การปลูกทานตะวัน การปลูกทานตะวัน ทานตะวัน เปนพืชนํ้ามันที่มีความสําคัญพืชหนึ่ง นํ้ามันที่ไดจากการสกัดจากเมล็ดทานตะวันจะมีคุณภาพสูงที่ประกอบดวยกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวกรดลิโนเลนิค กรดลิโนเลอิคจะชวยลดโคเลสเตอรอลที่เปนสาเหตุของโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด นอกจากนั้นนํ้ามันจากทานตะวันยังประกอบด้วยวิตามินเอ ดี อีและ เคดวย ผลผลิตสวนใหญอยูในเขตอบอุ่น เช่นสหภาพโซเวียต อารเจนติน่าและประเทศในแถบยุโรปตะวันออก สําหรับประเทศไทยไดมีการสงเสริมใหมีการปลูกทานตะวันเปนอาชีพเสริมมากขึ้นเพื่อเพิ่มผลผลิตใหเพียงพอกับอุตสาหกรรมพืชนํ้ามันและความตองการของผูบริโภค ทั้งนี้เพราะทานตะวันเปนพืชที่มีอายุสั้นระบบรากลึกมีความทนทานตอสภาพแหงแลงไดดีกวาพืชอื่นๆแหลงปลูกที่สําคัญไดแก่จังหวัดลพบุรี เพชรบูรณและสระบุรี สภาพแวดล้อม ทานตะวันเปนพืชที่มีการปรับตัวเขากับสภาพของเขตรอนไดดีพอสมควร สามารถออกดอกใหผลไดทุกสภาพชวงแสงปลูกไดในบริเวณที่มีการปลูกขาวโพด ข้าวฟ่าง เมื่อทานตะวันตั้งตัวไดแล้วจะมีความทนทานตอสภาพแหงและรอนไดพอสมควรและจะเริ่มเติบโตทันทีเมื่อมีฝน นอกจากนี้ทานตะวันยังมีความทนทานตอสภาพอากาศเย็นจัดไดดีกว่าขาวฟ่าง ขาวโพด โดยเฉพาะอยางยิ่งในระยะตนกลา ทานตะวันขึ้นไดกับดินหลายประเภทแตจะขึ้นไดดีในสภาพดินที่มีผิวดินหนาและเก็บความชื้นไวได้ สามารถทนต่อสภาพความอุดมสมบูรณตลอดจนสภาพดินเกลือและเปนดางจัดไดพอสมควร ซึ่งดินเหลานี้จะมีอยู่จำนวนมากในเขตแห้งแล้งทั่วๆไป ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ทานตะวันเปนพืชในตระกูลเดียวกันกับเบญจมาศคําฝอย ดาวเรืองเปนพืชลมลุกที่มีปลูกกัน มากในเขตอบอุน การที่มีชื่อเรียกว่า "ทานตะวัน" เพราะลักษณะการหันของชอดอกและใบจะหันไปทางทิศของดวงอาทิตยคือหันไปทางทิศตะวันออกในตอนเช้าและทิศตะวันตกในตอนเย็น แตการหันจะลดนอยลงเรื่อยๆหลังจากมีการผสมเกสรแลวไปจนกระทั่งถึงชวงดอกแก่ ซึ่งชอดอกจะหันไปทิศตะวันออกเสมอ ราก เปนระบบรากแกวหยั่งลึกลงไปประมาณ150-270เซนติเมตรมีรากแขนงคอนขางแข็งแรงแผขยายไปดานขางไดยาวถึง60-150 เซนติเมตรเพื่อค้ำชูลําตนไดดีและสามารถใชความชื้นระดับผิวดินไดอยางมีประสิทธิภาพ ลําต้น สวนใหญไมมีแขนงแตบางพันธุมีการแตกแขนงขนาดของลําตน ความสูง การแตกแขนงขึ้นอยูกับพันธุและสภาพแวดล้อมความสูงของอมนอยูระหว1-1าง0 เซนติเมตรการโคงของลําตน ตรงสวนที่เปนกานชอดอกมีหลายแบบแบบที่ตองการคือแบบที่สวนโคงตรงกานชอดอกคิดเปนรอยละ 15 ของความสูงของลําตนพันธุที่มีการแตกแขนงอาจมีความยาวของแขนงสูงกวาตาลํนหลักแขนงอาจ แตกมาจากสวนโคนหรือยอดหรือตลอดลําตนก็ได ใบ เปนใบเดี่ยวเกิดตรงกันขหลังจากที่มีใบเกิดแบบตรงกันขาม5ามอยูคูแลใบที่เกิดหลังวจากนั้นจะมีลักษณะวนจํานวนใบบนตนอาจมีตั้งแต8-70 ใบ รูปรางของใบแตกตางกันตามพันธุสีของ ใบอาจมีตั้งแตเขียวอเขียวอนและเขียวเขใบที่เกิดออกมาจากตายอดใหมานใบจะอยูๆในแนวตั้งจน กระทั้งใบมีความยาว1เซนติเมตรปลายยอดจะคอยๆ โคงลงจนเมื่อใบแกแลวก็จะโคงลงมาเปนรูปตัว ยู(U) การสรางใบจะมีมากจนกระทั่งดอกบานหลังจากนั้นการสรางใบจะลดนอยลง ดอก เปนรูปจานเกิดอยูบนตายอดของลําตนหลักหรือแขนงลําตนมีเสนผาศูนยกลางของดอกอยูระหว าง6-37 เซนติเมตร ซึ่งขึ้นกับพันธุและสภาพแวดลดอกมีลักษณะเปอมนแบบชอดอก ประกอบดวยดอกยอยเปานวนมากนจํ ซึ่งแบงเป2ชนิดคือ 1.ดอกยอยที่อยูรอบนอกจานดอกเปนดอกที่ไมมีเพศ(เปนหมัน)มีกลับดอกสีเหลืองสม 2.ดอกยอยที่อยูในจานดอกเปนดอกสมบูรณเพศมีเกสรตัวผูที่พรอมจะผสมไดกอนเกสรตัว เมียและสายพันธุผสมเปดสวนใหญผสมตัวเองนอยมาก ในแตละจานดอกจะมีดอกยอยอยูประมาณ700-3,000 ดอก ในพันธุที่ใหามันนํ้สวนพันธุ อื่นๆอาจมีดอกยอยถึง8,000 ดอก การบานหรือการแกของดอกจะเริ่มจากวงรอบนอกเขาไปสูศูนย กลางของดอก ดอกบนกิ่งแขนงจะมีขนาดเล็กแตถาเปนแขนงที่แตกออกมาตอนแรกๆดอกจะมีขนาด ใหญเกือบเทากับดอกบนลําตนหลักสวนใหญพันธุที่ปลูกเปมักจะเลือกตนการคานชนิดที่มีดอกเดี่ยว เพื่อความสมบูรณของดอกและใหเมล็ดที่มีคุณภาพดี เมล็ด ประกอบด้วยเนื้อใน ซึ่งถูกห่อหุ้มไว้ด้วยเปลือกที่แข็งแรง เมื่อผลสุกส่วนของดอกที่อยู่เหนือรังไข่จะร่วง ผลที่มีขนาดใหญ่จะอยู่วงรอบนอก ส่วนผลที่อยู่ข้างในใกล้ ๆ กึ่งกลางจะมีผลเล็กลงเมล็ดทานตะวัน แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ คือ 1. เมล็ดใช้สกัดน้ำมัน จะมีเมล็ดเล็ก สีดำ เปลือกเมล็ดบางให้น้ำมันมาก2. เมล็ดใช้รับประทาน จะมีเมล็ดโตกว่าพวกแรก เปลือกหนาไม่ติดกับเนื้อในเมล็ด เพื่อสะดวกในการกะเทาะแล้วใช้เนื้อในรับประทาน โดยอบหรือปรุงแต่งขนมหวาน หรือทำเป็นแป้งประกอบอาหาร หรือใช้เมล็ดคั่วกับเกลือแล้วแทะเปลือกออกรับประทานเนื้อข้างในเป็นอาหารว่างเช่นเดียวกับเมล็ดแตงโม 3. เมล็ดใช้เลี้ยงนก ใช้เมล็ดเป็นอาหารเลี้ยงนก หรือไก่โดยตรง สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ทานตะวันชอบอากาศอบอุ่นในเวลากลางวันและอากาศเย็นในเวลากลางคืน อุณหภูมิที่เหมาะสมคือ อยู่ระหว่าง 18-25 องศาเซลเซียส สภาพความเป็นกรด-ด่าง ของดินประมาณ 5.7-8 สามารถขึ้นได้ในดินแทบทุกประเภท แต่ที่ขึ้นได้ดีคือดินที่มีหน้าดินลึกที่อุ้มน้ำได้ดี แต่ไม่ชอบน้ำขังและไม่ชอบดินที่มีลักษณะเป็นกรด หากดินที่ปลูกมีความชื้นต่ำ ผลผลิตของเมล็ดจะต่ำลงมาก พันธุ์ ทานตะวันมี 3 สายพันธุ์ พันธุ์ผสมเปิด ซึ่งเป็นพันธุ์เดิมที่ใช้ปลูก ซึ่งในดอกจะมีจำนวนเรณูที่ติดอยู่ที่ก้านชูเกสรตัวเมียน้อย ทำให้การติดเมล็ดด้วยการผสมตัวเองต่ำ ต้องอาศัยแมลงช่วยในการผสมเกสร จึงจะทำให้ติดเมล็ด การปลูกจึงไม่ประสบผลสำเร็จเพราะได้เมล็ดลีบ ผลผลิตต่ำเนื่องจากไม่ค่อยมีแมลงช่วยผสมเกสร แต่ปัจจุบันมีพันธุ์ลูกผสมสามารถติดเมล็ดได้ดี โดยไม่ต้องอาศัยแมลงช่วยผสมเกสร