กรรม เกิดจาก เจตนา เจตนา คือ ตัวกรรม
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2555
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
25 สิงหาคม 2555
 
All Blogs
 
วิญญาณเวียนว่ายตายเกิด เป็น สังโยชน์ ( สักกายทิฐิ


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์



[๑๒๕] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สักกายทิฐิ จะมีได้อย่างไร ฯ
พ. ดูกรภิกษุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริยะ
ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้ฝึกในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ
ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมเล็งเห็นรูปโดย
ความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง เล็งเห็น
อัตตาในรูปบ้าง ย่อมเล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีเวทนา
บ้าง เล็งเห็นเวทนาในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในเวทนาบ้าง ย่อมเล็งเห็นสัญญา
โดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีสัญญาบ้าง เล็งเห็นสัญญาในอัตตาบ้าง
เล็งเห็นอัตตาในสัญญาบ้าง ย่อมเล็งเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็น
อัตตาว่ามีสังขารบ้าง เล็งเห็นสังขารในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในสังขารบ้าง
ย่อมเล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง เล็ง
เห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง ดูกรภิกษุ อย่างนี้แล
สักกายทิฐิจึงมีได้ ฯ
[๑๒๖] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักกายทิฐิจะไม่มีได้อย่างไร ฯ
พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ได้เห็น
พระอริยะ ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะ ได้เห็น
สัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ฝึกดีแล้วในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมไม่เล็งเห็น
รูปโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง ไม่เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง
ไม่เล็งเห็นอัตตาในรูปบ้าง ย่อมไม่เล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็ง
เห็นอัตตาว่ามีเวทนาบ้าง ไม่เล็งเห็นเวทนาในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในเวทนา
บ้าง ย่อมไม่เล็งเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีสัญญาบ้าง
ไม่เล็งเห็นสัญญาในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในสัญญาบ้าง ย่อมไม่เล็งเห็น
สังขารโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีสังขารบ้าง ไม่เล็งเห็นสังขาร
ในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในสังขารบ้าง ย่อมไม่เล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็น
อัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง ไม่เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง ไม่
เล็งเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง ดูกรภิกษุ อย่างนี้แล สักกายทิฐิจึงไม่มี ฯ
[๑๒๗] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็นคุณเป็นโทษ เป็น
ทางสลัดออกในรูป อะไรเป็นคุณ เป็นโทษ เป็นทางสลัดออกในเวทนา อะไร
เป็นคุณ เป็นโทษ เป็นทางสลัดออกในสัญญา อะไรเป็นคุณ เป็นโทษ เป็น
ทางสลัดออกในสังขาร อะไรเป็นคุณ เป็นโทษ เป็นทางสลัดออกในวิญญาณ ฯ
พ. ดูกรภิกษุ อาการที่สุขโสมนัสอาศัยรูปเกิดขึ้น นี้เป็นคุณในรูป
อาการที่รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษในรูป
อาการที่กำจัดฉันทราคะ ละฉันทราคะ ในรูปได้ นี้เป็นทางสลัดออกในรูป
อาการที่สุขโสมนัสอาศัยเวทนาเกิดขึ้น นี้เป็นคุณในเวทนา อาการที่เวทนาไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษในเวทนา อาการที่กำจัด
ฉันทราคะ ละฉันทราคะในเวทนาได้ นี้เป็นทางสลัดออกในเวทนา อาการที่สุข
โสมนัสอาศัยสัญญาเกิดขึ้น นี้เป็นคุณในสัญญา อาการที่สัญญาไม่เที่ยง เป็นทุกข์
มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษในสัญญา อาการที่กำจัดฉันทราคะ
ละฉันทราคะในสัญญาได้ นี้เป็นทางสลัดออกในสัญญา อาการที่สุขโสมนัส
อาศัยสังขารเกิดขึ้น นี้เป็นคุณในสังขาร อาการที่สังขารไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มี
ความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษในสังขาร อาการที่กำจัดฉันทราคะ
ละฉันทราคะในสังขารได้ นี้เป็นทางสลัดออกในสังขาร อาการที่สุขโสมนัสอาศัย
วิญญาณเกิดขึ้น นี้เป็นคุณในวิญญาณ อาการที่วิญญาณไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความ
แปรปรวนไปเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษในวิญญาณ อาการที่กำจัดฉันทราคะ
ละฉันทราคะในวิญญาณได้ นี้เป็นทางสลัดออกในวิญญาณ ฯ
[๑๒๘] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เมื่อรู้ เมื่อเห็นอย่างไรจึงไม่มี
อนุสัยคือความถือตัวว่าเป็นเรา ว่าของเรา ในกายอันมีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้ง
หมดในภายนอก ฯ
พ. ดูกรภิกษุ บุคคลเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า รูป
อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปใน
ภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่
ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของ
เรา เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง
ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอก
ก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้
ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เห็นด้วย
ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต
ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายใน หรือมีในภายนอกก็ตาม
หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้ง
หมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เห็นด้วยปัญญาอัน
ชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็น
อนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือ
ละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น
ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความ
เป็นจริงดังนี้ว่า วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้ง
ที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม
เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา
ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ดูกรภิกษุ เมื่อรู้ เมื่อเห็นอย่างนี้แล จึงไม่มี
อนุสัยคือความถือตัวว่าเป็นเราว่าของเรา ในกายอันมีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้ง
หมดในภายนอก ฯ
[๑๒๙] ลำดับนั้นแล มีภิกษุรูปหนึ่ง เกิดความปริวิตกแห่งใจขึ้นอย่าง
นี้ว่า จำเริญละ เท่าที่ว่ามานี้ เป็นอันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็น
อนัตตา กรรมที่อนัตตาทำแล้ว จักถูกตนได้อย่างไร ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรง
ทราบความปริวิตกแห่งใจของภิกษุรูปนั้นด้วยพระหฤทัย จึงรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่โมฆบุรุษบางคนในธรรมวินัยนี้ ไม่รู้แล้ว ตกอยู่ในอวิชชา ใจ
มีตัณหาเป็นใหญ่ พึงสำคัญคำสั่งสอนของศาสดาอย่างสะเพร่า ด้วยความปริวิตกว่า
จำเริญละ เท่าที่ว่ามานี้ เป็นอันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็น
อนัตตา กรรมที่อนัตตาทำแล้ว จักถูกตนได้อย่างไร เราจะขอสอบถาม ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เราได้แนะนำพวกเธอในธรรมนั้นๆ แล้วแล พวกเธอจะสำคัญความ
ข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควร
หรือหนอที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เวทนา
เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควร
หรือหนอที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สัญญา
เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควร
หรือหนอที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สังขารเที่ยง
หรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควร
หรือหนอที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน วิญญาณ
เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควร
หรือหนอที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล พวกเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอัน
ชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต
ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายใน หรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียด
ก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่
ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความ
เป็นจริงดังนี้ว่า เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่
เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม
เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา
ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็น
ไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม
อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่
อัตตาของเรา พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า สังขารเหล่าใด
เหล่าหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายใน
หรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่
ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา
พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้ง
ที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอก
ก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้
ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อริยสาวกผู้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้
ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะ
คลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว
รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค และเมื่อพระผู้มีพระภาคกำลังตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้
อยู่ ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป ได้มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่นแล ฯ
จบ มหาปุณณมสูตร ที่ ๙
-----------------------------------------------------
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ บรรทัดที่ ๒๐๓๙ - ๒๑๘๖. หน้าที่ ๘๖ - ๙๒.
//www.84000.org...186&pagebreak=0

บทว่า ขนฺธาธิวจนํ ได้แก่ ถามว่า การบัญญัติว่าขันธ์แห่งขันธ์ทั้งหลายย่อมมีได้ด้วยเหตุมีประมาณเท่าใด.
บทว่า มหาภูตเหตุ ความว่า ก็เหตุท่านเรียกว่าเหตุ ในคำเป็นต้นว่า กุศลเหตุ ๓ ประการ. อวิชชาชื่อว่า สาธารณเหตุ เพราะเป็นเหตุทั่วไปแก่ปุญญาภิสังขารเป็นต้น. กุศลกรรมและอกุศลกรรมเป็นเหตุสูงสุดในการให้ผลของตนๆ. ในที่นี้ท่านประสงค์เอาปัจจัยเหตุในอธิการว่าด้วยปัจจัยเหตุนั้น มหาภูตรูป คือปฐวีธาตุเป็นเหตุและเป็นปัจจัย เพื่อแสดงการบัญญัติภูตรูป ๓ นอกนี้ และอุปาทายรูป พึงทราบการประกอบความแม้ในบทที่เหลืออย่างนี้.
