
การเลือก ทำเลการทำสวนกล้วยไม้ที่เหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็นยิ่ง เพราะกล้วยไม้เป็นพืชที่ลงทุนสูงระยะให้ผลตอบแทนนาน การเริ่มต้นที่ถูกต้องจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น เมื่อจะเริ่มทำสวนกล้วยไม้ควรพิจารณาเลือกพื้นที่ ดังนี้
มีสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสม อุณหภูมิ ตลอดทั้งปีควรอยู่ระหว่าง 25-35องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 50-60% ถ้าอุณหภูมิต่ำอาจจะทำให้กล้วยไม้พักตัวไม่ออกดอก โดยเฉพาะสกุลหวายไม่ควรปลูกในที่ที่มีอุณหภูมิกลางคืนต่ำกว่า 18 องศาเซลเซียส และที่สำคัญควรเป็นที่มีการถ่ายเทอากาศดีมีลมพัดผ่าน ควรหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีลมแรงหรือเคยมีพายุมาก่อน |  |
มีแหล่งน้ำที่สะอาดตลอดปี น้ำ ที่นำมารดกล้วยไม้ควรเป็นน้ำจาก แม่น้ำ ลำคลองธรรมชาติ คลองชลประทาน หรืออ่างเก็บน้ำที่ไม่มีปัญหาน้ำเสียหรือน้ำเค็ม สำหรับน้ำบาดาลมักมีธาตุเหล็กหรือแร่ธาตุอื่นๆ ปะปนอยู๋ในปริมาณมากแต่ในบางครั้งก็มีการสูบน้ำบาดาลมาใช้ผสมช่วยให้เจือจาง เมื่อมีปัญหาน้ำเค็มหรือใช้ในช่วงหน้าแล้ง สิ่งที่สำคัญก่อนใช้น้ำบาดาลควรตรวจวัดคุณภาพของน้ำก่อนนำมาใช้รดกล้วยไม้ ส่วนน้ำประปามักจะไม่นิยมนำมาใช้รดกล้วยไม้เนื่องจากต้นทุนจะเพิ่มขึ้นแล้ว น้ำประปายังมีคลอรีนผสมอยู่ในปริมาณค่อนข้างมาก ซึ่งเป็นพิษต่อต้นกล้วยไม้ได้ |
 |
เป็นพื้นที่ราบและไม่มีปัญหาน้ำท่วม แม้ ว่าน้ำท่วมสูงไม่ถึงต้นกล้วยไม้และไม่ทำให้ต้นเสียหาย แต่จะทำให้แหล่งน้ำหรือบ่อพักน้ำที่มีอยู่ใช้ไม่ได้ และเป้นอุปสรรคในการปฏิบัติงานในสวน |  |
 | มีการคมนาคมขนส่งที่สะดวก สวน กล้วยไม้ที่ตัดดอกเพื่อการส่งออกไม่ควรอยู่ห่างจากบริษัทผู้ส่งออกเกินกว่า 200 กิโลเมตรเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้าไปรับผลผลิต รวมทั้งเป็นการลดความเสียหายที่อาจเกิดจากการขนส่ง |
มีระบบสาธารณูปโภค โดย เฉพาะไฟฟ้าเป็นสิ่งจำเป็น เพราะการดูแลกล้วยไม้ต้องใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าในการให้น้ำและฉีดพ่นส่ารเคมี ส่วนโทรศัพท์หากมีจะทำให้ติดต่อซื้อขายผลผลิตได้รวดเร็วขึ้น |  |
ในการ ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ จำเป็นต้องสร้างโรงเรือนเพื่อวัตถุประสงค์สำคัญ คือ ลดความเข้มของแสงแดดลงให้เหมาะกับการเจริญเติบโต ซึ่งกล้วยไม้ตัดดอกแต่ละสกุลมีความต้องการการพรางแสงแตกต่างกัน คือ
สกุลหวาย พรางแสง 50-60%
สกุลม็อคคาร่า พรางแสง 40-50%
สกุลออนซิ้เดียม พรางแสง 50-60%
นอกจากนี้การสร้างโรงเรือนกล้วยไม้ยังต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ ในการกำหนดรูปแบบดังนี้
สภาพภูมิอากาศ หากเป็นพื้นที่ที่อากาศร้อน ควรสร้างโรงเรือนให้สูงขึ้น เพื่อให้มีการระบายอากาศดีขึ้น โดยทั่วไปโรงเรือนกล้วยไม้ในเขตภาคกลางไม่ควรต่ำกว่า 3 เมตร
ทิศ ทางและความแรงของลม หากเป็นพื้นที่ที่ลมแรงควรทำแนวกันลม เช่นปลูกต้นไม้กันลม หรือทำคันดิน และจำเป็นต้องใช้วัสดุสร้างฌรงเรือนให้แข็งแรงมากขึ้น เช่นเหล็ก สลิง คอนกรีตอัดแรงและให้เสาไม้เนื้อแข็ง
ทิศ ทางการขึ้นลงของดวงอาทิตย์ เป็นปัจจัยกำหนดแนวการสร้างโต๊ะและหลังคาซาแรนให้ต้นกล้วยไม้ได้รับแสงสม่ำ เสมอ ควรสร้างขวางทิศทางการขึ้นของดวงอาทิตย์ เพื่อให้แสงแดดที่ลอดผ่านช่องว่างระหว่างแผ่นซาแรนไม่อยู่นิ่งตรงบริเวณ หนึ่งตลอด และจากประสบการณ์ของ เกษตรกรในการสร้างโต๊ะตามแนวการขึ้นลงของดวงอาทิตย์ พบว่าหัวโต๊ะจะแห้งมากแต่ท้ายโต๊ะจะมีตะไคร่ขึ้นเขียวที่เครื่องปลูก
ลักษณะ ของดินและน้ำ มีผลต่อการเลือกใช้วัสดุ หากเป็นดินเค็มและน้ำมีธาตุเหล็กเจือปนอยู่มาก ควรหลีกเลี่ยงการใช้โครงสร้างเหล็กเพราะจะทำให้ผุเร็ว
ต้นทุนการก่อสร้าง ต้องมีต้นทุนที่ต่ำ
วัสดุที่ใช้ ต้องมีความคงทนแข็งแรงและหาซื้อง่าย
ช่างที่ก่อสร้าง ต้องมีทักษะความชำนาญ
แหล่งที่มา :คู่มือการปฏิบัติปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ กลุ่มไม้ดอกไม้ประดับ กองส่งเสริมพืชสวน กรมส่งเสริมการเกษตร
ขอขอบคุณแหล่งความรู้จาก

ชอบกด Like & Share เป็นกำลังใจให้ด้วยน่ะจ๊ะ