136. ทางเดินไปสู่ “ความดับทุกข์” คือ “อริยมรรคมีองค์ 8” ตอนที่ 2


เมื่อเราเข้าใจจนชัดแจ้งแล้วว่า
 
ทางเดินไปสู่ “ความดับทุกข์” คือ “อริยมรรคมีองค์ 8
 

ในลำดับต่อไป
 
เราต้องทำความเข้าใจให้ชัดแจ้งว่า
 
วิธีการเดินไปตามทาง “อริยมรรคมีองค์ 8” คืออย่างไร?
 
และ เราต้องทำความเข้าใจให้ชัดแจ้งว่า
 
อะไร? คือสิ่งบ่งบอกถึง “ความก้าวหน้า” ของการเดินไปตามทาง “อริยมรรคมีองค์ 8
 
***************
 
การทำความดับทุกข์ คือ การเดินไปตามทาง “อริยมรรคมีองค์ 8
 
การเดินไปตามทาง “อริยมรรคมีองค์ 8” คือ
 
การปรับเปลี่ยน “การงานอาชีพ (อาชีวะ) กายกรรม (กัมมันตะ) วจีกรรม (วาจา) และ มโนกรรม (สังกัปปะ)
 
ที่มีปกติเป็น "มิจฉา (อกุศล)"
 
ให้มีปกติเป็น "สัมมา (กุศล)" ยิ่งขึ้น
 
ด้วยการปฏิบัติ "ศีล สมาธิ และ ปัญญา" ให้สูงขึ้น ตามลำดับ
 
เพื่อชำระล้าง หรือ เพื่อละ หรือ เพื่อดับ “กิเลส ราคะ ตัณหา และ อุปาทาน
 
ในระดับหยาบ (วีติกกมกิเลส) ระดับกลาง (ปริยุฏฐานกิเลส) และ ระดับละเอียด (อนุสัยกิเลส)
 
ที่เป็นมูลเหตุของ "อกุศลกรรมและความทุกข์" ทั้งหลาย
 
***************
 
การปฏิบัติ “ศีล สมาธิ และ ปัญญา” ให้สูงขึ้น ตามลำดับ
 
จะทำให้เกิด “อธิศีล อธิจิต และ อธิปัญญา
 
อธิศีล หมายถึง ศีลที่ยิ่ง คือ มีการงานอาชีพ มีกายกรรม มีวจีกรรม มีมโนกรรม ที่มีปกติ “เป็นสัมมา (เป็นกุศล)” ยิ่งขึ้น
 
อธิจิต หมายถึง จิตที่ยิ่ง คือ มีจิตที่เป็นสัมมาสมาธิยิ่งขึ้น จนบรรลุ ปฐมฌาน (ฌานที่ 1) ทุติยฌาน (ฌานที่ 2) ตติยฌาน (ฌานที่ 3) และ จตุตถฌาน (ฌานที่ 4) ตามลำดับ
 
อธิปัญญา หมายถึง ปัญญาที่ยิ่ง คือ มีความเห็นที่ถูก ที่ตรง ที่ชอบ ที่เป็นสัมมา ยิ่งขึ้น จนพ้นสักกายทิฏฐิ
จนพ้นวิจิกิจฉา จนพ้นสีลัพพตปรามาส จนพ้นกามราคะ จนพ้นปฏิฆะ จนพ้นรูปราคะ จนพ้นอรูปราคะ จนพ้นมานะ จนพ้นอุทธัจจะ และ จนพ้นอวิชชา ตามลำดับ (จนพ้นสังโยชน์ 10) จนไม่เหลือเศษเสี้ยวของอวิชชา
 
***************
 
การปฏิบัติ "ศีล สมาธิ และ ปัญญา" ต้องหมั่นเจริญความเพียรที่เป็นสัมมา (สัมมาวายามะ) และ ต้องหมั่นเจริญสติที่เป็นสัมมา (สัมมาสติ) ร่วมด้วย
 
การเจริญความเพียรที่เป็นสัมมา (สัมมาวายามะ) หมายถึง การเจริญสัมมัปปธาน 4 คือ
 
๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรม ที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น (สังวรปธาน)


๒. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อละบาปอกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว (ปหานปธาน)


๓. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อทำกุศลธรรม ที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น (ภาวนาปธาน)


๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่ แห่งกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว (อนุรักขนาปธาน)


การเจริญสติที่เป็นสัมมา (สัมมาสติ) หมายถึง การเจริญสติปัฏฐาน 4 คือ
 
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ (กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน)


๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ (เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน)


๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ (จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน)


๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ (ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน)


ชาญ คำพิมูล

 



Create Date : 06 เมษายน 2567
Last Update : 6 เมษายน 2567 7:45:20 น.
Counter : 158 Pageviews.

0 comments
(โหวต blog นี้) 
ว่างเปล่า นาฬิกาสีชมพู
(22 เม.ย. 2567 00:01:05 น.)
หลักปฏิบัติ ปัญญา Dh
(18 เม.ย. 2567 19:08:42 น.)
การหา เติมความมี ปัญญา Dh
(16 เม.ย. 2567 18:08:16 น.)
: รูปแบบของการค้นพบตนเอง : กะว่าก๋า
(16 เม.ย. 2567 06:05:58 น.)
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Chancamp.BlogGang.com

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]

บทความทั้งหมด