บทว่า ผสฺโส ความว่า ผัสสะ เป็นเหตุและเป็นปัจจัยแห่งการบัญญัติขันธ์ ๓ โดยพระบาลีว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ถูกกระทบย่อมรู้สึก ย่อมจำได้ ย่อมคิด (ปรุงแต่ง) ดังนี้.
ในบทว่า วิญฺญณกฺขนฺธสฺส นี้มีความว่า รูป ๓๐ ถ้วน และขันธ์ ๓ ที่สัมปยุตกับวิญญาณ โดยกำหนดอย่างสูง ย่อมเกิดแก่คัพภเสยยกสัตว์ทั้งหลายพร้อมกับปฏิสนธิวิญญาณก่อน นามรูปนั้นเป็นเหตุและปัจจัยแห่งการบัญญัติปฏิสนธิวิญญาณ. ในจักขุทวาร จักขุปสาทรูปกับรูปารมณ์ จัดเป็นรูปขันธ์ ขันธ์ ๓ ที่สัมปยุตกับวิญญาณ จัดเป็นนาม. นามรูปนั้นเป็นเหตุและเป็นปัจจัยแห่งการบัญญัติจักขุวิญญาณ. ในวิญญาณที่เหลือมีนัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า กถํ ปน ภนฺเต ความว่า ในที่นี้ (ภิกษุ) เมื่อถามวัฏฏะว่า มีได้ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร จึงกล่าวอย่างนั้น.
บทว่า สกฺกายทิฏฺฐิ น โหติ ความว่า เมื่อจะถามวิวัฏฏะนี้ จึงกล่าวอย่างนั้น. ด้วยคำว่า นี้เป็นความชอบใจในรูป นี้ตรัสปริญญาปฏิเวธการแทงตลอดด้วยการกำหนดรู้และทุกขสัจด้วยคำนี้ว่า นี้เป็นโทษในรูป ดังนี้ ตรัสปหานปฏิเวธการแทงตลอดด้วยการละ และสมุทัยสัจ ด้วยคำนี้ว่า นี้เป็นการสลัดออกในรูป ดังนี้ ตรัสสัจฉิกิริยปฏิเวธ การแทงตลอดด้วยการทำให้แจ้งและนิโรธสัจ. ธรรมทั้งหลายมีสัมมาทิฏฐิเป็นต้นในฐาน ๓ ประการเหล่านี้ นี้เป็นภาวนา ปฏิเวธ การแทงตลอดด้วยภาวนา และเป็นมรรคสัจ.
แม้ในบทที่เหลือทั้งหลาย ก็นัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า พหิทฺธา คือในกายที่มีวิญญาณของผู้อื่น.
ก็ด้วย บทว่า สพฺพนิมิตฺตเตสุ นี้ ทรงสงเคราะห์เอาแม้สิ่งที่ไม่เนื่องกับอินทรีย์.
อีกอย่างหนึ่ง ในคำว่า สวิญฺญาเณ กาเย ดังนี้ ถือเอากายทั้งของตนและของคนอื่นด้วยเหมือนกัน. และถือเอาสิ่งที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ ด้วยการถือเอานิมิตทุกอย่างในภายนอก.
บทว่า อนตฺตกตานิ (ที่อนัตตาทำ) ได้แก่ ตั้งอยู่ในอนัตตากระทำ.
บทว่า กตมตฺตานํ ผุสิสฺสนฺติ ความว่า หยั่งลงสู่ความเห็นว่าเที่ยง (สัสสตทิฏฐิ) ว่า ตั้งอยู่ในตน เช่นไรจึงแสดงผลดังนี้ จึงได้กล่าวอย่างนั้น.
บทว่า ตณฺหาธิปเตยฺเยน คือ มีตัณหาเป็นใหญ่.
บทว่า ตตฺร ตตฺร ได้แก่ ในธรรมทั้งหลายนั้นๆ.
บทว่า สฏฺฐิมตฺตานํ ความว่า ภิกษุเหล่านี้ละกรรมฐานตามปกติเสียแล้ว พิจารณากรรมฐานใหม่อย่างอื่น ไม่ทำลายบัลลังก์ บรรลุพระอรหัตในที่นั่งนั่นแล.
