36. โสดาบัน...สิ่งที่ควรทำให้ได้ ในชาตินี้

 

สิ่งที่คนเรา “ควรทำให้ได้ ในชาตินี้” คือ “พระโสดาบัน”


เพราะ


พระโสดาบัน คือ ผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา


แล้วทำอย่างไร? จึงจะบรรลุพระโสดาบัน


***************

[๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็นโสดาบัน เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ ๓ พึงเป็นผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีอันตรัสรู้เป็นเบื้องหน้าเถิด ดังนี้

ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรม เครื่องระงับจิตของตน ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

...จาก พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ (๖. อากังเขยยสูตร ว่าด้วยข้อที่พึงหวังได้ ๑๗ อย่าง)
 

“พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล” หมายถึง ต้องเป็นผู้เพียรกระทำศีล ให้บริบูรณ์ หรือ ต้องเป็นผู้เพียรกระทำศีล ให้เป็นปกติ (ไม่ต้องยึด ไม่ต้องถือ)
 

“หมั่นประกอบธรรม เครื่องระงับจิตของตน ไม่ทำฌานให้เหินห่าง” หมายถึง ต้องเพียรหมั่น “ทำจิตให้ตั้งมั่นให้เป็นสมาธิ” หรือ ต้องเพียรหมั่น “เจริญสมถภาวนา” ร่วมด้วย เพื่อระงับจิตของตน (หมั่นอบรมจิต ร่วมด้วย)

“ประกอบด้วย วิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร” หมายถึง ต้องเจริญ “วิปัสสนาภาวนา” ร่วมด้วย เพื่อทำให้เกิดปัญญา ละสังโยชน์ ๓ ได้ (อบรมปัญญา ร่วมด้วย)
 

สุญญาคาร หมายถึง เรือนว่าง (ทำจิตใจให้ว่างจากกิเลส ตัณหา และ อุปาทาน)
 

ผู้ที่ต้องการจะบรรลุพระโสดาบัน ต้อง “ปฏิบัติศีล สมาธิ และ ปัญญา ให้เกิดการละสังโยชน์ ๓ ได้ หรือ ให้เกิดการพ้นสังโยชน์ ๓”
 

สังโยชน์ ๓ หมายถึง สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และ สีลัพพตปรามาส
 

****************
 

สังโยชน์ (บาลี: samyojana) หมายถึง กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือ กิเลสเครื่องร้อยรัดจิตใจให้จมในวัฏฏะ มี ๑๐ ประการ แบ่งเป็น ๒ หมวด ดังนี้
 

หมวด ๑ โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ


๑. สักกายทิฏฐิ หมายถึง ความเห็นว่า “กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน” เป็นตัวเป็นตนของตน
 

๒. วิจิกิจฉา หมายถึง ความลังเลสงสัย ใน “กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน”


๓. สีลัพพตปรามาส หมายถึง การยึดถือปฏิบัติศีลแบบลูบคลำ หรือ การยึดถือปฏิบัติศีลที่ไม่เกิดมรรคผล


๔. กามราคะ หมายถึง ความกำหนัดยินดี ในกามคุณ ๕ คือ รูป รส กลิ่น เสียง และ สัมผัส


๕. ปฏิฆะ หมายถึง ความขัดใจ ความคับแค้นใจ ความกระทบกระทั่งแห่งจิตใจ


หมวด ๒ อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง
 

๖. รูปราคะ หมายถึง ความกำหนัดยินดี ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยรูปในจิต


๗. อรูปราคะ หมายถึง ความกำหนัดยินดี ที่เกิดขึ้นโดยไม่อาศัยรูป


๘. มานะ หมายถึง ความถือตัวถือตนเป็นใหญ่


๙. อุทธัจจะ หมายถึง ความฟุ้งซ่าน


๑๐. อวิชชา หมายถึง ความหลงยึดมั่นถือมั่นในจิต และ เจตสิก


***************


การปฏิบัติ “ศีล สมาธิ และ ปัญญา”


ต้องปฏิบัติ ให้สอดร้อยเกี่ยวเนื่องกันไป (ไม่แยกปฏิบัติ)


จึงจะเกิดมรรคผลเป็น “การละสังโยชน์ ” ได้


หรือ จึงจะเกิดมรรคผลเป็น “ศีลอันบริบูรณ์”


***************


ผู้ที่บรรลุพระโสดาบันแล้ว ชื่อว่า “ผู้สร้างหลักประกันให้กับชีวิต ในชาติต่อๆไป แล้ว”


เพราะ


พระโสดาบัน คือ ผู้ปิดประตูอบายแล้ว


ชาญ คำพิมูล




Create Date : 01 มกราคม 2563
Last Update : 1 มกราคม 2563 8:16:18 น.
Counter : 2337 Pageviews.

0 comments
: รูปแบบของความว่าง : กะว่าก๋า
(22 เม.ย. 2567 05:16:32 น.)
: รูปแบบของความรู้สึก : กะว่าก๋า
(19 เม.ย. 2567 05:12:42 น.)
봄 처녀(Virgin spring) by 홍난파(NanPa Hong) ปรศุราม
(17 เม.ย. 2567 10:09:12 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 36 : กะว่าก๋า
(14 เม.ย. 2567 06:17:30 น.)
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Chancamp.BlogGang.com

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]

บทความทั้งหมด