61. ความเกิดแห่งกองทุกข์ และ ความดับแห่งกองทุกข์ ตอนที่ 3


การเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวล มีมูลเหตุมาจาก “อวิชชา”
 
อวิชชา คือ ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ความไม่รู้ในความดับทุกข์ ความไม่รู้ในปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับทุกข์
 
***************
 
ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ความไม่รู้ในความดับทุกข์ ความไม่รู้ในปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับทุกข์
 
ทำให้เกิด ความเห็นผิด หลงไปยึดมั่นถือมั่นในกิเลส จิต และ เจตสิก ว่าเป็นตัวเป็นตนของตน เป็นของของตน
 
***************
 
ความเห็นผิด หลงไปยึดมั่นถือมั่นในกิเลส จิต และ เจตสิก ว่าเป็นตัวเป็นตนของตน เป็นของของตน
 
ทำให้เกิด ความเห็นผิดไปตามอำนาจของกิเลส และ เกิดการปรุงแต่ง (สังขาร) ไปตามอำนาจของกิเลส เมื่อมีรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และ ธรรมารมณ์ มากระทบ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และ ใจ (เกิดมิจฉาทิฏฐิ สักกายทิฏฐิ และ อัตตานุทิฏฐิ)
 
***************
 
มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิดไปตามอำนาจของกิเลส) สักกายทิฏฐิ และ อัตตานุทิฏฐิ (ความหลงไปยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ 5)

ทำให้เกิด มิจฉาสังกัปปะ (ความคิดที่ผิด) มิจฉาวาจา (วาจาที่ผิด หรือ วาจาที่ไม่ดี) มิจฉากัมมันตะ (การกระทำทางกายที่ผิด) มิจฉาอาชีวะ (การประกอบอาชีพที่ผิด) มิจฉาวายามะ (ความเพียรที่ผิด) มิจฉาสติ (การมีสติที่ผิด) และ มิจฉาสมาธิ (การมีสมาธิที่ผิด)
 
***************
 
มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสติ และ มิจฉาสมาธิ
 
ทำให้เกิด ความทุกข์ทั้งมวล
 
ทำให้เกิด การเวียนวนอยู่ในวังวนของความสุข (โลกียสุข) และความทุกข์ ไม่มีที่สิ้นสุด
 
และทำให้เกิด การเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร ไม่มีที่สิ้นสุด
 
***************
 

การดับกองทุกข์ทั้งมวล คือ การดับอวิชชา หรือ การละอวิชชา หรือ การทำให้เกิดวิชชา
 
การดับอวิชชา หรือ การละอวิชชา หรือ การทำให้เกิดวิชชา คือ การทำให้แจ้งในทุกข์ ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ในความดับทุกข์ และ ในปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับทุกข์
 
***************
 
การทำให้แจ้งในทุกข์ ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ในความดับทุกข์ และ ในปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับทุกข์
 
คือ การปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 โดยใช้ ศีล สมาธิ (สมถะ) และ ปัญญา (วิปัสสนา) ร่วมกัน
 
***************
 
การปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 โดยใช้ ศีล สมาธิ (สมถะ) และ ปัญญา (วิปัสสนา) ร่วมกัน
 
มีเป้าประสงค์หลัก คือ
 
1. เพื่อทำให้เกิดการละหน่ายคลายในอุปาทานขันธ์ 5 หรือ เพื่อทำให้พ้นสักกายทิฏฐิ
 
2. เพื่อทำให้เกิดการปล่อยวางอุปาทานขันธ์ 5 หรือ เพื่อทำให้พ้นอัตตานุทิฏฐิ
 
3. เพื่อทำให้เกิดการปล่อยวางกิเลส จิต และ เจตสิก หรือ เพื่อทำให้พ้นมิจฉาทิฏฐิและดับอวิชชา
 
***************
 
การดับอวิชชา หรือ การละอวิชชา หรือ การทำให้เกิดวิชชา
 
ต้องใช้ทั้งสมถะและวิปัสสนาร่วมกัน
 
[๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่าง เป็นไปในส่วนแห่งวิชชา
 
ธรรม ๒ อย่าง เป็นไฉน
 
คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑
 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
 
สมถะที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร
 
ย่อมอบรมจิต
 
จิตที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร
 
ย่อมละราคะได้
 
วิปัสสนาที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร
 
ย่อมอบรมปัญญา
 
ปัญญาที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร
 
ย่อมละอวิชชาได้ ฯ
 
[๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ ย่อมไม่หลุดพ้น หรือ ปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา ย่อมไม่เจริญ ด้วยประการฉะนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่าเจโตวิมุติ เพราะสำรอกอวิชชาได้ จึงชื่อว่าปัญญาวิมุติ ฯ
 

{ที่มา: ส่วนหนึ่งของ พาลวรรค พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๒ อังคุตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาท, พระไตรปิฎกฉบับหลวง}
 
ชาญ คำพิมูล



Create Date : 26 กรกฎาคม 2563
Last Update : 27 กรกฎาคม 2563 8:55:35 น.
Counter : 664 Pageviews.

0 comments
: หยดน้ำในมหาสมุทร 36 : กะว่าก๋า
(14 เม.ย. 2567 06:17:30 น.)
สุขสันต์วันปีใหม่ไทย ๒๕๖๗ haiku
(13 เม.ย. 2567 10:13:33 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 34 : กะว่าก๋า
(12 เม.ย. 2567 05:52:40 น.)
สมบัติรูป สมบัตินามที่ถูกรูป ปัญญา Dh
(10 เม.ย. 2567 18:24:46 น.)
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Chancamp.BlogGang.com

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]

บทความทั้งหมด