บทที่เหลือในที่ทุกแห่งง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถามหาปุณณมสูตรที่ ๙
-----------------------------------------------------
๓๒๙] ปุถุชนย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นตนอย่างไร ฯ
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นจักขุวิญญาณ ... มโนวิญญาณ โดย
ความเป็นตน คือ ย่อมเห็นมโนวิญญาณและตนไม่เป็นสองว่า มโนวิญญาณอัน
ใด เราก็อันนั้น เราอันใด มโนวิญญาณก็อันนั้น เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน
อันลุกโพลงอยู่ บุคคลย่อมเห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสอง ... ฉันใด
บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นมโนวิญญาณโดยความเป็นตน
... นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีวิญญาณเป็นวัตถุที่ ๑ อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้
เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นตนอย่างนี้ ฯ
[๓๓๐] ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีวิญญาณอย่างไร ฯ
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขารโดยความ
เป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเราแต่ว่าตัวตนของเรานี้นั้น
แลมีวิญญาณด้วยวิญญาณนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนว่ามีวิญญาณ เปรียบเหมือน
ต้นไม้มีเงา ... ชื่อว่าย่อมเห็นต้นไม้ว่ามีเงา ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร โดยความเป็นตน นี้เป็น
อัตตานุทิฐิมีวิญญาณเป็นวัตถุที่ ๒ อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็น
สังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีวิญญาณอย่างนี้ ฯ
[๓๓๑] ปุถุชนย่อมเห็นวิญญาณในตนอย่างไร ฯ
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร โดย
ความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็แลในตัวตนนี้
มีวิญญาณนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นวิญญาณในตน เปรียบเหมือนดอกไม้มีกลิ่นหอม
... ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นรูป เวทนา
สัญญา สังขาร โดยความเป็นตน ... นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีวิญญาณเป็นวัตถุที่ ๓
อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิปุถุชน ย่อมเห็น
วิญญาณในตนอย่างนี้ ฯ
[๓๓๒] ปุถุชนย่อมเห็นตนในวิญญาณอย่างไร ฯ
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร โดย
ความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตนของเรา
นี้นั้นแลมีอยู่ในวิญญาณนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนในวิญญาณ เปรียบเหมือน
แก้วมณีที่เขาใส่ไว้ในขวด ... ชื่อว่าย่อมเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด บุคคล
บางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร โดย
ความเป็นตน นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีวิญญาณเป็นวัตถุที่ ๔ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์
แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนในวิญญาณอย่างนี้ อัตตานุทิฐิมีความถือผิดด้วย
อาการ ๒๐ เหล่านี้ ฯ

ตีรณปริญญาเป็นไฉน? มุนีทำความรู้อย่างนี้แล้ว ย่อมพิจารณาสัญญาโดยความเป็น
ของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของลำบาก เป็นอาพาธ
เป็นของอื่น (เป็นของไม่มีอำนาจ) เป็นของชำรุด เป็นเสนียด เป็นอุบาทว์ เป็นภัย เป็น
อุปสรรค เป็นของหวั่นไหว เป็นของแตกพัง ฯลฯ เป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ เป็นของดับไป เป็น
ของชวนให้แช่มชื่น เป็นอาทีนพ เป็นนิสสรณะ นี้เรียกว่า ตีรณปริญญา.
ปหานปริญญาเป็นไฉน? มุนีพิจารณาอย่างนี้แล้ว ย่อมละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป
ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ซึ่งฉันทราคะในสัญญา. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ฉันทราคะ ในสัญญาใด ท่านทั้งหลายจงละฉันทราคะนั้นเสีย ฉันทราคะนั้นจักเป็นของ
อันท่านทั้งหลายละแล้ว มีมูลรากอันตัดขาดแล้ว ทำให้ไม่มีที่ตั้งดุจตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี
ในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นในอนาคตเป็นธรรมดา ด้วยประการอย่างนี้. นี้เรียกว่า ปหาน-
*ปริญญา.
คำว่า กำหนดรู้สัญญาแล้ว คือ กำหนดรู้สัญญาด้วยปริญญา ๓ นี้. คำว่า พึงข้าม
โอฆะได้ คือพึงข้าม ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ล่วงเลย ก้าวล่วงกามโอฆะ ภวโอฆะ ทิฏฐิโอฆะ
อวิชชาโอฆะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กำหนดรู้สัญญาแล้วพึงข้ามโอฆะได้.
