า
(15 เม.ย. 2567 05:37:45 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 34 : กะว่าก๋า
(12 เม.ย. 2567 05:52:40 น.)
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Samathijit.BlogGang.com

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]

บทความทั้งหมด