โรคที่สำคัญและการป้องกันกำจัดสำหรับกล้วยไม้ ตอนที่2

โรคเกสรดำ หรือ เส้าเกสรดอกไม้ (Black anther or Column bllight)

      พบโรค นี้ระบาดในสวนกล้วยไม้ เมื่อปี พ.ศ. 2525-2526 บนกลีบดอกชั้น นอก (sepal) กลีบดอกชั้นใน (petal) และส่วนของเกสรตัวผู้ เกสรตัวเมีย ที่ อยู่ร่วมกันในส่วนกลางของดอกซึ่งเรียกว่าเส้าเกสร”  (Column) ของกล้วยไม้ตัดดอกหลายสกุล ได้แก่ ลูกผสมสกุลหวาย, มอคคารา, อะแรนดา และแวนดา ในท้องที่ อ.สามพราน จ.นครปฐม และในปัจจุบันยังพบว่ากล้วยไม้ลูกผสมสกุลหวาย และมอ คคารา หลายพันธ์ นอกจากดรคเกสรดำที่เกิดในกล้วยไม้ตัดดอกเพื่อการส่งออก แล้ว ในปี 2538 ถึงปัจจุบันยังมีเชื้อโรคดอกจุดสีน้ำตาล  (Flower brown spot) ที่เกิดจากเชื้อรา Alternaria sp. และเชื้อรา Drechslera sp. ร่วมทำลายด้วยทำให้ดอกกล้วยไม้เสียหายไม่เป็นที่ต้องการของตลาด ผลผลิต ด้อยคุณภาพ ถูกคัดทิ้งกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ สร้างปัญหาแก่เกษตรกรผู้ผลิต กล้วยไม้ตัดดอกส่งออกมากในท้องที่รอบ ๆ กรุงเทพมหานคร, จ.นครปฐม ราชบุรี  และสมุทรสาคร

สาเหตุ
เกิดจากเชื้อรา  Colletotrichum  gloeosporioides  (Penz.) Sacc

ลักษณะอาการ
ปรากฏให้เห็นหลายลักษณะซึ่งสามารถสังเกตอาการของโรคบนต้นกล้วยไม้ได้ดังต่อไปนี้
อาการ ที่เส้าเกสร บนกลีบดอกชั้นนอก 3 กลีบ กลีบดอกชั้นใน และ “เส้าเกสร” เป็นจุด แผลสีเทาอมดำ ยุบตัว บุ๋มลึกจากเนื้อเยื่อปกติ ขอบแผลอาจมีสีน้ำตาลเข้มรอบ แผลนั้นมักจะเกิดบนดอกที่บานแล้ว ต่อมา 2-3 วันแผลเหล่านั้นจะแห้งติดอยู่ ที่เส้าเกสร
อาการ บนกลีบดอก ลักษณะนี้จะเกิดแผลจุดสีน้ำตาลกลมหรือรี ตรงกลางแผลจะมีจุดสี น้ำตาลเข้ม บนกลีบดอกชั้นนอก กลีบดอกชั้นในแผลจะเกิดเดี่ยว ๆ เห็นได้ชัดเจนบนดอกที่บานเต็มที่แล้วโดยเฉพาะกล้วยไม้สกุล มอคคารา และลูก ผสมสกุลหวายสีขาว ต่อมาเมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกัน นาน ๆ ไม่ว่าจะมีปริมาณมากหรือน้อยภายใน 2-3 วัน แผลเหล่านั้นจะขยายใหญ่ ขึ้น 0.1-0.4  มิลลิตร ทำให้กลีบดอกไหม้แห้งเป็นสีเทาหรือดำลักษณะอาการนี้เกิดจากเชื้อ รา Alternaria alternate
อาการ บนกลีบดอกชั้นใน จะเกิดแผลจุดสีน้ำตาลเข้มหรือเทาดำบนกลีบดอกชั้นในเป็นส่วน ใหญ่ จะเห็นรอยไหม้จากบริเวณขอบกลีบดอกเข้าไปสู่ส่วนกลางของกลีบดอก รูปร่าง ของแผลไม่แน่นอน เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมฝนตกชุกจะเห็นแผลโตกว่า  0.1-0.2 มิลลิเมตรทำให้กลีบดอกไหม้แห้งในที่สุดแต่ลักษณะอาการนี้อาจเกิดจาก เชื้อรา Drechslera sp. และBipolaris sp. และมักพบเชื้อราชนิดนี้เกิดบนดอกเดียวกับเชื้อรา Alternaria  alternate 
อาการที่ใบ ลักษณะอาการคล้ายกับโรคแอนแทรคโนสที่เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporiodes ดังกล่าวรายละเอียดไว้แล้ว

