3. จิตใจ คือสิ่งสำคัญยิ่ง

 
จิตใจ คือสิ่งสำคัญยิ่ง สำหรับชีวิต เพราะเหตุว่า ความสุข และ ความทุกข์ เกิดขึ้นที่ “จิตใจ” และ ความสุข และ ความทุกข์ เกิดมาจาก “จิตใจ”
 
ความสุข และ ความทุกข์ ที่เกิดขึ้น ในจิตใจ เป็นสิ่งที่เกิดมาจาก “การปรุงแต่ง (สังขาร) ของจิตใจ” ไปตามอำนาจของกิเลส
 
ความสุข ในที่นี้ หมายถึง “ความสุขในทางโลก” หรือ “โลกียสุข”
 
“ความสุขในทางโลก” หรือ “โลกียสุข” คือความสุขลวง เป็นเหยื่อล่อของกิเลส
 
หลายๆคน ปรารถนาจะให้ตน ได้รับ “ความสุข (ในทางโลก)” โดยถ่ายเดียว โดยให้ไม่มี “ความทุกข์” ใดๆ ในชีวิต แต่ไม่มีผู้ใด สมปรารถนา เพราะเหตุว่า ความสุข (ในทางโลก) และ ความทุกข์ เป็นสิ่งที่เกิดมา “คู่กัน” ไม่มีผู้ใด จะสามารถแยกออกจากกันได้ แม้แต่พระพุทธองค์ ก็ไม่สามารถจะแยก “ความสุข (ในทางโลก)” และ “ความทุกข์” ออกจากกันได้
 
แท้จริงแล้ว “ความสุขในทางโลก” เป็น “ความสุข” ที่เจืออยู่ใน “ความทุกข์”
 
ถ้าเราต้องการจะพ้นจาก “ความทุกข์” เราต้องปล่อยวาง “ความสุข (ในทางโลก)” โดยถ่ายเดียว
 
เมื่อเราสามารถจะปล่อยวาง “ความสุขในทางโลก” ได้แล้ว เราก็จะพ้นจาก “ความทุกข์” และ เราก็จะได้รับ “ความสุขที่แท้จริง” คือ “ความสุขสงบ” หรือ “ความสุขในทางธรรม” 
 
ถ้าเราไม่วางปล่อยวาง “ความสุขในทางโลก” เราจะไม่มีทาง “พ้นจากความทุกข์” ได้เลย
 
“ความสุขที่แท้จริง” และ “ความพ้นทุกข์” เป็นสิ่งที่ ไม่อาจซื้อหาเอามาได้ ด้วยทรัพย์สินเงินทอง
 
“ความสุขที่แท้จริง” และ “ความพ้นทุกข์” เป็นสิ่งที่ ไม่อาจแสวงหาเอามาได้ จากที่อื่นใด นอกจาก “จิตใจ”
 
ดังนั้น ถ้าเราอยากจะได้ “ความสุขที่แท้จริง” และ “ความพ้นทุกข์” เราต้องทำ ที่ “จิตใจ” ของเรา โดยการเพียรหมั่น ชำระล้าง กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ออกจาก “จิตใจ” ของเรา 
 
“ดูกรอานนท์ บุคคลทั้งหลาย ผู้ที่จะรู้ว่า สุข ทุกข์ ติดกันอยู่นั้น หายาก ยิ่งนัก มีแต่เราตถาคต ผู้ประกอบด้วยทศพลญาณนี้ เท่านั้น
บุคคลทั้งหลาย ที่ยังเป็นปุถุชนคนโง่เขลานั้น ทำความเข้าใจว่า สุข ก็มีอยู่ต่างหาก ทุกข์ ก็มีอยู่ต่างหาก ครั้นเราถือเอาสุข เราก็ได้สุข เราก็ไม่ถือเอาทุกข์ ทุกข์ก็ไม่มี ดังนี้
เพราะเหตุที่เขาไม่รู้ว่า สุขกับทุกข์ ติดกันอยู่ เขาจึงไม่พ้นทุกข์
เมื่อผู้ใด อยากพ้นทุกข์ ก็ให้วางสุขเสีย ก็เป็นอันละทุกข์ วางทุกข์ด้วย เหมือนกัน
ใครเล่า จะมีความสามารถ พรากสุขทุกข์ ออกจากกันได้ แม้แต่เราตถาคต ก็ไม่มีอำนาจวิเศษ ที่จะพราก จากกันได้ ถ้าหากเราตถาคต พรากสุข แลทุกข์ ออกจากกันได้ เราจะปรารถนา เข้าสู่พระนิพพาน ทำไม เราจะถือเอาแต่สุข อย่างเดียว เสวยแต่ความสุข อยู่ในโลก เท่านั้น ก็เป็นอันสุขสบาย พออยู่แล้ว
นี่ไม่เป็นเช่นนั้น เราแสวงหาความสุข โดยส่วนเดียว ไม่มีทาง ที่จะพึงได้
เราจึงวางสุขเสีย ครั้นวางสุขแล้ว ทุกข์ไม่ต้องวาง ก็หายไปเอง อยู่กับเราไม่ได้ เราจึงสำเร็จ พระนิพพาน พ้นจากกองทุกข์ ด้วยประการ ดังนี้
ดูกรอานนท์ อันสุข ในโลกีย์ นั้น ถ้าตรวจตรองให้แน่นอนแล้ว ก็เป็นกองแห่งทุกข์ นั้นเอง เขาหากเกิดมา เป็นมิตร ติดกันอยู่ ไม่มีผู้ใด จักพราก ออกจากกันได้ เราตถาคต กลัวทุกข์ เป็นอย่างยิ่ง หาทางชนะทุกข์ มิได้ จึงปรารถนา เข้าพระนิพพาน เพราะเหตุ กลัวทุกข์นั้น อย่างเดียว
พระพุทธเจ้าตรัสเทศนา แก่ข้าอานนท์ ดังนี้แลฯ”
 
...เนื้อความจาก คิริมานนทสูตร ฉบับพระยาธรรมิกราช “ความสุขในโลก”
 
ชาญ คำพิมูล
 
 



Create Date : 20 มกราคม 2562
Last Update : 12 พฤศจิกายน 2562 7:23:06 น.
Counter : 1012 Pageviews.

0 comments
หลักปฏิบัติ ปัญญา Dh
(18 เม.ย. 2567 19:08:42 น.)
: รูปแบบของชีวิต : กะว่าก๋า
(17 เม.ย. 2567 04:37:20 น.)
봄 처녀(Virgin spring) by 홍난파(NanPa Hong) ปรศุราม
(17 เม.ย. 2567 10:09:12 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 36 : กะว่าก๋า
(14 เม.ย. 2567 06:17:30 น.)
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Chancamp.BlogGang.com

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]

บทความทั้งหมด