

กล้วยตัดดอกมีการปลูกเป็นไม้ประดับมานานแล้วในประเทศไทย ปัจจุบันได้มีการนำพันธุ์ใหม่ ๆ มาปลูกและนิยมนำมาเป็นไม้ตัดดอกซึ่งจะได้ดอกที่สวยงามรูปทรงที่แปลกประกอบกับมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน เหมาะสมกับการนำมาทำได้ตัดดอก ในขณะนี้ได้ปลูกตัดดอกบริโภคภายในประเทศ หากมีการขยายการผลิตเพิ่มขึ้น มีโอกาศเป็นไปได้ที่จะเป็นไม้ตัดดอกส่งออกต่อไปในอนาคต นอกจากปลูกเป็นไม้ตัดดอกแล้วยังมีการปลูกเพื่อขายหน่อพันธุ์เป็นไม้ประดับจัดสวน เนื่องจากการปลูกดูแลรักษาง่ายสามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินทั่วไป มีการขยายพันธุ์โดยใช้หน่อ และให้ดอกตลอดปี ดอกสามารถทยอยบานอยู่ได้นาน ทำให้เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ดังจะเห็นได้จากวิวัฒนาการจากการปลูกเป็นไม้ประดับมาเป็นการปลูกเพื่อตัดดอกมากขึ้น
แหล่งผลิตที่สำคัญของกล้วย คือ ชลบุรี เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ กาญจนบุรี กรุงเทพมหานคร นนทบุรี
ชื่อวิทยาศาสตร์: Musa spp
ชื่อสามัญ : Flowering Banana
วงศ์ : Musaceae
ชื่ออื่น ๆ: กล้วย
ถิ่นกำเนิด: เวียดนาม บังคลาเทศ พม่า ไทยตอนเหนือ
พันธุ์ ปัจจุบันพันธุ์กล้วยตัดดอกที่มีการปลูกมีอยู่ 3 พันธุ์ด้วยกันคือ
1.กล้วยกัทลี
2.กล้วยบัวสีชมพู
3.กล้วยประดับ


กล้วยกัทลีOKINAWA TORCH; RED-FLOWERING BANANA; OKINAWAN BANANA FLOWER ชื่ออื่น ๆ : กล้วยแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa uranoscopol Lour (syn. M. coccinea Andrews)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :ไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดินสั้น ๆ ลำต้นเทียม ประกอบด้วยกาบใบ ต้นกลมตรง ใบเป็นใบเดี่ยว ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอดเรียกว่า ปลี ปลีตั้งยาว 75 ซม. ก้านของปลีมีขนสีขาวปกลุม ใบประดับมีขนาดใหญ่ อวบน้ำ ใบประดับเรียงเวียนสลับรองรับดอกย่อยซึ่งเรียงเป็น 1 แถว และมีดอกย่อยเพียง 2 ดอก เมื่อดอกบาน ใบประดับจะแย้มออกเล็กน้อย ด้านโคนปลีเป็นดอกเพศเมีย ด้านปลายปีเป็นดอกเพศผู้
นิเวศน์วิทยา : มีถิ่นกำเนิดในอินโดจีน
ระยะเวลาออกดอกติดผล : เมื่อต้นเจริญเติบโตเต็มที่
การขยายพันธุ์ : แยกหน่อ เพาะเมล็ด
ปัจจัยการผลิต เจริญเติบโตได้ดี ในที่มีแสงรำไร สภาพอากาศ ชายทะเล และที่สูงอากาศค่อนข้างเย็น ดินร่วนปนทราย มีอินทรีย์วัตถุสูง ออกอดกตลอดปี
การปฏิบัติดูแลรักษา
ระยะปลูกและการเตรียมหลุม ระยะปลูกที่เหมาะสมคือ 1.5x2 เมตร เตรียมหลุมโดยใช้ปุ๋ยคอก และ Rock phospage รองก้นหลุม
การให้ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยสูตร 16-16-16 อัตรา 50 g /ต้น/เดือน และระยะที่ใกล้ออกดอกให้ปุ๋ยสูตร 12-12-12-2
การให้น้ำ ให้น้ำสม่ำเสมอโดยให้ระบบสปริงเกอร์จะเหมาะสม
การตัดแต่ง ให้ทำการตัดใบแห้งและหน่อที่มีมากเกินจำเป็นออกเพื่อป้องกันการเข้าทำลายหนอนเจาะลำต้น
โรคและแมลง หนอนเจาะลำต้น จะมีด้วงเจาะกัดกินไส้ลำต้นทำให้เกิดความเสียหาย การป้องกันกำจัดโดยใช้ฟูราดาน 3% G ตั๊กแตนกัดใบ แต่พบน้อยมาก
การเก็บเกี่ยว ตัด ดอกที่บาน 80% โดยการตัดทั้งต้น ในตอนเช้า นำมาปอกกาบออกให้เหลือติดอยู่ 2-3 กาบ และตัดใบออกให้เหลือเหนือดอกประมาณ 2-3 นิ้ว เพื่อป้องกันดอกช้ำระหว่างขนส่ง


