
การพัฒนาพันธุ์กล้วยไม้ตัดดอกและกล้วยไม้กระถาง(Varieties Improvement of Cut Flower and Pot Plant Orchid)
การค้ากล้วยไม้ในประเทศไทย แบ่งเป็น 2ประเภท คือ การค้าดอกและการค้าต้น
การค้าดอกกล้วยไม้
มีปริมาณ และมูลค่าเพิ่มมากขึ้นทุกปี คาดว่ามีการส่งออกไปทั่วโลกประมาณครึ่งหนึ่ง ที่เหลือวางจำหน่ายในประเทศ พบว่าการส่งออกเพิ่มขึ้นทุกปีจากปี พ.ศ. 2530 ส่งออกดอก 7,090 เมตริกตัน มูลค่า 408.73 ล้านบาท เป็น 10,471 เมตริกตัน มูลค่า 744.68 ล้านบาท ในปี 2540 และเพิ่มเป็น 18,628.88 เมตริกตัน มูลค่า 2,136.06 ล้านบาท ในปี 2547 ซึ่งส่งออกรวม 463.6 ล้านช่อ โดยส่งไปประเทศญี่ปุ่นมากที่สุด 124.8 ล้านช่อ รองลงไปเป็นประเทศ อเมริกา จีน ไต้หวัน และเนเธอร์แลนด์ การส่งออกที่เพิ่มขึ้นนี้ตามความต้องการของตลาด มีการขยายพื้นที่ปลูก เพิ่มชนิดพันธุ์กล้วยไม้ตัดดอกจากจำนวน 3-4 พันธุ์ เป็นมากกว่า 50 พันธุ์ในปัจจุบัน ส่งออกในลักษณะเป็นช่อ และร้อยเป็นพวงมาลัย สำหรับพันธุ์หลักที่นิยมปลูกเลี้ยงและเป็นที่ต้องการของทั่วโลกได้แก่ ลูกผสมสกุลหวายที่คัดเลือกจากต้นที่กลายพันธุ์จาก (Den.drobium Sonia) หลังการขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

สำหรับการค้าต้น
มีการ ส่งออกมูลค่าเพียง 28.7 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2530 และเพิ่มอย่างรวดเร็วเป็นปริมาณ 18,551 ล้านต้น มูลค่า 117.91 ล้านบาท ในปี 2540 และในปี 2547 เพิ่มเป็น 24,014.57 ล้านต้น 367,280 ขวดเพาะ รวมมูลค่า 215.62 ล้านบาท ส่งไปยัง 100 กว่าประเทศ ส่วนใหญ่เป็นกล้วยไม้สกุลหวายลูกผสม การส่งออกนิยมส่งทางอากาศ และมีการส่งออกทางเรือประมาณล้านต้น มูลค่า 18.25 ล้านบาท ต้นกล้วยไม้ที่ส่งออกส่วนใหญ่เป็นกล้วยไม้ลูกผสมในสกุลหวาย แวนด้า ฟาแลนนอพซิส สำหรับต้นกล้วยไม้ป่าที่ดอกสีสวยและมีกลิ่นหอม เช่น สกุลช้าง สกุลเข็ม ได้รับความนิยมเช่นกัน การส่งออกต้นนั้น มีการส่งออกทั้งทางอากาศและทางเรือ เนื่องจากต้นกล้วยไม้เป็นพืชที่สามารถทนต่อสภาพการขนส่งในที่มืดได้นานถึง 30 วัน สำหรับตลาดในประเทศนั้น นิยมต้นกล้วยไม้ที่ปลูกเลี้ยงง่าย ราคาไม่แพง เพื่อนำไปปลูกประดับภายในและภายนอกบ้าน

การพัฒนาพันธุ์กล้วยไม้
พันธุ์กล้วยไม้ตัดดอก
คัด เลือกจากพันธุ์ที่มีการกลายพันธุ์จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ มีการผสมพันธุ์ ข้ามชนิด หรือข้ามสกุลเพื่อให้ได้ลักษณะตามต้องการ คือดอกสีสวย บานทน ออกดอกดก และต้นมีการเจริญเติบโตดี ทนต่อการระบาดของโรคและแมลง
พันธุ์ไม้กระถาง
มีการผสมพันธุ์ปีละหลายพันคู่ผสม แล้วคัดต้นที่ต้องการไปขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อให้ได้จำนวนตาม ความต้องการ กล้วยไม้สกุลหวายลูกผสมสามารถผลิตพันธุ์ผสมใหม่และขยายพันธุ์โดยการเพาะ เลี้ยงเนื้อเยื่อได้เร็วที่สุด สกุลแวนด้าและลูกผสมเป็นพันธุ์ที่มีแหล่งต้นพันธุ์ดีในไทย ตลาดต้องการมากและขายได้ราคาสูง แต่การผสมให้ได้พันธุ์ดีทำได้ยากกว่า การขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อทำได้ยากกว่า และอายุการปลูกเลี้ยงนานกว่า นอกจากลูกผสมแล้ว มีการคัดต้นกล้วยไม้ป่าพันธุ์ดีมาเพาะเมล็ดเพื่อขยายพันธุ์ผลิตต้นกล้า จำหน่าย และต้นกล้าเหล่านี้ทุกต้นปลอดจากเชื้อไวรัส
แหล่งที่มา : เว็บไซต์ //www.rdi.ku.ac.th/kasetfair49/Plant/p_69/p_69.htm
ขอขอบคุณแหล่งความรู้จาก

ชอบกด Like & Share เป็นกำลังใจให้ด้วยน่ะจ๊ะ