[๖๗] คำว่า มุนีไม่เข้าไปติดในความยึดถือทั้งหลาย มีความว่า ความยึดถือ ได้แก่
ความยึดถือ ๒ อย่าง คือ ความยึดถือด้วยตัณหา ๑ ความยึดถือด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้เรียกว่า
ความยึดถือด้วยตัณหา ฯลฯ นี้เรียกว่าความยึดถือด้วยทิฏฐิ. คำว่า มุนี มีความว่า ญาณเรียกว่า
โมนะ ได้แก่ปัญญา ความรู้ทั่ว ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม ความเห็นชอบ บุคคล
ประกอบด้วยญาณนั้น ชื่อว่ามุนี คือ ผู้ถึงญาณที่ชื่อว่า โมนะ. โมเนยยะ (ธรรมที่ทำให้เป็น
มุนี) มี ๓ อย่าง คือ โมเนยยธรรมทางกาย ๑ โมเนยยธรรมทางวาจา ๑ โมเนยยธรรมทางใจ ๑.
โมเนยยธรรมทางกายเป็นไฉน? การละกายทุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย.
กายสุจริต ๓ อย่าง ญาณมีกายเป็นอารมณ์ กายปริญญา มรรคอันสหรคตด้วยปริญญา การละ
ฉันทราคะในกาย ความดับแห่งกายสังขาร ความบรรลุจตุตถฌาน ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย.
นี้ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย.
โมเนยยธรรมทางวาจาเป็นไฉน? การละวจีทุจริต ๔ อย่าง ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา.
วจีสุจริต ๔ อย่าง ญาณมีวาจาเป็นอารมณ์ วาจาปริญญา มรรคอันสหรคด้วยปริญญา การละ
ฉันทราคะในวาจา ความดับแห่งวจีสังขาร ความบรรลุทุติยฌาน ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา.
นี้ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา.
โมเนยยธรรมทางใจเป็นไฉน? การละมโนทุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ.
มโนสุจริต ๓ อย่าง ญาณมีจิตเป็นอารมณ์ จิตตปริญญา มรรคอันสหรคตด้วยปริญญา การละ
ฉันทราคะในจิต ความดับแห่งจิตสังขาร การบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ.
นี้ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
บัณฑิตทั้งหลาย ได้กล่าวบุคคลผู้เป็นมุนีทางกาย เป็นมุนีทางวาจา
เป็นมุนีทางใจ หาอาสวะมิได้ว่า เป็นมุนี ผู้ถึงพร้อมด้วยธรรมที่ทำให้
เป็นมุนี เป็นผู้ละกิเลสทั้งปวง. บัณฑิตทั้งหลายได้กล่าวบุคคลผู้เป็น
มุนีทางกาย เป็นมุนีทางวาจา เป็นมุนีทางใจ หาอาสวะมิได้ว่า เป็น
มุนี ผู้ถึงพร้อมด้วยธรรมที่ทำให้เป็นมุนี ผู้มีบาปอันล้างเสียแล้ว.
ชนผู้ประกอบด้วยธรรมที่ทำให้เป็นมุนี ๓ อย่างนี้ ชื่อว่ามุนี มุนีมี ๖ จำพวก คือ
อาคารมุนี อนาคารมุนี เสขมุนี อเสขมุนี ปัจเจกมุนี มุนิมุนี. อาคารมุนีเป็นไฉน? ชนเหล่า
ใด เป็นผู้ครองเรือน มีบทคือนิพพานอันเห็นแล้ว มีศาสนาอันรู้แจ้งแล้ว ชนเหล่านี้ ชื่อว่า
อาคารมุนี. อนาคารมุนีเป็นไฉน? ชนเหล่าใดออกบวช มีบทคือนิพพานอันเห็นแล้ว มีศาสนา
อันรู้แจ้งแล้ว ชนเหล่านี้ ชื่อว่าอนาคารมุนี. พระเสขะ ๗ จำพวก ชื่อว่าเสขมุนี. พระอรหันต์
ทั้งหลายชื่อว่าอเสขมุนี. พระปัจเจกพุทธะทั้งหลาย ชื่อว่าปัจเจกมุนี. พระตถาคตอรหันตสัมมา
สัมพุทธเจ้า ชื่อว่ามุนิมุนี. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
บุคคลไม่เป็นมุนีด้วยความเป็นผู้นิ่ง แต่เป็นผู้เปล่า ไม่ใช่ผู้รู้
ส่วนบุคคลใด เป็นบัณฑิต ถือธรรมอันประเสริฐ ละเว้นบาปทั้งหลาย
เหมือนคนที่ถือเครื่องชั่งตั้งอยู่ ฉะนั้น บุคคลนั้น ชื่อว่าเป็นมุนี เรียก
ว่าเป็นมุนี โดยเหตุนั้น และบุคคลใด ย่อมรู้โลกทั้ง ๒ บุคคลนั้น
เรียกว่าเป็นมุนี โดยเหตุนั้น. บุคคลใดรู้ธรรมของอสัตบุรุษและธรรม
ของสัตบุรุษ ในโลกทั้งปวง ทั้งภายในภายนอก ก้าวล่วงธรรมเป็น
เครื่องข้องและตัณหาเพียงดังว่าข่าย ดำรงอยู่ เป็นผู้อันเทวดาและ
มนุษย์บูชา บุคคลนั้นชื่อว่ามุนี.
