31. สิ่งที่ควรเรียนรู้ และ สิ่งที่ควรทำ


ในโลกเรานี้
 
มีสิ่งที่น่าเรียนรู้ และ น่าทำ อยู่มากมาย หลายสิ่ง
 
แต่ชีวิตของคนเรา ไม่ได้ยืนยาว มากพอ
 
ที่จะสามารถเรียนรู้ และ สามารถทำ ในทุกๆสิ่ง ที่น่าเรียนรู้ และ น่าทำ
 
***************
 
ชีวิตนี้ น้อยนัก
 
ชีวิตนี้ สั้นนัก
 
ชีวิตนี้ ไม่แน่นอน

 
สิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับชีวิต
 
ที่คนเรา “ควรเรียนรู้ และ ควรทำ”
 
นอกเหนือจาก สิ่งที่ต้องเรียนรู้ และ ต้องทำ เพื่อการดำรงชีพของตน
 
คือ การเรียนรู้ทุกข์ การเรียนเหตุแห่งทุกข์ การเรียนรู้วิธีการดับทุกข์ และ การทำความดับทุกข์
 
เพราะ สิ่งเหล่านี้ มีผลต่อความเป็นไปของชีวิต ทั้งในชาตินี้ และ ชาติต่อๆไป
 
***************
 
“ทุกข์ อาศัย เหตุปัจจัย เกิดขึ้น”
 
“การดับทุกข์ คือ การดับเหตุ ดับปัจจัย ที่ทำให้เกิดทุกข์”

 
***************
 
การเกิดมาของคนเรา และ สัตว์โลกทั้งหลาย
 
เป็นการเกิดมา เพื่อมารับผลของกรรม ที่ตนได้เคยกระทำเอาไว้ ในชาติก่อนๆ
 
กรรมไม่ดี หรือ อกุศลกรรม มีผลเป็น วิบากกรรมไม่ดี หรือ อกุศลวิบาก ได้แก่ การไม่ได้ลาภ การเสื่อมลาภ การไม่ได้ยศ การเสื่อมยศ การไม่ได้รับการสรรเสริญ การได้รับการนินทาว่าร้าย การได้รับ หรือ การได้ประสบกับ ความทุกข์ ความโศก โรค ภัย และ สิ่งที่ไม่ดีทั้งหลาย
 
กรรมดี หรือ กุศลกรรม มีผลเป็น วิบากกรรมดี หรือ กุศลวิบาก ได้แก่ การได้ลาภ การได้ยศ การได้สรรเสริญ การได้ห่างไกลจากโรค การได้ห่างไกลจากภัย การได้รับ หรือ การได้ประสบกับ ความสุข และ สิ่งที่ดีๆทั้งหลาย
 
อกุศลมูล หรือ มูลเหตุที่ทำให้คนเรา ต้องทำกรรมไม่ดี หรือ อกุศลกรรม คือ กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ที่ครอบงำจิตใจของคนเราอยู่ อันได้แก่ ความโลภ ความโกรธ และ ความหลง
 
***************
 
การดับทุกข์ คือ การดับเหตุ ดับปัจจัย ที่ทำให้เกิดทุกข์
 
โดยการปฏิบัติตาม “โอวาทปาฏิโมกข์ ๓” ที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติเอาไว้ คือ
 
๑. การไม่ทำบาปอกุศลทั้งปวง ทั้งทางกาย ทางวาจา และ ทางใจ หมายถึง การไม่สร้างอกุศลวิบาก(วิบากกรรมที่ไม่ดี) มาเติมเพิ่มให้กับชีวิต
 
๒. การหมั่นทำกุศลทั้งหลาย ให้ถึงพร้อม ทั้งทางกาย ทางวาจา และ ทางใจ หมายถึง การหมั่นสร้างกุศลวิบาก(วิบากกรรมดี) มาเติมเพิ่มให้กับชีวิต
 
๓. การทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส หมายถึง การหมั่นชำระล้าง กิเลส ตัณหา และอุปาทาน ซึ่งเป็นอกุศลมูล (มูลเหตุของอกุศล) ออกจากจิตใจ ให้หมดสิ้น
 
การปฏิบัติตาม “โอวาทปาฏิโมกข์ ๓” คือ การเดินตามทาง “มรรคมีองค์ ๘” โดยใช้ ศีล สมาธิ และ ปัญญา ขับเคลื่อน
 
***************
 
ชีวิตนี้ น้อยนัก
 
ชีวิตนี้ สั้นนัก
 
ชีวิตนี้ ไม่แน่นอน
 
ขอพวกเรา
 
จงใช้วันเวลาของชีวิต ที่มีอยู่ ไม่มากนัก
 
ให้มีคุณค่า ให้มีประโยชน์
 
ด้วยการเรียนรู้ ในสิ่งที่ควรเรียนรู้ และ ด้วยการทำ ในสิ่งที่ควรทำ ดังกล่าวมาแล้ว
 
เพื่อประโยชน์สุขของชีวิต ทั้งในชาตินี้ และ ชาติต่อๆไป
 
ชาญ คำพิมูล

 



Create Date : 20 ตุลาคม 2562
Last Update : 12 พฤศจิกายน 2562 7:33:28 น.
Counter : 2566 Pageviews.

0 comments
ความจริงใจ ปัญญา Dh
(22 เม.ย. 2567 19:48:15 น.)
: รูปแบบของความรับผิดชอบ : กะว่าก๋า
(21 เม.ย. 2567 05:49:18 น.)
: รูปแบบของความรู้สึก : กะว่าก๋า
(19 เม.ย. 2567 05:12:42 น.)
: รูปแบบของการตระหนักในการรับรู้ : กะว่าก๋า
(15 เม.ย. 2567 05:37:45 น.)
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Chancamp.BlogGang.com

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]

บทความทั้งหมด