โรคที่สำคัญและการป้องกันกำจัดสำหรับกล้วยไม้ ตอนที่3 โรคใบจุด หรือโรคใบขี้กลาก (Leaf spot) พบโรคนี้ในสวนที่ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ลูกผสมสกุลหวาย แวนดา แคทลียา ออนซีเดียมหรือ กล้วยไม้ดิน เช่น รองเท้านารี ถ้าเป้นมากๆ จะทำให่ใบร่วงหรือที่เรียกว่า “โรคขี้กลาก ราชบุรี” พบการระบาดของโรคนี้กับกล้วยไม้ในระยะเจริญเติบโตเต็มที่มากกว่าใน ระยะที่ยังเล็กอยู่
โรคใบจุดดำ (Black spot) พบเมื่อ ปี 2537 ในสวนกล้วยไม้รอบๆ กรุงเทพมหน คร นครปฐม กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสาคร สุพรรณบุรี นนทบุรี และนครราชสีมา มีหลายลักษณะอาการพบมากบนใบกล้วยไม้ลูกผสมสกุลหวาย
โรคแอนแทรคโนส (Anthracnose) เป็นโรคที่ได้กับกล้วยไม้ทุกชนิด โดยเฉพาะกล้วยไม้สกุลออนซิเดียมจะอ่อนแอต่อโรคนี้ขึ้น
เกิด ได้ทั้งที่ปลายใบและกลางใบของกล้วยไม้ แผลจะมีลักษณะที่สังเกตได้ ชัดเจน คือ แผลมีสีน้ำตาล เป็นวงเรียงซ้อนกันหลายๆ ชั้น และจะมีกลุ่มของ เชื้อราเป็นสีดำเกิดขึ้นบนวงซ้อนกันนั้น สปอร์ของเชื้อราเป็นรูปไข่ ไม่มี สี หรือสีใสและไม่มี setae
![]() เชื้อ ราสาเหตุจะแพร่ระบาดได้ดีในโรงเรือนที่มีความชื้นสัมพัทธ์สูง โดยเฉพาะในฤดู ฝนหรือการพรางแสงในโรงเรือนไม่เหมาะสม กล้วยไม้ได้รับแสงแดดมากเกินความต้อง การจะทำให้เซลล์พืชอ่อนแอ เชื้อเข้าทำลายได้ง่ายยิ่งขึ้น เชื้อราปลิวไปกับลมหรือฝนหรือน้ำที่ใช้รด ด้วยสายยางหรือระบบสปิงเกลอร์
![]() ![]() ![]() ![]()
โรคโคนเน่าแห้ง หรือโรคเหี่ยว (Fusarium foot rot, Wilt) โรคนี้ เกิดกับกล้วยไม้ที่อยู่บนเครื่องปลูกที่เก่าหลายปี เครื่องปลูกผุยุ่ย (โดย เฉพาะเครื่องปลูกที่เป็นกาบมะพร้าว) มีตะไคร่น้ำจับหนา อมความชื้นไว้ตลอด เวลา เครื่องปลูกไม่มีโอกาสแห้งโรคนี้เกิดกับกล้วยไม้หลายสกุล ได้แก่ แคทลี ยา แวนดา ลูกผสมสกุลหวาย เมื่อเชื้อสาเหตุเข้าทำลายรุนแรงทำให้ต้นกล้วยไม้ แห้งตายภายใน 1-2 เดือน ![]() เกิดจากเชื้อราหลายชนิด เท่าที่พบส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อรา Fusarium oxysporum Fmoniliforme ![]() เชื้อ ราเข้าทางราก หรือบริเวณตาหน่อตรงโคนต้น ค่อยๆลุกลามไปสู่ยอดกล้วยไม้เกิด อาการโคนเน่า รากของกล้วยไม้จะเหี่ยวแห้งอย่างช้าๆ ถ้าเกิดกับกล้วยไม้ที่เพิ่งย้ายออกจากขวดปลูกในกระถางใหม่ๆ ใบจะเหลือเหี่ยวจากใบล่างไปสู่ยอด ลำลูกกล้วยแคระแกร็นทรุดโทรมเร็วและตายใน ที่สุด เมื่อตัดตามขวางของต้นกล้วยไม้ดูพบอาการเน่าเป้นรอยวงแหวนสรน้ำตาล รอบบริเวณท่อน้ำท่ออาหาร ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากโรคนี้รุนแรงน้อยกว่าการ ทำลายที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ![]() - นำส่วนที่เป้นโรค พร้อมทั้งเครื่องปลูกบริเวณที่เป็นโรคไปเผาทำลาย - พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช กลุ่มควินโทซีน (quintozene) หรือ ควินโทซีน + อีทริไดอะโซน (quintozene + etridiazole) อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร - กำจัดตะไคร่น้ำ วัชพืชชั่นต่ำ ซึ่งเป้นสาเหตุสนับสนุนให้เกิดโรคนี้ด้วยสารกำจัดวัชพืชสารไดยูรอน (diuron) อัตรา 3-5 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟายแซน 20 (physan) อัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อ น้ำ 20 ลิตร สำหรับไดยูรอนมีข้อยกเว้น ห้ามใช้กับกล้วยไม้สกุลออนซิเดียมเพราะว่าทำให้ลำต้นอ่อนแอและเน่าได้ง่าย
โรคเน่าเละ (Soft rot) พบใน กล้วยไม้เกือบทุกสกุล มีรายงานในต่างประเทศพบในกล้วยไม้สกุล Phalaenopsis, Paphiopedilum, Oncidium, Odontoglossum, Cymbidium และCattleya ส่วนในประเทศไทยเมื่อ 25 ปีก่อน พบในกล้วยไม้ลูกผสม แวนดา เข็ม แคทลียา ในปัจุบันพบมากในกล้วยไม้ลูกผสมสกุลหวาย, Phalaenopsis, Mokara และ Oncidium
![]()
จะ พบอาการได้ทุกส่วนของกล้วยไม้ เช่น โคนต้น ลำลูกกล้วยไม้ ใบ และยอดอ่อนของกล้วยสกุลออนซิเดียม ได้แก่ Golden shower Ramsay รวมทั้งสกุลอื่น ๆ ด้วยอาการที่พบเริ่มแรกจะเป็นจุดฉ่ำน้ำก่อน ต่อมาอาการจะลุกลามเป็นแผลช้ำ ขนาดใหญ่ สีน้ำตาลหรือสีเหลือง เมือ่แสงแดดจัดเนื้อเยื่อจะเน่ายุบตัว คล้าย น้ำร้อนลวก ใบจะหลุดร่วงภายใน 2-3 วัน และเน่าตายในที่สุด เมื่อดมกลิ่นบริเวณที่เป็นโรคจะมีกลิ่นเหม็น เฉพาะตัวเนื้อเยื่อภายในถูกทำลายหมดเหลือแต่ผิวนอก บริเวณแผลเน่าจะมีเมือก เยิ้มแฉะ
![]() โรค จะระบาดรุนแรงรวดเร็วในสภาพอากาศร้อนและความชื้นสัมพัทธ์สูงโดยเฉพาะในช่วง ฤดูฝน ซึ่งเชื้อแบคทีเรียสามารถติดไปกับน้ำฝน (Water spreading) เชื้อจะ เข้าทำลายพืชทางช่องเปิดธรรมชาติและระบาดแผลได้ เช่น แมลงกัดกิน การช้ำจาก การขูดขีดของอุปกรณ์เกษตรการเสียดสีของต้นกล้วยไม้ ![]() - ตัดหรือแยกส่วนที่เป็นโรคไปเผาทำลาย - ในช่วงฤดูฝนที่มีฝนตกหนัก ควรมีหลังคาพลาสติกคุมกรองฝนอีกชั้นหนึ่งสำหรับต้นกล้วยไม้เล็ก ที่เพิ่งย้ายปลูกจาการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหรือไม้ปลูกใหม่ เพื่อป้องกันแรงกระแทกของเม็ดฝนจะไม่ทำให้ใบกล้วยไม้ช้ำและเชื้อเข้าทำลาย ได้ยาก ควรงดการให้น้ำในเวลาที่ฝนตก - ไม่ ควรปลูกกล้วยไม้หนาแน่นเกินไปเพราะจะทำให้อากาศระหว่างต้นกล้วยไม้ไม่ถ่าย เท เกิดความชื้นสัมพัทธ์สูงง่ายต่อการเกิดโรค นอกจากนี้การเร่งกล้วยไม้ให้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วโดยการให้ปุ๋ยไนโตรเจน สูง จะทำให้เนื้อเยื่อต้นกล้วยไม้อวบมากกว่าปกติ เหมาะแก่การเกิดโรคได้ง่าย และยากต่อการป้องกัน - สำหรับสารเคมีที่ใช้ในการป้องกันกำจัดเชื้อแบคทีเรีย นิยมใช้สารปฏิชีวนะ (antibiotic) เช่น แอกกริมัยซิน (agrimycin) ซึ่งมีส่วนประกอบของสเตรปโตมัยซินอยู่หรือแอกกริสเตรป อัตรา 10-20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ข้อควรระวัง อย่าใช้ในอัตราที่มีความเข้มข้นสูงเกินไป และพ่นบ่อยๆเชื้อแบคทีเรียสาเหตุจะดื้อต่อสาร จะทำให้ใบกล้วยไม้กลายเป็นสีเหลือง ซีดขาว เห็นได้ชัดกับไม้สกุลแวนดา แอสโคเซนดา ปกติการใช้สารเคมี เพื่อกำจัดโรคเน่าเละไม่ค่อยได้ผล ราคาค่อนข้างแพง แหล่งที่มา :ข้อมูล: เอกสารวิชาการกล้วยไม้ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขอขอบคุณแหล่งความรู้จาก
ชอบกด Like & Share เป็นกำลังใจให้ด้วยน่ะจ๊ะ |
บทความทั้งหมด
|