เพราะในดอกมีละอองเรณูที่ติดอยู่ก้านชูเกสรตัวเมียมากกว่าพันธุ์ผสมเปิด 3-4 เท่า จึงทำให้การติดเมล็ดด้วยการผสมตัวเองดีกว่าสายพันธุ์ผสมเปิด ทานตะวันเป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโตได้ในทุกฤดูกาล เพราะเป็นพืชที่ไม่ไวต่อช่วงแสง อย่างไรก็ตามการปลูกในบางท้องที่อาจไม่มีความเหมาะสม เช่น ในที่ลุ่มภาคกลาง ในฤดูฝนจะมีน้ำขังแฉะเกินไป หรือที่ดินในฤดูแล้งที่ไม่มีน้ำชลประทาน ดังนั้นฤดูที่เหมาะสมที่สุดมี 2 ฤดูคือ การเตรียมดิน การเตรียมดินก่อนปลูก ควรไถดินให้ลึกในระดับ 30 เซนติเมตรหรือลึกกว่านั้น เพราะว่าเมื่อฝนตกดินจะสามารถรับน้ำให้ซึมซับอยู่ในดินได้มากขึ้น การไถดินลึกจะช่วยทำลายการอัดแน่นของดินในชั้นไถพรวน ทำให้น้ำซึมลงในดินชั้นล่างได้มากขึ้น ควรกำจัดวัชพืชในแปลงให้สะอาด และไถย่อยดินครั้งสุดท้ายให้ร่วนซุย หากมีการใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักลงไปพร้อมกับการย่อยดินครั้งสุดท้ายจะช่วยเสริมธาตุอาหารต่าง ๆ เพื่อให้พืชนำไปใช้ประโยชน์การปลูก หลังจากเตรียมดินเสร็จแล้ว ควรทำร่องสำหรับหยอดเมล็ดโดยให้แต่ละร่องห่างกัน 70-75 เซนติเมตร และให้หลุมปลูกในร่องห่างกัน 25-30 เซนติเมตร หยอดหลุมละ 2 เมล็ด แล้วกลบดินโดยให้เมล็ดอยู่ลึก 5-8 เซนติเมตร เมื่อพืชงอกได้ 10 วัน หรือมีใบจริง 2-4 คู่ให้ถอนแยกเหลือไว้เฉพาะต้นที่แข็งแรงเพียงหลุมละ 1 ต้น และถ้าหากดินมีความชื้นต่ำควรใช้ระยะปลูกกว้างขึ้น การยกร่องนี้ เพื่อเป็นการสะดวกในการให้น้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกในฤดูแล้งที่ต้องการน้ำมาก ส่วนการปลูกในฤดูฝน ถ้าเป็นดินที่มีการระบายน้ำดีก็ไม่จำเป็นต้องยกร่องและใช้ระยะปลูกเช่นเดียวกับยกร่อง การปลูกวิธีนี้ ต้องใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมจำนวน 0.7 กิโลกรัมต่อไร่ และปลูกตามระยะที่แนะนำนี้จะได้จำนวนต้น 6,400-8,500 ต้นต่อไร่ การใส่ปุ๋ย ทานตะวันเป็นพืชที่ให้โปรตีน และแร่ธาตุสูง จึงควรใส่ปุ๋ยในปริมาณที่พืชต้องการตามสภาพดินที่ปลูกด้วยสำหรับปุ๋ยเคมีที่เหมาะสมที่แนะนำคือสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-8 อัตรา 30-50 กิโลกรัมต่อไร่ โดยใส่รองพื้นพร้อมปลูกและใช้ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 อัตรา 20-30 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อทานตะวันอายุได้ 30 วัน หรือมีใบจริง 6-7 คู่ ซึ่งเป็นระยะกำลังจะออกดอก หากมีการตรวจวิเคราะห์ดินก่อนปลูก จะช่วยให้การใช้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและในกรณีที่เป็นดินทรายและขาดธาตุโบรอน ควรใส่ผงโบแรกซ์ประมาณ 2 กิโลกรัมต่อไร่ จะทำให้เพิ่มผลผลิตได้มากและทำให้คุณภาพของเมล็ดทานตะวันดีขึ้น น้ำเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลกระทบต่อการผลิตทานตะวัน หากความชื้นในดินมีน้อยก็จะทำให้ผลผลิตลดลงด้วย