ขิงแดง สายพันธุ์ใหม่

 ขิงแดง (Red Ginger) เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นสีเขียว ผอมเรียว แตกกอเป็นพุ่มแน่น สูงประมาณ 0.70 - 1.5 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ช่อดอกสีแดงเป็นมัน ให้ดอกตลอดปี ขิงแดงเป็นพืชที่มีการปลูกประดับบ้านเรือนมานานแล้ว และเนื่องจากขิงแดงมีช่อดอกที่สวยงามและมีอายุการเก็บรักษาดอกสดโดยการปัก แจกันได้นานถึง 2 - 6 สัปดาห์ ทำให้เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ ปัจจุบันจึงมีการปลูกขิงแดงเพื่อตัดดอกเป็นการค้ามากขึ้น แต่เนื่องจากขิงแดงเป็นพืชที่มีการเจริญเติบโตช้า การขยายพันธุ์โดยปกติสามารถทำได้โดยการแยกหน่ออ่อน ใช้ส่วนตะเกียงจากดอกแก่หรือใช้เมล็ด แต่ขิงแดงในประเทศไทยไม่ค่อยติดเมล็ด       ดร.ศิริวรรณ บุรีคำ จากฝ่ายเครื่องมือวิทยาศาสตร์กลาง สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทำการศึกษาเพื่อหาแนวทางการขยายพันธุ์ และปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้เกิดความหลากหลายทางสายพันธุ์มากขึ้น ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อร่วมกับการฉายรังสีแกมมา โดยได้นำหน่ออ่อนจากต้นขิงแดงมาฟอกฆ่าเชื้อที่ผิวด้วยสารละลายคลอร็อกซ์ แล้วลอกกาบหุ้มใบออก จากนั้นทำการเพาะเลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อในอาหารแข้งสูตร MS ซึ่งเดิม BA (benzy adenine) ความเข้มข้น 1 - 2 มิลลิกรัมต่อลิตร เพื่อการชักนำให้เกิดต้นจำนวนมาก และทำการตัดแบ่งเพิ่มปริมาณต้นในสภาพปลอกเชื้อ จนกระทั่งมีปริมาณต้นมากพอจึงนำมาใช้ในการฉายรังสี นำต้นอ่อนขิงแดงที่ผ่านการตัดแบ่งและเปลี่ยนอาหารใหม่ อายุ 2 สัปดาห์ มาฉายรังสีแบบเรื้อรัง (chronic) โดยวางที่ชั้น ความเข้มแสงประมาณ 2,000 ลักซ์ ห่างจากแหล่งกำเนิดรังสีแกมมาระยะ 2 เมตร อัตรารังสีเริ่มต้น 104.3 rad/hr ได้รับรังสีแกมมาเป็นเวลานาน 168 ชั่วโมง คิดเป็นปริมาณรัวสีแกมมา 17,522 rad (175.22 Gy) ทำการตัดแบ่งและเปลี่ยนอาหารทุกๆ 2 เดือน ไม่พบการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น จึงนำมาทำการฉายรังสีแบบเรื้อรังซ้ำอีกครั้งหนึ่งโดยวางต้นขิงแดงในสภาพปลอด เชื้อ ให้ห่างจากแหล่งกำเนิดรังสีแกมมา 1.5 เมตร อัตรารังสีเริ่มต้น 168.5 rad/hr ได้รับรังสีแกมมาเป็นเวลานาน 148 ชั่วโมง คิดเป็นปริมาณรังสีแกมมา 24,938 rad (249.38 Gy) หลังจากที่นำมาตัดแบ่งเปลี่ยนอาหารครั้งที่ 2 (อายุ 4 เดือน) พบมีต้นขิงแดงที่แสดงอาการใบด่างในอัตราร้อยละ 19.1 โดยอาการใบด่างจะยังปรากฏให้เห็นแม้ว่าจะตัดใบออกเพื่อย้ายเปลี่ยนอาหารใหม่ นอกจากลักษณะของอาการใบด่างที่เกิดขึ้น ยังพบว่าร้อยละ 7.3 ของต้นขิงแดง แสดงอาการแคระแกร็น ต้นเตี้ยใบลีบเล็ก ทั้งนี้จะทำการตัดแบ่งเปลี่ยนอาหารต่อไปทุกๆ 2 เดือน เมื่ออาการใบด่างยังคงปรากฏอยู่ไม่เปลี่ยนแปลง จะทำการย้ายปลูกต่อไป ในอนาคตอีกไม่นานเราคงได้เห็นขิงแดงสายพันธุ์ใหม่ที่สามารถตัดได้ทั้งดอกและ ใบจำหน่าย เนื่องจากลักษณะใบด่างที่เกิดขึ้นเป็นลักษณะใหม่ที่อาจจะเป็นที่ต้องการของ ตลาดสำหรับการเป็นใบประดับ หากท่านใดสนใจหรืออยากทราบข้อมูลเพิ่มเติมโดยเฉพาะการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ พืช และการพัฒนาสายพันธุ์พืชด้วยการใช้รังสีแกมมาร่วมกับเทคนิคการเพาะเลี้ยง เนื้อเยื่อพืช สามารถติดต่อได้ที่ ดร.ศิริวรรณ บุรีคำ จากฝ่ายเครื่องมือวิทยาศาสตร์กลาง สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน เบอร์โทรศัพท์ 0-2942-8740 ต่อ 403

ขอขอบคุณแหล่งความรู้จาก

  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ชอบกด Like & Share เป็นกำลังใจให้ด้วยน่ะจ๊ะ




Create Date : 12 มีนาคม 2556
Last Update : 12 มีนาคม 2556 15:04:22 น.
Counter : 2250 Pageviews.

0 comments
สิ้นเดือนเหมือนสิ้นใจ…วางแผนการเงินอย่างไร ให้เหลือใช้ถึงปลายเดือน! สมาชิกหมายเลข 7654336
(13 เม.ย. 2567 02:04:45 น.)
โรงงานผลิตอาหารเสริมผู้ชาย ตัวเลือกสำหรับคนที่ต้องการเป็นเจ้าของแบรนด์ที่ได้คุณภาพ สมาชิกหมายเลข 7213059
(3 เม.ย. 2567 00:10:02 น.)
ถนนสายนี้ ... ... มีตะพาบ หลักกิโลเมตรที่ 348 "ฉุกละหุก" toor36
(24 มี.ค. 2567 10:27:24 น.)
AI คืออะไร ? ข้อดีของ AI Technology Robotic เข้ามาช่วยในการผ่าตัด newyorknurse
(19 เม.ย. 2567 02:45:03 น.)
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Axiom.BlogGang.com

Mr.Evo_IV
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]

บทความทั้งหมด