คำว่า ความติด ได้แก่ ความติด ๒ อย่าง คือ ความติดด้วยตัณหา ๑ ความติดด้วย
ทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความติดด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความติดด้วยทิฏฐิ. มุนีละความติดด้วย
ตัณหา สละคืนความติดด้วยทิฏฐิ ย่อมไม่ติด คือไม่ติดพัน ไม่เข้าไปติด เป็นผู้ไม่ติด ไม่ติด
พัน ไม่เข้าไปติดแล้ว เป็นผู้ออก สละเสีย พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องแล้วในความยึดถือทั้งหลาย
เป็นผู้มีจิตกระทำให้ปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีไม่เข้าไปติดในความยึดถือ
ทั้งหลาย.
[๖๘] คำว่า เป็นผู้ถอนลูกศรเสียแล้ว ไม่ประมาท ประพฤติอยู่ มีความว่า ลูกศร
ได้แก่ลูกศร ๗ อย่าง คือ ลูกศรคือราคะ ลูกศรคือโทสะ ลูกศรคือโมหะ ลูกศรคือมานะ
ลูกศรคือทิฏฐิ ลูกศรคือความโศก ลูกศรคือความสงสัย. ลูกศรเหล่านี้ อันผู้ใดละได้แล้ว
ตัดขาดแล้ว สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาแล้วด้วยไฟคือญาณ ผู้นั้น
เรียกว่า เป็นผู้ถอนลูกศรเสียแล้ว คือ ถอน ชัก ดึง ฉุด กระชาก สละ สำรอก ปล่อย
ละ สละคืน ลูกศรเสียแล้ว เป็นผู้หมดความอยาก ดับ เย็นแล้ว เสวยสุข มีตนดุจพรหม
อยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ถอนลูกศรเสียแล้ว. คำว่า ประพฤติอยู่ คือ ประพฤติอยู่
เที่ยวอยู่ เป็นไป หมุนไป รักษา ดำเนินไป ให้อัตภาพดำเนินไป. คำว่า เป็นผู้ไม่ประมาท
คือ เป็นผู้ทำด้วยความเอื้อเฟื้อ ทำติดต่อ ทำไม่หยุด มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ปลง
ฉันทะ ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย. ความไม่ประมาท คือ ความพอใจ ความพยายาม
ความอุตส่าห์ ความเป็นผู้ขยัน ความเป็นผู้ไม่ถอยกลับ ความเป็นผู้มีสติ มีสัมปชัญญะ
ความเพียรเป็นเครื่องให้กิเลสเร่าร้อน ความเพียรอันสูงสุด ความตั้งใจ ความประกอบเนืองๆ
ความไม่ประมาท ในกุศลธรรมนั้นว่า เราพึงยังศีลขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือพึง
อนุเคราะห์ศีลขันธ์ที่บริบูรณ์ในที่นั้นๆ ด้วยปัญญา โดยอุบายอย่างไร ดังนี้. ความไม่ประมาท
คือ ความพอใจ ฯลฯ ในกุศลธรรมนั้นว่า เราพึงให้สมาธิขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือ
เราพึงอนุเคราะห์สมาธิขันธ์ที่บริบูรณ์ในที่นั้นๆ ด้วยปัญญา โดยอุบายอย่างไร ดังนี้. ความไม่
ประมาท คือ ความพอใจ ฯลฯ ในกุศลธรรมนั้นว่า เราพึงให้ปัญญาขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้
บริบูรณ์ หรือพึงอนุเคราะห์ปัญญาขันธ์ที่บริบูรณ์ในที่นั้นๆ ด้วยปัญญา โดยอุบายอย่างไร ดังนี้.
