135. ทางเดินไปสู่ “ความดับทุกข์” คือ “อริยมรรคมีองค์ 8” ตอนที่ 1


ผู้ที่ต้องการจะทำ “ความดับทุกข์
 
ต้องทำความเข้าใจ ให้ชัดแจ้งว่า “ทางเดินไปสู่ความดับทุกข์” คืออะไร?
 
และ ต้องทำความเข้าใจ ให้ชัดแจ้งว่า วิธีการเดินไปตาม “ทางเดินไปสู่ความดับทุกข์” นั้น คืออย่างไร?
 
เมื่อเข้าใจจนชัดแจ้งแล้ว
 
ต้องเพียรพยายาม “เดินไปตามทางเดินไปสู่ความดับทุกข์” นั้น
 
จึงจะถึงจุดหมายปลายทาง คือ “ความดับทุกข์
 
***************
 
เพราะ
 
ทางเดินไปสู่ความดับทุกข์ คือ  “อริยมรรคมีองค์ 8
 
ดังนั้น
 
ผู้ที่ต้องการจะทำ “ความดับทุกข์
 
ต้องทำความเข้าใจ ใน “อริยมรรคมีองค์ 8” ให้ชัดแจ้ง
 
และ ต้องทำความเข้าใจ วิธีการ “เดินไปตามทางอริยมรรคมีองค์ 8” ให้ชัดแจ้ง
 
เมื่อเข้าใจจนชัดแจ้งแล้ว
 
ต้องเพียรพยาม “เดินไปตามทางอริยมรรคมีองค์ 8
 
จึงจะถึงจุดหมายปลายทาง คือ “ความดับทุกข์
 
***************
 
. วิภังคสูตร ว่าด้วย การจำแนกอริยมรรค
[๘] เรื่องเกิดขึ้นที่ กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง จักจำแนก อริยมรรคมีองค์ ๘ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค จึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย อริยมรรคมีองค์ ๘ อะไรบ้าง คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
 
สัมมาทิฏฐิ เป็นอย่างไร
คือ ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย (เหตุเกิดทุกข์) ความรู้ในทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับทุกข์)
นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ
 
สัมมาสังกัปปะ เป็นอย่างไร
คือ ความดำริในเนกขัมมะ (การออกจากกาม) ความดำริในอพยาบาท (ความไม่พยาบาท) ความดำริในอวิหิงสา (การไม่เบียดเบียน)
นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ
 
สัมมาวาจา เป็นอย่างไร
คือ เจตนาเป็นเหตุเว้นจากมุสาวาท (พูดเท็จ) เจตนาเป็นเหตุเว้นจากปิสุณาวาจา (พูดส่อเสียด) เจตนาเป็นเหตุเว้นจากผรุสวาจา (พูดคำหยาบ) เจตนาเป็นเหตุเว้นจากสัมผัปปลาปะ (พูดเพ้อเจ้อ)
นี้เรียกว่า สัมมาวาจา
 
สัมมากัมมันตะ เป็นอย่างไร
คือ เจตนาเป็นเหตุเว้นจากปาณาติบาต (การฆ่าสัตว์) เจตนาเป็นเหตุเว้นจากอทินนาทาน (การลักทรัพย์) เจตนาเป็นเหตุเว้นจากอพรหมจรรย์ (พฤติกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์)
นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ
 
สัมมาอาชีวะ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ละมิจฉาอาชีวะ สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะ
นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ 
 
สัมมาวายามะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรม ที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น
๒. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อละบาปอกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อทำกุศลธรรม ที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น
๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว
นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ
 
สัมมาสติ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
นี้เรียกว่า สัมมาสติ
 
สัมมาสมาธิ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตก วิจาร ปีติ และ สุข อันเกิดจากวิเวกอยู่
๒. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ ปีติ และ สุข อันเกิดจากสมาธิอยู่
๓. เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า “ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข”
๔. เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน บรรลุ จตุตถฌาน ที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ

วิภังคสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑.มัคคสังยุต] ๑.อวิชชาวรรค ๘.วิภังคสูตร
{ที่มา: โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม: ๑๙ หน้า: ๑๐-๑๓}

 
ชาญ คำพิมูล

 



Create Date : 23 มีนาคม 2567
Last Update : 23 มีนาคม 2567 7:16:47 น.
Counter : 219 Pageviews.

0 comments
(โหวต blog นี้) 
ความจริงใจ ปัญญา Dh
(22 เม.ย. 2567 19:48:15 น.)
ว่างเปล่า นาฬิกาสีชมพู
(22 เม.ย. 2567 00:01:05 น.)
137. ทางเดินไปสู่ “ความดับทุกข์” คือ “อริยมรรคมีองค์ 8” ตอนที่ 3 chancamp
(21 เม.ย. 2567 06:10:44 น.)
หลักปฏิบัติ ปัญญา Dh
(18 เม.ย. 2567 19:08:42 น.)

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณhaiku

ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Chancamp.BlogGang.com

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]

บทความทั้งหมด