59. ความเกิดแห่งกองทุกข์ และ ความดับแห่งกองทุกข์ ตอนที่ 1


พระพุทธเจ้าทรงละทิ้ง ทรัพย์สมบัติในทางโลก ลาภ ยศ สรรเสริญ และ โลกียสุข ออกบวช เพื่อแสวงหา “ความพ้นทุกข์” หรือ “ความดับทุกข์”

สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ คือ “อริยสัจ 4” ประกอบด้วย ทุกข์ สมุทัย (เหตุเกิดแห่งทุกข์) นิโรธ (ความดับแห่งทุกข์) และ มรรค (ข้อปฏิบัติเพื่อความดับแห่งทุกข์)

เป้าประสงค์หลักของหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ “ความพ้นทุกข์” หรือ “ความดับทุกข์” ไม่ใช่ การได้ทรัพย์สมบัติในทางโลก การได้ลาภ การได้ยศ การได้สรรเสริญ การได้โลกียสุข การได้อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ หรือ การได้สิ่งอื่นๆที่นอกเหนือจากความดับทุกข์


ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่พวกเราชาวพุทธ ควรทำความเข้าใจให้ชัดแจ้ง จึงคือ “ความเกิดแห่งกองทุกข์” และ “ความดับแห่งกองทุกข์”

***************

ความเกิดแห่งกองทุกข์ และ ความดับแห่งกองทุกข์ เป็นอย่างไร?

 . ปฏิจจสมุปปาทสูตร ว่าด้วยปฏิจจสมุปบาท

[๑] ข้าพเจ้า ได้สดับมาอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี

ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่ง เรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย”

ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง ปฏิจจสมุปบาท แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”

ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

‘ภิกษุทั้งหลาย ปฏิจจสมุปบาท เป็นอย่างไร

คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี

เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี

เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี

เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี

เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี

เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี

เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี

เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี

เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี

เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ(ความเศร้าโศก) ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ) ทุกข์(ความทุกข์กาย) โทมนัส(ความทุกข์ใจ) และอุปายาส(ความคับแค้นใจ) จึงมี

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้

ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท

อนึ่ง เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ สังขารจึงดับ

เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ

เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ

เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ

เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ

เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ

เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ

เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ

เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ

เพราะภพดับ ชาติจึงดับ

เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงดับ

ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น มีใจยินดี ต่างชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว

ปฏิจจสมุปปาทสูตรที่ ๑ จบ
 

{ที่มา: โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม: ๑๖}

***************

หมายเหตุ:

1. ถ้าเป้าประสงค์หลักของหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ การได้ทรัพย์สมบัติในทางโลก การได้ลาภ การได้ยศ การได้สรรเสริญ การได้โลกียสุข ฯลฯ พระพุทธเจ้าคงไม่ละทิ้งสิ่งเหล่านี้ออกบวช โดยไม่หวนกลับไปแสวงหาสิ่งเหล่านี้อีกเลย

2. การปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า มักจะก่อให้เกิด การได้ทรัพย์สมบัติในทางโลก การได้ลาภ การได้ยศ การได้สรรเสริญ การได้โลกียสุข ฯลฯ ตามมา เป็นธรรมดา แต่พระพุทธเจ้าทรงให้วางเฉย ให้วางปล่อย ให้ไม่ไปยินดี ให้ไม่ไปหลงใหลติดใจ และ ให้ไม่ไปหลงยึดมั่นถือมั่น ในสิ่งเหล่านี้ (อุเบกขา)
 
ชาญ คำพิมูล

 



Create Date : 12 กรกฎาคม 2563
Last Update : 5 มีนาคม 2566 12:58:14 น.
Counter : 696 Pageviews.

0 comments
come from away พุดดิ้งรสกาแฟ
(7 เม.ย. 2567 19:24:46 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 29 : กะว่าก๋า
(6 เม.ย. 2567 05:12:09 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 26 : กะว่าก๋า
(3 เม.ย. 2567 05:14:00 น.)
การได้มาซึ่งธรรมะ ปัญญา Dh
(2 เม.ย. 2567 17:00:57 น.)
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Chancamp.BlogGang.com

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]

บทความทั้งหมด