ต้นรัชกาลที่สาม
กบฎแขกมาลายูมันเหิมเกริมนัก
การศึกปราบกบฎไทรบุรีครั้งนี้ใหญ่หลวงนัก
ต้องเดินทัพจากนครศรีธรรมราช พัทลุง
มาสมทบกับทัพหลวงที่มาตั้งกองกำลังทัพพร้อมรบ
รอทัพอื่นมาสบทบที่สงขลา
เมื่อรวมทัพพร้อมกันได้ฤกษ์ยามมหาพิชัยยุทธ์
จึงเริ่มเดินทางผ่านเส้นทางบกตามเส้นทางเดินโบราณ
ผ่านบ้านหลายแห่งรวมทั้งบ้านหาดใหญ่ (ตามพงศาวดารสงขลา)
ส่วนทางน้ำเดินเรือทวนน้ำเข้าทางคลองอู่ตะเภา
ไหลจากทิศใต้มาออกทางทิศเหนือ
ลงสู่ทะเลสาบสงขลาออกอ่าวไทยในบั้นปลาย
การทำศึกต้องเตรียมสร้างเรือและแพ
ไว้ขนทหารกับเสบียงอาหารพร้อมกับเตรียมการศึก
มีการตัดไม้มาทำเรือที่คลองแงะ ทุ่งลุง
ดังจะปรากฎซากเรือโบราณแถวนี้หลายลำ
ร่วมกับตำนานเล่าขานของชาวบ้านสืบเนื่องกันมา
วันที่จากลาก็มาถึง
พี่ต้องเดินทัพไปทางใต้
(ตอนเหนือของไทรบุรี)
น้องต้องจากพี่แล้ว
การศึกถ้าเสร็จสิ้น
พี่ไม่ตาย เราคงต้องพบกันอีก
เสียงร่ำลาครวญครางของทั้งสอง
ด้วยเสียงน้องร้องไห้สะท้อนดังกึกก้อง คร่ำครวญ
ชาวบ้านและนายทหารนายกองต่างรับรู้และสงสาร
จึงตั้งนามหมู่บ้าน ณ ที่แห่งนี้ว่า บ้านพังลา
ช้างพัง บอกลา ช้างพลาย แต่นั้นมา
คำบอกเล่า เจ้าอาวาสวัดพังลา
แต่ภาคใต้จะมีต้นกล้วยชื่อ กล้วยพังลา
ส่วนแถวคาบสมุทรสทิงพระ
คำว่า พัง คือ ที่เก็บน้ำ
ไม่ใช่พังบ้านพังเรือน
เช่น พังสนามชัย พังใหญ่ พังเสม็ด
กร่อนมาจาก คำว่า ตะพัง-แปลว่า ที่เก็บน้ำหรือสระน้ำ ตะพังสุรินทร์
สะทิ้งเปรียะ จะทิ้งเปรี๊ยะ
คลอง/ท่าน้ำ = สะิทิ้ง จะทิ้ง เปรี๊ยะ = พระ
กร่อนจากเขมรมาเป็น วัดจะทิ้งพระ
หรือที่เป็นข่าว เปรี๊ยะวิเฮีย พระวิหาร
มีความสุขมากๆในวันหยุดนะคะ ^^