ความไม่ประมาท คือ ความพอใจ ฯลฯ ในกุศลธรรมนั้นว่า เราพึงให้วิมุติขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์
ให้บริบูรณ์ หรือพึงอนุเคราะห์วิมุติขันธ์ที่บริบูรณ์ในที่นั้นๆ ด้วยปัญญา โดยอุบายอย่างไร ดังนี้.
ความไม่ประมาท คือ ความพอใจ ฯลฯ ในกุศลธรรมนั้นว่า เราพึงให้วิมุติญาณทัสนขันธ์ที่ยัง
ไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือพึงอนุเคราะห์วิมุติญาณทัสนขันธ์ที่บริบูรณ์ในที่นั้นๆ ด้วยปัญญาโดย
อุบายอย่างไร ดังนี้. ความไม่ประมาท คือ ความไม่พอใจ ความพยายาม ความอุตส่าห์ ความ
เป็นผู้ขยัน ความเป็นผู้ไม่ถอยกลับ ความเป็นผู้มีสติ มีสัมปชัญญะ ความเพียรเป็นเครื่องให้
กิเลสเร่าร้อน ความเพียรอันสูงสุด ความตั้งใจ ความประกอบเนืองๆ ความไม่ประมาท ใน
กุศลธรรมนั้นว่า เราพึงกำหนดรู้ทุกข์ที่ยังไม่กำหนดรู้ พึงละกิเลสทั้งหลายที่ยังละไม่ได้ พึง
เจริญมรรคที่ยังไม่เจริญ หรือพึงทำให้แจ้งซึ่งนิโรธที่ยังไม่ทำให้แจ้งแล้ว โดยอุบายอย่างไร ดังนี้
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ถอนลูกศรเสียแล้ว เป็นผู้ไม่ประมาทประพฤติอยู่.
[๖๙] คำว่า ย่อมไม่หวังโลกนี้และโลกหน้า มีความว่า ย่อมไม่หวังโลกนี้ คือ
อัตภาพของตน ไม่หวังโลกหน้า คือ อัตภาพในปรโลก. ไม่หวังโลกนี้ คือ รูป เวทนา
สัญญา สังขาร และวิญญาณของตน ไม่หวังโลกหน้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขารและ
วิญญาณของผู้อื่น. ไม่หวังโลกนี้ คือ อายตนะภายใน ๖ ไม่หวังโลกหน้า คือ อายตนะ
ภายนอก ๖. ไม่หวังโลกนี้ คือ มนุษยโลก ไม่หวังโลกหน้า คือ เทวโลก ไม่หวังโลกนี้
คือ กามธาตุ ไม่หวังโลกหน้า คือ รูปธาตุ อรูปธาตุ. ไม่หวังโลกนี้ คือ กามธาตุ รูปธาตุ
ไม่หวังโลกหน้าคืออรูปธาตุ. ไม่หวัง ไม่อยากได้ ไม่ยินดี ไม่ปรารถนา ไม่รักใคร่ ไม่พอใจ
ซึ่งคติ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร หรือวัฏฏะต่อไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมไม่หวัง
โลกนี้และโลกหน้า. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
มุนีกำหนดรู้สัญญาแล้ว ไม่เข้าไปติดในความยึดถือทั้งหลาย พึงข้าม
โอฆะได้ เป็นผู้ถอนลูกศรเสียแล้ว ไม่ประมาทประพฤติอยู่ ย่อมไม่
หวังโลกนี้ และโลกหน้า ดังนี้.
จบ คุหัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๒.
-----------------------------------------------------
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ บรรทัดที่ ๔๘๗ - ๑๓๑๐. หน้าที่ ๒๑ - ๕๕.
//www.84000.org...310&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//www.84000.org...a.php?b=29&i=30
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙
//www.84000.org...




Create Date : 25 สิงหาคม 2555
Last Update : 25 สิงหาคม 2555 13:48:07 น. 1 comments
Counter : 779 Pageviews.

 
สาธุค่ะ


โดย: ความรักสีจาง IP: 171.4.73.16 วันที่: 25 สิงหาคม 2555 เวลา:15:32:21 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

shadee829
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add shadee829's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.