115. บทสรุปของการปฏิบัติธรรม เพื่อทำความดับทุกข์ ตอนที่ 1


บทสรุปของการปฏิบัติธรรม เพื่อทำความดับทุกข์ คือ "โอวาทปาฏิโมกข์ 3"
 
โอวาทปาฏิโมกข์ 3 เป็นหลักธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดง ในวันมาฆบูชา
 
***************
 
โอวาทปาฏิโมกข์ 3 ประกอบด้วย
 
1.การไม่ทำบาปทั้งปวง (สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง) 
 
2.การทำกุศลให้ถึงพร้อม (กุสะลัสสูปะสัมปะทา)
 
3.การทำจิตใจให้บริสุทธิ์ (สะจิตตะปะริโยทะปะนัง)
 
***************
 

เพราะ ...
 
สัตว์โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม (กมฺมุนา วตฺตตีโลโก)
 
การทำบาป หรือ การทำความชั่ว เป็น อกุศลกรรม หรือ กรรมไม่ดี

อกุศลกรรม หรือ กรรมไม่ดี มีผลเป็น อกุศลวิบาก หรือ วิบากกรรมไม่ดี

อกุศลวิบาก หรือ วิบากกรรมไม่ดี คือ การได้รับ และ การได้ประสบกับ “สิ่งที่ไม่ดีทั้งหลาย” (ทำให้เป็นทุกข์)

การทำความดี เป็น กุศลกรรม หรือ กรรมดี

กุศลกรรม หรือ กรรมดี มีผลเป็น กุศลวิบาก หรือ วิบากกรรมดี

กุศลวิบาก หรือ วิบากกรรมดี คือ การได้รับ และ การได้ประสบกับ “สิ่งที่ดีๆทั้งหลาย” (ทำให้เป็นสุข)

กิเลส ที่ครอบงำจิตใจของคนเราอยู่ คือสิ่งชักนำจิตใจของคนเรา ให้คนเรา “ทำกรรมไม่ดี หรือ อกุศลกรรม” โดยมี “ลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข ฯลฯ” เป็นเหยื่อล่อ
 
กิเลส คือ ความโลภ ความโกรธ และ ความหลง เป็นมูลเหตุของอกุศล หรือ เป็นอกุศลมูล
 
กิเลส ที่ครอบงำจิตใจของคนเราอยู่ คือสิ่งชักนำจิตใจของคนเรา ให้คนเรา “ทำกรรมดี” โดยมุ่งหวังผลตอบแทน คือ “ลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข ฯลฯ
 
ผลที่เกิดจากการทำความดี หรือ วิบากกรรมดี เป็นเพียงเครื่องอาศัย ไม่ใช่สิ่งที่ควร “ไปหลงใหลติดใจ” หรือ “ไปหลงยึดมั่นถือมั่น”
 
การหลงใหลติดใจ และ การหลงยึดมั่นถือมั่น ในผลของการทำความดี คือ ลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข ฯลฯ จะทำให้เกิด ความโลภ ความโกรธ ความหลง และ ความทุกข์ ตามมา
 
การทำความดี (กุศลกรรม) โดยมุ่งหวังผลตอบแทน จะทำให้เกิด “การเวียนวน อยู่ในวังวนของความสุข (โลกียสุข) และความทุกข์ ไม่มีที่สิ้นสุด เป็นวัฏสงสาร
 
***************
 

ดังนั้น …
 
ถ้าเราต้องการจะทำความดับทุกข์
 
เราต้องปฏิบัติตามโอวาทปาฏิโมกข์ ทั้ง 3 ข้อ ดังนี้
 
 
1. ต้องไม่ทำบาปอกุศลทั้งปวง ทั้งทางกาย ทางวาจา และ ทางใจ หมายถึง ต้องไม่สร้างอกุศลวิบาก หรือ วิบากกรรมที่ไม่ดี มาเติมเพิ่มให้กับชีวิต
 
2. ต้องทำกุศลให้ถึงพร้อม ทั้งทางกาย ทางวาจา และ ทางใจ หมายถึง ต้องหมั่นสร้างกุศลวิบาก หรือ วิบากกรรมดี มาเติมเพิ่มให้กับชีวิต
 
3. ต้องทำจิตใจให้บริสุทธิ์ หมายถึง ต้องเพียรหมั่น ชำระล้าง หรือ ขจัด หรือ ดับ “กิเลส” คือ ความโลภ ความโกรธ และ ความหลง ซึ่งเป็นอกุศลมูล หรือ เป็นมูลเหตุของอกุศล ที่มีอยู่ภายในจิตใจ ให้หมดสิ้น เพื่อทำจิตใจ ให้สะอาดบริสุทธิ์
 
***************
 
การทำความดี หรือ กรรมดี ควรมีจุดมุ่งหมายเพื่อ “ระงับดับกิเลส” และเพื่อ “ให้มีเครื่องอาศัย” ตามสมควร
 
ลำดับสุดท้ายของการทำความดับทุกข์

เราต้องปล่อยวาง “จิตใจ

คือ เราต้องวางสุข วางทุกข์ วางบาปบุญคุณโทษ วางโลภโกรธหลง วางลาภยศนินทาสรรเสริญ ทั้งหมดทั้งสิ้น

เพื่อเข้าสู่ “พระนิพพาน

ชาญ คำพิมูล



Create Date : 12 มีนาคม 2566
Last Update : 12 มีนาคม 2566 7:11:49 น.
Counter : 468 Pageviews.

0 comments
: รูปแบบของความรับผิดชอบ : กะว่าก๋า
(21 เม.ย. 2567 05:49:18 น.)
: ถามตะวัน จันทราตอบ : กะว่าก๋า
(20 เม.ย. 2567 06:10:27 น.)
กฎของธรรมชาติ ปัญญา Dh
(20 เม.ย. 2567 10:45:01 น.)
: รูปแบบของชีวิต : กะว่าก๋า
(17 เม.ย. 2567 04:37:20 น.)
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Chancamp.BlogGang.com

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]

บทความทั้งหมด