43. โสดาบัน...ผู้ประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘


โสดาบัน หมายถึง ผู้เข้าถึงกระแสคืออริยมรรค (องฺ.ทสก.อ. ๓/๖๓-๖๔/๓๕๓)

ที่มา โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๔๒

***************

โสดาบัน หมายถึง ผู้ประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ เพราะคำว่า โสตะ เป็นชื่อของอริยมรรคมีองค์ ๘ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๑/๕๓๐)


ที่มา โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๑๒

***************

ทางเดินไปสู่ความพ้นทุกข์ หรือ ความดับทุกข์ (ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา) คือ "อริยมรรคมีองค์ ๘"

การปฏิบัติธรรม เพื่อการพ้นทุกข์ (ดับทุกข์) หรือ การปฏิบัติธรรม เพื่อการบรรลุธรรม (โสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี และ อรหันต์) คือ การเดินไปตามทางอริยมรรคมีองค์ ๘

***************

การเดินไปตามทางอริยมรรคมีองค์ ๘ คือ การปฏิบัติ ศีล สมาธิ และ ปัญญา (ไตรสิกขา) ให้สูงขึ้นโดยลำดับ เพื่อให้เกิดเป็น อธิศีล (ศีลอันยิ่ง) อธิจิต (สมาธิอันยิ่ง) และ อธิปัญญา (ปัญญาอันยิ่ง)

การปฏิบัติ ศีล สมาธิ และ ปัญญา (ไตรสิกขา) ให้สูงขึ้นโดยลำดับ จะทำให้เกิด “การเคลื่อนไปตามทางมรรคมีองค์ ๘ สู่ความพ้นทุกข์ (ดับทุกข์)”

การปฏิบัติ ศีล สมาธิ และ ปัญญา (ไตรสิกขา) ให้สูงขึ้นโดยลำดับ จะทำให้เกิด “การบรรลุธรรมโดยลำดับ คือ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และ พระอรหันต์”

การปฏิบัติ ศีล สมาธิ และ ปัญญา ให้สูงขึ้นโดยลำดับ คือ การนำเอา “กิเลส” ในระดับหยาบ (วีติกกมกิเลส) ระดับกลาง (ปริยุฏฐานกิเลส) และ ระดับละเอียด (อนุสัยกิเลส) มากำหนดตั้งให้เป็น “ศีล” โดยลำดับ แล้วเพียรทำ “ศีล” ที่กำหนดตั้งเอาไว้ ให้บริบูรณ์ โดยใช้ “สมาธิ (สมถภาวนา)” และ “ปัญญา (วิปัสสนาภาวนา)” ร่วมกัน

การปฏิบัติ ศีล สมาธิ และ ปัญญา ให้สูงขึ้นโดยลำดับ คือ การขัดเกลา หรือ การชำระล้าง “กิเลส” ในระดับหยาบ ระดับกลาง และ ระดับละเอียด ออกจากจิตใจ โดยลำดับ  

การขัดเกลา หรือ การชำระล้าง “กิเลส” ในระดับหยาบ ระดับกลาง และ ระดับละเอียด ออกจากจิตใจ โดยลำดับ จะทำให้เกิด ความเห็นที่ชอบที่ถูกที่ตรง  (สัมมาทิฏฐิ) ความดำริที่ชอบที่ถูกที่ตรง (สัมมาสังกัปปะ) การพูดที่ชอบที่ถูกที่ตรง (สัมมาวาจา) การกระทำทางกายที่ชอบที่ถูกที่ตรง (สัมมากัมมันตะ) การงานอาชีพที่ชอบที่ถูกที่ตรง (สัมมาอาชีวะ) ความเพียรที่ชอบที่ถูกที่ตรง (สัมมาวายามะ) และ ความมีสติที่ชอบที่ถูกที่ตรง (สัมมาสติ) มากยิ่งขึ้น โดยลำดับ

ความเห็นที่ชอบที่ถูกที่ตรง  (สัมมาทิฏฐิ) ความดำริที่ชอบที่ถูกที่ตรง (สัมมาสังกัปปะ) การพูดที่ชอบที่ถูกที่ตรง (สัมมาวาจา) การกระทำทางกายที่ชอบที่ถูกที่ตรง (สัมมากัมมันตะ) การงานอาชีพที่ชอบที่ถูกที่ตรง (สัมมาอาชีวะ) ความเพียรที่ชอบที่ถูกที่ตรง (สัมมาวายามะ) และ ความมีสติที่ชอบที่ถูกที่ตรง (สัมมาสติ) ที่มากยิ่งขึ้น โดยลำดับ จะทำให้เกิด ความมีจิตตั้งมั่นที่ชอบที่ถูกที่ตรง (สัมมาสมาธิ) มากยิ่งขึ้น โดยลำดับ

***************

อริยมรรคมีองค์ ๘ ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสเอาไว้ เป็นเบื้องต้น มีดังนี้

[๑๓๕] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นอย่างไร

คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้นั่นแล ได้แก่

๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ)
๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ)
๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ)
๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ)
๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)

สัมมาทิฏฐิ เป็นอย่างไร
คือ ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ

สัมมาสังกัปปะ เป็นอย่างไร
คือ ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในการไม่พยาบาท ความดำริในการไม่เบียดเบียน
นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ

สัมมาวาจา เป็นอย่างไร
คือ เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ เจตนางดเว้นจากการพูดส่อเสียด เจตนางดเว้นจากการพูดคำหยาบ เจตนางดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
นี้เรียกว่า สัมมาวาจา

สัมมากัมมันตะ เป็นอย่างไร
คือ เจตนางดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เจตนางดเว้นจากการลักทรัพย์ เจตนางดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ 
 
สัมมาอาชีวะ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละมิจฉาอาชีวะแล้ว สำเร็จการเลี้ยงชีพ ด้วยสัมมาอาชีวะ
นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ

สัมมาวายามะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภ ความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อละบาปอกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่ แห่งกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว
นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ

สัมมาสติ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
นี้เรียกว่า สัมมาสติ

สัมมาสมาธิ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตก วิจาร ปีติ และ สุข อันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ

นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ }

ชาญ คำพิมูล
 



Create Date : 01 มีนาคม 2563
Last Update : 1 มีนาคม 2563 5:09:25 น.
Counter : 1547 Pageviews.

0 comments
: รูปแบบของการค้นพบตนเอง : กะว่าก๋า
(16 เม.ย. 2567 06:05:58 น.)
เรื่องนี้ไม่ง่าย แต่คนมักชอบอะไรที่มันง่ายๆ 121 235 เขาถาม - ตอบกัน 450 > คำถาม : ทำอย่างไ สมาชิกหมายเลข 7881572
(16 เม.ย. 2567 09:58:49 น.)
เติมให้ความมี เติมให้ความไม่มี ปัญญา Dh
(14 เม.ย. 2567 20:54:29 น.)
สุขสันต์วันปีใหม่ไทย ๒๕๖๗ haiku
(13 เม.ย. 2567 10:13:33 น.)
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Chancamp.BlogGang.com

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]

บทความทั้งหมด