130.ปรับเปลี่ยนกายกรรม วจีกรรม และ มโนกรรม ให้เป็นสัมมา (ให้เป็นกุศล) ตอนที่ 2


การปรับเปลี่ยน “กายกรรม วจีกรรม และ มโนกรรม 
 
ที่มีปกติเป็นมิจฉา หรือ ที่มีปกติเป็นอกุศล
 
ให้มีปกติเป็นสัมมา หรือ ให้มีปกติเป็นกุศล
 
ต้องใช้การปฏิบัติ “ศีล สมาธิ (สมถภาวนา) และ ปัญญา (วิปัสสนาภาวนา)” ร่วมกัน
 
เพื่อชำระล้างกิเลส หรือ เพื่อขจัดกิเลส หรือ เพื่อดับกิเลส
 
ที่เป็นมูลเหตุของ “กายกรรม วจีกรรม และ มโนกรรม” ที่เป็นมิจฉา หรือ ที่เป็นอกุศล ทั้งหลาย
 
***************
 

ศีล คือสิ่งที่กำหนดตั้งขึ้นมา
 
เพื่อใช้ปรับเปลี่ยน “กายกรรม วจีกรรม และ มโนกรรม” 
 
ที่มีปกติเป็นมิจฉา หรือ ที่มีปกติเป็นอกุศล
 
ให้มีปกติเป็นสัมมา หรือ ให้มีปกติเป็นกุศล
 
***************
 
การปฏิบัติ “ศีล สมาธิ และ ปัญญา
 
ต้องปฏิบัติให้สูงขึ้นโดยลำดับ
 
เพื่อให้เกิดเป็น “อธิศีล (ศีลที่ยิ่ง) อธิจิต (จิตที่ยิ่ง) และ อธิปัญญา (ปัญญาที่ยิ่ง)
 
โดยนำเอา“สัมมากัมมันตะ สัมมาวาจา และ สัมมาสังกัปปะ
 
มาเป็นแนวทางในการกำหนดตั้งศีล ให้สูงขึ้นโดยลำดับ
 
***************
 
อธิศีล (ศีลที่ยิ่ง) หมายถึง มีศีลที่สูงยิ่งขึ้น โดยลำดับ
 
อธิจิต (จิตที่ยิ่ง) หมายถึง มีจิตที่สงบ เป็นสัมมาสมาธิ ยิ่งขึ้น โดยลำดับ
 
อธิปัญญา (ปัญญาที่ยิ่ง) หมายถึง มีความเห็น ที่ถูก ที่ตรง ที่เป็นสัมมาทิฏฐิ ยิ่งขึ้น โดยลำดับ จนพ้นวิจิกิจฉา จนพ้นอวิชชา
 
***************
 
ในเบื้องต้น พระพุทธองค์ทรงบัญญัติ “ศีล 5” ขึ้นมา
 
เพื่อให้ใช้ยึดถือปฏิบัติ “ให้เป็นปกติ” ให้ได้ เป็นเบื้องต้น
 
***************
 
ให้เป็นปกติ” หมายถึง ให้เป็นปกติวิสัย ไม่ต้องยึดไม่ต้องถือ ไม่ต้องฝึกไม่ต้องฝืน คือ ให้พ้นสักกายทิฏฐิ ให้พ้นวิจิกิจฉา และ ให้พ้นสีลัพพตปรามาส
 
***************
 
ในศีล 5 ประกอบไปด้วย
 
สัมมากัมมันตะ ทั้ง 3 ข้อ คือ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการลักทรัพย์ และ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
 
และ สัมมาวาจา 1 ข้อ คือ งดเว้นจากการพูดเท็จ
 
***************
 
เพราะ
 
คนบางคน มีการละเมิดศีล 5 เป็นปกติของตน
 
คนบางคน อาจมีศีล 5 บางข้อ เป็นปกติของตนอยู่แล้ว
 
และ คนบางคน อาจมีศีล 5 ทั้ง 5 ข้อ เป็นปกติของตนอยู่แล้ว
 
ดังนั้น การเริ่มต้นปฏิบัติศีลของแต่ละคน จะแตกต่างกันไป
 
***************
 
เมื่อเรามีศีล 5 เป็นปกติของเราแล้ว
 
ให้นำเอา “สัมมาวาจา” ในส่วนที่เหลือ คือ งดเว้นจากการพูดส่อเสียด งดเว้นจากการพูดคำหยาบ และ งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
 
และ “สัมมาสังกัปปะ” ทั้ง 3 ข้อ คือ ทำความดำริในการออกจากกาม ทำความดำริในความไม่พยาบาท และ ทำความดำริในการไม่เบียดเบียน
 
มากำหนดตั้งให้เป็นศีล ที่สูงขึ้นโดยลำดับ
 
เพื่อใช้ยึดถือปฏิบัติ “ให้เป็นปกติ
 
***************
 
การนำเอา "สัมมาสังกัปปะ" มากำหนดตั้งให้เป็นศีล มีแนวทางดังนี้
 
  1. กำหนดตั้งศีลขึ้นมา เพื่อละ อารมณ์พยาบาท อารมณ์โทสะ อารมณ์โกรธ (โกธะ) อารมณ์ขัดใจเคืองใจ (ปฏิฆะ) และ อารมณ์ไม่ชอบใจไม่พอใจ (อรติ) ตามลำดับ
 
  1. กำหนดตั้งศีลขึ้นมา เพื่อละอารมณ์โลภ อารมณ์อยากได้วัตถุกาม อยากได้ลาภ อยากได้ยศ อยากได้สรรเสริญ หรือ อารมณ์อยากได้ อยากมี อยากเป็น ในสิ่งที่มากมายจนเกินความจำเป็นของชีวิต จนทำให้เกิดการเบียดเบียนผู้อื่นสัตว์อื่น เกิดการเบียดเบียนโลก เกิดการเบียดเบียนสังคม
 
  1. กำหนดตั้งศีลขึ้นมา เพื่อละ อารมณ์อยาก ใคร่ หลงใหลติดใจ และ หลงยึดมั่นถือมั่น ในกามเมถุน อารมณ์อยาก ใคร่ หลงใหลติดใจ และ หลงยึดมั่นถือมั่น ใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส (กามคุณ 5) ลาภ ยศ สรรเสริญ และ โลกียสุขทั้งหลาย
 
***************
 
เมื่อเรากำหนดตั้ง “ศีล” ขึ้นมาแล้ว
 
ให้เราปฏิบัติศีล “ให้เป็นปกติ
 
โดยใช้ การปฏิบัติ  “สมาธิ (สมถภาวนา) และ ปัญญา (วิปัสสนาภาวนา)” ร่วมกัน
 
ชาญ คำพิมูล

 



Create Date : 17 ธันวาคม 2566
Last Update : 1 มกราคม 2567 6:12:38 น.
Counter : 166 Pageviews.

0 comments
ว่างเปล่า นาฬิกาสีชมพู
(22 เม.ย. 2567 00:01:05 น.)
กฎหมาย สาเหตุของปัญหาและความทุกข์ การเก็บ ปัญญา Dh
(22 เม.ย. 2567 02:15:11 น.)
หลักปฏิบัติ ปัญญา Dh
(18 เม.ย. 2567 19:08:42 น.)
: รูปแบบของการค้นพบตนเอง : กะว่าก๋า
(16 เม.ย. 2567 06:05:58 น.)
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Chancamp.BlogGang.com

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]

บทความทั้งหมด