โรคที่สำคัญและการป้องกันกำจัดสำหรับกล้วยไม้ ตอนที่1
โรคเน่าดำหรือยอดเน่าหรือโรคเน่าเข้าไส้ (Black) เป็น โรคที่สำคัญชนิดหนึ่ง เพราะสามารถเกิดกับกล้วยไม้หลายสกุล เช่น แวนดา ที เอ็ม เอ แวนดารอทไชเดียน่า อะแรนดาคริสติน อะแรนดานอรา แคทลียา มอคคารา และกล้วยไม้ลูกผสมสกุลหวาย
สำหรับ การใช้สารประเภทดูดซึม มีข้อควรระมัดระวัง อย่าใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ จะ ทำให้เชื้อสาเหตุดื้อต่อสารเคมี ควรใช้สลับกับสารชนิดอื่น เช่น ใช้เมทาแลก ซิล (metalaxyl) สลับกับแคปเทน (Captan) หรือใช้สารที่ผสมสำเร็จรูป เช่น เมทาแลกซิล + แมนโคเซบ (metalaxyl + mancozeb) จะทำให้ประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดได้ผลดียิ่งขึ้น โรคดอกสนิม หรือจุดสนิม (Flower rusty spot) เป็นโรคที่รู้จักกันดีในกลุ่มผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้เกษตรกรนิยมเรียกกันว่า “โรคดอกสนิม” และ เป็นปัญหาสำคัญทั้งในอดีตจนถึงปัจจุบันของการส่งออกกล้วยไม้ตัดดอกไปยังตลาด ต่างประเทศเพราะดอกกล้วยไม้อาจแสดงอาการในระหว่างการขนส่งได้ พบมากในกล้วยไม้ลูกผสมสกุลหวาย เช่น หวายขาว หวายชมพู พบครั้งแรกบนกลีบดอกหวายมาดามปอมปาดัวร์ และ หวายซีซาร์ โดยเฉพาะดอกสีขาวอ่อนแอต่อโรคนี้
แหล่งที่มา :ข้อมูล: เอกสารวิชาการกล้วยไม้ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขอขอบคุณแหล่งความรู้จาก
ชอบกด Like & Share เป็นกำลังใจให้ด้วยน่ะจ๊ะ |
บทความทั้งหมด
|