กล้วยบัวสีชมพู (Musa ornata Roxb. )
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดินสั้น ๆ ลำต้นแตกเป็นกอ ลำต้นเทียม ประกอบด้วยกาบใบสูง 1.5-3 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว รูปขอบขนาน ด้านล่างใบมีนวล ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด เรียกว่า ปลี ใบประดับขนาดใหญ่ เมล็ดเป็นเหลี่ยมและแบน สีดำ
นิเวศน์วิทยา : มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย ภาคเหนือของไทย พบขึ้นตามที่ชื้น ๆ ริมแม่น้ำทางภาคเหนือ
ระยะเวลาออกดอกติดผล : ออกดอกเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่
การขยายพันธุ์ : แยกหน่อ เพาะเมล็ด
Musa ornata Roxb. มีอยู่ 2 ชนิด คือ ดอกสีส้ม และสีชมพูอมม่วง ต้องการแสงแดดจัดและน้ำมาก หากขาดน้ำจะทำให้ใบไหม้ ขึ้นได้ดีทั่วทุกภาคของประเทศ
1.ดอกสีส้ม ลักษณะด่นคือการแตกหน่อจะออกห่างจากต้นแม่
2.ดอกสีชมพูอมม่วง ลักษณะการแตกหน่อจะชิดต้นแม่หากอยู่กลางแจ้งต้นจะเตี้ย หากอยู่ในที่รำไรลำต้นจะสูง
การขยายพันธุ์ โดยการแยกหน่อ
การปลูกและการดูแลรักษา
ระยะปลูกและการเตรียมหลุม ระยะปลูกที่เหมาะสมคือ 1.5x2 เมตร หรือ 2.5x3 เมตร ใช้ปุ๋ยคอก และ Rock phospage รองก้นหลุม
การให้ปุ๋ย หลังจากปลูกให้ปุ๋ยสูตร 16-16-16 อัตรา 50 g /ต้น/เดือน และระยะที่ใกล้ออกดอกให้ปุ๋ยสูตร 12-12-12-2
การให้น้ำ ให้น้ำสม่ำเสมอโดยให้ระบบสปริงเกอร์จะเหมาะสม
โรคและแมลง
- หนอนเจาะลำต้น
- ตั๊กแตนกัดกินใบ
การเก็บเกี่ยว ตัดดอกที่บานโดยตัดทั้งต้น นำมาปอกกาบออกให้เหลือ 2-3 กาบ ทำการตัดใบที่เหลือออกให้เหนือดอกประมาณ 2-3 นิ้ว


กล้วยประดับ ORNAMENTAL BANANA.
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa velutina Wendl. & Drude
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดินสั้น ๆ ลำต้นแตกเป็นกอ ลำต้นเทียม ประกอบด้วยกาบใบสูง 1-1.5 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปขอบขนาน ด้านบนใบสีเขียวเข้มกว่าด้านล่าง เส้นกลางใบสีเขียวหรือสีชมพู ดอกออก เป็นช่อที่ปลายยอด เรียกว่า ปลี เมื่อดอกบานใบประดับจะอ้าออก ดอกสีชมพูอ่อน ไม่มีก้านดอก
นิเวศน์วิทยา : มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย
ระยะเวลาออกดอกติดผล : ออกดอกเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่
การขยายพันธุ์ : แยกหน่อ เพาะเมล็ด
การปฏิบัติดูแลรักษา เหมือนกับชนิดที่กล่าวมาแล้ว
ตลาด
- ตลาดปากคลอง
- ร้านดอกไม้
- โรงแรม
อายุการปักแจกัน 15-30 วัน
ขอขอบคุณแหล่งความรู้จาก
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ห้องสมุดความรู้การเกษตร
- กรมส่งเสริมการเกษตร
ชอบกด Like & Share เป็นกำลังใจให้ด้วยน่ะจ๊ะ ==>