กล้วยไม้ (ความรู้พื้นฐาน) ตอนที่ 2 1. โรคเน่าดำหรือโรคยอดเน่าหรือโรคเน่าเข้าไส้ เกิดจากเชื้อรา Phytophthora palmivora สามารถเข้าทำลายกล้วยไม้ได้ทุกส่วน เข้าทำลายรากทำให้รากแห้งมีผลทำให้ใบเหลืองและร่วง ถ้าเป็นที่ยอด ยอดจะเน่าเป็นสีน้ำตาลหากเป็นรุนแรงเชื้อจะลามเข้าไปในลำต้น ซึ่งเมื่อผ่าดูจะเห็นในลำต้นมี สีดำเป็นแนวยาว ส่วนอาการที่ดอกบริเวณปากดอกและก้านดอก เหี่ยวสีน้ำตาล ถ้าเป็นรุนแรงดอกจะหลุดร่วงจากช่อ โรคนี้มักแพร่ระบาดมากในฤดูฝนหรือในสภาพอากาศมีความชื้นสูงการป้องกันกำจัด ไม่ควรปลูกกล้วยไม้แน่นเกิน เมื่อพบต้นที่เป็นโรคให้แยกออกไปเผาทำลายทิ้งถ้าเป็นกับกล้วยไม้ที่โตควรตัด ส่วนที่เป็นโรคออกแล้วใช้สาร เคมีป้าย เช่น ริโดมิลสลับกับไดเทน เอ็ม 45 2. โรคดอกสนิมหรือจุดสนิม โรคนี้เป็นปัญหามากเพราะกล้วยไม้อาจแสดงอาการระหว่างการขนส่งได้ เกิดจากเชื้อรา Curvularia eragrostidis พบที่กลีบดอกกล้วยไม้ โดยเริ่มแรกเป็นจุด ขนาดเล็กสีน้ำตาลอมเหลือง จุดขยายใหญ่มีสีเขียวเข้มคล้ายสนิม โรคนี้ระบาดได้ดีในช่วงฤดูฝนหรือสภาพที่มีน้ำค้างลงจัดการป้องกันกำจัด รักษาความสะอาดแปลง อย่าปล่อยให้ดอกกล้วยไม้บานโรยคาต้น เก็บดอกที่เป็นโรคนี้ออกให้หมดและเผาทำลายเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมโรคและ ฉีดพ่นด้วยสารเคมีประเภทไดเทน เอ็ม 45 ไดเทน เอล เอฟ หรือ มาเนกซ์ โดยในช่วงฤดูฝนควรฉีดพ่นให้ถี่ขึ้น 3. โรคใบปื้นเหลือง
4. โรคใบจุด เกิดจากเชื้อรา Phyllostictina pyriformis เกิดได้ตลอดปีลักษณะอาการจะแตกต่างกันไป เช่น แวนด้า แผลจะมีลักษณะเป็นรูปยาวรีคล้ายกระสวยตรงกลาง แผลจะมีตุ่มนูนสีน้ำตาล เกษตรกรมักเรียกว่าโรคขี้กลาก ในสกุลหวายแผลจะมีจุดกลมสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ ขอบแผลมีสีน้ำตาลอ่อน เกิดได้ทั้งใบบนและใบล่างการป้องกันกำจัด รวบรวมใบที่เป็นโรคเผาทำลาย และฉีดพ่นด้วยยาประเภทคาร์เบนดาซิม เช่น มัยซิน, ไดเทน เอ็ม 45 หรือไดเทน แอล เอฟ 5. โรคแอนแทรกโนสหรือโรคใบไหม้
6. โรคต้นเน่าแห้ง
7. โรคเน่าเละ
8. โรคกล้วยไม้ที่เกิดจากเชื้อไวรัส