การแพร่ระบาด
เกิดได้ตลอดปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนระบาดมากกว่าฤดูอื่นๆ ในฤดูหนาวหากมีหมอก และน้ำค้างมากจะระบาดรุนแรงในกล้วยไม้ลูกผสมสกุลหวายสีขาวมากว่าสี อื่น เชื้อสาเหตุสามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศเขนร้อนชื้นและพบมากใน โรงเรือนกล้วยไม้ที่อับลมอบอ้าว การถ่ายเทอากาศไม่ดี สปอร์ของเชื้อราปลิวไป ตามลม กระเด็นไปกับน้ำที่ใช้รดหรือละอองฝนที่ตก โรคอาจติดไปกับต้นพันธุ์ที่ ขยายพันธุ์ด้วยการแยกลำต้นไปปลูก

การป้องกันกำจัด
ใช้ต้นพันธุ์ที่ปราศจากโรคไปปลูก เพราะกล้วยไม้ลูกผสมสกุลหวาย, มอคคารา บางสายพันธุ์อ่อนแอต่อโรคนี้
เก็บรวบรวมใบ ดอก ต้น ซากพืชที่เป็นโรคนำออกไปเผาทำลาย
พ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชกล่ม คลอโรทาโลนิล (Chlorothalonil) อัตรา 10 กรัม ต่อ น้ำ 20 ลิตร หรือ โพรคลอราท (prochloraz Mn) อัตรา 30 กรัมต่อ น้ำ 20 ลิตร ในช่วงฤดูฝนพ่นสารดังกล่าวถี่กว่าปกติ เพื่อป้องกันโรคเส้าเกสร หรือเกสรดำ
พ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชกลุ่ม ไอโปรไดโอน (iprodione) อัตรา 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ในช่วงฤดูฝน สลับกับสารกลุ่ม แดปเทน (captan) อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือนำต้นพันธ์กล้วยไม้แช่สารเคมีดังกล่าวก่อนปลูกเพื่อป้องกันโรค

โรคใบปื้นเหลือง (Yellow leaf spot)

ป็นโรคที่พบเสมอในสวนกล้วยไม้ทั่วไป โดยเฉพาะกล้วยไม้ลูกผสมสกุลหวายบางสายพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคนี้มาก

สาเหตุ
เกิดจากเชื้อรา Pseudocercospora dendrobii Deighton

ลักษณะอาการ
ส่วนมากจะเป็นกับใบกล้วยไม่ที่อยู่บริเวณโคนต้นก่อน หน้าใบ จะเป็นจุดกลมสีเหลืองเมื่อเป็นมากๆ จะขยายติดต่อกันเป็นปื้นสีเหลืองตามแนว ยาวของใบ ถ้าพลิกดูด้านใต้ใบจะเห็นกลุ่มผงสีดำคล้ายขี้ดินสอดำขึ้นอยู่เต็ม ไปหมด  ในที่สุดใบจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ใบแห้ง ร่วงหลุดจากต้น ทำให้ต้นกล้วยไม้ ทิ้งใบหมด ไม่มีใบทำหน้าที่สังเคราะห์อาหารให้แก่พืช ทำให้การแตกหน่อใหม่ ไม่สมบูรณ์ ช่อดอกน้อย ผลผลิตลดลงกว่าปกติ

