สักกัตวา


170สักกัตวา

สกฺกตฺวา พุทฺธรตนํ    โอสถํ อุตฺตมํ วรํ
หิตํ เทวมนุสฺสานํ       พุทฺธเตเชน โสตฺถินา

ฯลฯ

   คำแปลทั้งหมด:   เพราะกระทำความเคารพพระพุทธรัตนะอันเป็นโอสถประเสริฐสุด เกื้อกูลแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายแล้ว ขออุปัทวะทั้งปวงจงหายไป ขอทุกข์ทั้งหลายของท่านจงสงบไปโดยสวัสดี ด้วยเดชแห่งพระพุทธเจ้า เทอญ

    เพราะกระทำความเคารพพระธรรมรัตนะอันเป็นโอสถประเสริฐสุด ระงับความเร่าร้อนได้แล้ว ขออุปัทวะทั้งปวงจงหายไป ขอภัยทั้งหลายของท่านจงสงบไปโดยสวัสดี ด้วยเดชแห่งพระธรรม เทอญ

   เพราะกระทำความเคารพพระสังฆรัตนะอันเป็นโอสถประเสริฐสุด ควรแก่การคำนับ ควรแก่การต้อนรับแล้ว ขออุปัทวะทั้งปวงจงหายไป ขอโรคทั้งหลายของท่านจงสงบไปโดยสวัสดี ด้วยเดชแห่งพระสงฆ์ เทอญ

   ที่พึ่งอื่นของเราไม่มี พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของเรา ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน เทอญ

   ที่พึ่งอื่นของเราไม่มี พระธรรมเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของเรา ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน เทอญ

   ที่พึ่งอื่นของเราไม่มี พระสงฆ์เป็นที่พึ่งอันประเสริฐของเรา ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน เทอญ

   รัตนะหลายหลากมากชนิด บรรดามีในโลก รัตนะนั้นๆ ที่จะเสมอพระพุทธรัตนะไม่มีเลย เพราะเหตุนั้น ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่าน

   รัตนะหลายหลากมากชนิด บรรดามีในโลก รัตนะนั้นๆ ที่จะเสมอพระธรรมรัตนะไม่มีเลย เพราะเหตุนั้น ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่าน

   รัตนะหลายหลากมากชนิด บรรดามีในโลก รัตนะนั้นๆ ที่จะเสมอพระสังฆรัตนะไม่มีเลย เพราะเหตุนั้น ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่าน


   หมายเหตุ.   คาถาเหล่านี้   สวดต่อกันเรื่อยมา พระรูปที่เป็นหัวหน้าขึ้น สกฺกตฺวา แล้วก็สวดติดต่อกันไป จนถึง รตนํ สงฺฆสมํ นตฺถิ ตสฺมา โสตฺถี ภวนฺตุ เต จึงหยุดลง

   คาถาเหล่านี้ เป็นสัจจกิริยา คือ การกระทำสัตย์ของพระที่เจริญพระพุทธมนต์ เพื่ออำนวยความสวัสดีแก่เจ้าภาพและผู้ร่วมบำเพ็ญกุศล

   

    มีข้อที่น่าสังเกตอยู่ในบท สักกัตวา เป็นบางประการ คือ คาถาทั้ง ๓ คาถานั้น มีความอย่างเดียวกัน เปลี่ยนแต่เฉพาะ พุทฺธเตเชน ธมฺมเตเชน สงฺฆเตเชน และทุกขา ภยา โรคา เท่านั้น เป็นทำนองว่าท่านผู้แต่งต้องการจะแยกพระเดชของพระรัตนตรัย ออกบำบัดแต่ละอย่าง คือ “พระพุทธเดชกำจัดทุกข์ พระธรรมเดชกำจัดภัย พระสังฆเดชกำจัดโรค” ความข้อนี้ เกี่ยวโยงไปถึงคำอาราธนาพระปริตที่ท่านเจ้าภาพหรือผู้แทนอาราธนาไว้แต่ต้นว่า

“วิปตฺติปฏิพาหาย    สพฺพสมฺปตฺติสิทฺธิยา
สพฺพทุกฺขวินาสาย   ปริตฺตํ พฺรูถ มงฺคลํ

วิปตฺติปฏิพาหาย   สพฺพสมฺปตฺติสิทฺธิยา
สพฺพภยวินาสาย   ปริตฺตํ พฺรูถ มงฺคลํ

วิปตฺติปฏิพาหาย    สพฺพสมฺปตฺติสิทฺธิยา
สพฺพโรควินาสาย   ปริตฺตํ พฺรูถ มงฺคลํ”

    แปลรวมกันว่า “ขอพระคุณท่านทั้งหลาย จงเจริญพระปริตอันเป็นมงคล เพื่อป้องกันวิบัติ เพื่อความสำเร็จแห่งสมบัติทั้งปวง เพื่อความเสื่อมหายไปแห่ง ทุกข์ ภัย โรค ทั้งปวง เทอญ”

    คำอาราธนานี้ มีต่างกันอยู่ ๓ คำ คือ ทุกข์ ภัย โรค เช่นเดียวกัน เมื่อคำขอแสดงความประสงค์เช่นนั้น ท่านจึงแต่งคาถาสนองให้สมประสงค์หรืออย่างไร เป็นข้อที่น่าคิดอยู่

    การกล่าวถึงเรื่องนี้   จำต้องพึ่งมติของเกจิอาจารย์   ที่ท่านอรรถาธิบายในเรื่องพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณไว้ โดยนัยเป็นอันมากดังต่อไปนี้


 



Create Date : 18 กรกฎาคม 2565
Last Update : 18 กรกฎาคม 2565 16:37:42 น.
Counter : 266 Pageviews.

0 comments
อยาก อยากได้ กฎที่ถูกที่ดี ปัญญา Dh
(14 เม.ย. 2567 05:37:27 น.)
สักกายทิฐิ **mp5**
(8 เม.ย. 2567 11:07:04 น.)
:: ถนนสายนี้มีตะพาบ โครงการที่ 349 :: กะว่าก๋า
(8 เม.ย. 2567 05:48:36 น.)
come from away พุดดิ้งรสกาแฟ
(7 เม.ย. 2567 19:24:46 น.)
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Samathijit.BlogGang.com

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]

บทความทั้งหมด