1. เพลี้ยไฟ เป็น แมลงขนาดเล็กมีลำตัวยาวประมาณ 0.5-2 มิลลิเมตร รูปร่างเรียวยาว มักอยู่บริเวณปากของดอกกล้วยไม้ ระบาดมากในฤดูแล้งหรือช่วง ที่ฝนทิ้งช่วง เพลี้ยไฟทำลายได้ทั้งในดอกตูมและดอกบาน โดยถ้าทำลายดอกตูมตั้งแต่เริ่มแทงช่อดอกจะทำให้ดอกตูมชะงักการเจริญเติบโต เปลี่ยน เป็นสีน้ำตาลและแห้งคาก้านช่อดอก ถ้าเข้าทำลายในช่วงดอกบานระยะแรกจะเกิดลักษณะสีซีดขาวเป็นทางที่บริเวณ กลีบดอก ถ้า มีการระบาดค่อน ข้างรุนแรงบริเวณปากจะเป็นแผลสีน้ำตาล และมีอาการเหี่ยวแห้งจึงเรียกกันว่า ดอกไหม้หรือปากไหม้ 2. แมลงวันดอกกล้วยไม้หรือไอ้ฮวบ เป็น หนอนสีเหลืองลำตัวยาวประมาณ 0.8-3.0 ม.ม. อาศัยอยู่ที่บริเวณเส้าเกสรโดยเฉพาะที่บริเวณใกล้กับยอด เกสรตัวเมีย มักระบาดในช่วงฤดูฝน หนอนจะเข้าทำลายดอกกล้วยไม้เฉพาะดอกตูมขนาดเล็ก ซึ่งกลีบดอกยังปิดหรือเริ่มแทงช่อดอก ทำให้ดอกตูม ชะงักการเจริญเติบโตหงิกงอ บิดเบี้ยว และต่อมาจะมีอาการเน่าเหลืองฉ่ำน้ำและหลุดร่วงจากช่อดอก ถ้าเข้าทำลายดอกตูมขนาดใหญ ่ทำให้ดอกตูมมี อาการบิดเบี้ยว บริเวณโคนดอกจะมีรอยเน่าช้ำสีน้ำตาลดำ บริเวณแผลที่ช้ำมักจะมีราฟูสีขาวทำให้อาจเข้าใจผิดว่ามีเชื้อราเป็นสาเหตุ 3. ไรกล้วยไม้ ทำลายกล้วยไม้โดยดูดกินน้ำเลี้ยง จากส่วนต่าง ๆ ของกล้วยไม้ เช่น ใบข้อหรือลำต้นและดอกระบาดมากในสถานที่มีอากาศร้อนและแห ้ง แล้ง ที่ใบมักพบที่หลังใบ ใบจะมีจุดด่างขาวเล็ก ๆ และมีคราบสีขาวของไรจับ หากระบาดรุนแรงบริเวณผิวใบจุดยุบลงหากเข้าทำลายที่ข้อหรือลำต้น จะเห็นไรเกาะกลุ่มแน่นเป็นกระจุก ลำต้นเป็นสีน้ำตาลหรือดำจึงมักเรียกว่า โรคข้อดำ จึงทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ถ้าทำลายช่อ ไรจุดูดกินน้ำเลี้ยงที่ด้านหลังของกลีบดอกโดยเฉพาะบริเวณโคน ทำให้กลีบดอกเป็นรอยช้ำบุ๋มเป็นจุดสีม่วงเ ข้ม ถ้าทำลายตั้งแต่ระยะดอกตูม เมื่อดอกบานแผลจากการทำลายจะเห็นที่บริเวณกลีบล่าง และก้านดอก เรียกว่า ดอกหลังลาย 4. หนอนกระทูหอม มีลำตัวสีเขียวหนอนจะทำลายกัดกินดอกและใบให้เว้าแหว่งได้ทำให้ดอกและใบเสียหาย 5. หนอนกระทู้ผัก ตัวอ่อนของหนอนจะกัดกินใบอ่อนและดอกทำให้ผล ผลิตเสียหาย 6. เพลี้ยหอยและเพลี้ยแป้ง ซึ่งอาศัยรวมเป็นกลุ่มตามใต้ใบ จะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ด้านบนของใบมีจุดสีเหลืองเน่าใบจะเหลืองและเหี่ยว ถ้ามีเป็นจำนวน มากจะทำให้กล้วยไม้ชะงักการเจริญเติบโต อาการต่อมาจะมีราดำเกิดขึ้นกับใบล่างของลำต้น เพราะเพลี้ยจะถ่ายมูลออกมาเป็ นอาหารของมด และ เป็นอาหารของเชื้อราดำ ขอขอบคุณแหล่งความรู้จาก
ขอบคุณสำหรับความรู้ดี ๆ ค่ะ ที่บ้าน..อากาสแห้งมาก พยายามเลี้ยงกล้วยไม้ มันตายทุกที ถอดใจมาหลายรอบแล้ว
![]() โดย: Maeboon
![]() |
บทความทั้งหมด
|