28. ปล่อยวางสุข (โลกียสุข) ปล่อยวางทุกข์ เพื่อความพ้นทุกข์


อารมณ์สุข หรือ สุขเวทนา และ อารมณ์ทุกข์ หรือ ทุกขเวทนา ที่เกิดขึ้น ภายในจิตใจของคนเรา

โดยส่วนใหญ่แล้ว

เกิดขึ้นจาก “การปรุงแต่ง (สังขาร) ของจิต ไปตามอำนาจของกิเลส”

***************

การหลงใหลติดใจ และ การหลงยึดมั่นถือมั่น ใน “อารมณ์สุข และ อารมณ์ทุกข์”

ที่เกิดขึ้นจาก “การปรุงแต่ง (สังขาร) ของจิต ไปตามอำนาจของกิเลส”

คือมูลเหตุของ ความทุกข์ ความโศก โรค โทษ และ ภัย ทั้งหลาย

***************

ถ้าต้องการจะทำความพ้นทุกข์

ต้องปล่อยวาง ทั้ง “อารมณ์สุข ละ อารมณ์ทุกข์”

ที่เกิดขึ้นจาก “การปรุงแต่ง (สังขาร) ของจิต ไปตามอำนาจของกิเลส”

***************

การทำความปล่อยวาง “อารมณ์สุข และ อารมณ์ทุกข์”

ที่เกิดขึ้นจาก “การปรุงแต่ง (สังขาร) ของจิต ไปตามอำนาจของกิเลส”

ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ

เราต้องเพียรหมั่น “อบรมจิต (สมถภาวนา)”

และ เราต้องเพียรหมั่น “อบรมปัญญา (วิปัสสนาภาวนา)”

เพื่อทำให้เห็น ความจริงตามความเป็นจริง “จนเห็นชัดแจ้งที่ใจ (โยนิโสมนสิการ)”

ในความเป็น “อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา (ไตรลักษณ์)”

ของ “อารมณ์สุข และ อารมณ์ทุกข์” ที่เกิดขึ้นจาก “การปรุงแต่ง (สังขาร) ของจิต ไปตามอำนาจของกิเลส”

จนเกิด การละหน่ายคลาย และ การปล่อยวางได้

หรือ จนเกิด “ปัญญา” ล้างความหลงยึดมั่นถือมั่น ที่เป็นไปตามอำนาจของกิเลส (อุปาทาน)

หรือ จนเกิด “ปัญญา” ล้างอวิชชา

***************

การเพียรหมั่น “อบรมจิต (สมถภาวนา)”

และ การเพียรหมั่น “อบรมปัญญา (วิปัสสนาภาวนา)”

เพื่อทำให้เห็น ความจริงตามความเป็นจริง “จนเห็นชัดแจ้งที่ใจ (โยนิโสมนสิการ)”

ในความเป็น "อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา (ไตรลักษณ์)"

ของ “อารมณ์สุข และ อารมณ์ทุกข์”

ที่เกิดขึ้นจาก “การปรุงแต่ง (สังขาร) ของจิต ไปตามอำนาจของกิเลส”

คือ การพิจารณา “เวทนาในเวทนา” อันเป็น ๑ ใน สติปัฏฐาน ๔

***************

การพิจารณา “เวทนาในเวทนา”

เป็นการทำความมีสติ เพื่อไม่ให้เผลอสติ หลงไปปรุงแต่ง (สังขาร) ตามอำนาจของกิเลส                  

โดยการเพ่งพิจารณา ให้เห็นความจริงตามความเป็นจริง "จนเห็นชัดแจ้งที่ใจ (โยนิโสมนสิการ)"

ในความเป็น อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา (ไตรลักษณ์)

ของ "อารมณ์สุขเวทนา และ อารมณ์ทุกขเวทนา"

ที่เกิดขึ้นจาก “การปรุงแต่ง (สังขาร) ของจิต ไปตามอำนาจของกิเลส”

จนเกิด การละหน่ายคลาย และ การปล่อยวางได้

***************

การอบรมจิต หรือ สมถภาวนา หมายถึง การฝึกฝืนจิต การกดข่มจิต เพื่อไม่ปล่อยให้จิต ปรุงแต่ง (สังขาร) ไปตาม อำนาจของ กิเลส เป็นการพยายาม ระงับ ดับกิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ที่กำลังเกิดขึ้น ภายในจิต

การอบรมปัญญา หรือ วิปัสสนาภาวนา หมายถึง การเพ่งพิจารณา ให้เห็นความจริงตามความเป็นจริง จนเห็นชัดแจ้งที่ใจ (โยนิโสมนสิการ) ในความเป็น อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา (ไตรลักษณ์) ของ กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน เพื่อทำให้เกิด การละหน่ายคลาย และ การปล่อยวางได้ หรือ เพื่อทำให้เกิด “ปัญญา (ในทางธรรม)” ล้างอวิชชา

โยนิโสมนสิการ หมายถึง การทำในใจให้แยบคาย
 
ชาญ คำพิมูล

 



Create Date : 15 กันยายน 2562
Last Update : 15 มีนาคม 2565 7:12:00 น.
Counter : 2268 Pageviews.

2 comments
137. ทางเดินไปสู่ “ความดับทุกข์” คือ “อริยมรรคมีองค์ 8” ตอนที่ 3 chancamp
(21 เม.ย. 2567 06:10:44 น.)
: รูปแบบของความรู้สึก : กะว่าก๋า
(19 เม.ย. 2567 05:12:42 น.)
การหา เติมความมี ปัญญา Dh
(16 เม.ย. 2567 18:08:16 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 36 : กะว่าก๋า
(14 เม.ย. 2567 06:17:30 น.)
  
ภาพสวย...ครับ

นั่งอ่านข้างบน เขียนคล้าย และแนวเดียวกันครับที่ผมเขียน เอะไม่ใช่ ผมเขียนคล้ายนะครับ 555

ผมเข้าศึกษา ภายหลังจาก จขบ.มากกว่าครับ
โดย: ไวน์กับสายน้ำ วันที่: 15 กันยายน 2562 เวลา:7:09:57 น.
  
ขอบคุณครับ คุณ ไวน์กับสายน้ำ ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป นะครับ

ขออนุโมทนากับ บทธรรมของท่าน ด้วยครับ สาธุครับ
โดย: chancamp (chancamp ) วันที่: 15 กันยายน 2562 เวลา:13:40:57 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Chancamp.BlogGang.com

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]

บทความทั้งหมด