การให้น้ำที่เหมาะสมแก่ทานตะวันจึงจะทำให้ได้รับผลผลิตดีด้วย ดังนั้นการให้น้ำควรปฏิบัติดังนี้ การกําจัดวัชพืช ควรกำจัดวัชพืชอย่างน้อย 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อทานตะวันมีใบจริง 2-4 คู่ ซึ่งการทำรุ่นครั้งแรกนี้ ทำพร้อมกับการถอนแยกต้นพืชให้เหลือ 1 ต้นต่อหลุม เป็นการสะดวกสำหรับเกษตรกรในการปฏิบัติ และครั้งที่สองทำพร้อมกับการใส่ปุ๋ยครั้งที่สอง เมื่อทานตะวันมีใบจริง 6-7 คู่ ทำรุ่นพร้อมกับใส่ปุ๋ยและพูนโคนต้นไปด้วย ในแปลงที่มีปัญหาวัชพืชขึ้นรบกวน ควรทำการกำจัดวัชพืชเพื่อป้องกันการแย่งอาหารและความชื้นในดิน ตั้งแต่ต้นยังเล็กหรือใช้สารเคมีคุมกำเนิดหรือใช้สารเคมีคุมกำเนิดพวกอะลาคลอร์ หรือเมโธลาคลอร์ฉีดพ่นหลังหยอดเมล็ดก่อนที่จะงอกในอัตรา 300-400 ซีซี ผสมน้ำ 4 ปิ๊บ สำหรับฉีดพ่นในเนื้อที่ปลูก 1 ไร่ โดยฉีดให้สม่ำเสมอกันสามารถคุมการเกิดวัชพืชได้นานถึง 2 เดือน และควรใช้แรงงานคน สัตว์ หรือเครื่องทุ่นแรง ทำรุ่นได้ตามความจำเป็น ข้อควรระวัง ห้ามใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชอะทราซีนในทานตะวันโดยเด็ดขาด การเก็บเกี่ยว ทานตะวันจะมีอายุการเก็บเกี่ยวแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ที่ปลูก (พันธุ์ลูกผสม อายุเก็บเกี่ยว 90-100 วัน) วิธีการเก็บเกี่ยวนั้นให้สังเกตจากด้านหลังของจานดอกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองซึ่งเป็นช่วงการสร้างน้ำมันในเมล็ดจะเริ่มลดลง และจะหยุดสร้างน้ำมันเมื่อจานดอกเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลก็เริ่มเก็บเกี่ยวได้ หลังจากนั้นให้นำไปผึ่งแดดจัด ๆ 1-2 แดด โดยแขวนให้หัวห้อยลงและหมั่นกลับช่อดอก เพื่อให้ดอกแห้งอย่างสม่ำเสมอ ถ้าเก็บเกี่ยวในช่วงที่ยังมีฝนชุกให้นำมาผึ่งในร่มหลาย ๆ วันจนแห้งสนิท แล้วจึงรวบรวมไปนวด อาจใช้แรงคนหรือสัตว์ หรือใช้เครื่องนวดเมล็ดถั่วเหลืองหรือถั่วลิสงก็ได้ เสร็จแล้วนำไปทำความสะอาดแล้วเก็บไว้ในยุ้งฉางที่ป้องกันแดด-ฝน และแมลงศัตรูได้ เพื่อรอจำหน่าย (ความชื้นของเมล็ดที่จะเก็บรักษาไว้ ควรไม่เกิน 10%) การปลูกทานตะวันในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีการบำรุงรักษาดีจะให้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 300 กิโลกรัมต่อไร่ แต่โดยเฉลี่ยประมาณไม่ต่ำกว่า 200 กิโลกรัมต่อไร่
- โรคใบและลําตนไหมอัลเทอรนาเรีย - โรคโคนเนาหรือลําตนเนา
แมลงศัตรูทานตะวัน - หนอนกระทูผัก - หนอนเจาะสมอฝาย - หนอนมวนใบสม - หนอนเจาะลําตนขาวโพด ศัตรูทานตะวัน นก หนูและอื่นๆ นับวาเปนศัตรูสําคัญอีกประการหนึ่งที่จะทําความเสียหายใหแกทานตะวัน โดยเฉพาะในแหลงปลูกใหญฉะนั้นเกษตรจะตๆองหมั่นออกสํารวจตรวจแปลงเสมอ เมื่อพบวามีการ ระบาดก็ใหรีบทําการปองกันกําจัดโดยวิธีกลคือการวางกับดักการลอมตีเปนตน ขอขอบคุณแหล่งความรู้จาก |
บทความทั้งหมด
|