119. บทสรุปของการปฏิบัติธรรม เพื่อทำความดับทุกข์ ตอนที่ 5


กิเลส ตัณหา และอุปาทาน
เป็นสิ่งที่ มีฤทธิ์มีแรงมาก

 
มันสามารถทำให้คนเราทำความไม่ดี (อกุศลกรรม) ทั้งหลาย” ได้

ทั้งๆที่รู้ว่า มันเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ

ทั้งๆที่รู้ว่า มันมีผลเป็น “วิบากกรรมที่ไม่ดี (อกุศลวิบาก)

ที่จะทำให้ชีวิต ต้องประสบกับ “ความทุกข์ และสิ่งที่ไม่ดีทั้งหลาย” ทั้งในชาตินี้ และชาติต่อๆไป

และ ทั้งๆที่ จริงๆแล้ว “ไม่อยากจะทำ
 

มันสามารถทำให้คนเรา ทำในสิ่งที่ “เป็นโทษเป็นภัยต่อตนเอง” ได้

ทั้งๆที่รู้ว่า ถ้าทำแล้ว มันจะก่อโทษก่อภัยต่อตนเอง
 

มันสามารถยับยั้ง ไม่ให้คนเรา ทำในสิ่งที่ “มีคุณค่าประโยชน์ต่อชีวิต” ได้

ทั้งๆที่รู้ว่า ถ้าทำแล้ว มันจะก่อให้เกิด “คุณค่าประโยชน์ต่อชีวิต” มากมาย
 

มันสามารถทำให้คนเรา ทำร้ายทำลายชีวิตของผู้อื่นและสัตว์อื่นได้

มันสามารถทำให้คนเรา ฆ่าคนที่ตนเองรักได้

และ มันสามารถทำให้คนเรา ฆ่าตนเองได้
 
***************
 
การต่อสู้เพื่อเอาชนะ กิเลส ตัณหา และอุปาทาน

หรือ การทำความดับกิเลส ตัณหา และอุปาทาน

เพื่อทำความดับทุกข์

ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ

ต้องใช้ "กำลังความเพียร (วิริยะพละ) ที่เป็นสัมมา (สัมมาวายามะ)"

ต้องใช้ "กำลังสติ (สติพละ) ที่เป็นสัมมา (สัมมาสติ)"

ต้องใช้ "กำลังสมาธิ (สมาธิพละ) ที่เป็นสัมมา (สัมมาสมาธิ)"

ต้องใช้ "กำลังปัญญา (ปัญญาพละ) ที่เป็นสัมมา (สัมมาทิฏฐิ)"

ค่อนข้างมาก

และ ต้องใช้ระยะเวลา ยาวนานพอสมควร

ดังนั้น จึงต้องมองให้เห็น “การลดลง การจางคลายลง ของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน

หรือ ต้องมองให้เห็น “มรรคผล” แม้มีประมาณน้อย

เพื่อทำให้เกิด “กำลังศรัทธา (ศรัทธาพละ)

ช่วยให้สามารถเดินหน้า “ทำความดับกิเลส ตัณหา และอุปาทาน เพื่อทำความดับทุกข์” ต่อไปได้
 
***************
 
ถ้ามองไม่เห็น “มรรคผล” แม้มีประมาณน้อย

จะทำให้ “หมดแรงกำลัง

และ จะไม่สามารถเดินหน้า “ทำความดับกิเลส ตัณหา และอุปาทาน เพื่อทำความดับทุกข์” ต่อไปได้
 
***************
 
จงอย่าปล่อยให้ชีวิตและจิตใจ

ไหลเลื่อนไปตาม “อำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน

เพราะ

การปล่อยให้ชีวิตและจิตใจ

ไหลเลื่อนไปตาม “อำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน

จะทำให้ “กิเลส ตัณหา และอุปาทาน

สั่งสมพอกพูนขึ้น และมีฤทธิ์มีแรงมากขึ้น

จนไม่สามารถจะควบคุมได้ หรือ ควบคุมได้ยาก
 
***************

 
จงเพียรหมั่น “อบรมจิต (เจริญสมถะ) และ อบรมปัญา (เจริญวิปัสสนา)

เพื่อทำให้ “กิเลส ตัณหา และอุปาทาน


ค่อยๆลดลง จางคลายลง และ ดับสูญสิ้นไปจากชีวิตและจิตใจ
 
***************
 
การต่อสู้เพื่อเอาชนะกิเลส ตัณหา และอุปาทาน

ต้องมองให้เห็น “มรรคผล” แม้มีประมาณน้อย

หรือ ต้องมองให้เห็น “ความก้าวหน้า” แม้มีประมาณน้อย

หรือ ต้องให้เห็น “ความชนะในความแพ้

คือ ต้องมองให้เห็น “ความลดลง ความจางคลายลง” ของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน

และ ต้องมองให้เห็น “ความสุขสงบ คุณค่าประโยชน์ และ สิ่งที่ดีๆ” ที่เกิดจากการลดลง การจางคลายลง ของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน

จึงจะทำให้เกิด “กำลังศรัทธา (ศรัทธาพละ)

ช่วยให้สามารถเดินหน้า “ทำความดับกิเลส ตัณหา และอุปาทาน เพื่อทำความดับทุกข์” ต่อไปได้
 
ชาญ คำพิมูล

 



Create Date : 06 พฤษภาคม 2566
Last Update : 14 พฤษภาคม 2566 5:42:31 น.
Counter : 370 Pageviews.

0 comments
: รูปแบบของความว่าง : กะว่าก๋า
(22 เม.ย. 2567 05:16:32 น.)
: รูปแบบของความรู้สึก : กะว่าก๋า
(19 เม.ย. 2567 05:12:42 น.)
หลักปฏิบัติ ปัญญา Dh
(18 เม.ย. 2567 19:08:42 น.)
: รูปแบบของการตระหนักในการรับรู้ : กะว่าก๋า
(15 เม.ย. 2567 05:37:45 น.)
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Chancamp.BlogGang.com

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]

บทความทั้งหมด