การแพร่ระบาด
โรคนี้ระบาดมากตั้งแต่ปลายฤดูฝนจนถึงฤดูหนาว ความชื้นสัมพันธ์ในโรงเรือนต่ำ กว่า 70% อากาศเย็นแห้ง  อุณหภูมิต่ำกว่า 32 องศาเซลเซียส ลมพัดถ่ายเทมากกว่าปกติ สปอร์ของเชื้อรา แพร่กระจายไปกับลมหรือกระเด็นไปกับละอองน้ำที่ใช้รดต้นกล้วยไม้

การป้องกันกำจัด
เก็บรวบรวมใบที่เป็นโรคร่วงหล่นบนเครื่องปลูกและพื้นโรงเรือนกล้วยไม้ โดยเฉพาะ ใต้โต๊ะกล้วยไม้ไปเผาทำลาย  ทั้งนี้เพื่อเป็นการกำจัดเชื้อสาเหตุและลดปริมาณของเชื้อในสวนให้เหลือน้อน ที่สุด พบว่าชาวสวนกล้วยไม้บางรายเก็บรวบรวมใบเป็นโรคไปกองไว้ตามโคนต้นไม้ ที่อยู่บริเวณสวนกล้วยไม้ ซึ่งเท่ากับเป็นการทำให้เกิดแหล่งสะสมเชื้อให้ ระบาดตลอดเวลา โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือไม่ใส่ที่จะปฏิบัติ
พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช

ประเภทดูดซึม
ในกลุ่มคาร์เบนดาซิม (carbendazim) อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือกลุ่ม แบโนมิล (benomyl) อัตรา 10-20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร เลือกใช้ชนิดใดชนิดหนึ่ง สลับกับสารประเภทสัมผัส ในกลุ่มโปรพิเนบ (propineb) อัตรา 30 กรัมต่อ น้ำ 20 ลิตร
ประเภทสัมผัส
ข้อควรปฏิบัติในการใช้สารเคมีให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นคือพยายามพ่นสารให้ สัมผัสกับพื้นที่ผิวใต้ใบซึ่งมีสปอร์ของเชื้อให้มากที่สุดสารเหล่านี้เช่น แมนโคเซบ (mancozeb) โพรพิเนบ (propineb)ฟอลเพต (folpet) เพราะฉะนั้นจำเป็น ต้องปรับหัวฉีดพ่นสารให้ทั่วทั้งบนใบและใต้ผิวใบขณะทำการพ่นสารเพื่อป้องกัน กำจัดโรคนี้

                ***โปรดติดตามตอนต่อไป***

แหล่งที่มา :ข้อมูล: เอกสารวิชาการกล้วยไม้ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ภาพ: เอกสารนำเสนอเรื่องโรคของกล้วยไม้และการป้องกันกำจัด โดยนิยมรัฐ ไตรศรึ กลุ่มวิชาการ สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร

ขอขอบคุณแหล่งความรู้จาก

ชอบกด Like & Share เป็นกำลังใจให้ด้วยน่ะจ๊ะ




Create Date : 19 ธันวาคม 2555
Last Update : 19 ธันวาคม 2555 11:44:58 น.
Counter : 1443 Pageviews.

0 comments
สรุปวิชาสังคมไทยสังคมโลกในศตวรรษที่ 21 เรื่องปราชญ์ท้องถิ่น นายแว่นขยันเที่ยว
(10 เม.ย. 2567 03:05:45 น.)
สุริยุปราคา อเมริกา /นิวยอร์ก อินเดียน่า เทกซัส newyorknurse
(9 เม.ย. 2567 04:13:31 น.)
กาแฟคั่วเข้ม เหมาะกับเมนูไหนดี สมาชิกหมายเลข 7983004
(29 มี.ค. 2567 02:14:10 น.)
ถนนสายนี้ ... ... มีตะพาบ หลักกิโลเมตรที่ 348 "ฉุกละหุก" toor36
(24 มี.ค. 2567 10:27:24 น.)
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Axiom.BlogGang.com

Mr.Evo_IV
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]

บทความทั้งหมด